(0)
พระหลวงพ่อทวด'พิมพ์อิคคิวซัง วัดเมืองยะลา 2505






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระหลวงพ่อทวด'พิมพ์อิคคิวซัง วัดเมืองยะลา 2505
รายละเอียด'พระหลวงพ่อทวด'พิมพ์อิคคิวซัง วัดเมืองยะลา น่าใช้ที่สุดในยุคนี้ : ปกิณกะพระเครื่อง โดยเสี้ยนพระ
พระหลวงพ่อทวด พิมพ์อิคคิวซัง นิยมสุด ของวัดเมืองยะลา ปี ๒๕๐๕ รวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย โดยเฉพาะว่านที่สร้าง พระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก ปี ๒๔๙๗ ได้นำมาผสมสร้างจำนวนมาก รวมทั้งดินศักดิ์สิทธิ์ ๑๔ แห่ง ย้อนรอยตำนานการเดินทางของ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ในอดีต

เหตุผลทำไมถึงดีเยี่ยม และราคายังไม่แพงมากนัก แต่นำมาห้อยบูชาได้อย่างสนิทใจ ลองอ่านบทความข้างล่างนี้ดู เป็นข้อมูลบางส่วนที่นำมาจากหนังสือ "คัมภีร์ล้ำค่า หลวงพ่อทวด" เรียบเรียงโดย ชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง ซึ่งต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

คุณชัยนฤทธิ์ เขียนไว้ว่า....พระหลวงพ่อทวด รุ่นนี้ นับเป็นพระเนื้อว่านยุคแรกๆ ของหลวงพ่อทวด สร้างในปี ๒๕๐๕ โดย พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ และพ่อท่านฉิ้น ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระครูวิเทศสมันตพิทักษ์" รักษาการเจ้าคณะจังหวัดยะลา (ตำแหน่งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗) เนื่องจากท่านทั้งสองเป็นสหธรรมิกที่มีความสนิทสนมกันมาก พระหลวงพ่อทวด ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ จะมีมวลสารเนื้อว่านที่ใช้ในการสร้าง พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน รุ่นแรก ของวัดช้างให้ เมื่อปี ๒๔๙๗ ผสมอยู่มาก และที่สำคัญ คือ พระรุ่นนี้เปรียบเสมือนรุ่น "ตามรอยตำนาน หลวงพ่อทวด" ก็ว่าได้ เพราะพระอาจารย์ทิม และพ่อท่านฉิ้น ได้ออกเดินทางตามรอย "หลวงพ่อทวด" ไปทำพิธีพลีดินที่รัฐไทรบุรี มาเลเซีย ระหว่างการเดินทางได้เก็บรวบรวมว่านศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย

สาเหตุที่ไปรัฐไทรบุรี มาเลเซีย ก็เพราะว่ากันว่า หลวงพ่อทวดได้มรณภาพที่วัดโกระไหน ที่รัฐไทรบุรี และได้นำสรีระมาประชุมเพลิงที่ วัดช้างให้ ขณะเดินทางนำสรีระของหลวงพ่อทวดกลับมาถึงวัดช้างให้ มีตำแหน่งที่พักสรีระ ๑๓ แห่ง คือ ที่ บ้านจะดาบ, โคกเมน, บุเกิดสามี, บ้านดอนเจดีย์, วัดปาดังแปลง, วัดทุ่งควาย, วัดลำบำ, วัดนาขา, บ้านตะถาบ, วัดประดู่, โคกดินแดง, จิตรา และที่บ้านไทรมนตง

ทุกจุดที่เคยเป็นสถานที่พักสรีระของหลวงพ่อทวด ในอดีตกาลนั้น พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ และพ่อท่านฉิ้น ได้ทำพิธีพลีดินเพื่อนำมาเป็นมวลสารส่วนผสมในการสร้างพระหลวงพ่อทวดรุ่นนี้ของวัดเมืองยะลา

จึงเรียกได้ว่า พระหลวงพ่อทวดรุ่นนี้ คือ รุ่น "ตามรอยตำนาน หลวงพ่อทวด วัดช้างให้" อย่างแท้จริง

จำนวนการสร้าง พอดีๆ ไม่มากไม่น้อย คือ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์ สาเหตุที่สร้างไม่มากนักเพราะพระอาจารย์ทิม ต้องการให้ทันการนำเข้าพิธีปลุกเสกใหญ่ ณ วัดช้างให้ ปี ๒๕๐๕ พระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา มี ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่พิเศษ, พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก (หรือที่วงการเรียกว่า "พิมพ์อิคคิวซัง" ซึ่งปัจจุบันเป็นพิมพ์นิยม)
พิธีปลุกเสกพระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา มี ๒ วาระ คือ ปลุกเสกครั้งแรกโดย พระอาจารย์ทิม ที่วัดเมืองยะลา เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๐๕ พิธีครั้งที่ ๒ โดยนำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ที่สุดของวัดช้างให้ คือ พิธีพุทธาภิเษก พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด และหลังตัวหนังสือ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นพิธีครั้งที่ยิ่งใหญ่มากของวัดช้างให้

หลังจากเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนมารอทำบุญบูชาพระที่วัดช้างให้อย่างเนืองแน่นเต็มลานวัด จนต้องเปิดให้บูชาพระผ่านทางหน้าต่างกุฏิพระอาจารย์ทิม เนื่องจากไม่สามารถนำพระออกมานอกกุฏิได้เลย

ทุกวันนี้ พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน รุ่นแรก วัดช้างให้ ปี ๒๔๙๗ ทุกพิมพ์ราคาเช่าหาขึ้นหลักแสนไปหมดแล้ว สำหรับผู้ที่มีปัจจัยจำกัดขอให้หันมามอง "พระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา ปี ๒๕๐๕" ลองใช้ทดแทนกันก็ได้ เพราะเป็นพระเนื้อว่านสูตรเดียวกัน ปลุกเสกโดย พระอาจารย์ทิม เหมือนกัน ที่สำคัญ คือ ราคาเช่าถูกกว่ากันมากมาย คือ อยู่ที่หลักพันกลางทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก (พิมพ์อิคคิวซัง)

พระหลวงพ่อทวด พิมพ์เล็ก วัดเมืองยะลา ปี ๒๕๐๕ องค์ในภาพนี้ถือว่าเป็น "พระแท้องค์ครู พระสวยองค์จริง" ของ "หมอต้น ศิริราช" นักสะสมพระเครื่องทุกประเภทที่นิยมกันในวงการ โดยเน้นพระแท้ดูง่ายเป็นหลัก

ปล g-pra ไม่ออกบัตรให้ถ้าระบุปี แต่รับประกัน แท้ดูง่าย ส่งประกวด ที่ไหน บอก เก๊ คืนได้ ตลอดชีพ
ราคาเปิดประมูล7,900 บาท
ราคาปัจจุบัน8,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 28 ม.ค. 2559 - 11:18:19 น.
วันปิดประมูล - 01 ก.พ. 2559 - 16:35:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtiktony (953)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 ม.ค. 2559 - 11:21:35 น.



ลงใหม่ ครับ รูปเล็กไปหน่อย


 
ราคาปัจจุบัน :     8,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    thun22 (50)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM