(0)
พระปิดตามหาอุตย์ หลังยันต์อุพิมพ์เล็ก สภาพสวยเดิม ๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระปิดตามหาอุตย์ หลังยันต์อุพิมพ์เล็ก สภาพสวยเดิม ๆ
รายละเอียดสภาพสวยผิวเดิม เนื้อหามวลสารเยี่ยม หลวงปู่เหมือนปลุกเสก จัดสร้างปี 2522 ราคายังไม่แพงสร้างปีเดียวกับ พระปิดตาหลังตะแกรง หลวงปู่เหมือนศิษย์เอก หลวงปู่เจียมวัดกำแพง
ราคาเปิดประมูล400 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ก.ย. 2560 - 22:04:50 น.
วันปิดประมูล - 28 ก.ย. 2560 - 22:47:21 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลบางพระบางพระ (8.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 ก.ย. 2560 - 22:05:20 น.



9999


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 28 ก.ย. 2560 - 21:36:47 น.



หลวงปู่เหมือน อินทโชโต
ความเป็น หลวงปู่เหมือน เป็นด้วยจริยาวัตรที่อ่อนโยนไม่มุทะลุดุดันดังเช่นบางอาจารย์หรือไม่ก็เป็นเพราะ บารมี ของท่านที่สั่งสมมา แบบเงียบ ๆ อย่างนั้นเอง
แต่ความ ‘ดังเงียบ’ ของท่านก็ดังไกลไปถึงดอยแม่ปั๋ง เมื่อมีคนเมืองชลกลุ่มหนึ่งนำทีมโดยบิดาของเพื่อนผม จัดรถทัวร์หอบลูกน้ำเค็มไปกราบพระภูเขาถึงถิ่น เมื่อพระเลือดอีสานนามลือชาถูกพระอุปัฏฐากเข็นรถออกมา ชาวชลบุรีก็กรูเข้าไปกราบ ครั้นหลวงปู่แหวนทักทายไปสักหน่อย ท่านก็เอื้อนเอ่ยว่า
“มาจากไหน”
ชาวชลบุรีก็ตอบอย่างภาคภูมิใจกับการเดินทางมาราธอนว่า
“มาจากชลบุรี”
คำถามต่อมาคือ
“พระดีเมืองชลก็มี ทำไมมาถึงนี่ ท่านวัดกำแพงน่ะ”
เอ ! ใครคือ ท่านวัดกำแพง คนอะไรชื่อแปล๊ก แปลก พอสติแล่นก็ อ๋อ ! หลวงปู่เหมือน นั่นเอง
ครั้นกลับจากวัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ วัดกำแพงก็คลาคล่ำไปด้วยนักแสวงบุญลูกน้ำเค็มผู้มองไกล จนลืมใกล้
อะไร ? ที่ทำให้หลวงปู่แหวนเอ่ยปากถึง ‘ท่านวัดกำแพง’ ก็ในเมื่อหลวงปู่แหวนไม่เคยมาชลบุรี และ ‘ท่านวัดกำแพง’ ก็ไม่เคยไปเชียงใหม่ ท่านรู้จักกันได้อย่างไร ? ค้นความจริงยากเหลือเกิน ขอโยนเรื่องไปที่ ‘ญาณ’ อันสูงสุดจะคาดเดาของท่านทั้งสองก็แล้วกัน
เมื่อหลวงปู่เหมือน ได้รับการการันตีจากหลวงปู่แหวนเช่นนี้ ‘เสื่อแห่งความศรัทธา’ น่าจะถูกปูลงในใจคุณพอที่จะลงนั่งฟังเรื่องของท่านได้บ้างละกระมัง
หลวงปู่เหมือน ท่านถือกำเนิดในสกุล ถาวรวัฒนะ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 บิดาชื่อนายตึ๋ง มารดาชื่อ นางปุ่น ณ บ้าน ต.มะขามหย่ง อ.เมือง จ.ชลบุรี ท่านอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2456 โดยมีพระอธิการจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรรม (ถมยา) วัดกลาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการหมอน วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูอุดมวิชชากร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2495 และเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นเอก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2522
หลวงปู่เหมือน เป็นพระที่เรียบง่าย มีวัตรปฏิบัติที่นุ่มนวลเย็นตาเย็นใจแก่ผู้พบเห็นเป็นยิ่งนัก ความเป็นผู้พูดน้อยนี่เอง ทำให้ท่านไม่เคยเอ่ยปากใช้ใครเลย มีกิจอันใดที่องค์ท่านสามารถทำเองได้ ท่านจะทำเองทั้งหมด
แม้กระทั่ง ผ่าฟืน !!
