(0)
เหรียญในหลวง แจก ชาวเขา แทนบัตรประชาชน จ.แม่ฮ่องสอน มส11ุ6585 ครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญในหลวง แจก ชาวเขา แทนบัตรประชาชน จ.แม่ฮ่องสอน มส11ุ6585 ครับ
รายละเอียดเหรียญในหลวง แจก ชาวเขา แทนบัตรประชาชน จ.แม่ฮ่องสอน มส11ุ6585 ครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,620 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ต.ค. 2559 - 14:45:58 น.
วันปิดประมูล - 28 ต.ค. 2559 - 14:48:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtanthep (985)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 ต.ค. 2559 - 17:24:35 น.

"เรื่องของเหรียญ" กับบันทึกตำนาน การจัดการสัญชาติไทย

"เรื่องของเหรียญ" กับบันทึกตำนาน การจัดการสัญชาติไทย โดย ศศินันทน์ งามธุระ นักศึกษาฝึกปฏิบัติหนังสือพิมพ์เด็กไร้รัฐ สัญชาติ ในความหมายเข้าใจจากตำราเรียน คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ โดยรัฐในที่นี้หมายความถึงรัฐสมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน คำว่า "สัญชาติ" มีขึ้นอย่างเด่นชัดภายหลังสมัยของรัชกาลที่ 5 เพราะก่อนหน้านั้น มีเพียงสิ่งเรียกว่า "มูลนิติธรรมประเพณี" ในยุคนั้นรัฐส่วนกลางพยายามขยายอำนาจเข้ามาสู่ท้องถิ่นมากขึ้น หัวเมืองต่างๆ ถูกจัดตั้งขึ้นเป็น มณฑล เช่น จากหัวเมืองล้านนา เป็น มณฑลพายัพ อันประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รัฐในสมัยนั้นบริหารจัดการโดย ส่งข้าหลวงเข้ามาควบคุมและใช้อำนาจพร้อมกับลดทอนอำนาจของเจ้าเมืองในแต่ละ มณฑลลง จากที่เคยมีกฎเกณฑ์สำหรับใช้บังคับในแต่ละหัวเมือง (ระบบเจ้าเมือง) ให้มาใช้ระบบราชการแทน เป็นการรวมอำนาจในการปกครองเข้ามาสู่ส่วนกลาง การรวมอำนาจทำให้ระบบจารีตประเพณีที่เคยใช้ เคยมีความสำคัญ ไร้ความสำคัญ ถือเป็นรากฐานของกฎหมายปัจจุบัน ที่ทำให้รัฐแผ่อำนาจออกไปได้ในทุกพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดรัฐ ที่เรียกว่า รัฐชาติ และหลังกำเนิดของรัฐชาติไทย แนวคิดเรื่องสัญชาติก็เริ่มก่อตัวขึ้นนับแต่นั้น จากระบบกฎหมายที่รัฐส่วนกลางเป็นผู้สร้างขึ้น แล้วบังคับใช้ทั่วรัฐ จึงมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการ การควบคุมประชากร มีการแยกบุคคลในรัฐออกเป็นกลุ่มๆ และมีวิวัฒนาการในการดูแล และให้สัญชาติต่างกัน ในยุคแรกที่อำนาจรัฐยังมีอยู่อย่างจำกัด สัญชาติในยุคนั้นอาจไม่ใช่สัญชาติตามความเข้าใจในปัจจุบัน เริ่มต้นจากการสักเลก เพื่อบอกสังกัดมูลนาย โดยไม่ได้หมายความมีนายคนเดียวกัน จะต้องมีสัญชาติเดียวกันอาจมี ชาติลาว เขมร ส่วย ภูไท รวมอยู่ ต่อมามีการสำรวจสำมะโนประชากรเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2453 ผู้ที่ได้รับการสำรวจสำมะโนประชากรจะมีการลงในช่องสัญชาติว่า "ชาติไทยในบังคับสยาม"ทั้งหมด มิให้ลง หรือเขียนว่าเป็นชาติอื่น การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มีความหมายว่า รัฐให้ความสนใจกับประชาชนที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครอง โดยให้ประชากรหรือบุคคลภายใต้บังคับต้องมีสัญชาติไทยเหมือนๆ กัน มีกฎหมายกำหนดว่าใครบ้างที่จะได้สัญชาติไทย และได้มาด้วยวิธีการอย่างไร หลังจากการวางหลักซึ่งประกอบด้วยหลักการสืบสายโลหิตที่บุคคลจะได้สัญชาติตาม บิดาและมารดาที่เป็นคนไทย และหลักดินแดนสำหรับบุคคลที่เกิดในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2512-2515 เกณฑ์ของการให้สัญชาติโดยหลักดินแดนบีบแคบลง รวมถึงการที่อำนาจรัฐมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐในพื้นที่ห่างไกล และเกิดปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ไกลห่างเหล่านั้น เกิดการตกสำรวจ หรือขาดการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ ในยุคนั้นชาวเขาอยู่ไกลไม่มีความสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ และรัฐแต่ละรัฐยังไม่มีการแบ่งพรมแดนกันอย่างชัดเจนเช่นทุกวันนี้ มีการเดินทางข้ามไปมาระหว่างรัฐกับรัฐเป็นเรื่องปกติและเสรี ในการจัดการกับบุคคลในกลุ่มต่างๆ เริ่มมีปัญหา รัฐไม่สามารถยืนยันได้ว่าประชาชนทุกคนที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นบุคคล สัญชาติไทย นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการมีคนไร้สัญชาติในรัฐไทย และมีความพยายามจัดการกับคนกลุ่มนี้มาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือในปี พ.ศ.2512-2513 มีโครงการจัดทำเอกสารพิสูจน์ตน ครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัด มีการบันทึกเพียงชื่อ-สกุล ไม่มีรูปถ่ายยืนยัน รวมทั้งมีการแจก "เหรียญที่ระลึกชาวเขา" (ศุภชัย เจริญวงศ์ : ชาวเขาสถานะความเป็นอยู่คนไทยที่ถูกลืม สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 28 มี.ค.-4 เม.ย.2545) แม่เฒ่าคนจากเผ่าม้ง วัย 80 ปี จาก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แม่เฒ่าพูดไทยไม่ได้ แต่ได้บอกเล่าถึงเหรียญที่ระลึกชาวเขาผ่านบุตรสาวไว้เพียงว่า..."จำไม่ได้ ว่าเป็นเหรียญลักษณะใด รู้แต่ว่าไม่มีรูตรงกลาง และอำเภอแจกให้ครอบครัวละหนึ่งเหรียญ เอาไว้ดู เป็นที่ระลึก" เหรียญที่ระลึก ไม่ได้มีผลถึงการแสดงตัวตนของบุคคล มีบุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทยเนื่องมาจากเอกสารพิสูจน์ตนของรัฐยังเข้าไปไม่ถึงและ เส้นแบ่งเขตแดนรัฐไม่ชัดเจน นั่นแสดงให้เห็นว่าถึงแม้รัฐจะแสดงออกถึงการจัดการสำรวจกลุ่มคนบนที่สูงแล้ว แต่ก็ไม่มีระบบระเบียบ และยังไม่มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่ ยุคต่อมาเป็นยุคของการจัดการคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยใช้ระบบของการ สำรวจสำมะโนประชากร และมีการจัดทำเอกสารพิสูจน์ตนให้แก่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติ ในรูปของทะเบียนบ้านชั่วคราว (ทร.13) และมีการออกบัตรแสดงตน มีลักษณะเป็นบัตรสีต่างๆ ตามพื้นที่ และตามสังกัดของกลุ่ม 16 บัตรสี คือบัตรสีขาวขอบน้ำเงิน-ญวนอพยพ, สีขาวขอบแดง-ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา,สีเหลือง-จีนฮ่ออพยพ, สีส้ม-จีนฮ่ออิสระ, สีเขียว-ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา, สีเขียว-เนปาลอพยพ, สีม่วง-ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (อยู่กับนายจ้าง), สีฟ้าขอบน้ำเงิน-ลาวอพยพ, สีส้ม-ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (มีที่อยู่ถาวร), สีเหลืองขอบน้ำเงิน-ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย, สีฟ้า-บุคคลบนพื้นที่สูง, สีเขียว-ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย, สีขาว-อดีตทหารจีนคณะชาติ, สีฟ้า-เผ่าตองเหลือง, สีส้ม-ไทยลื้อ, สีชมพู-ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า, สีเขียวขอบแดง-สำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง ในจำนวนของผู้ครอบครองบัตรสีต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีคนไทยอีกหลายคน หลายครอบครัวที่ในความเป็นจริงพวกเขาต้องได้รับสัญชาติไทย อาจด้วยเหตุผลเพราะความผิดพลาดในการสำรวจ การไม่จริงจังในการวางระบบแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นจริงในระยะยาว มีแนวคิดใหม่ในการให้สัญชาติกับคนที่มาพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายรุ่นอายุของบุคคล ล่าสุดหลายๆ ฝ่ายที่มองเห็นความสำคัญของปัญหาต่างก็ร่วมมือกันคิดค้น สร้างระบบ และพยายามนำเสนอเรื่องราวที่พยายามจัดการตลอดมา ในปี พ.ศ.2549 การแก้ปัญหาอันเกิดจากการตกสำรวจ ปัญหาของคนไทยที่ไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย ได้เดินทางก้าวไกลข้ามยุคสมัยมาสู่ยุคดิจิตอล มีการรวบรวมจำนวนคนประสบปัญหาและผู้ที่มีสิทธิได้รับสัญชาติ มาเก็บรวมไว้ในฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ และดำเนินการเรื่องของสัญชาติไทยให้กับคนที่ยังไร้สัญชาติต่อไป ปัญหาที่ยากลำบากนี้ยังจะมีวิวัฒนาการไปยังยุคหน้าอีกหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไป
ชม=เชียงใหม่ จะมีเยอะมาก
ชร=เชียงราย
ลป=ลำปาง
นน=น่าน
ตก=ตาก
มส=แม่ฮ่องสอน

ที่หายากก็จะเป็นจังหวัด
พล=พิษณุโลก
รบ=ราชบุรี


ด้านหน้าเป็นพระรูป ร.9
ด้านหลัง เป็นรูปแผนที่ประเทศไทย และมีการตอกชื่อย่อจังหวัดและหมายเลขประจำตัวลงในแต่ละเหรียญ
เพื่อใช้เป็นหมายเลขประจำตัวสำหรับชาวเขาแต่ละคน
เพราะเท่าที่รู้เหรียญนี้แจกอยู่หลายจังหวัดตามหมู่บ้านที่มีชาวเขาอาศัยอยู่

เครดิต จากเวป NANA Collection ครับผม


 
ราคาปัจจุบัน :     1,620 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Sittpee (1.7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1