(0)
รูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี เนื้อทองเหลือง หมายเลข 159.








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องรูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี เนื้อทองเหลือง หมายเลข 159.
รายละเอียดรูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี เนื้อทองเหลือง หมายเลข 159.

หลวงพ่อชุบ ท่านเมตตากำหนดพิธีพุทธาภิเษก ครั้งแรกวันที่ ๕ พ.ค ๒๕๕๔ (วันฉัตรมงคล) จากนั้นนำไปปลุกเสกเดี่ยวบนกุฏิอีก ๑๑ วัน และนำลงมาทำพิธีอีกครั้งในวันที่ ๑๗ พ.ค. ๒๕๕๔ (วันวิสาขบูชา) โดยหลวงพ่อได้เมตตาปลุกเสกเดี่ยว ตามตำราวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นเวลาทั้งหมด ๑๓ วัน


ประวัติ พระครูอดุลพิริยานุวัตร หลวงพ่อชุบ ปญฺญาวุโธ เจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อชุบ เกิดวันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ. ๒๔๖๙ ปีขาล ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ จุลศักราช ๑๒๘๘ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๕
หลวงพ่อชุบ เกิดที่ หมู่ที่ ๓ อำเภอเมืองฯ ตำบลบ้านปรก จังหวัดสมุทรสงคราม ในตระกูล “ถินนาก” โยมบิดาชื่อนายปลื้ม ถินนาก โยมมารดาชื่อนางช่วง ถินนาก ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ มีพี่สาว ๓ คน น้องชาย ๑ คน และมีพี่สาวต่างมารดา ๑ คน โยมบิดามารดาประกอบอาชีพด้านการเกษตร หลวงพ่อชุบได้เล่าให้ฟังว่าทางราชการได้แก้ไขชื่อสกุลของท่านจาก “ถินนาก” เปลี่ยนเป็น “ถิ่นนาค” เนื่องจากความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่ของทางราชการในสมัยนั้น
ในวัยเยาว์ใช้ชีวิตแบบเด็กชนบททั่วไป แต่เด็กชายชุบ เป็นเด็กฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกันคือท่านมีความจำดี ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆเพียงครั้งเดียวก็สามารถจำไปเล่าได้ถูกต้อง ยังมีความสามารถในด้านศิลปะท่านสามารถเขียนรูปภาพต่างๆที่ได้พบเห็นได้อย่างสวยงาม ท่านมีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น รักษาสัจจะ วาจา อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่รักใคร่แก่คนทั่วไป รักการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มอายุราว ๑๘ ปีได้เป็นกำลังสำคัญช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพเพราะท่านถือได้ว่าเป็นบุตรชายคนโตของครอบครัว ชีวิตในวัยหนุ่มของชายชนบททั่วไปจะต้องหาครูบาอาจารย์เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคมต่างๆไว้ป้องกัน ตนเองและครอบครัวไม่ให้ใครมารังแกข่มเหงได้
ในสมัยนั้นเมืองแม่กลองมีฆราวาสจอมขมังเวทย์ที่มีชื่อเสียงทั่วลุ่มน้ำแม่กลองด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ลูกศิษย์ของสำนักนี้เป็นที่รู้กันในหมู่นักเลงว่าหนังดี ขนาดแมลงวันก็ไม่สามารถกินเลือดของลูกศิษย์สำนักนี้กินได้ฆราวาสจอมขมังเวทย์ ที่กล่าวถึงก็คืออาจารย์รื่น แห่งสำนักสักบ้านหนองอ้อ อำเภอบางคนฑีจังหวัดสมุทรสงคราม นายชุบ ถินนาก หนุ่มวัยฉกรรจ์ ได้เข้าฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์รื่น ด้วยอุปนิสัย เด็ดเดี่ยว รักษาสัจจะ อ่อนน้อมถ่อมตน รักการศึกษาเล่าเรียน ทำให้เป็นที่รักของอาจารย์รื่น นายชุบจึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆจากพระอาจารย์รื่นจนเชี่ยวชาญทุกแขนง อาจารย์รื่นเป็นลูกศิษย์พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท พระอาจารย์ผู้ถ่ายทอดสรรพวิชาด้านไสยเวทย์ แขนงต่างๆให้กับอาจารย์รื่น ฆราวาสจอมขมังเวทย์ แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง อาจารย์รื่นได้ถ่ายทอดวิชาไสยเวทย์แขนงต่างๆของหลวงปู่ศุข ให้กับนายชุบอีกทอดหนึ่ง จึงกล่าวได้ว่านายชุบเป็นศิษย์สายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยผ่านต่อจากอาจารย์รื่น ฆราวาสจอมขมังเวทย์แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง นายชุบได้อยู่รับใช้และเล่าเรียนสรรพวิชากับอาจารย์รื่นจนอายุครบบวช นายชุบจึงได้บวชพระเพื่อทดแทนพระคุณของบิดามารดาและครูบาอาจารย์ตามประเพณีนิยมของชาวไทย ณ วัดคู้สนามจันทร์ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองฯ จังหวัสมุทรสงคราม พระอธิการกลึง ธมฺมโชติ วัดสวนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเจียม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการปิ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อชุบเมื่อบวชแล้วได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อกลึง พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อชุบได้เรียนวิชาไสยเวทย์กับอาจารย์รื่นมาก่อนแล้ว เมื่อบวชเป็นพระหลวงพ่อกลึงได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆให้อีกทำให้ความรู้ด้านไสยเวทย์วิทยาคมต่างๆของหลวงพ่อชุบจึงสามารถจดจำได้อย่างรวดเร็ว หลวงพ่อชุบจำพรรษาอยู่วัดคู้สนามจันทร์ เป็นเวลา ๔ พรรษา จึงได้ย้ายวัดไปจำพรรษาที่วัดเพชรสมุทร (วัดหลวงพ่อบ้านแหลม) เพื่อศึกษาด้านพระปริยัติธรรม และได้ศึกษาสรรพวิชา จากพระมหาสิทธิการ ทอง วัดเพชรสมุทรด้วย โดยพระมหาสิทธิการทอง นั้น ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม
อยู่จำพรรษาที่วัดเพชรสมุทร เป็นเวลา ๑๔ พรรษา หลวงพ่อชุบศึกษาได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ขณะที่จำพรรษาที่วัดเพชรสมุทร หลวงพ่อชุบได้ออกเดินธุดงค์ทุกปี บางปีธุดงค์ไปถึงนครศรีธรรมราช เพื่อสักการะพระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่นครศรีธรรมราช ๓ คืน แล้วจึงเดินธุดงค์กลับวัดเพชรสมุทร
หลวงพ่อชุบได้เดินธุดงค์แถบป่าเขาด้านตะวันตกแถบราชบุรี กาญจนบุรี ถึงชายแดนพม่า ขณะเดินธุดงค์ถึงถ้ำละว้า อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านวังกระแจะได้เลื่อมใสศรัทธาท่านจึงได้สร้างกุฏิไม้หลังคามุงแฝกให้ท่านอยู่จำพรรษา ระหว่างนี้ท่านได้เดินธุดงค์ระหว่างวัดเพชรสมุทรกับบ้านวังกระแจะหลายพรรษาเพื่อหาปัจจัยมาสร้างวัดวังกระแจะตามที่ชาวบ้านศรัทธาท่านขอให้ท่านสร้างวัดให้เป็นวัดประจำหมู่บ้าน หลวงพ่อชุบท่านถือสัจจะเป็นใหญ่เมื่อท่านรับปากชาวบ้านวังกระแจะว่าจะสร้างวัดให้ ท่านก็ดำเนินการสร้างวัดวังกระแจะจนสำเร็จ หลวงพ่อชุบได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะรูปแรก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอดุลพิริยานุวัตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ และได้ดำเนินการจัดสร้างถาวรวัตถุและพระอุโบสถ โดยจัดพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. ๒๕๓๓
หลวงพ่อชุบได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าทุ่งนา
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลวังกระแจะ
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอไทรโยค
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอไทรโยค
(เนื่องจากมีอายุครบ ๘๐ ปี จึงเกษียนในตำแหน่งปกครองสงฆ์)

ขอขอบคุณ :ศิษย์หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ กาญจนบุรี
20 ธันวาคม 2013 ·
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ต.ค. 2559 - 23:19:22 น.
วันปิดประมูล - 01 พ.ย. 2559 - 23:19:22 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลหนานหนัด (1.2K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM