(0)
***วัดใจ***เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน 1ใน1200







ชื่อพระเครื่อง***วัดใจ***เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน 1ใน1200
รายละเอียดเมื่อกล่าวถึงคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคมมากที่สุด คงไม่มียุคใดสมัยใด เหมือนยุครัชสมัของ
“พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕” ไปได้ ซึ่งยุคสมัยนั้นมีเกจิผู้ทรงคุณวุฒิ และวิชาอาคมอันเรื่องลือจวบจนปัจจุบัน และหนึ่งในนั้นก็คือ “หลวงปู่กลีบ พุทฺธรกฺขิโต” แห่งวัดตลิ่งชัน ธนบุรี หรือนามท่าน “พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) พุทฺธรกฺขิโต” ท่านเกิดวันพุธที่ 21 มีนาคม ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู พ.ศ. 2419 ณ.บ้านคลองตลิ่งชัน ตำบล คลองชักพระ อำเภอ ตลิ่งชัน จังหวัด ธนบุรี ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น กรุงเทพมหานคร ไปแล้ว โยมบิดาท่านชื่อสิงห์ โยมมารดาท่านชื่อ ห่วง มีพี่น้องร่วม บิดา มารดา 8 คน
1.นางจันทร์ รอดพัน
2.นางแพ คงมี
3.นายขันธ์
4.นายผ่อง
5.นางแสง อิ่มอก
6.นายเชย
7.พระครูทิวากรคุณ
8.นายเภา
ทั้ง หมดถึงแก่กรรมแล้ว หลวงปู่ท่านอุปสมบท เมื่อพ.ศ. 2439 อายุ 21 ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ.พันธสีมาวัดตลิ่งชัน ธนบุรี โดยมีท่านเจ้าอธิการม่วง เจ้าอาวาสวัดเจ้ากรับ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนายโรง)
เป็นพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระพุฒาจารย์เข้ม ธนฺมสร มหาเถระ วัดเชตุพน ครั้งดำรงสมณศักดิ์ ที่
พระอมรเมราจารย์ วัดมหาธาตุ พระนคร และพระอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี เป็นคู่สวดกรรม
วาจา นุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วอยู่ในสำนัก วัดตลิ่งชัน ได้บำเพ็ญอุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร และสมณปฏิบัติ ตามหน้าที่พระนวกะ 2 พรรษา จึงได้ลาพระอุปัชฌายะ และเจ้าอาวาส ย้ายไปอยู่สำนัก วัดมหาธาตุ พระนคร ศึกษาพระปริยัติธรรม ในสำนักนั้นอีก 1 พรรษา จึงย้ายจากวัดมหาธาตุไปอยู่ ณ สำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม เพื่อศึกษาวิชาอักขระเลขยันต์ และเรียนสนธิมูลกัจจาย จนเกิดการแตกฉานในสรรพวิชา และต่อมาเมื่อปี 2448 ตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดตลิ่งชันได้ว่างลง พระครูธรรมจริยาภิธย์ แห่งวัดคฤหบดี ได้พิจารณาแล้วว่า ภิกษุกลีบ พุทฺธรกฺขิโต เป็นผู้มีพรรษายุกาล ทั้งได้เคยศึกษาพระปริยัติธรรมมาพอควร และเป็นพระภิกษุที่มีจริยาวัฒน์อันน่าเลื่อมใส เหมาะแก่การดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสของ วัดตลิ่งชัน จึงได้เสนอชื่อของท่านขึ้นดำรงตำแหน่งสืบต่อไป วัดตลิ่งชันเคยเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมา คาดว่าน่าจะอยู่สมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะจากลักษณะพระประธานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ลงรักปิดทองอย่างประณีต สวยสดงดงามตามคุณลักษณะของพระอยุธยาตามศิลปะ ตัววัดตั้งอยู่ริมคลองชักพระด้านฝั่งตะวันตก ณ. เขตท้องที่ ตำบล คลองชักพระ อำเภอ ตลิ่งชัน จังหวัด ธนบุรี (ปัจจุบันเป็นเขตตลิ่งชันไปแล้ว) ส่วนหลังวัดติดกับถนนสาย ตลิ่งชัน-ช่างเหล็ก และต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดตลิ่งชัน ถึงปี พ.ศ. 2467
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น
พระ ครูสัญญาบัตร มีราชทินนามว่า “พระครูทิวากรคุณ” ตำแหน่งเจ้าคณะหมวดในสมัยนั้น ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงในกรุงเทพฯ เทียบเท่าตำแหน่งเจ้าคณะเมือง หรือเจ้าคณะจังหวัด พระเถระผู้ดำรงตำแหน่งในสมัยนั้น(เจ้าคณะแขวง) ในกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระราชาคณะ” ทั้งนั้นส่วนตำแหน่งเจ้าคณะหมวด เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู “สัญญาบัตร” ทรงพระราชทานพัดยศเสมอกันกับตำแหน่งเจ้าคณะแขวงชั้นหัวเมือง แต่ไม่มีนิตยภัตต์ (เงินเดือน) พระครูทิวากรคุณ หรือ หลวงปู่กลีบ จึงได้รับพระราชทานพัดยศ เช่นเดียวกับเจ้าคณะแขวงหัวเมืองชั้นตรี ครั้งถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองคณะสงฆ์ โดยอนุโลมตามฝ่ายอาณาจักร จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ขึ้นไว้ และระเบียบคณะคณาธิการ ให้พระภิกษุผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมีนิตยภัตต์ ประจำเดือน หลวงปู่จึงได้นิตยภัตต์จากทางราชการแต่นั้นสืบมา (เปลี่ยนจากเจ้าคณะแขวงเป็นเจ้าคณะตำบล)
ครั้งถึงปี พ.ศ.2500 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงกรุณา
โปรด เกล้าฯให้เลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระครูชั้นพิเศษทรงพระราชทานพัดยศ จ.ป.ร. แต่ยังมิได้รับพัดยศ ท่านก็ถึงแก่การมรณภาพเสียก่อน ซึ่งนำความเสียใจแก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่านมาก เพราะท่านเป็นที่เคารพบูชา ปกติงานบำเพ็ญกุศลของท่าน ทุกปีจะมีประชาชน ชาวบ้านและลูกศิษย์ต่างมาที่วัดกันแน่นขนัดวัด และก่อนหน้านั้นปี พ.ศ. 2495 หลวงปู่มีอายุ 75 ปี บรรดาลูกศิษย์ทุกๆคน และท่านผู้ที่เคารพนับถือได้ร่วมแรงร่วมใจจัดงานพิธีหล่อรูปเหมือนของหลวง ปู่ มีขนาดเท่าองค์จริง ซึ่งหล่อด้วยทองโลหะขึ้น ทำพิธีหล่อเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปี มะโรง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ศาลาด้านขวามือของพระอุโบสถ ซึ่งในปัจจุบันยังมีผู้คนและชาวบ้าน มาสักการบูชาท่านมิขาดสาย ซึ่งก็ประสบความโชคดีและบารมีของหลวงปู่ซึ่งชาวบ้านจะรู้จักกัน วัตถุมงคลของหลวงปู่ท่านก็มีผู้คนต่างแสวงหาเช่นกัน เช่น แหวนมงคลแปด และเหรียญรูปไข่รุ่นแรกของท่าน ซึ่งมีประสบการณ์มาก เหรียญนี้ท่านสร้างไว้เมื่อตอนปี พ.ศ.2479 โดย พันเอก หิรัญ ปัทมานนท์ บุตรชาย พันเอกพระยาดำเกิงรณภพ เพื่อแจกเป็นที่ระฤก โดยสร้างไว้จำนวน 1,200 เหรียญ เป็นเนื้อทองทั้งหมด โดยมี
1.ทองแดง
2.ทองแดงรมดำ
3.ทองแดงกะไหล่ทอง
4.ทองแดงชุบเงิน
และเนื่องจากลูกศิษย์ลูกหาท่านมีมากจึงไม่พอแจก ครั้งต่อมาท่านจึงให้ พันเอก หิรัญ สร้างเพิ่มอีกครั้งโดยใช้แม่พิมพ์เดิมอีกประมาณ 800 เหรียญเพื่อแจกสมนาคุณ และวัตถุมงคลอีกรุ่นที่เป็นที่หวงแหนและหาได้ยากมากก็คือ พระกริ่งหนองแส ซึ่งเป็นกริ่งรุ่นเดียวที่ท่านได้สร้าง โดยมีเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ร่วมช่วย ซึ่งพระกริ่งนี้มีชนวนเก่ามาก บางส่วนมาจากของ “สมเด็จพระสัฆาราชแพ” ซึ่งสร้างในแบบกริ่งจีน ลักษณะนั่งบนบัวสองชั้นไม่มีการแต่งใดๆ ส่วนใหญ่พระจะเอนไปทางด้านหลังนิดๆ ปัจจุบันเป็นของซึ่งหาได้ยากมาก เพราะท่านสร้างไว้ประมาณ 300 องค์ สร้างในราวปี พ.ศ.2493-2494 มีทั้งอุดกริ่งและไม่อุดกริ่ง ส่วนที่อุดจะอุดด้วยจุกทองแดง บางองค์ก็ตันไปเลย วัตถุมงคลของท่านดีทุกด้าน ไม่ว่าจะแคล้วคลาด เมตตา และยังมีกรอบรูปกระจก กับพระกริ่งครึ่งซีกอีกที่ท่านสร้างไว้ รวมทั้งตะกรุด เสือยันต์ และคันกระสุน ซึ่งเป็นของที่ชาวบ้านหวงแหนยิ่งนัก ผู้เขียนจึงมิสามารถนำภาพมาลงให้ท่านชมได้ และที่สำคัญ ต้องกราบขอบพระคุณ
พระมหาธวัช โพธิเสวี ป.ธ.8 และ พ.ท.สำเริง ดารากร ณ.อยุธยา ที่ให้ข้อมูลและวิชาการ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน4,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 20 พ.ย. 2557 - 20:13:50 น.
วันปิดประมูล - 21 พ.ย. 2557 - 20:17:12 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtirescue (1K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     4,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    มะนาวเปรี้ยว (194)

 

Copyright ©G-PRA.COM