(0)
๑๑๑ พระพิมพ์เจดีย์ กรุวัดท้ายตลาด (เนื้อผงใบลาน) - พิมพ์ที่หาชมได้ยาก ผงใบลานผสมผงพุทธคุณ ทักษะฝีมือช่างวังหลวง เนื้อผิวชิดขอบยันต์ด้านหลังล่อนออกเล็กน้อย ๑๑๑






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง๑๑๑ พระพิมพ์เจดีย์ กรุวัดท้ายตลาด (เนื้อผงใบลาน) - พิมพ์ที่หาชมได้ยาก ผงใบลานผสมผงพุทธคุณ ทักษะฝีมือช่างวังหลวง เนื้อผิวชิดขอบยันต์ด้านหลังล่อนออกเล็กน้อย ๑๑๑
รายละเอียดพระพิมพ์เจดีย์ เนื้อผงใบลาน
กรุวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ธนบุรี

วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท้ายตลาด” หรือ “ท้ายพระราชวังเดิม” นิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานนามวัดท้ายตลาดว่า "วัดพุทไธศวรรยาวาส” หรือ "วัดพุทไธศวรรย์" ต่อมาพระราชทานนามใหม่เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" จนถึงปัจจุบัน

วัดท้ายตลาดนับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯ ให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เฉกเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงพระเยาว์ก็เสด็จไปศึกษาอักขระสมัยเบื้องต้นกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ที่วัดนี้ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

เมื่อคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในช่วงทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มรณภาพลง ทรงโปรดฯ ให้หล่อพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) รวม 2 รูป “รูปเล็ก” บูชาอยู่ในหอพระเจ้า ส่วน “รูปใหญ่” ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอเพื่อเป็นที่ประดิษฐานไว้ที่วัดโมลีโลกยารามหรือวัดท้ายตลาด โดยเป็นการหล่อในโอกาสเดียวกับรูปหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชพระญาณสังวร (สุก) สังฆราชไก่เถื่อน ที่วัดพลับ

--------------------------------------------------

พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์เจดีย์ พิมพ์นี้องค์พระประทับอยู่ในซุ้มเจดีย์ทรงระฆัง สัดส่วนของเจดีย์สมบูรณ์สวยงามมาก เป็นพระเครื่องอีกชุดหนึ่งที่โดดเด่นในด้านการออกแบบ และเป็นพิมพ์ที่หาชมได้ยาก เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลาน สีของพระเครื่องส่วนใหญ่จึงเป็นสีเทาเข้ม มีเม็ดผงพุทธคุณสีขาวแทรกอยู่ในเนื้อกระจายกันอยู่ทุกองค์ พื้นผิวของพระแทบทุกองค์ มีคราบไขหินปูน หรือที่นิยมเรียกว่า คราบกรุ จับอยู่มากบ้าง น้อยบ้างไม่เท่ากัน

ช่างผู้ออกแบบและแกะแม่พิมพ์พระเครื่องวัดท้ายตลาดคงจะเป็นช่างหลวงในยุคนั้น เพราะรูปแบบขององค์พระแต่ละพิมพ์งดงาม ประณีต ลวดลายและส่วนประกอบองค์พระสวยงาม อ่อนหวาน และคมชัด บ่งบอกถึงคุณความรู้และทักษะประสบการณ์ของช่าง ผู้ออกแบบได้อย่างชัดเจน เป็นการทำงานด้วยจิตใจ อุทิศให้พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับงานช่างแขนงอื่นๆ ในสมัยโบราณ

พระวัดท้ายตลาดได้ถูกคนร้ายลักลอบเจาะมานานแล้ว และทางวัดก็ได้ซ่อมแซมอยู่เสมอ ครั้นต่อมาใน พ.ศ. 2485
คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศส ทางราชการกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือขอพระเครื่องมายังวัดนี้ด้วย เพื่อมอบให้แก่ทหารและตำรวจสนาม พระประสิทธิสีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้ดำริให้ขุดกรุพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็นอันมาก ทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุไว้ในปีบบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมได้ทั้งสิ้นหลายพันองค์ และได้มอบให้แก่ทางราชการไปส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไทยไปแล้ว

พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง มีหลายแบบหลายพิมพ์ เช่น
o พระพิมพ์พระปิดตาขัดสมาธิเพชร
o พระพิมพ์แม่พระธรณีบีบมวยผม
o พระพิมพ์นางกวัก
o พระพิมพ์พุทธกวัก
o พระพิมพ์สังกัจจายน์
o พระพิมพ์ซุ้มปราสาท
o พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน
o พระพิมพ์เล็บมือ
o พระพิมพ์ยืนรำพึง
o พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร
o พระพิมพ์พระเจดีย์
o พระพิมพ์สมาธิข้างกนก
o พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น
o พระพิมพ์หยดแป้ง
o พระพิมพ์ปางนาคปรก
o พระพิมพ์ปางมารวิชัย
o พระพิมพ์ปางยืนถวายเนตร
o พระพิมพ์ปางยืนห้ามสมุทร
o พระพิมพ์ปางยืนอุ้มบาตร
o พระพิมพ์ปางป่าเลไลยก์
o พระพิมพ์ปางไสยาสน์ เป็นต้น

(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และขออนุญาติเผยแพร่เกียรติคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพ)
ราคาเปิดประมูล6,450 บาท
ราคาปัจจุบัน6,550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 28 เม.ย. 2559 - 08:50:53 น.
วันปิดประมูล - 29 เม.ย. 2559 - 10:53:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsudjarit (4.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 เม.ย. 2559 - 08:51:48 น.



๑๑๑ มองผ่านเลนส์ - ด้านหน้า พิมพ์ทรงชัดลึก ๑๑๑


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 28 เม.ย. 2559 - 08:52:40 น.



๑๑๑ มองผ่านเลนส์ - ด้านหลัง ผิดขอบยันต์มีหลุดล่อน ๑๑๑


 
ราคาปัจจุบัน :     6,550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pramual (10.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM