(0)
พระสมเด็จอรหัง กรุวัดสร้อยทอง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จอรหัง กรุวัดสร้อยทอง
รายละเอียดพระสมเด็จอรหัง กรุวัดสร้อยทอง

ข้อมูลเท่าที่ค้นหาจากหน้าเวปต่างๆครับ เพราะส่วนตัวไม่เป็นครับไม่ทราบผู้สร้าง พระแท้แน่นอนครับ

ผู้สร้าง
สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) พระสังฆราชองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่งวัดท่าหอม?จ.อยุธยา ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯนิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดพลับ จ.ธนบุรีในสมัยนั้น และภายหลังได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ กทม. เมื่อคราวสร้างพระสมเด็จอรหัง

ศิลปสกุลช่าง
ช่างหลวง ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

อายุการสร้าง
ประมาณได้ว่า มีการสร้างตั้งแต่พ.ศ. 2360 ที่วัดพลับ และมาบรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์?เมื่อปี พ.ศ.2363 - 2365 นอกจากนี้ยังมีการค้นพบที่วัดสร้อยทองอีกด้วย

องค์ประกอบ
เป็นพระเนื้อผงที่ประกอบด้วยผงวิเศษต่าง ๆ มากมายพระสมเด็จอรหังนับได้ว่าเป็นต้นกำเนิดการสร้างพระสมเด็จสี่เหลี่ยมชิ้นฟักที่ภายหลังสมเด็จโต นำมาสร้างพระขององค์ท่าน

ลักษณะวรรณะ
แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้คือ
1. เนื้อละเอียด และแกร่ง พบที่วัดมหาธาตุ
2. เนื้อหยาบมีกรวดทรายและผงเกสร พบที่วัดสร้อยทอง
3. เนื้อสีแดง ปูนแห้ง พบที่วัดสร้อยทอง
ทั้งสองวัดจะลงอักขระ "อะระหัง" ไว้ด้านหลัง

พุทธลักษณะ
เป็นพระปางสมาธิขัดราบ ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น
(ข้อมูลจากเว็บ oknation.net ครับ

"...สมเด็จพระสังฆราช สุก เดิมท่านอยู่ที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ครั้งสุดท้ายท่านได้รับพระราชทานสถาปนาให้เป็นสมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วย้ายมาประทับที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และที่ วัดนี้เองซึ่งท่านได้แจกพระสมเด็จอรหัง และบรรจุกรุไว้ส่วนหนึ่ง

สันนิษฐานว่าพระสมเด็จอรหังท่านได้สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อยัง ดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ ประมาณปี พ.ศ.2360-2363 "พระสมเด็จอรหัง" ใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ในการสร้างเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ส่วนผสมอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกัน เช่น เศษอาหารที่ฉัน วัสดุบูชา และผงอิทธิเจ จะผิดกันตรงสัดส่วนของมวลสารแต่ละชนิดที่นำมาผสมกัน เท่านั้น ร่องรอยการสลายตัวและหดตัวก็จะเหมือนกัน ด้วยมวลสาร และอายุขององค์พระใกล้เคียงกัน แต่เนื้อขององค์พระของ พระสมเด็จอรหังจะมี 2 สี คือ เนื้อขาว และเนื้อแดง สันนิษฐานว่าอาจจะมีการผสมปูนกินหมาก หรือพิมเสนเข้าไป เมื่อผสม กับปูนเปลือกหอยทำให้เนื้อมวลสารกลายเป็นสีแดง

"พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ" เป็นพระเนื้อผง รูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานสามชั้น และมีซุ้มครอบแก้วเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม แต่จะมีพุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือ แม่พิมพ์เป็น แม่พิมพ์ที่ใช้แผ่นหินอ่อนปิดทั้ง 4 ด้าน เมื่อกดพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยก็จะเปิดแผ่นหินอ่อนและถอดองค์พระออกจากแม่ พิมพ์ ไม่ต้องมีการตอกตัด จึงปรากฏเส้นขอบนูนทะลักขึ้นมาทั้ง 4 ด้าน อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่ง

เส้นซุ้มครอบแก้ว เป็นเส้นเล็กและบาง พระเกศเป็นเส้นเล็ก คม และยาว พระพักตร์กลม พระกรรณทั้งสองข้างเป็นเส้นเล็กนูน และคม ข้างขวา ขององค์พระจะชิดพระพักตร์มากกว่าข้างซ้าย ลำพระศอเป็นเส้นคม พระอุระเป็นรูปตัววี (V) มีเส้นอังสะ 2 เส้น คม และชัดเจนมาก พระพาหาเป็นรูปวงกลม ไม่มีหักศอก และพระเพลามีลักษณะคล้ายเรือสำปั้น พระสมเด็จอรหัง เป็นพระสมเด็จเนื้อผง รูปทรงแบบสี่แหลี่ยมชิ้นฟัก มีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ เกศอุ พิมพ์เล็กมีประภามณฑล และพิมพ์เล็กไม่มีประภามณฑล ที่ด้านหลังของพระมักมีการจารอักขระเป็นตัวหนังสือขอม คำว่า "อรหัง" และอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ตราปั้มเป็นคำว่า "อรหัง" ก็มี มักเรียกหลังแบบนี้ว่า หลังตั้งโต๊ะกัง เนื่องจากลักษณะการ ปั้มด้านหลังคล้ายกับตราประทับเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และพระสมเด็จอรหังนี้ เนื่องจากพระส่วนใหญ่ด้านหลังมีคำว่า " อรหัง" จึงนิยมเรียกกันจนติดปากว่า "สมเด็จ อรหัง" พระสมเด็จอรหัง เนื้อส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผงปูนขาว เนื้อพระจะแตกต่างกันบ้าง เช่น เป็นแบบเนื้อขาวออกหยาบมีเม็ด ทราย แบบขาวละเอียดมีเม็ดทราย แบบเนื้อขาวละเอียด และมีแบบเนื้ออกสีแดงเรื่อๆ เนื้อนี้มักเป็นแบบเนื้อหยาบมีทราย

พระสมเด็จอรหัง ส่วนใหญ่แจกที่วัดมหาธาตุฯ และพบบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ พระที่พบที่วัดมหาธาตุเป็นพระ เนื้อสีขาวที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังจาร ต่อมามีผู้พบพระแบบเดียวกันที่วัดสร้อยทองอีก ซึ่งพบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่ พระที่พบมักเป็นพระแบบเนื้อสีแดง และที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังโต๊ะกังเป็นส่วนใหญ่ มีพบเป็นแบบเนื้อขาวบ้างแต่น้อยมาก และพระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นมักเป็นพระเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ..."
(ข้อมลจากเว็บ taradpra.com ครับ)

"...พระสมเด็จอรหัง นอกจากจะพบที่กรุวัดมหาธาตุยุวรังสฤษฎิ์ กทม. แล้ว ยังพบที่กรุวัดสร้อยทอง พระราม 6 กทม.อีกด้วย พระสมเด็จกรุนี้ได้มีผู้พบภายหลังจากกรุวัดมหาธาตุยุวรังสฤษฎิ์ ลักษณะพิมพ์เช่นเดียวกับกรุวัดมหาธาตุแต่เนื้อจะหยาบกว่า แก่ผงเกสรดอกไม้และอาจมีทรายปนอยู่ด้วย ซึ่งสมเด็จอรหัง กรุวัดสร้อยทองนี้ บางท่านก็ว่าสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ไก่เถื่อน ) ท่านได้สร้างให้กับวัดนี้ไว้ แต่บางท่านก็ว่าผู้สร้างคือพระอาจารย์ กุ่ย ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ไก่เถื่อน ) อีกองค์หนึ่ง ท่านได้สร้างไว้โดยใช้แม่พิมพ์เดิม แต่เนื้อจะผิดกันมาก และการลงจารึกอักขระด้านหลังจะเล็กกว่ากัน..."
(ข้อมูลจาก เว๊บกรุสยาม ครับ)

"...พระสมเด็จอรหัง ส่วนใหญ่แจกที่วัดมหาธาตุฯ และพบบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ พระที่พบที่วัดมหาธาตุเป็นพระเนื้อสีขาวที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังจาร ต่อมามีผู้พบพระแบบเดียวกันที่วัดสร้อยทองอีก ซึ่งพบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่พระที่พบมักเป็นพระแบบเนื้อสีแดง และที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังโต๊ะกังเป็นส่วนใหญ่ มีพบเป็นแบบเนื้อขาวบ้างแต่น้อยมาก และพระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นมักเป็นพระเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ มีบางท่านให้ข้อคิดเห็นว่า พระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นอาจจะเป็นพระที่สร้างขึ้นมาภายหลังก็อาจเป็นได้..."
(ข้อมูลจาก บทความของคุณ แทน ท่าพระจันทร์)
ราคาเปิดประมูล490 บาท
ราคาปัจจุบัน660 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ก.ย. 2559 - 19:14:58 น.
วันปิดประมูล - 04 ก.ย. 2559 - 11:18:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเอ๋พระรามห้า (2.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 ก.ย. 2559 - 19:39:58 น.

ขอบคุณพี่น้องเพื่อนที่โหวตนะครับเรื่องกรุผมไม่มันใจครับเพราะค้นหาข้อมูลพระเหมือนกันหมดครับต้องขออภัยถ้าผมลงข้อมูลผิดนะครับแต่ผมรับประกันพระแท้ครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 03 ก.ย. 2559 - 19:44:59 น.

ประมูลต่อได้เลยครับ
และขอขอบคุณเพื่อนๆที่โหวตให้ข้อมูลพระที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     660 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Pensiri (15)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM