(0)
เหรียญ เก้าเหลี่ยม รุ่นแรก(นิยมสุด) หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ มัญจาคีรี ขอนแก่น พระสุปฎิปันโน ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต....






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญ เก้าเหลี่ยม รุ่นแรก(นิยมสุด) หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ มัญจาคีรี ขอนแก่น พระสุปฎิปันโน ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต....
รายละเอียดเหรียญเก้าเหลี่ยม นิยมสุด หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ รุ่นแรก ขอนแก่น

หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ มัญจาคีรี ขอนแก่น พระสุปฎิปันโน ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต....

..ปกติท่านจะไม่รับกิจนิมนต์ใดๆ นอกจากงานประจำปีของจังหวัดขอนแก่นเท่านั้น สืบเนื่องจากวัดป่าคำแคนเหนือหลวงปู่มหาโส อยู่ลึกติดชายเขาภูเม็ง การเดินทางไปมาค่อนข้างจะลำบาก ห่วงว่ามีลูกศิษย์มากราบขอพรหลวงปู่มาแล้วไม่พบหลวงปู่จะทำให้เสียเวลาการเดินทาง..

หลวงปู่มหาโส กัสโป เกิดวันจันทร์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พศ.2458 เกิดที่เมืองนักปราชญ์ถิ่นดอกบัวนามว่า อุบลราชธานี หนึ่งในจังหวัดภาคอีสานใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นถิ่นอุบัติชีวิตขึ้นมาในสายพระกรรมฐาน เช่น พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชา พระธรรมเจดีย์(จูม) ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปปมาจารย์(สิริจันโท จันทร์) พระบูรพาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดอุบลฯเช่นเดียวกับหลวงปู่มหาโส ครอบครัวของท่านมีพี่น้อง 9 คน หลวงปู่เป็นคนที่ 6 คุณพ่อชื่อ เคน ดีเลิศ คุณแม่ชื่อ คำ ดีเลิศ อยู่ที่หมู่บ้านก่อ ตำบลหนองนกไข่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่ออายุได้ 19 ปี หลวงปู่ได้บวชเป็นสามเณร ที่วัดบ้านก่อ เมื่อพศ.2477 โดยมีหลวงพ่ออ่อน วัดบ้านก่อ เป็นพระอุปฌาย์ ผู้ให้การบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อบวชได้ 1 พรรษาจึงได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านก่อโดยมีหลวงพ่ออ่อน เป็นพระอุปฌาชย์และพระอาจารย์สุ่นเป็นพระกรรมวาจา ในสังกัดคณะสงฆ์ในฝ่ายมหานิกาย เมื่อบวชได้ไม่นาน มีพระอาจารย์เพชร มาชวนหลวงปู่ไปเรียนหนังสือที่วัดโพธิ-สมภรณ์ ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แต่เนื่องจากวัดโพธิ-สมภรณ์ นั้นเป็นวัดในสังกัดฝ่ายธรรมยุติ และหลวงปู่เป็นพระฝ่ายมหานิกาย เป็นเรื่องยุ่งยากในการร่วมทำสังฆกรรม จึงได้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุติ ก็ได้มาพบกับพระครูปราโมทย์ธรรมธาดา(หลวงปู่หลอด ปโมทิโป)ขณะนั้นหลวงปู่หลอดได้บวชอยู่วัดธาตุหันเทาว์ จ.อุดร เป็นวัดฝ่ายมหานิกายเช่นกัน ต่างได้ชักชวนกันไปเปลี่ยนญัตติกับพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พศ.2479

ในการเปลี่ยนญัตติครั้งนั้น ได้เข้าไปเรียนฝ่ายปริยัติจบนักธรรมชั้นเอกและสอบได้เปรียญ 3 ประโยค ในขณะนั้นหลวงปู่ได้ยินชื่อเสียงท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเคร่งในธรรมปฎิษัติ เกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ตั้งใจว่าจะติดตามท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อปฎิษัติธรรมตามแนวทางการสั่งสอนของท่านพระอาจารย์มั่น แต่ก็ได้ยินได้ฟังว่าท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเทศน์เก่ง รู้ถึงจิตใจผู้มาฟังท่านเทศน์ และท่านเข้มงวดกวดขันยิ่งนักในเรื่องระเบียบวินัยและมารยาท จนเป็นที่เข้าใจกันว่าท่านพระอาจารย์มั่นดุ ความที่ว่าเข้าใจท่านพระอาจารย์มั่นดุ เกิดความเกรงกลัวเลยไม่กล้าไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น....

