(0)
พระหูยาน วัดราชบพิธ หลัง ภปร. เนื้อทองแดง รุ่นปืนแตก ปี 2513 - 2514 สวยเดิมๆ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระหูยาน วัดราชบพิธ หลัง ภปร. เนื้อทองแดง รุ่นปืนแตก ปี 2513 - 2514 สวยเดิมๆ
รายละเอียดพระหูยาน วัดราชบพิธ หลัง ภปร. เนื้อทองแดง รุ่นปืนแตก ปี 2513 - 2514
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน280 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 26 พ.ย. 2559 - 17:15:27 น.
วันปิดประมูล - 27 พ.ย. 2559 - 21:24:22 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSuwimon (1.3K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 26 พ.ย. 2559 - 17:15:43 น.

>>> ประวัติการจัดสร้าง พระหูยาน จปร. วัดราชบพิธฯ

พระหูยาน จปร. ปืนแตก เป็นพระเครื่องที่ สร้างล้อพิมพ์จาก “พระหูยานศิลปะลพบุรี” ได้จัดสร้างเพื่อเป็นการ ฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธฯ โดยมีการสร้างเป็นเนื้อ นวโลหะ และเนื้อทองแดง ซึ่งทั้งสองเนื้อ นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ เล่าว่า ได้ทำการเจือ โลหะ ที่ได้จาก พิธีเททอง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เททอง ผสมกับ ชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ ของวัดราชบพิธฯ รวมกับ แผ่นยันต์ลงอักขระของพระเกจิ ผู้ทรงพุทธาคม จากทั่วประเทศ ๑๐๘รูป ในวัตถุมงคล ทั้งเนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงโดยทั่วถึงกันอย่างพิถีพิถัน

พิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน ณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 โดยทางวัดได้อาราธนา พระเกจิ ผู้ทรงวิทยาคุณ ล้วนเเต่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้น โดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวัน ทั้ง 108 รูป อาทิ

- ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
- ลป.เทศก์ เทศก์รังษี
- หลวงตา มหาบัว
- ลพ.เทียม วัดกษัตริยาธิราข
- พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
- ลป.หิน วัดระฆัง
- ลพ.ทูรย์ วัดโพธิ์นิมิต
- ลพ.ทองอยู่
- ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
- ลพ.ขอม วัดไผ่โรงวัว
- ลพ.โชติ ระลึกชาติ
- ลพ.นอ วัดท่าเรือ เป็นต้น

หลังพิธีพุทธาภิเษก ได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาไปเป็นจำนวนมาก โดยนายทหารที่บูชาไปในสมัยนั้น ได้มีการนำพระรุ่นนี้ไป เลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ ธงชาติ จากนั้นจึงได้ชักธงชาติระดับเหนือศีรษะ แล้วทำการ “ทดลองยิง”

ปรากฏว่า ปืนยิงไม่ออกในนัดแรก บรรดาผู้ทดลอง จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วยิงอีกนัด คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียงระเบิด ดังขึ้น และพอสิ้นเสียงระเบิด ปรากฏ ปากกระบอกปืนที่ใช้ทดลองยิงแตกเป็นรอยร้าว จึงเรียก พระรุ่นนี้ว่ารุ่น “ปืนแตก”

นอกจากนี้ พระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ ได้ปรากฏปาฏิหาริย์ ช่วยเหลือ บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบ ในสมรภูมิเวียดนามรอดชีวิตกลับมาเป็นที่ร่ำลือว่า บรรดาเซียนพระหลายราย ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า พระหูยาน จ.ป.ร. นี้ มีพุทธคุณเข้มขลัง มาก

รวมทั้งบรรดาเซียนพระหลายรายรวมทั้งเซียนสายตรง “พระกริ่ง-รูปหล่อ” ที่ชื่อ “เกี๊ยก ทวีทรัพย์” ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า “พระหูยาน จ.ป.ร.” มีพุทธคุณเข้มขลังด้าน “ยอดเหนียว” เนื่องจากมีเหตุ “วัยรุ่นยกพวกตะลุมบอนกัน” พร้อมทั้งใช้อาวุธที่มีทั้งมีดดาบและปืนฟันและยิงใส่กันแบบ “เอาเป็นเอาตาย” แต่ปรากฏว่าผู้ที่พกพา “พระหูยาน จ.ป.ร.” ติดตัวไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บเลยทั้งที่บางรายถูกฟันจนเสื้อขาดและบางราย ถูกยิงจนเสื้อเป็นรูทะลุแต่จุดที่ถูกฟันและถูกยิงเป็นเพียง “รอยจ้ำ” ช้ำแดงเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์จริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระหูยาน จปร." ที่ยากจะหาคำบรรยาย แต่ที่แน่ๆ คือ ยังหาสะสมได้ไม่ยาก และราคาไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับความเข้มขลังที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากเกจิอาจารย์ 108 รูป ซึ่งแต่ละท่านมากด้วยวิชาอาคมไม่ธรรมดาเลย

>>> พระหูยานจปร.วัดราชบพิธฯ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์)

เมื่อครั้งที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 100 ปี ตรงกับวันที่ 27 มกราคม 2513 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2517-2531)

เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ 'สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์' และทรง เป็น 'เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ' ได้ร่วมกับ 'กระทรวงมหาดไทย'

'จอมพลประภาส จารุเสถียร' (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ขณะนั้น เป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดงานสมโภช ได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยจัดสร้าง 'ปูชนียวัตถุ' หลายชนิด เพื่อสมนาคุณแก่ ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์

โดยที่ 'วัดราชบพิธฯ' เป็นพระอารามที่ 'พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5' ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น 'วัดประจำรัชกาล' จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ 'ตราสัญลักษณ์' พระปรมาภิไธยย่อ 'จปร.' ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนั้น

วัตถุมงคลที่สร้างประกอบด้วย 1.พระพุทธอังคีรสจำลอง เนื้อรมดำ, เนื้อกะไหล่ทอง (ทำน้อยกว่า) 513 องค์ 2.พระพุทธรูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ เนื้อรมดำ, กะไหล่ทอง จำนวน 5,526 องค์ 3.พระกริ่งจุฬาลงกรณ์ เนื้อทองคำจำนวน 1,000 องค์, นวโลหะจำนวน 5,000 องค์ 4.พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์ เนื้อนวโลหะจำนวน 5,000 องค์ 5.พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จปร.) เนื้อนวโลหะจำนวน 5,000 องค์, เนื้อทองแดงจำนวน 200,000 องค์ 6.พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ครึ่งพระองค์ เนื้อโลหะผสมจำนวน 513 องค์ 7.เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เนื้อทองคำ จำนวน 209 เหรียญ, เนื้อทองแดงจำนวน 100,000 เหรียญ 8.แหวนมงคล 9 ที่สร้างขึ้นในวาระ 'อันเป็นพิเศษ' เดียวกันนี้ เนื้อทองคำจำนวน 1,000 วง, เนื้อเงิน 20,000 วง ทั้งหมดออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ

การจัดสร้างวัตถุมงคลฉลอง 100 ปีของวัดราชบพิธฯครั้งนั้น มีความพิถีพิถันมาก โดยกำชับให้ช่างทำการเจือ 'เนื้อโลหะ' ทั้งหมดที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ ทรงเททองวัตถุมงคลเป็นปฐมฤกษ์ ผสมกับแผ่นยันต์ลงอักขระของบรรดาพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณจากทั่วประเทศจำนวนมากถึง 108 รูป พร้อมทั้งชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ ทุกรุ่นของวัดราชบพิธฯลงในวัตถุมงคล 'ทุกแบบทุกเนื้อและทุกพิมพ์' ให้ทั่วถึงกัน

พิธีมหาพุทธาภิเษกรวม 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี 'จุดเทียนชัย' เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514

พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรลงอักขระเลขยันต์ พร้อมปลุกเสกนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้น

มีรายนาม 'พระอาจารย์' รูปสำคัญ ๆ อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว, หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะบำรุง เป็นต้น และพระคณาจารย์รูปอื่นๆ จำนวนทั้งสิ้น 108 รูป

"วัตถุมงคลชุดฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ" นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย "พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ" และ "พระมหากษัตริยาธิคุณ" ของ "พระมหากษัตริย์" ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง "2 พระองค์" ด้วยกัน คือ "รัชกาลที่ 5" และ "รัชกาลที่ 9" อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก

หนึ่งในวัตถุมงคลที่น่าสนใจในรุ่นนี้ก็คือ "พระหูยาน จปร." โดยสร้างล้อพิมพ์จาก "พระหูยานศิลปะลพบุรี" โดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่มีความสวยงามขนาดพอเหมาะคือไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ "จปร." จัดสร้างเป็น 2 เนื้อ "นวโลหะ" และ "เนื้อทองแดง"

"พระพิมพ์หูยาน จปร." รุ่นฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ นี้ บรรดาเซียนพระยุคปี 2514 นิยมเรียกขานว่า "รุ่นปืนแตก" จากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ "พระธรรมเมธี (อัคคชิโน)" ระบุว่า เหตุที่บรรดาเซียนพระยุคนั้นเรียกกันก็สืบเนื่องจาก "หลังการจัดทำพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ได้มีบรรดานายทหารจากกรมรักษาดินแดน และกระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดราชบพิธฯ มาบูชา ซึ่งสมัยนั้นราคาถูกมากเพียงองค์ละ 10 บาทเท่านั้น และหลังจากบูชากันไปแล้วทหารหลายรายได้นำไปพิสูจน์ความเข้มขลัง ด้วยการนำ "พระหูยาน จปร." ที่นำไปเลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ "ธง" แล้วชักธงขึ้นระดับเหนือศีรษะ จากนั้น "ทดลองยิง"

ปรากฏว่า "นัดแรก" กระสุนปืนเกิดด้าน "ยิงไม่ออก" จึงตรวจสอบปืนใหม่แล้วทดลอง "ยิงอีกนัด" คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียง "ระเบิด" ดังขึ้นและพอสิ้นเสียงระเบิด "ทหาร" ผู้ทดลองยิงก็ออกอาการ "ตกใจ" เมื่อเห็น "ปากกระบอกปืน" ที่ใช้ทดลองยิง "แตกเป็นรอยร้าวทั้ง ลำกล้อง" ใช้การไม่ได้อีกเลย ตั้งแต่นั้นมาบรรดา "ทหาร" ที่อยู่ในเหตุการณ์ทดลองยิงจึงเรียก "พระหูยาน จปร." ว่ารุ่น "ปืนแตก" เป็นที่เลื่องลือกันมากในยุคนั้น

นอกจากนี้บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบใน "สมรภูมิเวียดนาม" ที่รอดชีวิตกลับมาก็มีการร่ำลือว่า "เหตุที่รอดชีวิตเพราะได้พกพาพระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ติดตัวไปด้วย" รวมทั้งบรรดาเซียนพระหลายรายรวมทั้งเซียนสายตรง "พระกริ่ง-รูปหล่อ" ที่ชื่อ "เกี๊ยก ทวีทรัพย์" ก็มีการบอกเล่ากันต่อๆ มาว่า "พระหูยาน จปร." มีพุทธคุณเข้มขลังด้าน "ยอดเหนียว" เนื่องจากมีเหตุ "วัยรุ่นยกพวกตะลุมบอนกัน" พร้อมทั้งใช้อาวุธที่มีทั้งมีดดาบและปืนฟันและยิงใส่กันแบบ "เอาเป็นเอาตาย" แต่ปรากฏว่าผู้ที่พกพา "พระหูยาน จปร." ติดตัวไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บเลยทั้งที่บางรายถูกฟันจนเสื้อขาด

บางรายถูกยิงจนเสื้อเป็นรูทะลุแต่จุดที่ถูกฟันและถูกยิงเป็นเพียง "รอยจ้ำ" ช้ำแดงเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์จริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระหูยาน จปร." ที่ยากจะหาคำบรรยาย แต่ที่แน่ๆ คือ ยังหาสะสมได้ไม่ยาก และราคาไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับความเข้มขลังที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากเกจิอาจารย์ 108 รูป ซึ่งแต่ละท่านมากด้วยวิชาอาคมไม่ธรรมดาเลย

ที่มา มุมพระเก่า อภิญญา

หนังสือพิมพ์ข่าวสด


 
ราคาปัจจุบัน :     280 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    noomyai (547)

 

Copyright ©G-PRA.COM