ถ้าไม่มีใครไปขอช่วยท่านทำ ท่านก็จะผ่าอยู่นั้นแหละ และถ้าเข้าไปบอกว่า “ผมช่วยไหมหลวงปู่” ท่านจะตอบทันทีว่า “ไม่ต้อง” แล้วท่านก็ทำต่อไป แต่ถ้าเข้าไปขอมีด ท่านก็จะปล่อยให้ทำแล้วท่านก็ไปทำอย่างอื่นต่อไป
โดยนิสัยของหลวงปู่ ถ้าถูกนิมนต์ไปในกิจอันใดก็ตาม แล้วมีผู้คนมาขอวัตถุมงคลท่านก็จะไม่ให้ เพราะท่านถือระเบียบอยู่อย่างหนึ่งว่า จะไม่แจกวัตถุมงคลต่อหน้าพระสงฆ์และประชาชน ใครอยากได้จริงให้ไปรับที่กุฏิ แม้ไปกราบท่านถึงกุฏิ ถ้าไม่เอ่ยปากขอก็เป็นอันไม่ได้อีกเหมือนกัน
ทุกครั้งก่อนท่านจะมอบพระให้ใครก็ตาม ท่านมักจะกล่าวว่า
“การทำความดี พระย่อมคุ้มครอง”
แล้วจึงประสิทธิ์ประสาทให้ และจะให้เพียงคนละหนึ่งองค์เท่านั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมเห็นว่าท่านคงไม่ใคร่จะสนับสนุนในด้านวัตถุมงคลนัก ท่านคงอยากให้ทุกคนที่ศรัทธาท่านปฏิบัติธรรมมากกว่า แต่ท่านก็ไม่อาจต้านกระแสโลกที่ยังต้องการพึ่งพาวัตถุภายนอกได้ เหรียญรุ่นแรกจึงถือกำเนิดขึ้นในวันทำบุญอายุของท่านเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จากนั้นก็ได้ทยอยตามกันออกมาอีกมากรุ่นมากแบบทั้ง ผง ดิน โลหะ ต่าง ๆ ซึ่งผมคงไม่สามารถนำมาเสนอได้หมด จึงมีรูปมาให้ชมเพียงบางส่วน ซึ่งอาจเป็นแนวทางให้ผู้ที่มีอยู่แล้วแต่มองข้ามไป ได้หวนกลับมามองใหม่ หรือเป็นแว่นส่องทางให้กับผู้ที่คิดจะมองหา
หากหลวงปู่ไม่ดีจริง วัตถุมงคลต่าง ๆ คงไม่เรียงรายกันออกมาจากวัดนับสิบ ๆ รุ่นหรอกครับ และทุกรุ่นก็หาค่อนข้างลำบากในสนามพระเครื่องต่าง ๆ คล้ายกับพระเครื่องของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ที่มีผู้ใจร้ายชอบพูดกันว่า ‘ไม่มีใครเล่น’ แต่ก็หาแทบไม่มีตามสนาม ครั้นบอกให้คนพูดไปหา
เขาก็ยังหาไม่ได้เลย
มีเหรียญของหลวงปู่เหมือนอยู่รุ่นหนึ่ง เข้าใจว่าจะสร้างโดยภัตตาคารไต้ฮี้ ซึ่งก็เป็นลูกศิษย์ท่านที่สร้างเหรียญอย่างมือสะอาด เหรียญที่ว่านี้มีลักษณะคล้าย ๆ กับเต่า จึงเป็นที่เรียกขานในวงการว่า ‘เหรียญเต่า’ ผู้สร้างก็สร้างไว้สำหรับแจกกันเองในหมู่ญาติมิตรเพื่อนพ้อง จึงไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก เหรียญเต่านี้มีดีตรงประสบการณ์อันน่าทึ่งอย่างนี้ครับ
เมื่อคณะผู้สร้างได้นำเหรียญไปถวายหลวงปู่ปลุกเสกจนครบตามกำหนดที่ท่านวางไว้ ก็ไปรับกลับมาพร้อมแบ่งถวายท่านไว้แจกเองจำนวนหนึ่ง พอได้เหรียญก็เลี่ยมแขวนกันทั้งผู้ใหญ่ และลูกเล็กเด็กแดง
ลป.เหมือน
วันหนึ่ง คณะผู้สร้างได้เดินทางไปธุระที่ อ.ศรีราชาแต่วัน พาหนะในการเดินทางก็คือรถปิกอัพเปิดหลังตามแบบชาวชนบทที่นิยมกัน ครั้นเสร็จธุระก็เป็นเวลามืดค่ำแล้ว บังเอิญว่าเด็กชายคนหนึ่งในคณะอายุราว 10 ขวบ ได้รบเร้าขอนั่งที่กระบะข้างหลัง จะมีผู้ใหญ่นั่งไปด้วยหรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจ เพราะผู้เล่าก็มิได้บอก
ขากลับก็ขับรถกลับมาด้วยอัตราความเร็วพอสมควร ด้วยเร่งจะให้ถึงบ้านในตัวเมืองชลบุรีก่อนดึก ทุกท่านก็คงจะทายอยู่ในใจว่า อ๋อ ! รถคงจะชนกันแหลกแล้วคนรอดตายกันราวปาฏิหาริย์ใช่ไหมล่ะ
มิได้ครับ พวกเขาขับรถกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ !!
อ้าว ! ถึงตรงนี้คงจะงงว่าแล้วมันจะมาเล่าหาอะไร (วะ) ใจเย็น ๆ ครับ มันเป็นอย่างนี้ ก็เพราะถึงบ้านโดยสวัสดิภาพนี่แหละครับ ถึงได้รู้ว่า ‘เด็กผู้ชายตัวน้อย’ ได้อันตรธานไปจากกระบะหลังเสียแล้ว
จะหล่นจากรถไปตอนไหนก็ไม่มีใครทันสังเกต หรือจะปลิวไปกับลมแรงก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ ผลก็คือต้องรีบตะลีตะลานขับรถย้อนกลับไปตามเส้นทางเดิมด้วยใจที่โหวงเหวงบอกไม่ถูก โธ่ ! ถ้าเป็นลูกเราหายไปทั้งคน หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่จะรู้สึกอย่างไร แล้วนี่ไม่ใช่หายอยู่กับบ้าน ดันหายไปบนรถ
ก้อ...ถ้าตกลงบนถนน แล้วรถวิ่งตามหลังมาพอดี โอย ! ไม่อยากจะคิดทีเดียว
รถปิกอัพคันต้นเหตุวิ่งพลางดูพลางไปตลอดทาง ใจก็ภาวนาขอให้ลูกน้อยปลอดภัยจากอุปัทวเหตุทั้งปวงด้วย ชะรอยคำภาวนาจะเป็นผล เมื่อรถวิ่งมาถึงบางพระก็แลเห็นเด็กน้อยคนหนึ่งเดินกระเซอะกระเซิงร้องไห้อยู่ริมถนนอีกฝั่งหนึ่ง ดีใจเหมือนได้แก้ว รีบกลับรถเข้าไปเทียบ ลงไปปลอบประโลมพลางสำรวจตรวจตามร่างกายก็ไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บแต่อย่างใด
พอเด็กเริ่มสงบสติอารมณ์ได้บ้าง คำแรกที่แกพูดออกมาก็คือ
“พระอุ้ม...พระอุ้ม...”
จะถามอะไร ๆ คำตอบระคนเสียงสะอื้นก็คือ “พระอุ้ม” เท่านั้น
ในคอของเด็กน้อยคนนี้ มีเพียงเหรียญรูปเหมือนของท่านพระครูอุดมวิชชากร หรือ หลวงปู่เหมือน แห่งวัดกำแพงอยู่เพียงเหรียญเดียว
คงไม่ต้องบอกกระมังว่า ‘ใครอุ้ม’
ยิ่งเรื่องหนึ่งที่ฟังจากปากของคนผู้ถูกมัจจุราชเมินคือ คุณพิชิต สิวะวัฒน์ หรือเปิ้ล เพื่อนคนหนึ่งของผม เขาเล่าว่าบ้านของเขานั้นเป็นร้านขายรถยนต์มือสองอยู่ ต.นาป่า ข้ามสี่แยกบายพาส ‘สี่แยกมหาภัย’ ไปหน่อยเดียว สมัยที่เขายังไม่ได้ขับรถยนต์นั้น ก็มีเพียงมอเตอร์ไซค์คู่ชีพที่ควบข้ามสี่แยกแข่งกับบรรดาสิบล้ออยู่เป็นประจำ
วันหนึ่ง ไม่ทราบว่าพลาดอีท่าไหน สิบล้อคันใหญ่ก็เสยเปรี้ยงเข้าให้เต็มลำ ด้วยอัตราความเร็วที่ ‘รีบแข่งกับไฟเหลือง’ ผลก็คือ มอเตอร์ไซค์คู่ชีพกลายเป็นมอเตอร์ไซค์สิ้นชีพ เพราะแหลกยับไปกลายเป็น ‘ขดเหล็ก’ ก้อนหนึ่งในทันที ตัวคุณเปิ้ลเองก็ลอยละลิ่วลงฟาดกับพื้นถนนแล้วกลิ้งม้วนต้วนไปไม่รู้กี่ตลบ
คนขับสิบล้อพอหยุดรถได้สนิท ก็เผ่นตะโพงไปไม่เหลียวหลังมาแล โอ้ ! ปาฏิหาริย์มีจริง คุณเปิ้ลกลับลุกขึ้นแล้ววิ่งกวดตามคนขับสิบล้อไป พลางร้องตะโกนให้คนช่วยกันจับที ‘ชนคนแล้วหนี’ คนดูก็แสนดีตะครุบตัวไว้ได้ คุณเปิ้ลก็ลากคอมาที่เกิดเหตุ โทรเรียกตำรวจมาดำเนินคดี จีนมุง ไทยมุง ก็พากันเฮโลสาระพามาถามว่า
“เพ่...เพ่...มีอะไรดีหรือ โดนขนาดนี้ถึงยังไม่ตาย”
คุณเปิ้ลก็ควักสร้อยออกมาให้ชมเป็นขวัญตา เป็นเหรียญนั่งเต็มองค์รูปหลวงปู่เหมือน สร้างโดยสมาคมศิษย์เก่า ร.ร.ชลราษฎร์บำรุง (ร.ร.ชลชาย) แกะพิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ พระนั้นอยู่ในกรอบทองสวยสนิท สร้อยทองเส้นเบ้อเริ่มไม่มีอะไรชำรุดแม้แต่น้อย
คุณเปิ้ลบอกกับผมว่า “แต่นั้นมา หลวงปู่เหมือนก็นั่งอยู่ในใจผมตลอด ไม่ได้ขยับเขยื้อนไปไหนอีกเลย” ว่าแล้วก็ควักสร้อยเส้นโตอวดพระองค์เก่งให้ดู ผมเลยต้องแจ้นไปหามาจนได้ด้วยประการฉะนี้แล
ความขลังของวัตถุมงคลท่านย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้อาราธนาติดตัวอยู่เสมอมา ไม่ว่าจะเป็น ทนมีด อยู่ปืน กันภัย กันเขี้ยวงา สารพัดตามแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่า ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คงไม่พ้น ‘เมตตา’ ที่แน่นอนว่า ‘แรงนัก’ ในเครื่องมงคลของหลวงปู่
ครั้งหนึ่ง ก่อนท่านจะละสังขาร ท่านได้เอ่ยปากคล้ายจะฝากฝังลูกศิษย์ลูกหาของท่านไว้กับองค์อื่นอยู่ในทีว่า
“ต่อไป ท่านวัดเนินตามาก จะมีชื่อเสียง”
