(0)
#เคาะแรกแดง# สมเด็จกรุบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์ฐานสามชั้น ออฟชั่นครบ รอยจารและคราบกรุ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง#เคาะแรกแดง# สมเด็จกรุบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์ฐานสามชั้น ออฟชั่นครบ รอยจารและคราบกรุ
รายละเอียดสมเด็จกรุบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์ฐานสามชั้น พระดีพิธีดี เก็บก่อนไม่มีให้เก็บครับ
ขออนุญาต นำประวัติการสร้างของพระกรุบึงพระยาสุเรนทร์ที่เพื่อนสมาชิกลงไว้มาลงใหม่นะครับ..........
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ ถือกำเนิดที่ วัดพระยาสุเรนทร์ ตำบลสามวา อำเภอมีนบุรีเดิมวัดนี้ชื่อ "วัดบึงพระยาสุเรนทร์" ด้วยบริเวณใกล้ๆ ที่ตั้งวัดมีบึงขนาดใหญ่แต่ขณะนี้ทางวัดได้ดำเนินการถมบึงดังกล่าวแล้ว จนไม่สามารถทราบว่า ในอดีตเคยมีบึงใหญ่มาก่อน คือ ถมดินจนสูงเสมอ พื้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดพระยาสุเรนทร์" โดยตัดคำว่า "บึง " ออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านละแวกนั้นตลอดจนนักสะสมพระเครื่องทุกระดับชั้น ก็ยังคงเรียกชื่อ "วัดบึงพระยาสุเรนทร์" เหมือนเดิมเพราะคุ้นหู และติดปากมาโดยตลอด
ประวัติพระยาสุเรนทร์
ท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) บุตรของ ท่านพระยามุขมนตรี และเป็นหลานของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) ต้นตระกูลสิงหเสนี รับราชการทหารในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็น"พระยา" ถือศักดินา 4,000 ไร่ จึงออกไปจับจองที่ตามศักดินา ณ อาณาบริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดบึงพระยาสุเรนทร์ในขณะนี้
เมื่อจับจองที่ตามศักดินาแล้วท่านได้ปลูกบ้านบริเวณบ้านฉาง ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดประมาณ 10 เส้น โดยเว้นช่วงที่ตรงบึงขนาดใหญ่ หรือบึงพระยาสุเรนทร์ จำนวน 48 ไร่ ไว้ ต่อมาท่านได้สร้างวัดขึ้น คือ วัดบึงพระยาสุเรนทร์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2431 ในชีวิตบั้นปลายของ เจ้าพระยาสุเรนทร์ได้หันเหเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดบึงพระยาสุเรนทร์ที่ท่านได้สร้างไว้ และอุปถัมภ์เสมอมา โดยถือศีลและบวชเณรด้วย ( เหตุที่ท่านไม่อุปสมบทเป็นพระ เพราะมีโรคประจำตัว คือริดสีดวง คนโบราณเขาถือ)
ใครสร้าง พระสมเด็จ บึงพระยาสุเรนทร์ ?
หลังจาก เจ้าพระยาสุเรนทร์ สร้างวัดบึงพระนาสุเรนทร์และได้บรรพชาเป็นสามเณรท่านได้สร้างพระพิมพ์ เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณแล้วนำส่วนหนึ่งแจกแก่ผู้ต้องการนำไปบูชาติดตัวนอกนั้นบรรจุในองค์พระเจดีย์ข้างบึงพระยาสุเรนทร์และได้ฐานชุกชีพพระประธานในพระอุโบสถ
ท่านอธิการดวง สิงหเสนี เจ้าอาวาสวัดบึงพระยาสุเรนทร์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของ เจ้าพระยาสุเรนทร์ ได้สืบเสาะเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ โดยสอบถามจากโยมบิดา (บุตรชายคนโต ของเจ้าพระยาสุเรนทร์) และผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทันยุคทันสมัย นั้น พอสรุปได้ว่า พระยาสุเรนทร์เดิมทีเป็นผู้สนใจวิชาอาคม และได้รับการถ่ายทอดการปลุกเสกน้ำมันมนต์วิเศษของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (ปู่) สำหรับออกทัพจับศึกให้ผิวหนังคงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวงและก่อนที่ท่านจะบรรพชาเป็นสามเณร ยังสืบหาพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวท ขอถ่ายทอดวิชาอาคมแขนงต่าง ๆ รวมทั้งขอผงวิเศษ และว่านศักดิ์สิทธิ์นานาชนิดเก็บรวบรวมรักษาไว้กระทั่งบรรพชาเป็นสามเณรได้ดำริสร้างพระพิมพ์ขึ้นด้วยตนเองโดยดำเนินการด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแกะพิมพ์พระด้วยงาช้าง,ผสมผงกดพิมพ์พระ และการปลุกเสก
กรุแตก
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ แตกกรุเป็นปฐมครั้งแรกเมื่อคราวสงครามอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 ขณะนั้น โยมชุ่ม สิงหเสนี (โยมบิดาของท่านอธิการดวง) และท่านอาจารย์กร่ำเจ้าอาวาสสมัยนั้นได้นำพระที่พบภายในองค์พระเจดีย์มอบให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แจกแก่ทหารจำนวนสามถุงใหญ่ ประมาณว่าหลายพันองค์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ทางวัดได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ที่ใต้ฐานชุกชีพพระประธานในพระอุโบสถ และได้นำพระออกจำหน่ายให้ประชาชนผู้เสื่อมใสศรัทธาทำบุญบูชาองค์ละ 500 บาท เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบไป
แบบพิมพ์
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ที่พบ และเล่นหากันเป็นมาตรฐานสากลยอมรับกันนั้นมีอยู่ 5 พิมพ์ด้วยกัน คือ
1. พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ชั้น
2. พิมพ์สมเด็จฐานแซม
3. พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์
4. พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์
5. พิมพ์สมเด็จเล็บมือ หรือบางท่านเรียก"พิมพ์ซุ้มกอ"
ราคาเปิดประมูล99 บาท
ราคาปัจจุบัน1,149 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ก.ค. 2559 - 20:51:40 น.
วันปิดประมูล - 30 ก.ค. 2559 - 21:03:08 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลddman (1.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 ก.ค. 2559 - 20:52:14 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 29 ก.ค. 2559 - 20:52:32 น.



2


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 29 ก.ค. 2559 - 20:53:04 น.



พระกรุมีรอยปริแยกตามกาลเวลา
ดูให้ชอบทุกมุมก่อนเคาะนะครับ
จะได้ไม่เสียโอกาสท่านอื่นๆ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมชมครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,149 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ป้องเกียรติ (193)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM