(0)
พระพุทธภูธราวดี ปี2506 พิมพ์พระปางห้ามญาติ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธภูธราวดี ปี2506 พิมพ์พระปางห้ามญาติ
รายละเอียดพระเครื่องภูธราวดี ปี 2506 พุทธลักษณะเป็นพระปางห้ามญาติซึ่งเลียนแบบพุทธลักษณะมาจากพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ"ขึ้นยอดเป็นอุนาโลมอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายพระเจดีย์มีขนาดกว้างประมาณ1 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม. มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสมผงชุดภูธราวดี ได้แก่ 1. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย, 2.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่าง ๆ ประมาณ 400 ชนิด, 3.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร, 4.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม , จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ, 5.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา , ผงจากพระ๕ณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น(พศ.2505-2506 ) ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญ ต่าง ๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์,จำนวนการสร้างทั้งหมดประมาณ 168,000 องค์ ทุก ๆ 100 องค์จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา , พระพิมพ์ทวารวดี, พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้ ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่งและพระบูชาธวารวดีซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะได้แก่ 1.ทองคำ, 2. เงิน, 3. ทองแดง, 4.ดีบุก, 5.พลวง, 6.สังกะสี, 7.เจ้าน้ำเงิน, 8.เหล็กละลายตัว, 9.เหล็กธรรมดาและเหล็กไหล, ซึ่งก่อนการจัดสร้างพระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน,ทอง,นาค,เงิน,ดีบุก ให้คณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระมาด้วย พิธีพุทธาภิเศกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่ -ครั้งที่1 และครั้งที่2 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือน ๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์ มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อพระจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องถือพรมจรรย์ ห้ามรับของต่อจากมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ จะต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจันทร์หอมอย่างดีจึงจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเศกต่อไป( เป็นเรื่องแปลกที่ขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหายแต่ภายในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลยแปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกของพระแม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว ครั้งที่ 3 ทำพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดนครปฐม มีทั้งพราหมณ์ พระไทย พระจีน พระญวน ในนิกายต่าง ๆ รายนามพระคณาจารย์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่ง พระเครื่องภูธราวดี ที่ผู้เขียนจะกล่างในบทความนี้คือพระเครื่องที่สร้างโดย พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต และ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อปีพ.ศ. 2506 อันเป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมว่าน และผงพระพุทธคุณของท่านอาจารย์ต่างๆ มูลเหตุในการส้รางพระเครื่องครั้งนี้เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึกในการที่ท่านนายพลทั้งสองจะเกษียณอายุราชการและท่านทั้งสองห่วงชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงสร้างพระขึ้นเพื่อคุ้มครองป้องกันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อแจกจ่ายแก่ช้าราชการและประชาชนทั่วไปตามสมควร ดังนั้นการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ จึงสร้างถูกต้องตามพิธีโบราณกาลและบรรจุด้วยพุทธาคมจากพลังจิตของท่านคณาจารย์ต่างๆ ที่ร่วมปลุกเสก พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2446 ท่านเป็นชาวนครราชสีมาโดยกำเนิด บรรพบุรุษท่านสืบสายรับราชการทางตุลาการ ท่านคือทายาทสายตรงของเจ้าเมืองนครราชสีมาในอดีต เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ นครปฐม รุ่น 2465 จบหลักสูตรเป็นนายร้อยตำรวจปี พ.ศ.2468 พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจกองปราบปรามและผู้บังคับการตำรวจภูธร สมัยนั้นมีเพียงกองบัญชาการเดียวดูแลพื้นที่ภูธรทั่วประเทศ ผลงานที่ส่งผลให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังคือการปราบปรามเสือร้ายมากมาย เช่น เสือผาด เสือเจริญ เสือใบ ฯลฯ การปะทะกับคนร้ายหลายครั้งที่ถึงขั้นต้องวิสามัญเป็นเหตุให้ท่านถูกคนร้ายยิงด้วยปืนหลายครั้งแต่ก็ไม่เข้าเป็นเพียงเขียวช้ำ จนได้รับฉายาว่านายพลหนังเหนียว เฉพาะคดีสำคัญๆที่ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติดีเด่นของกรมตำรวจขณะนั้นมีจำนวน 42 เรื่อง ได้รับเกียรติเป็นนายพลอัศวิน แหวนเพชร คนแรกของกรมตำรวจในสมัยของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2506 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นโลหิตหัวใจอุดตันเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2529 พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชเดิมชื่อ บุตร์ นามสกุล พันธรักษ์ ตามเอกสารราชการระบุเกิด เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 ท่านขุนพันธรักษ์เป็นทายาทสืบเชื้อสายมาจากหมอหลวงประจำพระราชสำนักของเจ้าเมื่อนครศรีธรรมราช เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ รุ่น 2468 และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2472 จากนั้นก็เริ่มต้นชีวิตในเครื่องแบบสีกากีอยู่ในพื้นที่ทางภาคใต้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบ ตามประวัติมีบัญชีรายชื่อเสือร้ายที่ถูก พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชยิงเสียชีวิตจำนวน 62 รายที่ขึ้นชื่อได้แก่ เสือเมือง เสือสังข์ และกลุ่ม ขุนโจรอะแวสะดอ ผู้มีอิทธิพลแถบเทือกเขาบูโด จังหวัดนราธิวาส พ.ศ.2489 อธิบดีกรมตำรวจได้ขอตัวท่านขึ้นมาเป็นรองผู้อำนวยการกองปราบปรามพิเศษกรมตำรวจ เพื่อปราบปรามโจรร้ายคดีสำคัญของประเทศหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโจรพิจิตร กำแพงเพชร และลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาจนถึงสุพรรณบุรีจนได้รับฉายาจากซุ้มโตรต่างๆว่า ขุนพันธ์ดาบแดง ต่อมาได้ย้ายกลับสู่ภาคใต้อีกครั้งเพื่อกวาดล้างชุมโจรใหม่ กระทั่งขึ้นเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2549 สิ่งของหายากที่ต้องนำมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระนั้นประกอบด้วย หัวว่านป่าสำคัญกว่า 400 ชนิด ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย และผงพุทธคุณของสมเด็จพุทธาจารย์โต ผงจากกรุพระนางตรา ผงจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ น้ำพระพุึทธมนต์ในพิธีสำคัญต่างๆ จากพระอุโบสถทั่วประเทศ ฯลฯ ส่วนแบบพิมพ์ท่านจำลองอย่างองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ เนื่องจากท่านทราบว่าเป็นพระประทานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่สักการะบูชากราบไหว้ของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ" ขึ้นยอดเป็นอุนาโลม อยู่ในกรอบรูปทรงคล้ายพระเจดีย์กดจมลึกลงไปในเนื้อพระ จากข้อความคำบันทึกของ พล.ต.ท.ประชา บุรณธนิต ที่เขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2506 กับคำบอกเล่าของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ที่ลงในหนังสือพุทธรันดร ปี พ.ศ.2520 ต่างให้รายละเอียดต่างๆได้ตรงกันเช่น วัสดุที่ใช้สร้างพระ การทำพิธี เหตุการณ์มหัศจรรย์อันเป็นนิมิตดี ทั้งๆที่ท่านทั้งสองได้ให้รายละเอียดต่างวาระกัน เรื่องที่เล่าทุกอย่างน่าจะเป็นจริงอย่างแน่นอน รายชื่อเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกพระเครื่องภูธาวดี ที่องค์พระปฐมเจดีย์มีดังนี้ 1.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา 2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม 3.พลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม 4.หลวงปู่เพิ่ม วังกลางบางแก้ว 5.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ 6.หลวงพ่อห่วงวัดท่านใน 7.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 8.พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ 9.หลวงพ่อคล้าย (วาจาสิทธิ์) วัดสวนขันธ์ 10.หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ 11.หลวงพ่อปาน วัดเขาอ้อ 12.อาจารย์คง วัดบ้านสวน 13.อาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันออก 14.อาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ขณะนั้นยังเป้นชีปะขาวอยู่)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ก.ค. 2559 - 12:18:00 น.
วันปิดประมูล - 13 ก.ค. 2559 - 12:01:54 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลlayla7 (359)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Kangnutta (3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1