(0)
*** พระร่วงหลังรางปืน เนื้อชิน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง*** พระร่วงหลังรางปืน เนื้อชิน
รายละเอียด***พระร่วงหลังรางปืน ซึ่งเป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่มีผู้คนนิยมเลื่อมใสเป็นอันมากนั้น น่าจะขุดพบที่วัดมหาธาตุอันเป็นที่ตั้งวัดใหญ่แต่กลับไปขุดพบที่วัดพระศรีมหาธาตุ(วัดพระปรางค์) อยู่เมืองสวรรคโลกโน่น ซึ่งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นเมืองเก่ารุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่ บนฝั่งขวาแม่น้ำยม ตรงแก่งหลวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสวรรคโลกหรือเมืองเชลียง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย
เมืองสวรรคโลกหรือเมืองเชลียงทั้งในอดีต และปัจจุบัน ก็อยู่ในเขตเมืองศรีสัชนาลัย ที่มีพระเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐษนเจดีย์มีช้างปูนปั้นประดับอยู่โดยรอบทั้งหมด39เชือก นี่แหละคือที่พบพระร่วงหลังลิ่ม
ที่เขาพูดกันว่า พระร่วงหลังลิ่มกรุช้างล้อม
***สำหรับพระร่วงหลังรางปืนที่เห็นยืนปางประทานพรนั้เป็นพระร่วงที่สร้างด้วยเนื้อตะกั่วสนิมแดง นักนิยมสะสม
พระเก่าๆหลายรายกล่าวกันว่าพบที่พระปรางค์เมืองสวรรคโลก จะอย่างไรก้อตามเชื่อคนเก่าไปก่อน
พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระเครื่องชั้นยอดขุนพลและมีอันดับ เป็นพระทึ่มีการสร้างแตกต่างกัน2แบบพิมพ์คือ
1 แบบพระพักตร์โตฐานหนา
2 แบบพระพักตร์เรียวฐานบาง
***พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่มีศิลปะสมัยลพบุรี มีหลังรางปืนเป็นเอกลักษณ์ประจำองค์พระ ทำให้ง่ายต่อการเรียกขานเป็นอย่างมาก ถ้าไม่มีรางปืน หลังเรียบหรือหลังลายผ้ากด เขาเรียกพระร่วงลพบุรี เพราะเป็นพระพิมพ์เดียวกัน
สำหรับการเรียกขานชื่อพระเครื่องนั้นโดยมากจะตั้งชื่อกรุตามความพอใจของขุดพบแต่ละที่ แต่ละแห่ง
***มูลเหตุของพระร่วงหลังรางปืน ที่มีความสมบูรณ์แบบ คมชัด และไม่เว้าหรือแหว่ง เพราะเหตุว่าการเทหรือการหล่อ ของช่างใช้วิธีใช้แม่พิมพ์ไม้กดด้านหลัง โดยใช้แม่พิมพ์ 2 ชนิด (ตัวผู้-ตัวเมีย) มาประกบกันเข้า แล้วเทตะกั่วลงทาง
ด้านเท้า (หมายถึงเอาด้านเศียรลงต่ำ) เนื้อตะกั่วจะแล่นไปทั่วแม่พิมพ์ ทำให้เกิดความสมบูรณ์และสวยงาม
***พระร่วงหลังรางปืนผิวสนิมจะแดงแบบลูกหว้าสุก และจะต้องมีคราบไขขาวเกาะกันแน่นเป็นหย่อมๆ สนิมมีแตกลายงาที่บางคนเรียกว่า แตกแบบใยแมงมุม และไม่ใช่แตกแบบจงใจหักให้งอไปงอมา พระร่วงปลอมใหม่ๆเขาทำกันอย่างนั้น สนิมของพระร่วงแท้จะต้องเป็นสนิมที่มีความมันเงาภายในเนื้อตะกั่ว ไม่ใช่แดงเฉพาะแค่ผิวเท่านั้นแต่ต้อง
แดงถึงเนื้อตะกั่ว (เนื้อใน) พระร่วงบางองค์หักและเปราะหักง่าย เป็นเพราะว่าเนื้อตะกั่วหมดยาง (หมดสภาพ) แต่ยังยึดเกาะแน่นเพราะสนิมนั่นเอง
***'พระร่วง' เป็นพระนามของกษัตริย์ในครั้งโบราณและเป็นคำที่คนโบราณใช้เรียกต่อท้ายของบางสิ่งที่เป็นของโบราณ เช่น ไตรภูมิพระร่วงและสุภาษิตพระร่วง คนในท้องถิ่นตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย ชาวบ้านละแวกนั้นจะอธิบายว่าสิ่งที่เป็นของเมืองโบราณนั้นเป็นของที่พระร่วงทำขึ้นหรือเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ของพระร่วงทั้งสิ้น เช่น ร่องรอยคันดินโบราณ เรียกว่า 'ทำนบพระร่วง' ยังมีแร่ชนิดหนึ่งพบมากในสุโขทัยซึ่งเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ก็เรียกกันว่า 'ข้าวตอกพระร่วง' ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเรือรบหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทยว่า 'พระร่วง' หรือ 'เรือหลวงพระร่วง' เพื่อเป็นสิริมงคลตามนามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของคนไทย
***ดังนั้นจึงไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่าวิชาสูตรพระร่วงนี้เป็นของพระร่วงท่านหรือไม่อย่างไร เพียงแต่ผู้เรียบเรียงได้ค้นคว้าและพิจารณาแล้วเห็นว่าคงจะเป็นวิชาโบราณอย่างน้อยก็คงตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัย อีกทั้งโบราณนั้นโหราศาสตร์มีอยู่แต่ในวังกับในวัด ครูบาอาจารย์ท่านเรียกสืบต่อกันมาว่า 'สูตรพระร่วง' ผู้เรียบเรียงก็เลยมีจิตสนใจว่าพระร่วงนี้ท่านเป็นใคร เคยได้ยินมาบ้างตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ ว่าท่านมีวาจาสิทธิ์ ภายหลังมาได้ค้นหาความหมายก็ทราบว่า 'ร่วง' นี้ตรงกับภาษามคธว่า 'อรุณ' หรือตรงกับภาษาไทยภาคกลางแปลว่า 'รุ่ง'นั่นเองครับ
***พระร่วงเป็นชื่อบุคคลผู้เป็นวีรบุรุษ เป็นผู้นำของสังคม สังคมไทยโบราณนิยมสืบต่อเรื่องราวเก่าทำนองตำนาน นิทานปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน เป็นแบบมุขปาฐะ เล่ากันปากต่อปาก (oral history) ต่อมาจึงมีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในบรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้นำทางวัฒนธรรม เรื่อง "พระร่วง" เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเล่าขานทั้งในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรมตามตำนาน ฐานะวีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงของประวัติศาสตร์ และในฐานะสัญลักษณ์ของผู้รู้ และความเป็นปราชญ์
***เรื่องของพระร่วงมีตำนานเล่ากันมาหลายเรื่อง ซึ่งมิได้ระบุว่าเป็นกษัตริย์สมัยสุโขทัยพระองค์ใด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยก็เรียกว่า "ราชวงศ์พระร่วง" ทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่า พระร่วงคงจะเริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่เรียกนามในภาษาบาลีว่า "โรจนราช" กล่าวกันว่าเป็นพระสหายกับพระเจ้าเม็งรายมหาราชที่นครเชียงใหม่ และพ่อขุนงำเมืองแห่งนครพะเยา พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ในหนังสือเก่าเรียกตามภาษามคธว่า "รามราช" แต่ยังมีคำที่คนทั้งหลายเรียกพระนามกษัตริย์สุโขทัยอีกคำหนึ่งว่า พระร่วง ในพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระร่วงนี้มีบุญญาภินิหาร และฤทธิเดชเลิศล้ำ แม้ในพงศาวดารของประเทศใกล้เคียง เช่น ในพงศาวดารมอญ พงศาวดารลานนาไทย ก็ยังได้กล่าวถึงพระร่วงเมืองสุโขทัย ทุกวันนี้ยังมีสิ่งที่ออกพระนามพระร่วงด้วยหลายสิ่ง เช่น ข้าวตอกพระร่วง ปลาพระร่วง ทำนบพระร่วง หนังสือไตรภูมิพระร่วง สุภาษิตพระร่วง ปากพระร่วง (ผู้มีวาจาสิทธิ์ว่าอะไรเป็นอย่างนั้น) และที่สุดเรือรบของไทยลำหนึ่งก็ชื่อ เรือพระร่วง ล้วนเป็นคำที่ประกอบกับคำที่เล่าเรื่องพระร่วงสืบกันมา
ข้อสำคัญอย่างหนึ่งในศิลาจารึกไม่มีพระนาม "พระร่วง" ปรากฏสักแห่งเดียว จะเข้าใจว่าพระร่วงเป็นแต่นิทานไม่มีตัวจริงก็ไม่ได้ ด้วยประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกับกรุงสุโขทัยในสมัยนั้น ต่างเรียกพระเจ้ากรุงสุโขทัยว่า "พระร่วง" ทั้งสิ้น เช่นในเรื่องราชาธิราชก็อ้างว่า พระร่วงได้ชุบเลี้ยงมะกะโทและทรงส่งเสริมให้เป้นพระเจ้าฟ้ารั่วครองเมืองมอญ ในพงศาวดารโยนกก็กล่าวว่า เมื่อพระยาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ได้เชิญ"พระร่วงเมืองสุโขทัย"กับ"พระยางำเมืองเมืองพะเยา" ผู้เป็นสหายไปปรึกษา หนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์ซึ่งพระโพธิรังษีแต่งเป็นภาษามคธที่เมืองเชียงใหม่ ก็แปลงคำ "พระร่วง" เป็น "รังคราช" ว่าได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองนครศรีธรรมราชข้นไปไว้ ณ เมืองสุโขทัย และที่สุดชาวกรุงศรอยุธยาก็เรียกกันทั่วไปว่า "พระร่วง" จึงเห็นว่า "พระร่วง " นั้นคงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ครองกรุงสุโขทัยพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในห้าพระองค์นั้น ซึ่งทรงอานุภาพเลิศล้ำเป็นที่ยำเกรงแก่นานาประเทศใกล้เคียง และคงเลื่องลือระบือพระเกียรติแต่ยังทรงพระนามว่าพระร่วง ไม่เปลี่ยนไปเรียกตามพระนามใหม่ที่ถวายเมื่อราชาภิเษก ตัวอย่างเช่น พระเจ้าอู่ทองเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นอิสระทรงพระนามเมื่อราชาภิเษกว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แต่ไพร่บ้านพลเมืองก็ยังเรียกว่า พระเจ้าอู่ทอง อยู่นั่นเอง การที่จะวินิจฉัยเอาเรื่องพระร่วงเข้าในพงศาวดาร จึงอยู่ที่ต้องพิจารณาหาหลักฐานว่าพระองค์ใดในพระเจ้าแผ่นดินกรุงสุโขทัย 5 พระองค์นั้นเป็นพระร่วง แล้วพิจารณาต่อไปว่า เหตุใดจึงเรียกว่า "พระร่วง"

ข้อมูลจาก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ก.ค. 2558 - 20:14:14 น.
วันปิดประมูล - 17 ก.ค. 2558 - 20:52:53 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลchalong2489 (1.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 17 ก.ค. 2558 - 13:34:20 น.

ขอบคุณครับ ขอยกเลิการยการนี้


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 17 ก.ค. 2558 - 13:47:27 น.

เรียนท่านสมาชิกที่โหวดเก๊ ท่านควรจะใช้คำที่สุภาพหรือให้คำแนะนำที่ดีกว่าคำนี้ครับ ผิดถูกก็ควรที่จะมีน้ำใจต่อกัน เพราะพระทุกองค์ก็ต้องการันตรีรับผิดชอบให้ตามกฏอยู่แล้วครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Ativat (574)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1