(0)
*** ตระกุดหนังลูกควายตายพราย****








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง*** ตระกุดหนังลูกควายตายพราย****
รายละเอียด*** ตระกุดหนังลูกควายตายพราย****
*** ตะกรุดหนังลูกควายตายรายพรอกครั่ง ครูบาชุ่ม วัดวังมุ่ย อ.เมือง จว.ลำพูน มีขนาดยาว 1 1/2 นิ้ว โต 1/2 นิ้ว ด้านในเป็นแกนทองแดง ถูกห่อหุ้มด้วย ลูกหนังควายตายพราย 1 ชั้น แล้วพอกด้วยครั่ง หนาๆ (ด้านนอก) ตะกรุดของท่านใช้ในทาง มหาอุด คงกระพัน แคล้วนคลาด ปลอดภัย ป้องกันอันตราย และเสริมด้วยเมตา ครบวงจร ครับ...เป็นที่เลื่องลือแห่งล้านนา คนพื้นที่มีประการสูง เป็นที่ห่วงแหนยิ่งนัก เรียนเชิญทุกๆๆท่านครับ ****
*** ครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเกิด ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2442 ปีกุน โยมบิดาท่านชื่อ พ่อบุญ โยมมารดาท่านชื่อแม่ลุน นามสกุล นันตละ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี โดยมีครูบาอินตา วัดพระขาวลำพูนเป็นพระอุปัชฌาย์ท่านได้เล่าเรียนหนังสือกับ ท่านเจ้าอาวาสวังมุย จนอ่านออกเขียนได้ จึงได้มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง และสำนักต่างๆ ที่มีพระอาจารย์ เก่งๆ ประจำอยู่ เมื่ออายุม่านย่างเข้า 20 ปี ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุยเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาอินตาเป็น พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็น พระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์ หลวงจ้อยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "โพธิโก" ท่านได้ออกเดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านวิปัสนา กัมมัฎฐานนอกจากนั้นหลวงพ่อได้สนใจที่จะศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคม และการพิชัยสงครามอีกด้วย ท่ายได้เดินทางไปศึกษากับครูบาสุริยะวัดท้าวบุญเรือง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้ศึกษาศาสตร์สนธิทั้งแปดมรรคแปดอรรคคาถาบาลี มูลกัจจาย จนท่านสามารถแปล และผูกพระคาถาได้ เมื่อท่านศึกษาจนจบแล้ว ท่านได้ไปศึกษากับพระครูบาศรีวิชัย (คนละคนกับครูบาศรีวิชัยที่เป็นตนบุญล้านนา) วัดร้องแหย่ ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ผู้เป็นพระอาจารย์ทางด้านวิปัสนากัมมัฎฐาน และเป็นพระนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ท่านครูบาองค์นี้มีอายุถึง 70 ปี แต่ยังแข็งแรง มีผิวพรรณสดใสและเป็นพระผู้มีปฏิปทามากผู้หนึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดอาคมไสยเวทย์ และการฝึกกระแสจิตควบคู่กันไป
***ในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดร้องแหย่งนั้น ท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ก็ได้มาเยี่ยมเยียนสัการะท่าน ครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่งเสมอ และบางครั้งท่านได้อยู่จำวัดและร่วมสวดมนต์ทำวัตรและปฎิบัติกัมมัฎฐานด้วย และเห็นว่าท่านครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปางท่านมีความเคารพนับถือท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งมาก ต่อมากท่านได้ไปศึกษากับ ครูบาแสนวัดหนองหมู จ.ลำพูน เป็นเวลา 2 ปี ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุย ต่อมาท่านได้ออกธุดงค์ไปยัง ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงจนมีสานุศิษย์มากมายต่อจากนั้นท่านได้เดินทางไปถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าแก่มีประวัติเล่าขาลกันตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ตอนนั้นพระธาตุดอยเกิ้งนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะบูรณะองค์พระธาตุโดยมีชาวบ้าน ชาวเขามาร่วมในการครั้งนั้นมากมาย กินเวลา 45 วัน จึงแล้วเสร็จหลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปจนถึง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และอยู่บูรณะวัดห้างฉัตรเป็นเวลาถึง 3 พรรษา และท่านได้สร้างสะพานต่างๆ มากมายเช่นสะพาน ต.ยุหว่า, สะพาน ต.สันทราย, สะพานป่าเดื่อ, สะพานวัดชัยชนะ ฯลฯ ในปี พ.ศ.2478 ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ 37 ปี ได้เข้าร่วมในการสร้างทางท่านได้มีโอกาสรับใช้อย่างใกล้ชิด คราวท่านครูบาศรีวิชัยถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพหลวงพ่อได้รับหน้าที่ดูแลรักษาวัดรับแขกที่มาทำบุญแทนท่านครูบาฯ ท่านได้ร่วมบูรณะวัดวาอารามต่างๆ กับท่านครูบาศรีวิชัยมากมายขณะที่ครูบาศรีวิชัยป่วยอยู่ที่วัดจามเทวี ท่านได้ไปเฝ้าพยาบาล และท่านได้ร่วมกับครูบาธรรมชัยวัดประตูป่า ให้ช่างมาปั้นรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยเนื้อปูนปั้นและนำไปหาท่านครูบาที่วัดจามเทวี เมื่อครูบาท่านเห็นรูปของท่านแล้ว น้ำตาได้เอ่อคลอเบ้าตาและท่านได้เอามือลูบไล้รูปเหมือนของท่าน และได้มอบพัดหางนกยูงและไม้เท้าของท่านให้ครูบาชุ่มและได้สั่งเสียว่า ให้ท่านรักษาให้ดีให้ถือปฏิบัติเหมือนตัวแทนของท่าน
***วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ยันต์ตระกุดหนังลูกควายตายพราย รวมไปถึงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ทำให้บรรดาศิยานุศิษย์ของได้ได้ขออนุญาตจัดทำ และท่านเมตาผูกยันต์ลงอักขระให้ และท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดเจ็ดวัดเจ็ดคืนภายในวิหารวัดวังมุยก่อนที่ท่านจะทำพิธีใหญ่ใน วันที่ 5 ธันวาคม 2517 โดยมีเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดลำพูน สวนเจริญพุทธมนต์ นั่งบริกรรมตลอดคืน จนถึงตอนเช้าได้วันที่ 6 ธันวาคม 2517 ได้สวดเบิกพระเนตรและมงคลสูตร แล้วเสร็จจึงทำบุญตักบาตรถวายภัตหาร เสร็จพิธีจากนั้นคณะกรรมการจึงได้แจกจ่ายเหรียญให้ทันที ***
ครูบาชุ่ม ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2519 สิริอายุได้ 78 ปี 65 พรรษา คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีของท่าน
และวัตถุมงคลของท่านซึ่งจากประสบการณ์ของผู้ที่ครอบครอง วัตถุมงคลของท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่เล่าขานกันไม่รู้จบ
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 21 ส.ค. 2557 - 07:40:05 น.
วันปิดประมูล - 28 ส.ค. 2557 - 08:39:17 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmanasp (32)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 21 ส.ค. 2557 - 07:44:54 น.



เพิ่มรูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 21 ส.ค. 2557 - 07:45:12 น.



เพิ่มรูป


 
ราคาปัจจุบัน :     2,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Yoongyoong9 (2.6K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM