(0)
วัดใจ 200 พระกำแพงกรุ สปจ.(สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร)






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ 200 พระกำแพงกรุ สปจ.(สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร)
รายละเอียดวัดใจ 200 พระกำแพงกรุ สปจ.(สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร) กรุนี้ อยู่ฝั่งเมืองฯจึงเรียกกันต่อมาว่า กรุ สปจ. แตกกรุออกมานานหลายสิบปีแล้ว มีด้วยกันหลายหลากพิมพ์ส่วนมากจะเป็นเนื้อดิน เนื้อค่อนข้างหยาบ มีคราบราดำเยอะมากเพราะพระฝังอยู่ในดินอยู่เป็นเวลาช้านาน
จากประสบการณ์ของผู้บูชาเล่าลือกันว่า มีพุทธคุณดีทางแคล้วคลาด เมตตาสูง และอำนวยโชคลาภโภคทรัพย์มิได้ขาดมือ

กำแพงเพชร เมื่อในอดีต
จากซากวัตถุโบราณบางชิ้นแสดงให้รู้ว่ากำแพงเพชร เมื่ออดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งที่อาณาจักรขอมที่เข้ามามีอำนาจปกครองอยู่ จนกระทั่งถึงพ.ศ. ๑๘๙๐ พระยาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดให้ฟื้นฟูบูรณะเมืองกำแพงเพชรขึ้นใหม่พร้อมกับพระราชทานนามว่า นครชุม แล้วยกให้เป็นเมืองลูกหลวงควบคู่กันไปกับศรีสัชนาลัย กำแพงเพชรแม้จะมีชื่อใหม่ในยุคนั้นว่า นครชุม แล้วก็ตาม ชาวเมืองก็ยังคงเรียกว่า ชากังราว ตลอดมาจนถึงสมัยอยุธยา ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงได้กลับมาเรียกเมือง ๒ ชื่อนี้ใหม่อีกครั้งว่า กำแพงเพชร และได้กันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
เมืองกำแพงเพชร นี้ได้ประมาณกันว่ามีอายุกว่า ๗๐๐ ปี ขึ้นไป นับเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องเผชิญกับภัยสงครามตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๒๖-๒๓๑๗ นับเป็นสงครามที่สร้างความบอบช้ำให้กับกำแพงเพชรอย่างมาก
ก่อนหน้าที่จะเรียกกันว่า กำแพงเพชรนั้น ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ พระมหาธรรมราชาลิไทยครองราชย์อยู่นั้น พระองค์นับเป็นกษัตริย์องค์เดียวของกรุงสุโขทัย ที่ทรงฝักใฝ่การพระศาสนามากกว่าด้านการทหาร
และในช่วงระยะ พ.ศ. ๑๙๐๐ ดังกล่าวนี้เอง กำแพงเพชร นับว่าเป็นเมืองสำคัญยิ่งนัก ทั้งนี้ก็เพราะ พระพุทธศาสนา ได้เจิดจ้าขึ้นอย่างคาดไม่ถึง จากศิลาจารึกหลักที่ ๓ ได้แสดงให้รู้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไทย ได้เสด็จไปสถาปนาพระบรมธาตุ, ปลูกพระศรีมหาโพธิ์, และยังได้บำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับการพระศาสนาไว้ ณ ที่ นครชุม นั้นอีกเป็นอันมาก
นอกจากนั้นจากตำนานยังได้กล่าวไว้ว่า กำแพงเพชรเมืองนี้ได้เคยเป็นที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกต, และพระพุทธสีหิงค์อีกด้วย
ณ จังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันนี้ ถ้ามองจากตัวจังหวัดพุ่งสายตาข้ามลำน้ำปิงไปทางทิศนะวันตกก็จะพบกับผืนแผ่นดินนั่นนั้น ซึ่งเมื่อครั้งอดีต คือ นครชุม แต่ปัจจุบันนี้เป็น ตำบล ซึ่งรู้จกกันทั่วไปว่า ทุ่งเศรษฐี อาณาจักรของพระเครื่องที่โด่งดังในด้านโชคลาภมหานิยมยิ่งนัก
และที่ฝั่งลำน้ำปิง ซึ่งใกล้กับปากคลองสวนหมากฝั่งนครชุมนั้นเอง จะปรากฏ วัดพระบรมธาตุ อารามหลวงที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงในรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นผู้สถาปนาพระบรมธาตุ ไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ นอกจากนั้น ที่ลานทุ่งเศรษฐียังปรากฏโบราณสถานที่รกร้างเหลืออยู่บ้าง, กับที่เป็นเนินดินไม่ปรากฏซากปรักหักพังเสียก็มาก คงมีแต่ชื่อวัดที่สำคัญ เช่น วัดพิกุล, วัดฤาษี, วัดทุ่งเศรษฐี, วัดน้อยบ้านไร่, วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ ประมาณว่าได้กำเนิดขึ้นยุคเดียวกัน โดยอยู่ที่ลานทุ่งเศรษฐีทั้งสิ้น นอกจากนั้น วัดสำคัญที่กำเนิดในสมัยเดียวกันแต่อยู่ฝั่งจังหวัดก็มีเช่น วัดอาวาสน้อย, วัดอาวาสใหญ่, วัดช้างล้อม,วัดกำแพงงาม, วัดสี่อิริยาบถ, วัดเชิงหวาย, วัดช้าง, วัดป่ามืด, วัดพระแก้ว, วัดพระนอน, วัดกะโลทัย, วัดพระธาตุ และวัดนาคเจ็ดเศียร ฯลฯ เป็นต้น
ปฐมเหตุที่ทำให้พบกรุกำเนิดอันเป็นที่มาของพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ นั้น ก็ด้วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แห่งวัดระฆังฯ ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ท่านได้อ่านศิลาจารึกที่วัดเสด็จ ก็พบว่าที่เมืองกำแพงเพชรนี้ ยังมีโบราณสถานและพระบรมธาตุอยู่ทางฝั่งตะวันตก ซึ่งได้สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระยากำแพง เจ้าเมืองเดิมจึงบุกป่าสำรวจตามแผ่นศิลาจารึกนั้น ก็พบพระเจดีย์ ๓ องค์ องค์ใหญ่เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุไว้ด้วย ต่อมา พระยาตะก่า จึงได้ขอปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โดยรวมเข้าเป็นองค์เดียวกันแล้วสร้างเป็นแบบศิลปพม่า แต่พระยาตะก่าได้สิ้นชีวิตเสียก่อนจะปฏิสังขรณ์เสร็จต่อมา พะโป้ และ นางทองย้อย จึงได้ทำการสร้างต่อจนสำเร็จในที่สุด
ในปัจจุบันนี้เหนือลำน้ำแม่ปิงขึ้นไปบนฝั่งนครชุมวัดที่จะยังคงอยู่ก็แต่ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพระเครื่องกรุแรกเท่านั้น และจากคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้อ่านศิลาจารึกและพ่อเมืองกำแพงเพชรได้ไปสำรวจพบพระเจดีย์จน พระยาตะก่า และ พระโป้ ได้ขอบูรณปฏิสังขรณ์เสียใหม่ในครั้งนั้นนั่นเอง เมื่อทำการรื้อเจดีย์ก็ได้พบพระพุทธรูปและพระเครื่องมากมายอยู่ในเจดีย์นั้น ทั้งยังเป็นที่ประจักษ์อีกว่า ผู้สร้างพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์นั้น ได้เป็นผู้นำพระบรมธาตุจากลังกามาบรรจุไว้อีกด้วย นั่นก็คือ พระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยนั่นเอง พระเครื่องที่พบทั้งหมดจาการปฏิสังขรณ์คราวนั้นจึงมีอายุ ๖๐๐ ปีขึ้นไป
ส่วนพระเครื่องที่ขึ้นจากกรุวัดพระบรมธาตุครั้งนั้นก็มี พระซุ้มกอ, พระเม็ดขนุน, พระพลูจีบ, พระซุ้มยอ พระเชยคางข้างเม็ด,พระท่ามะปราง, พระฝักดาบเนื้อว่านหน้าทอง-เงิน, พระกำแพงขาโต๊ะ, พระกำแพงขาว, พระนาคปรก, พระเม็ดมะรื่น,พระนางพญากำแพง, พระกลีบบัว, พระกำแพงห้าร้อย, พระกำแพงเรือนแก้ว, พระเปิดโลก, พระกลีบจำปา, พระเม็ดมะเคล็ด, พระสาม, พระเชตุพน, พระงบน้ำอ้อย, และพิมพ์อื่น ๆ มากกว่าร้อยพิมพ์ทีเดียว ทั้งนี้ยังปรากฏว่าพระแผงเช่นพระนารายฯทรงปืน, พระซุ้มกระรอกกระแต, พระสาม พระปางมหาปาฏิหาริย์ ก็ได้รวมอยู่ในกรุนี้ขึ้นมาอีกด้วยเช่นกัน
จากการอ่านศิลาจารึกที่วัดเสด็จจนเป็นผลให้นำไปสู่กรุพระเครื่องมหึมาและได้พบพระบรมธาตุด้วยแล้ว ยังได้พบแผ่นลานเงินจารึกอักษรขอม เป็นตำนานกล่าวไว้ว่า ตำบลเมืองพิษณุโลก, เมืองกำแพงเพชร, เมืองพิชัย, เมืองพิจิตร, เมืองสุพรรณ, ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตน ฤาษีพิลาลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่ง, ฤาษีตาวัวตนหนึ่ง ซึ่งเป็นประธานฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งหลายนี้จะเอาอันใดให้แก่พระศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจำทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตรอุทุมพร เป็นมฤตย์พิศย์อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐ์ไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วนทั่ว ๕๐๐๐ พรรษา พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์ เอามาให้ได้ ๑๐๐๐ เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิจึงป่าวร้อยเทวดาทั้งปวงให้มา ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ องค์นั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิดฯลฯ
ยังมีข้อความที่พระฤาษีได้กล่าวอุปเท่ห์ไว้อีกมาก ถ้าหากท่านได้ทราบเรื่องราวข้อความจารึกจากแผ่นลานทองที่ได้จากพระปรางค์ศรี รัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณแล้ว บางท่านก็อาจจะสงสัยว่า ข้อความที่แปลจากใบลานทองดังกล่าว กับใบที่พบจากกรุพระปรางค์เมืองสุพรรณนั้น ช่างมีข้อความที่ออกจะไม่ต่างไปกว่ากันเลยละก้อ ขอให้นึกเสียว่า นั่นเป็นเรื่องราวที่ต่างก็ เล่ากันว่า... แล้วก็ยังมีการคัดลอกข้อความกันต่อ ๆ มาอีกเป็นทอด ๆ โดยจะจริงเท็จประการใดก็หาหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ได้เลย
จากเรื่องราวดังได้กล่าวไปแล้ว จึงพอสรุปได้ว่าพระเครื่องในสกุลทุ่งเศรษฐีที่กำเนิดขึ้นระยะแรก โดยพระมหาธรรมาราชาลิไทยเป็นผู้สร้างไว้นั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ นี้แล้ว พระทุ่งเศรษฐีซึ่งพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุนั้น บัดนี้ได้แตกกรุออกมาเป็นเวลาถึง ๑๓๒ ปีแล้ว และนับตังแต่ปีที่ได้สร้างพระ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระทุ่งเศรษฐีกรุปฐมฤกษ์ก็จะมีอายุถึง ๖๒๔ ปีแล้วด้วยเช่นกัน

ผู้มีวาสนาได้ครอบครองพระเครื่องเมืองกำแพงฯ มีตำนานเล่าขานกัน มาดังนี้แล ฯ

๑) ก่อนคล้องพระ ให้อาราธนาว่า .. พุทธ สัง มัง คะลัง โล เก ฯ .. พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง ฯ .. พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม ฯ แล้ว บริกรรมว่า " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ แล้วตามด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ จะศักดิ์สิทธิ์ทุกประการแล ฯ

๒.) จะออกผจญข้าศึก ศัตรู หรือ ออกสงคราม ให้ เอาพระใส่น้ำมันหอม หรือน้ำมันงา เสกด้วย นวหรคุณ " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " แล้วเอาน้ำมันหอมทาผม จะศักดิ์สิทธิ์ ตามปรารถนาทุกประการแล ฯ

๓) จะให้คงกระพันชาตรี ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วย " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " เสก ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล้วใส่ในขันสำริด อธิษฐานตามปรารถนาเถิด จะเกิดผลทุกประการ แล ฯ

๔) จะให้เป็นเมตตามหานิยม ใคร่มาตุคาม ให้เอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาตัว จะประสิทธิ์แก่ชนทั้งหลาย แล ฯ

๕) จะให้สง่า เจรจาเป็นที่น่าเกรงขาม เป็นมหาอำนาจ ให้เอาพระใส่น้ำมันหอม แล้วนำน้ำมันหอม ไปหุงขี้ผึ้ง เสกด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " ๗ จบ แล้วใช้ขี้ผึ้งทาปาก

๖) จะให้ค้าขายดี มหานิยม เดินทางไกล ขึ้นรถลงเรือ ให้นมัสการด้วย หัวใจพาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ " แล้ว เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วยพระพุทธคุณ " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ "๗ จบ จะ ประสิทธิ์ แก่คนทั้งหลายแล ฯ

๗) จะให้สวัสดี สถาพรทุกวัน ให้เอาดอกบัว หรือ ดอกไม้บูชาทุกวัน ปรารถนาสิ่งใดจะสมปรารถนาทุกประการแล ฯ

๘) จะให้ความสูญ ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเอาด้าย ๑๑ เส้นชุบน้ำมันหอมแล้วนำไปทำไส้เทียนถวายพระ แล้วอธิษฐานตามปรารถนาแล ฯ

๙) ถ้าจะสระหัว ให้เขียนยันต์ไส้เทียนใส่ไส้เทียน ยันต์ตามนี้ ขณะเขียนยันต์ใส่น้ำสระผม ให้บริกรรมคาถาดังนี้
" ทะ ธิ วิ ผะมะ อะ มะ พะ ปะติ พะ มง คุ ฯ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ "แล้ง เสกด้วยคาถาว่า " นะ โม ฯ ๓ จบ …. แล้วว่า พาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ" แล้วว่า " อิ ติปิโส ภะคะวา มหาเชยยังมังคะลัง " แล้วตามด้วย " นะ มะ นะ อะ นอกอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะอัง อุมิ อะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ ฯ แล้วว่า " กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเท ฯ " เสกแต่ละบทว่า ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล ฯ จากนั้นจึงลงมือสระผม แล ฯ
เป็นพระพิมพ์ใหญ่นะครับ...ฐานกว้าง 3.2 เซนติเมตร สูงรวมบิ่นจากในกรุ 4
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 13 มิ.ย. 2560 - 21:40:11 น.
วันปิดประมูล - 14 มิ.ย. 2560 - 21:57:07 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลthanagaon (2.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ton-nj (135)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1