จึงได้เดินทางออกธุดงค์ สู่ป่าใหญ่กว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ช้างป่า เสือ งูพิษหลากชนิด หลวงปู่กลับไม่ได้หวาดหวั่นหรือกริ่งเกรงสิ่งเหล่านั้น หลวงปู่ได้เดินธุดงค์จากอุดรธานีจนมาพบกับ หลวงปู่อ่อน ญาณศิริ และหลวงปู่บุญมา ซึ่งเป็นศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่อ่อนและหลวงปู่บุญมา ได้อบรมกรรมฐานเพิ่มเติมในการปฎิษัติธรรมและวิธีนั่งกรรมฐาน การเจริญสมาธิภาวนา และพระอาจารย์อีกท่านหนึ่งของหลวงปู่ คือ พระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน หลวงปู่มหาโสท่านมีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆ ก็ได้กราบเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระอาจารย์มหาสีทนได้ฝึกกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตและพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ท่านเป็นพระรุ่นพี่ที่คอยแนะนำการปฏิบัติที่สำคัญรูปหนึ่งในสายพระกรรมฐาน พระอาจารย์มหาสีทน มีศิษย์สำคัญ 2 องค์ คือ หลวงมหาปู่โส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปัญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) จ.อุบลฯ

หลวงปู่มีพระสหธรรมมิกที่สนิทอยู่คือหลวงพ่อผาง จิตคุตโตและหลวงปู่หลอด ปโมทิโต หลวงปู่ท่านได้ปฎิษัติตามคำสอนหลวงปู่อ่อน หลวงปู่บุญมาและพระอาจารย์มหาสีทน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปลีกวิเวกตามป่าเขาเรื่อยมา ในราวปีพศ.2497 หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงที่ภูเม็งในเขตบ้านคำแคนเหนือ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในสมัยนั้นภูเม็งเป็นป่ารกมีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาทึบ ซึ่งเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่ามากมาย มีชาวบ้านที่ปลุกไร่ข้าวโพดเดือดร้อนจากช้างป่าโขลงหนึ่ง ชอบลงมากินไร่ข้าวโพดที่ปลุกไว้ประจำ ชาวบ้านได้มาขอพึ่งบารมีหลวงปู่ช่วยปัดเป่า หลวงปู่ก็ได้ช่วยสงเคราะห์ปัดเป่าไล่โขลงช้างไม่ให้มากินทำลายพืชผลชาวบ้านอีกต่อไป

การเดินทางอยู่บนภูเม็งไข้ป่ายังชุกชุมมาก หลวงปู่เป็นไข้ป่าแทบจะเอาตัวไม่รอด ชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงปู่ลงมารักษาตัวจนหายไข้ป่า หลวงปู่คิดจะขึ้นไปปฏัติธรรมบนเขาอีก แต่ทนความรบเร้าของชาวบ้านที่ศรัทธาในตัวหลวงปู่ ขอให้ปักหลักที่ชายเขาภูเม็งอย่าได้ขึ้นไปอีกเลย ไม่สะดวกกับชาวบ้านในการเดินทางขึ้นไปหา ด้วยความเมตตาหลวงปู่ไม่อยากจะขัดศรัทธา ก็เลยปักหลักพำนักที่ชายเขาปัจจุบันเป็นวัดป่าคีรีวัน(วัดป่าคำแคนเหนือ)ที่หลวงปู่อยู่ เมื่อปีพศ.2502 หลังจากที่ขึ้นไปปฎิษัติธรรมบนเขาภูเม็งเป็นเวลา 6 ปี

ในจังหวัดขอนแก่นถ้านับพระสายฝ่ายธรรมยุติ หลวงปู่มหาโส ท่านเป็นพระที่อวุโสที่สุด ทุกครั้งงานใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น จะนิมนต์หลวงปู่ให้เป็นองค์ประธานในพิธี โดยปกติแล้วหลวงปู่จะไม่รับกิจนิมนต์งานต่างๆไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะมีบ้างบางครั้งเช่นงานของจังหวัดขอนแก่น เพราะปฏิปทาของท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว วัดป่าคำแคนเหนือตั้งอยู่ในพื้นชายเขาภูเม็ง นับว่าเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะกับการปฎิษัติธรรม การเดินทางไปที่วัดถนนเส้นทางเป็นลักษณะดินลูกรัง ดังนั้นเป็นเหตุผลหนึ่งที่หลวงปู่ไม่ยอมรับกิจนิมนต์ต่างๆ เรื่องความเมตตาลูกศิษย์ที่ได้เข้ากราบหลวงปู่มหาโส จะรู้ดีว่าหลวงปู่เปี่ยมล้นด้วยสุดยอดความเมตตา ปัจจุบันหลวงปู่อายุได้ ๙๕ ปี นับว่าชราภาพมากแล้วแต่สุขภาพก็ยังแข็งแรงดีอยู่ ที่อยู่อย่างเป็นทางการชื่อวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 17 พ.ย. 2557 - 22:51:55 น.
วันปิดประมูล - 27 พ.ย. 2557 - 22:51:55 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลchanonnee (1.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 พ.ย. 2557 - 01:32:06 น.

##### .......อีกนิดเดียวครับ ไม่ไกล แบ่งกันใช้ครับ สวยๆขึ้นเหมื่นแล้ว #####


 
ราคาปัจจุบัน :     2,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM