(0)
สมเด็จสองคลอง พิมพ์ใหญ่พระประธาน
หยุดการประมูลนี้ชั่วคราวเพื่อตรวจสอบ
- click ดูรายละเอียด -









รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต


หยุดการประมูลนี้ชั่วคราวเพื่อตรวจสอบ
- click ดูรายละเอียด -


ชื่อพระเครื่องสมเด็จสองคลอง พิมพ์ใหญ่พระประธาน
รายละเอียดรูปทรงวัดระฆังแต่มาฝากลงกรุที่บางขุนพรหม ทำให้มีคราบไขกรุเกาะอยู่ทั้งองค์ เห็นคราบกรุชัดเจน
ราคาเปิดประมูล600 บาท
ราคาปัจจุบัน950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 24 มี.ค. 2557 - 16:14:48 น.
วันปิดประมูล - 25 มี.ค. 2557 - 22:08:56 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsitpusook (777)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 24 มี.ค. 2557 - 21:33:50 น.



สมเด็จสองคลอง (Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,approx !,B.E. 2410-2415)
แท้ที่จริงก็คือสมเด็จวัดระฆังนั่นเอง เหตุใดจึงเรียกสมเด็จสองคลอง
พ.ศ.๒๔๑๓ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จๆ ร่วมกับ เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล ธนโกเศศ คหบดีผู้มั่งคังในย่านบางขุนพรหม ท่านปรารถนาที่จะสร้างพระเพื่อนำไปบรรจุในเจดีย์วัดบางขุนพรหมเพื่อเป็นการ สืบทอดศาสนา
ดังนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านได้สั่งให้นำเอาพระสมเด็จวัด ระฆังฯจำ นวนหนึ่งที่สร้างเสร็จแล้วมาร่วมบรรจุกรุด้วย และมีพระสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยจำนวนหนึ่งร่วมบรรจุกรุบางขุนพรหมลงไป ด้วย แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ด้วยสาเหตุนี้ จึงต้องมีการทำเอกลักษณ์ไว้บนองค์พระเพื่อแยกให้รู้ว่าพระชุดนี้เป็นพระที่มาจากวัดระฆังฯ จึงทำการลงรักแล้วปิดทองหนึ่งแผ่นก่อนนำบรรจุกรุ แต่พระส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยสวยเพราะทำแบบรีบๆ และพระเป็นพระที่เหลือ มาจากทำครั้งใหญ่ปี ๒๔๑๑ ซึ่งพระที่สวยงามเลอโฉมได้แจกจ่ายให้กับบุคคลทั่วไป เป็นส่วนใหญ่แล้ว
พระสมเด็จ (สองคลอง) ก็คือพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์แบบพิมพ์วัดระฆังฯทุกอย่าง และยังปลุกเสกที่วัดระฆังฯ แต่นำมาฝากกรุวัดบางขุนพรหม
ลักษณะของพระสองคลอง ส่วนใหญ่มีลักษณะ ก็คือ เนื้อละเอียดแกร่งสีขาวเหลือง ออกโซนแก่ปูนเปลือกหอย มวลสารน้อย บางองค์มวลสารมากแต่พบน้อย มีคราบกรุหรือสารเคลือบผิวพร้อมปิดทองหนึ่งแผ่น
ลักษณะทองทับกรุ กรุทับทอง คือ การที่พระสมเด็จถูกบรรจุอยู่ในกรุนั้น องค์พระจะเจอทั้งความร้อนเย็น และ ความชื้นประจวบเหมาะกับเหตุน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ เมื่อ ปี ๒๔๘๕ ซึ่งท่วมเป็นเวลานาน และการลักขโมยพระออกจากกรุโดยการใช้ดินเหนียวผูกติดกับเอ็นแล้วทิ้งลงไปใน เจดีย์ และยังใช้น้ำเทลงไปในเจดีย์เลยทำให้พระกระเด็นขึ้นมาติดก้อนดินเหนียวที่ผูก ไว้ น้ำที่ได้เทลงไปนั้นก็ลงไปขังอยู่ใต้ฐานเจดีย์ ดังนั้นจึงทำให้พระส่วนหนึ่งต้องแช่อยู่ในน้ำเป็น เวลานาน จึงทำให้พระบางส่วนเสียหาย และบางส่วนมี คราบกรุจับแน่นองค์พระ จากสาเหตุนี้จึงทำให้เนื้อพระบางองค์ หรือบางส่วน ฟูและผุกร่อนมีน้ำหนักเบา พระที่นำมาจากวัดระฆังฯ นั้น ไม่ได้มีเฉพาะพระที่สร้างเสร็จไว้ก่อนแล้วเท่านั้น ยังคงพบพระที่สร้างมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ดูได้จาก เนื้อของพระที่ค่อนข้างแก่ปูนเนื้อแกร่งละเอียด มา จากความเจาะจงตั้งใจทำ ให้เนื้อพระออกมาแก่ปูนและแกร่ง เพราะรู้ว่าจะต้องนำไปบรรจุกรุ ซึ่งก็รู้อยู่แล้วว่าสภาพอากาศภายในเจดีย์นั้นมีทั้งร้อนเย็น ดังนั้นจึงต้องจะสร้างพระที่มีเนื้อที่แกร่งละเอียดและทนทานต่อสภาพอากาศที่ ไม่คงที่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นเนื้อพระสองคลองจึงแตกต่างจากเนื้อมาตรฐานของวัดระฆังฯที่มากไปด้วยมวลสาร แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยทีเดียว เพราะพระไม่ได้มีเพียงองค์สององค์แต่มีมาก คงมีปนเปกันไปทั้งมวลสารมากมวลสารน้อย
พิมข้างบนสภาพเก่าสึกจากการใช้ คาดว่าคงไม่ได้บรรจุกรุ มวลสารลอยเด่น องค์พระแตก ข้างหลังมีรอยปาดขนาดใหญ่ และเป็นพิมพ์นิยม ของท่านหลวง วิจารณ์ เจียรนัย


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 24 มี.ค. 2557 - 21:59:07 น.

แต่องค์นี้มีสีคล้ำเพราะใส่น้ำมันตังอิ๊วมากไปหรืออาจจะทางน้ำมันตังอิ๊วเคลือบผิว เนื้อพระจะได้แน่น


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 24 มี.ค. 2557 - 22:03:31 น.

องค์นี้เนื้อปูนเปลือกหอยครับ สีดำที่เห็นนั้นเป็นสีน้ำมันตังอิ๊วครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 24 มี.ค. 2557 - 22:41:22 น.

องค์นี้พิเศษคือมีผ้าทิพย์ ส่วนคราบเกดำน้ำมันตังอ้วนั้วววนดมดูได้ไม่มีกลิ่นแม้แต่นิดเดียวครับ บ่งบอกถึงความมีอายุครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 25 มี.ค. 2557 - 13:42:19 น.

ท่านผู้โหวตครับ ท่านยังไม่เห็นพระองค์จริงๆท่านสามารถดูรู้ว่าผิดเนื้อได้อย่างไร ผิดพิมพ์ก็เช่นกัน พิมพ์สมเด็จวัดระฆังก็เป็นอย่างนี้ทั้งนั้น รบกวน webmaster ช่วยตรวจสอบผู้ที่โหวตนี้ด้วยครับ แต่ขอให้ส่งข้อมูลที่แท้จริงมา ไม่ใช่เขียนลอยๆครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    benzmtts43 (35)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM