(0)
พระสมเด็จเผ่า วัดอินทรฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผง ปี2495 จ.กรุงเทพ







ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จเผ่า วัดอินทรฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผง ปี2495 จ.กรุงเทพ
รายละเอียดเลี่ยมพลาสติคกันน้ำอย่างงามพร้อมขึ้นคอ น้ำยาไม่มีไหลไปโดนเนื้อพระ รับประกันตามกฎ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 19 ต.ค. 2557 - 08:35:07 น.
วันปิดประมูล - 20 ต.ค. 2557 - 11:48:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลแผนบ้านกร่าง (1.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 19 ต.ค. 2557 - 08:43:13 น.

"วัดอินทรวิหาร" บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นแหล่งกำเนิดพระพิมพ์สมเด็จ ของ "หลวงปู่ภู" แล้ว เมื่อ พ.ศ. 2495 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (อธิบดีกรมตำรวจสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม)ในฐานะเป็นประธานจัดงานนมัสการประจำปีหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร ได้มอบหมายให้พล ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร เป็นหัวหน้าดำเนินการสร้างพระพิมพ์สมเด็จฯ เป็นจำนวนถึง 84,000 องค์
เพื่อจะได้จัดจำหน่ายเป็นทุนสร้างศาลาการเปรียญวัดอินทรวิหารต่อไป พระพิมพ์สมเด็จ "เผ่า" กำเนิด ณ วัดอินทรวิหาร พิธีปลุกเสกได้ทำเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2495 โดย.พระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อในด้านวิทยาคม 15 องค์ ครั้งที่ 2 ทำพิธีปลุกเสกและสวดพุทธาภิเษกตลอดคืน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2495 ด้วยพระอาจารย์ผู้เรืองเวทถึง 39 องค์ พระพิมพ์สมเด็จดังกล่าวมีขนาดพอๆ กับพระสมเด็จ บางขุนพรหม แต่ส่วนกว้างจะกว้างกว่าเพราะการตัดส่วนก็มักจะมีลูกเล่นตัดเลยขอบเป็นแบบ "ขอบกระจก" คล้ายกับพระสมเด็จเกศไชโยเป็นส่วนมากด้วย พิมพ์ที่สร้างส่วนใหญ่มักเป็นพิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ และแบบอกร่องหูยาน แต่ฐานไม่แซม พิมพ์ค่อนข้างลึกและหนา สำหรับ "พิมพ์ใหญ่" "แบบพิเศษ" ที่ค่อนข้างงามมาก เหมือนวัดระฆังฯ นั้น ทำไว้น้อย กับ "พิมพ์สามเหลี่ยม" ก็มีสร้างไว้ไม่มากนักเช่นกัน โดยทั้งหมดเป็นพระเนื้อผงขาวละเอียดแน่นตัวเห็นมวลสารพอสมควร เทียบระหว่างเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯหรือบางขุนพรหมแล้ว เนื้อยังแก่น้ำมันอมเหลืองมากไปหน่อย ยังต่างกันอยู่มาก แต่ในด้านความขลังแล้ว "ใครมีไว้จะไม่ผิดหวังเลย" ยกเว้นอย่าเป็นของปลอมก็แล้วกัน เรื่องพระพิมพ์สมเด็จ "เผ่า" นี้ กล่าวกันว่าหลังพิธีประจุอาคมขลังให้แก่องค์พระเสร็จสิ้นลงแล้ว ได้มีผู้ใหญ่นำพระไปหลังวัดแล้วทดลองยิงทันที ซึ่งก็ยิงไม่เข้าและยิงไม่ออก! จึงเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วกรุง และภายหลังจากประชาชนได้พากันไปเช่าที่วัดองค์ละ 10 บาทแล้ว ต่างได้ประสบการณ์กันมากราย จึงสรุปได้ว่าพระพิมพ์สมเด็จ "เผ่า" นี้ นอกจากจะมี พุทธคุณเช่นเดียวกันสมเด็จบางขุนพรหมแล้ว ที่แน่ๆ ด้านคงกระพันชาตรี และมีมหาอุตม์ด้วย
*มวลสารประกอบเป็นพระสมเด็จเผ่า....ผงวิเศษดั้งเดิมของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากเศษพระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุด ,ผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ครั้งหล่อพระกริ่ง เมื่อพุทธศักราช พ.ศ.2485ผงสมเด็จที่มอบให้แก่หลวงปุ่ภูวัดอินทรวิหารรักษาไว้ , ผงของหลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์ , ผงวิเศษจากสำนักของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมบริกรรมปลุกเศก

*รายนามพระเกจิ ที่ร่วมพิธีปลุกเศก ชนวนมวลสาร ใน วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495
พระเทพเวที วัดสามพระยา , พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำ , พระราชโมฬี วัดระฆัง , พระภาวนาวิกรม วัดระฆัง , พระศรีสมโภช วัดสุทัศน์ฯ
พระอาจารย์ แฉ่ง วัดบางพัง , พระครุวินัยธร วัดสัมพันธวงศ์ , พระครูสรภัญญประกาศ วัดโปรดเกศ , พระอาจารย์พลี วัดสวนพลู
พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ , พระปลัดเปล่ง วัดกัลยานิมิตร , พระอาจารยืใบฎีกาบัญญัติ วัดสุทัสน์ฯ , พระครุอินทรสมจารย์ วัดอินทรวิหาร
พระครุมงคลวิจิตร วัดอนงคาราม (มาแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ นวม)

*ในพิธีมีการจัดธรรมาสน์มุกตั้งเป็นสำคัญในการอัญเชิญให้พระวิญญานสมเด็จฯมาเป็นประธาน*
*รายนามพระเกจิที่ร่วมพิธี พุทธาภิเศก หลังจาก พิมพ์ผงมวลสารให้เป็นองค์พระสมเด็จแล้ว ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 มี
พลวงพ่อสด วัดปากน้ำ , หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว , หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาณจนบุรี , หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ , หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร , พระปลัด ตังกวย วัดประดู่ฉิมพลี กทม , หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวง่อนอ วัดกลางท่าเรือ , หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม นครปฐม , หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง , หลวงปู่นาค วัดระฆัง
(ประสบการณ์ในพุทธคุณของพระชุดนี้เน้นหนักในด้านป้องกันอันตรายสูงครับ ผู้บูชาพระชุดนี้ต่างประสพพบเจอกันอยู่บ่อยๆครับ)


 
ราคาปัจจุบัน :     3,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    zafari (20.9K)

 

Copyright ©G-PRA.COM