(1)
พระกรุวัดท้ายตลาด เล็บมือสมาธิ กทม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกรุวัดท้ายตลาด เล็บมือสมาธิ กทม
รายละเอียดวัดโมลีโลกยาราม หรือ วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า "ท้ายตลาด" หรือ "ท้ายพระราชวังเดิม" จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุพระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" ซึ่งพระเครื่องกรุนี้เป็นที่เลื่องลือด้านพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นเลิศมาแต่อดีตครับผม

ย้อนไปในสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาด นับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกๆ พระองค์แห่งราชวงศ์ จักรียังทรงมีความผูกพันกับวัดท้ายตลาดมาโดยตลอด

สำหรับ "พระวัดท้ายตลาด" มีการค้นพบเมื่อคราวกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อผงจำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ และมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรง อาทิ พระพิมพ์ปางอุ้มบาตร พระพิมพ์ปางปรกโพธิ์ข้างเม็ด ปางโมคคัลลาน์-สารีบุตร ฯลฯ ซึ่งปางต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ "ช่างหลวง" ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ในพระพุทธประวัติ (นับรวมกับแบบเดิม 8 ปาง เป็น 40 ปาง ประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)

จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ 3 และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือ การจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง 8 หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน

ในช่วงแรกๆ ที่กรุแตกนั้น พระวัดท้ายตลาดยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระซึ่งมีจำนวนมากส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไทยไปแล้ว

ข้อสังเกตที่จะฝากไว้ในการพิจารณา "พระวัดท้ายตลาด" ประการหนึ่ง คือ นอกจากพระที่นำมาแจกจ่ายเมื่อคราวสงครามอินโดจีนแล้ว ยังมีการนำพระบางส่วนไปบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดตะล่อมและวัดธนบุรี เป็นต้น ดังนั้น จากสภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุที่แตกต่างกัน องค์พระจึงมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วย เช่น พระที่นำไปบรรจุไว้ที่วัดตะล่อม ซึ่งจะบรรจุใต้ฐานชุกชีคลุกอยู่กับปูนขาว ทำให้เวลานำองค์พระออกมา ผิวขององค์พระจึงถูกปูนขาวจับอยู่โดยทั่วไป แลดูไม่เข้มขลังเหมือนกับพระที่ออกจากกรุวัดท้ายตลาด ความนิยมและสนนราคาจึงลดหลั่นแตกต่างกันไปวัดโมลีโลกยาราม หรือ วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า "ท้ายตลาด" หรือ "ท้ายพระราชวังเดิม" จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุพระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" ซึ่งพระเครื่องกรุนี้เป็นที่เลื่องลือด้านพุทธคุณเป็นเลิศมาแต่อดีตครับผม

ย้อนไปในสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาด นับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกๆ พระองค์แห่งราชวงศ์ จักรียังทรงมีความผูกพันกับวัดท้ายตลาดมาโดยตลอด

สำหรับ "พระวัดท้ายตลาด" มีการค้นพบเมื่อคราวกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อผงจำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ และมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรง อาทิ พระพิมพ์ปางอุ้มบาตร พระพิมพ์ปางปรกโพธิ์ข้างเม็ด ปางโมคคัลลาน์-สารีบุตร ฯลฯ ซึ่งปางต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ "ช่างหลวง" ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ในพระพุทธประวัติ (นับรวมกับแบบเดิม 8 ปาง เป็น 40 ปาง ประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)

จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ 3 และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือ การจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง 8 หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน

ในช่วงแรกๆ ที่กรุแตกนั้น พระวัดท้ายตลาดยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระซึ่งมีจำนวนมากส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไทยไปแล้ว

ข้อสังเกตที่จะฝากไว้ในการพิจารณา "พระวัดท้ายตลาด" ประการหนึ่ง คือ นอกจากพระที่นำมาแจกจ่ายเมื่อคราวสงครามอินโดจีนแล้ว ยังมีการนำพระบางส่วนไปบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดตะล่อมและวัดธนบุรี เป็นต้น ดังนั้น จากสภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุที่แตกต่างกัน องค์พระจึงมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วย เช่น พระที่นำไปบรรจุไว้ที่วัดตะล่อม ซึ่งจะบรรจุใต้ฐานชุกชีคลุกอยู่กับปูนขาว ทำให้เวลานำองค์พระออกมา ผิวขององค์พระจึงถูกปูนขาวจับอยู่โดยทั่วไป แลดูไม่เข้มขลังเหมือนกับพระที่ออกจากกรุวัดท้ายตลาด
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 23 พ.ย. 2556 - 23:45:04 น.
วันปิดประมูล - 01 ธ.ค. 2556 - 18:34:06 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsrisanpang (813)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 23 พ.ย. 2556 - 23:45:28 น.



,


 
ราคาปัจจุบัน :     3,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    somnuk (919)

 

Copyright ©G-PRA.COM