(0)
พระมงคลมหาลาภ พิมพ์เล็ก แม่ชีบุญเรือน ปี 2499 สวยมาก+บัตร พิธีที่เป็นตำนาน







ชื่อพระเครื่องพระมงคลมหาลาภ พิมพ์เล็ก แม่ชีบุญเรือน ปี 2499 สวยมาก+บัตร พิธีที่เป็นตำนาน
รายละเอียดพระมงคลมหาลาภ พิมพ์เล็ก แม่ชีบุญเรือน ปี 2499 สวยมาก+บัตร พิธีที่เป็นตำนาน (องค์ที่สอง)

พระมงคลมหาลาภ พ.ศ. ๒๔๙๙ ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ ฯ เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ

พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕ - ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่น สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้น ๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร

เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี

- พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร

- พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

- พระมหารัชชมังคลาจารย์

- หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

- พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)

- หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย)

- พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์

- พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

- พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน

- พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น

พร้อมด้วยบันจุ เทพมนตพรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง

พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้

๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง

๒. ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย

๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน ๔ แห่งในอินเดีย คือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน

๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมุติสุข ๗ แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถานด้วย

๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี

๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อย เป็นต้น

ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง

ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภ เสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ
พระมหารัชชมังคลาจารย์
เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์


ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพระมงคลมหาลาภ

เป็นพระนาคปรกสี่เหลี่ยม เนื้อผงขาว (และส่วนผสมดังกล่าวแล้ว) ด้านหลังเป็นยันต์เฑาะดอกบัว อะอุมะ พิมพ์ใหญ่กลางเล็ก จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่ง “พระรัชชมงคลมุนี” (พระมหารัชชมังคลาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ได้มอบให้ “พระชอบ สัมมาจารี” วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพ ฯ สร้าง เพื่อนำมาแจกในงานสมโภชพระประธาน วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง โดยส่ง “ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณต่าง ๆ เป็นแท่ง ๆ ประทับตรา “วัดสัมพันธวงศ์” ให้นำมาผสม โดยเรียก “พระนาคปรก” นี้ว่า “พระมงคลมหาลาภ” ซึ่งมีชื่อของท่านคือ “พระรัชชมงคลมุนี” อยู่ในชื่อพระด้วย ในพิธีนี้แม่ชีบุญเรือนได้อธิษฐานจิตร่วมอยู่ในพิธีด้วย

หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ องค์ประสานงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ได้บอกศิษย์ว่า “พระผงนี้ดีมาก มีรังสี สีขาว และเหลือกระจายออกสว่างไสว” นอกนั้น ท่านยังได้ขอพระผงมงคลมหาลาภที่ชำรุดประมาณ ๑ บาตรพระ นำไปบดใส่ “พระใบโพธิ์เนื้อดิน พ.ศ. ๒๕๐๐“ ของท่านด้วย

ขนาดขององค์พระ พิมพ์ใหญ่ ฐานกว้างประมาณ ๒.๕ – ๓.๘ ซม. หนา ๐.๕ ซม. พิมพ์เล็ก ฐานกว้างประมาณ ๒.๒ – ๒.๕ ซม. หนา ๐.๕ ซม ด้านหลัง มีตราวัดสัมพันธวงศ์ “เฑาะรัศมีดอกบัว อ.อุ.ม. ประทับลงในเนื้อเป็นตรารูปไข่ ขนาดของความหนาไม่แน่นอน หนาบ้าง บางเฉียบบ้าง แล้วแต่ขนาด

พระพิมพ์นี้ คนระยอง คนจันทบุรี คนตราด อีกทั้งชาวประมงแถบภาคตะวันออกห้อยคอองค์เดียว รู้ถึงพุทธคุณเป็นอย่างดีโดยเฉพาะช่วงที่มีใต้ฝุ่นเข้าแหลมตะลุมพุก ผู้ที่แขวนพระองค์นี้ลอยอย่างปาฏิหาริย์ จึงเป็นที่แสวงหากันมาก

ข้อมูลจากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ พระราชรัชมงคลโกวิท (ไฉน ขิปฺปาภิญฺโญ)

พระราชรัชมงคลโกวิท (ไฉน ขิปฺปาภิญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง อดีตเจ้าคณะจังหวัดระยอง (ธรรมยุต) เล่าว่า พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กว่าร้อยรูป มี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม เป็นต้น ทำพิธีนั่งปรกพุทธาภิเษกพระประธาน และพระเครื่องต่าง ๆ มีพระมงคลมหาลาภ พระพุทโธน้อย เป็นต้น โดยทำพิธี ๑๘ วัน ๑๘ คืน ท่านเล่าต่ออีกว่า ในชีวิตที่ท่านเกิดมา ยังไม่เคยเห็นพิธีพุทธาภิเษกที่ไหนใหญ่โตเท่าครั้งนี้อีกเลย (ปีที่บอกข้อมูลนี้ ท่านอายุ ๘๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อมา ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพวิสุทธิญาณ" ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑)
ราคาเปิดประมูล6,400 บาท
ราคาปัจจุบัน6,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 02 พ.ย. 2561 - 21:44:30 น.
วันปิดประมูล - 03 พ.ย. 2561 - 22:38:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลatta77 (470)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     6,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Captain (424)

 

Copyright ©G-PRA.COM