จากคำพูดนี้ทำให้ศิษย์วัดกำแพงต้องออกไปด้อม ๆ มอง ๆ วัดเนินตามากอยู่หลายคน และเมื่อสิ้นหลวงปู่เหมือน หลายคนก็ยกหลวงปู่ม่น มาเป็นที่พึ่งต่อทันที ซึ่งก็นับว่าไม่ผิดหวังจริง ๆ
หลวงปู่เหมือน อินทโชโต มหาเถระพระสุปฏิปันโน ผู้รัตตัญญูภาพ ได้ดำรงขันธ์มาจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ท่านก็มีอาพาธเป็นอันมาก จากนั้นท่านก็ปรารภขึ้นท่ามกลางศิษย์ที่อยู่ปรนนิบัติว่า
“อีกสองวันตายแน่”
ครั้นล่วงมาถึงเช้า วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ท่านก็ถึงแก่มรณภาพโดยอาการอันสงบไปจริง ๆ ตามคำของท่าน เมื่อเวลา 07.19 น. ณ กุฏิเก่าของท่าน ในวัดกำแพง สิริอายุได้ 91 ปี 6 เดือน 10 วัน
ตามธรรมดาบุคคลเมื่อสิ้นไปแล้วย่อมไม่อาจกำหนดสิ่งใดได้อีก แต่ท่านผู้อยู่เหนือโลกธรรมอย่างเช่นหลวงปู่เหมือนแล้ว ทำให้คนเมืองชลมีลาภกันถ้วนหน้า ด้วยปี 27 ที่ท่านมรณภาพนับว่าเป็นข่าวใหญ่ทีเดียวในปีนั้น เพราะแทบจะไม่มีใครเลยที่ไม่ถูกหวย
วันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ ณ เมรุชั่วคราว ในวัดกำแพง ก็เกิดปรากฏการณ์ประหลาดอันอาจจะเป็นเครื่องยืนยันในคุณธรรมของท่านว่า...
‘ไม่ธรรมดา’
เมื่อไฟพระราชทานมาถึงก็บังเกิดเหตุที่ไม่น่าเป็นไปได้ขึ้น ด้วยมีลมพายุอันแรงกล้าพัดกระหน่ำลงในบริเวณวัดอย่างรุนแรง... แรง...ขนาดที่ว่าต้นไม้ใหญ่หน้ายุวพุทธิกสมาคม ชลบุรี ถึงกับถอนรากล้มตึงลงทีเดียว ผู้คนตระหนกตกใจกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันไม่ทันตั้งตัวนี่ยิ่งนัก
เมื่อลมร้ายฟาดงวงฟาดงาจนเต็มที่แล้วก็พลันสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว จนไม่อยากจะเชื่อว่าเมื่อกี้นี้มีมหาวาตภัยเกิดขึ้นในวัด ความเสียหายปรากฏอยู่ทั่วบริเวณ แต่ที่น่าอัศจรรย์คือ เครื่องประดับประกอบเมรุไม่มีอะไรเสียหายเลย กระทั่งพวงหรีดหรือดอกไม้บูชาต่าง ๆ ในแจกันก็ไม่ล้มลงเลยแม้แต่อันเดียว
ผมเคยถามพระภาวนาจารย์ผู้เป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านหนึ่งว่า
“เมื่อเทพมาชุมนุมกันมาก ๆ จะเป็นเหตุให้เกิดลมอย่างนั้นหรือ”
ท่านตอบทันทีว่า “ใช่”
ก็ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงในพรหมจรรย์ ย่อมเป็นเหตุให้เทพพรหมพึงใจแลเคารพรักยิ่ง เมื่อวันต้องพรากสังขารท่านไปด้วยไฟ ท่านผู้ลี้ลับซึ่งอยู่ต่างภพภูมิจึงแสดงอาการอาลัยอาวรณ์เป็นครั้งสุดท้ายกระมัง


 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    hongtong (87)

 

Copyright ©G-PRA.COM