(0)
"ของสุดยอด!!'!.... พระสมเด็จ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เนื้อผงพุทธคุณ ฝังพลอย "กรรมการ"






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง"ของสุดยอด!!'!.... พระสมเด็จ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เนื้อผงพุทธคุณ ฝังพลอย "กรรมการ"
รายละเอียดของสุดยอด!!!.... พระสมเด็จ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เนื้อผงพุทธคุณ ฝังพลอย "กรรมการ"

สวยเดิมเดิม ผิวเดิมเดิม กดพิมพ์ชัดเจน ฝังพลอย พระมีราน เพราะ ความแห้ง ตามอายุ พระประสบการณ์ดีมากมาก เหมาะกับ คนชอบ พระดี ติดตัว รับประกันทุกกรณี

ประวัติ หลวงปู่ธูป (พระราชธรรมวิจารณ์) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพมหานคร

พระราชธรรมวิจารณ์ หรือ ที่ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหา มักเรียกท่านว่าหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพ แถมท่านยังมีวิทยาคมเข้มขลังอีกด้วย ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง และสนน ราคาก็ยังไม่สูงมาก

หลวงปู่ธูป ท่านเกิดที่ตำบลบางหลวงเอียง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2441 โยมบิดาชื่อ เดช โยมมารดาชื่อ ผ่อง ท่านกำพร้าบิดามารดาตอนอายุได้เพียงขวบเศษ ต่อมาท่านจึงได้มาอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่ กทม. คือเจ้าพระยาราชศุภมิตรและท่านผู้หญิงแปลก ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่ กทม. และได้ศึกษาหนังสือขอม บาลีต่างๆ ที่วัดใกล้บ้านของท่าน

ครั้นถึงปี พ.ศ.2463 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค) นางเลิ้ง โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมวโรดม (จ่าย) สายเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (หว่าง) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพุทธบาล (เนตร) เจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมสิริ" เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้ศึกษาพระธรรม และวิปัสสนากรรมฐาน กับพระครูพุทธบาล ต่อมาท่านก็ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเดิม ท่านก็จำพรรษาอยู่วัดบางนมโค จึงได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลังจากที่ท่านได้เดินทางกลับมาที่ กทม.แล้ว ท่านก็ยังได้ไปเยี่ยมเยียนและศึกษากับหลวงพ่อปานอยู่เสมอ

ต่อมาท่านก็ได้สนิทสนมกับหลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ จึงได้มีโอกาสได้เรียนวิชาเชือกคาดเอวกับหลวงพ่อขันธ์อีกด้วย หลวงปู่ธูป นอกจากท่านจะได้เรียนกับหลวงพ่อปานและหลวงพ่อขันธ์แล้ว ท่านยังได้เดินทางไปเรียนกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ที่นครปฐมอีก หลวงพ่อแช่มและหลวงปู่ธูปได้เดินทางไปมาหาสู่กันอยู่ตลอด ต่อมาท่านก็ได้รู้จักกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ในคราวที่เดินทางไปที่วัดตาก้องนี้เอง และได้แลกเปลี่ยนวิชากัน

หลวงปู่ธูปท่านเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำกิจการใด ท่านก็ทำโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย นำพระภิกษุสามเณรให้ช่วยกันทำกิจกรรมของวัดให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ท่านจึงเป็นกำลังสำคัญของพระครูพุทธบาล ในการช่วยปฏิสังขรณ์พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองจนได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส

ในปี พ.ศ.2471 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน หลังจากท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เห็นมาจนทุกวันนี้ ในปีพ.ศ.2477 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสุนทรธรรมวิจารณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระสุนทรธรรมวิจารณ์ ในปี พ.ศ.2506 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณ ศักดิ์เป็นที่พระราชธรรมวิจารณ์

ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ท่านเริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2482 โดยท่านสร้างร่วมกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นพระสมเด็จฐานสามชั้น พระรอด พระนางพญา และพิมพ์นางกวัก พระที่สร้างครั้งนี้เป็นพระเนื้อผง ผสมกับดินปูชนียสถาน และผงใบลาน ลงรักฉาบเนื้อ เนื้อในสีดอกเทา ด้านหลังจะเป็นรอยจารลึกลงไปในเนื้อทุกองค์

เมื่อสร้างเสร็จท่านก็จะแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และผู้มาแสดงมุทิตาจิต ที่เหลือนอกนั้นนำไปบรรจุที่ใต้ฐานพระประธาน พระชุดนี้ปัจจุบันหาดูได้ยากสักหน่อย นอกจากนี้ท่านได้สร้างตะกรุด เชือกคาดเอว พระเนื้อผงรุ่นปีพ.ศ.2504 เหรียญปีพ.ศ.2513 และอื่นๆ อีกพอสมควร

หลวงปู่ธูปเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านละแวกนั้น อีกทั้งลูกศิษย์ลูกหาอีกมากมาย จนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2533 ท่านจึงได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุได้ 92 ปี พรรษาที่ 70

ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง


"เปิดราคาขาดทุน ถูกกว่าพระใหม่ ข้องนอกเกือบ 2,000 บาท แต่ได้เท่าไหร่เท่านั้นครับ"
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ก.ค. 2557 - 13:04:07 น.
วันปิดประมูล - 17 ก.ค. 2557 - 12:17:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtomyum (8.1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    narmkab (124)

 

Copyright ©G-PRA.COM