(0)
><พระสมเด็จนางพญา (สก.) พิธีพุทธาภิเษกใหญ่รวม ๗ วัน ณ.พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. พ.ศ.๒๕๑๙








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง><พระสมเด็จนางพญา (สก.) พิธีพุทธาภิเษกใหญ่รวม ๗ วัน ณ.พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. พ.ศ.๒๕๑๙
รายละเอียดพระสมเด็จนางพญา (สก.) พิธีพุทธาภิเษกใหญ่รวม ๗ วัน ณ.พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. พ.ศ.๒๕๑๙ ขนาดพิมพ์ใหญ่ (สูงประมาณ ๒.๘ ซม.)และพิมพ์เล็ก (สูงประมาณ ๒.๕ ซม.) ออกแบบสวยงาม สภาพฟอร์มสวย เก็บเก่าพร้อมกล่องเดิมๆ ของดียุคต้น สมเด็จพระสังฆราชฯ สมัยนั้นพระองค์ยังดำรงค์ตำแหน่ง "สมเด็จพระญาณสังวร." ก่อนดำรงค์ตำแหน่งพระสังฆราชฯ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี." ได้เมตตานั่งปรกครบทั้ง ๗ วัน.

ประวัติความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2518 วัดบวรนิเวศวิหารได้ทำการรื้อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งของวัดบวรฯ เอง และของคณะรังษี (ซึ่งเดิมก็คือวัดบวรรังษี หากภายหลังได้ยุบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร) แล้วนำกระเบื้องลงมากองไว้

วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีที่วัดบวร ฯ ทรงทอดพระเนตรเห็นกระเบื้องเก่าอายุนับร้อยปี ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเนิ่นนาน อบอวนด้วยกระแสพุทธมนต์ที่พระภิกษุทำวัตรเช้า-เย็น ซึมซับพิธีพุทธาภิเษกมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันพิธี ที่สำคัญ คือพระองค์ก็ทรงผนวชภายใต้ร่มเงาของกระเบื้องชุดนี้ก่อนที่จะถูกรื้อลงมา จึงมีพระราชดำรัสว่า “กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”

ด้วยพระราชดำรัสนี้เอง ทำให้คณะพระภิกษุและกรรมการวัดบวรฯ และสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้นรับสนองเสมือนหนึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แล้วดำเนินการจัดสร้างทันที โดยกำหนดแบบพิมพ์และขนาด “พระจิตรลดา” ทุกประการ ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก” มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนางพญา ส.ก.ไปก่อตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อนำดอกผลมาใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต สืบเนื่องจากเมื่อปี 2516 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ณ จังหวัดอยุธยามีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา ปราศจากต้นไม้ น้ำท่วมทุกปี ทั้งยังมีปัญหาน้ำดื่มที่ขาดแคลน ปัญหาการบิณฑบาต เนื่องจากวิทยาลัยอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ในการนี้ทางมูลนิธิจึงได้คิดสร้างพระสมเด็จนางพญาขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อหารายได้มาช่วยในวัตถุประสงค์ดังกล่าว รายได้จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนครั้งนี้ จะนำไปจัดตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ตามโครงการดังนี้
1. สร้างอาคารเรียนสำหรับพระภิกษุและสามเณร
2. ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร
3. ขยายโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้แพร่หลายทุกจังหวัด
4. เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านพระธรรมฑูตและหนังสือต่าง ๆ
5. เป็นค่าภัตตาหาร

เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ 5 – 11 ก.ค. 2519 ในวันที่ 12 กค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ
พุทธลักษณะ
พระนางพญา ส.ก. ได้จำลองแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักษรนูนเป็นอักขระขอมว่า “เอ ตัง สะ ติง” อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระบรมนามาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ สูง 2.7 ซม. กว้าง 2.2 ซม. หนา 0.4 ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2 ซม. กว้าง 1.6 ซม. หนา 0.4 ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีจางออกเป็นแดงอมขาว
พุทธลักษณะ
พระสมเด็จอุณาโลม ได้ถอดแบบมาจาก “พระสมเด็จจิตรลดา” ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดาแต่เพิ่มรายละเอียดในองค์พระปฏิมากรให้ชัดเจนขึ้นและเพิ่มยันต์อุณาโลมที่ด้านหลังองค์พระ อักษรจมลงไปในเนื้อพระ ด้านหลัง ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ สูง 3 ซม. กว้าง 2 ซม. หนา 0.5 ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2.5 ซม. กว้าง 1.7 ซม. หนา 0.4 ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา จำนวนสร้าง 100,000 องค์.
มวลสารมงคลที่นำมาจัดสร้างพระนางพญา สก. ,พระสมเด็จอุณาโลม ปีพ.ศ.2519

1.ผงดอกไม้พระราชทานเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2517
2.ผงธูปพระราชทาน
3.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในเทศกาลเข้าพรรษา 2517
4.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศ
5.ผงธูปและดอกไม้หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
6.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
7.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
8.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร
9.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น
10.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก
11.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส
12.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สุวัจ วัดถ้ำศรีแก้ว
13.ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก
14.ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
15.ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
16.ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระพระญาณสังวร
17.ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
18.ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช (วาส วาสโน)
19.ผงธูปและดอกไม้ จากห้องปฏิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
20.ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
21.ผงดอกไม้จาก พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
22.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา
23.ผงดอกไม้ ผงธูปบูชาในพระบรมเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
24.ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศ
25.ผงพระสมเด็จโต วัดระฆัง
26.ผงพระ พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
27.ผงพระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
28.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระธาตุพนม
29.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร
30.ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
31.ผงพระวัดสามปลื้ม
32.ผงพระหลวงปู่โต๊ะ
33.ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ
34.ผงธูป ทองเปลว ศาลกรมหลวงชุมพร ฯ จ.ชุมพร
35.ผงธูป ทองเปลว พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
36.ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร วัดพระบรมธาตุไชยา
37.ผงพระสมัยศรีวิชัย
38.ผงพระสมัยทวารวดี พบที่ใต้ฐานอุโบสถ วัดเกาะ นครศรีธรรมราช
39.ผงดอกไม้ 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา
40.ผงว่าน 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา
41.ผงวิเศษ จากถ้ำเสือ กระบี่
42.ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง
43.ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง
44.ผงอิฐพระธาตุลำปางหลวง
45ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี
46.ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์ จาก 16 วัด
47.ผงพุทธคุณ อธิษฐานโดย ท่านเจ้าคุณนร ฯ พิธีเสาร์ 5 ปี 2513
48.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร
49.ผงพระ 25 พุทธศตวรรษ
50.ผงธูปดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
51.ผงกะเทาะ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
52.ผงตะไคร่ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
53.ผงว่าน 108 ชนิด จากนครศรีธรรมราช
54.ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
55.ผงกะเทาะองค์พระ ในพระฐานบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
56.ผงธูปจากพระพุทธบาท สระบุรี
57.ผงธูป จาก พระพุทธฉาย
58.ผงธูปจากที่บูชาพระพวย วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
59.ผงธูปจากที่บูชาพระปัญญา วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
60.ผงธูปจากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
61.ผงทอง จาก พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
62.ผงทองจากพระพุทธบาท สระบุรี
63.ผงทองจากพระนอนองค์ใหญ่ วัดพระเชตุพน
64.ผงทองจากพระพุทธฉายสระบุรี
65.ผงกะเทาะจาก พระนลาฏ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
66.ผงกระเบื้องจากองค์พระปฐมเจดีย์
67.ผงอิฐ ปูน รัก ทอง จากพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศ
68.ผงเม็ดพระศก หลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
69.ผงพระสมเด็จ ธมฺมวิตกฺโก
70.ผงผ่านพิธีพุทธาภิเษกสำคัญ ต่าง ๆ ได้แก่
1. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชบพิธ ปี 2512 , 2513 , 2514
2. พิธีพุทธาภิเษก วัดหัวลำโพง ปี 2513
3. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ปี 2512 , 2513
4. พิธีพุทธาภิเษก วัดธาตุทอง ปี 2513
5. พิธีพุทธาภิเษก วัดชิโนรส ปี 2512 , 2513
6. พิธีพุทธาภิเษก วัดอัมพวา ปี 2512 , 2513
7. พิธีพุทธาภิเษก วัดพิกุลทอง ปี 2513
และอีกมากมาย

ทางคณะกรรมการได้จัดงานพิธีพุทธาภิเษก 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 5 - 12 ก.ค. 2519 มีพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกดังนี้

1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
3. พระญาณสิทธาจารย์ หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง (อธิษฐาน 5 คืน )
7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ (อธิษฐาน 5 คืน )
8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด
10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม
11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม
14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี
21. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
22. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี
23. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี
24. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม
25. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
26. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
27. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
28. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ
29. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
30. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
31. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น
32. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
33. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม

พระดีพิธีใหญ่ พุทธคุณด้านโชคลาภ เมตตามหานิยม เจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง ครบทุกด้าน ประวัติการจัดสร้างชัดเจน จึงจัดเป็นพระเครื่องอันทรงคุณค่า สุดยอดมวลสาร


รูปถ่ายจากสินค้าจริงที่เปิดประมูล โปรดพิจารณาก่อนเคาะราคา
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ก.พ. 2557 - 18:33:54 น.
วันปิดประมูล - 12 ก.พ. 2557 - 15:11:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลbrandben (1.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 10 ก.พ. 2557 - 18:35:49 น.



ด้านหน้าพิมพ์เล็ก


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 10 ก.พ. 2557 - 18:36:09 น.



ด้านหลังพิมพ์เล็ก


 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ChuDiamond (507)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1