(0)
@@@...เหรียญพระบรมธาตุ จ.ชัยนาท พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ปี 2465 หลวงปู่ศุข ร่วมปลุกเสก สภาพน่ารัก กะไหล่ทองเดิมๆ ห่วงเชื่อมยังอยู่ มาพร้อมบัตรรับรองครับ...@@@







ชื่อพระเครื่อง@@@...เหรียญพระบรมธาตุ จ.ชัยนาท พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ปี 2465 หลวงปู่ศุข ร่วมปลุกเสก สภาพน่ารัก กะไหล่ทองเดิมๆ ห่วงเชื่อมยังอยู่ มาพร้อมบัตรรับรองครับ...@@@
รายละเอียดเหรียญพระบรมธาตุ จ.ชัยนาท พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ปี 2465 หลวงปู่ศุข ร่วมปลุกเสก สภาพน่ารัก กะไหล่ทองเดิมๆ ห่วงเชื่อมยังอยู่ มาพร้อมบัตรรับรองครับ...!

พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) แห่งวัดพระบรมธาตุฯ และพระครูวิมลคุณากร ( ศุข เกสโร ) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ท่านชอบพอกันมาตั้งแต่เด็ก มีวิชาดีด้วยกันทั่งคู่ เคยทดสอบวิชากันเช่น พระครูวิมลคุณากร ( ศุข เกสโร ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า สร้างเสือสมิง พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) วัดพระบรมธาตุฯ สร้างควายธนู ต่างก็ทำอะไรกันไม่ได้เพราะต่างมีวิชาพอกัน กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่เป็นพระเครื่องของพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) นั้น มีด้วยกัน 2 แบบ ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน คือ เหรียญปั๊มรูปเหมือน และเหรียญปั๊มพระบรมธาตุ หากแต่ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนของท่าน เป็นเหรียญรูปหยดน้ำขยักมุมบนและล่าง ปั๊มแบบมีหูในตัว ด้านหน้า แกะขอบเป็นเส้นลวดนูนขนานกัน เส้นนอกหนา เส้นในบาง ตรงกลางเป็นรูปเหมือน พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) นั่งเต็มองค์ ห่มจีวรเฉียง พาดผ้าสังฆาฏิ อยู่ในท่านั่งเอามือจับเข่าทั้งสองข้าง เรียกกันว่า “ ท่าแสดงชราธรรม “ เบื้องล่างเป็นลายโบว์ ปลายโบว์ทำเป็นเส้นหางนกแซงแซว ภายในโบว์จารึกอักขระขอมไว้ อ่านได้ว่า “ อินฺทสโร “ ด้านหลัง พื้นเรียบปรากฏอักษรไทย 4 บรรทัด และเลขไทย 1 บรรทัด ว่า “ พระ อินทรโมลี ศรีบรมธาตุบริหาร สุวิจารณสังฆปาโมกข์ ๒๔ ๖๕ เหรียญนี้มีปรากฏ 2 เนื้อด้วยกัน คือ เงิน และทองแดง พบเหรียญพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) ในกำปั่นพระครูสถิตสมณวัตร ( หลวงพ่ออ่ำ ) วัดอินทาราม ( ตลุก ) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 5 – 6 เหรียญ จึงเชื่อได้ว่าพระครูวิมลคุณากร ( หลวงปู่ศุข เกสโร ) และพระครูสถิตสมณวัตร ( หลวงพ่ออ่ำ ) ร่วมปลุกเศก หากเมื่อกล่าวถึงพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) แล้วนั้น พบว่าทั่วทั้งชัยนาท,สิงห์บุรี,อ่างทอง,อุทัยธานี,นครสวรรค์,สุพรรณบุรี, ลพบุรี ล้วนต่างทราบถึงกิตติศัพท์ในชื่อเสียงเป็นอย่างดี เป็นพระภิกษุที่เป็นที่เคารพยิ่งของชาวบ้าน ด้วยวัตรปฏิบัตินั้นงดงามยิ่ง ถือสมถะไม่สะสมทรัพย์สมบัติใดๆ และไม่เคยขัดในกิจนิมนต์แม้ไกลเพียงใด เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นตามลำน้ำเจ้าพระยา และได้เสด็จถึงเมืองชัยนาท ทางจังหวัดได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สวดมนต์ถวายพระพรซึ่งพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) เมื่อครั้งยังเป็นที่พระครูอินทโมลี ได้รับนิมนต์ไปด้วย ซึ้งเป็นที่ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรัสชมท่านว่า สวดมนต์ได้ดี เสียงดังฟังชัดถูกต้องอักขรวิธี และสังโยคแม่นยำมากจึงโปรดเกล้าพระราชทานผ้ากราบ พัดรอง ย่าม แก่พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) ในคราวนั้นด้วย และเมื่อกล่าวถึงวัตถุมงคลของพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) แล้วนั้น ล้วนต่างนึกถึงเหรียญรูปเหมือนของท่าน

และอีกเหรียญหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับเหรียญปั๊มรูปเหมือน คือ เหรียญปั๊มรูปพระบรมธาตุ เป็นเหรียญปั๊มรูปหยดน้ำขยักมุม บนและล่าง ปั๊มแบบมีหูในตัว ด้านหน้า ยกขอบเส้นนูนหนา ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระบรมธาตุ แกะเป็นรูปนูนต่ำสวยงาม ด้านข้างทั้ง 3 มุมเป็น อักษรไทยระบุว่า “ พระบรมธาตุ” ด้านหลัง ยกขอบเป็นเส้นนูนหนาแบบด้านหน้า ตรงกลางเป็นยันต์ 5 หรือยันต์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ภายในขมวดยันต์บรรจุอักขระขอมว่า “ นะ โม พุท ธา ยะ “ ตรงกลางยันต์เป็นอักขระขอมว่า “ อัง “ ล่างสุดเป็นอักษรไทยว่า ชัยนาท เหรียญนี้มีปรากฏ 2 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อทองแดง และทองแดงกะไหล่ทอง

วัดพระบรมธาตุวรวิหารเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณกาล ตั้งอยู่บนถนนสาย 3183 ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากเขื่อนเจ้าพระยาไปประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เดิมเรียกขานกันว่า “ วัดพระธาตุ “ หรือ “ วัดหัวเมือง “ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ องค์พระเจดีย์พระบรมธาตุ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหารพระราชทานนามวัดว่า “ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร “ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2499 ปูชนียสถานอันสำคัญของวัด คือ พระเจดีย์องค์พระประธาน สร้างขึ้นมาเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน ลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมองค์เจดีย์เป็นแบบศรีวิชัย มีเจดีย์เล็กๆประดับสถาปัตยกรรม รวมกับเจดีย์ทรงกลมแบบสุโขทัย พระเจดีย์องค์นี้ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง หากที่ปรากฏหลักฐานมาถึงทุกวันนี้ คือ แผ่นศิลาจารึกซึ้งติดอยู่บนฝาผนังพระวิหารด้านนอกฝั่งติดกับพระเจดีย์ มีข้อความระบุถึงการฉลองการปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

ด้านข้างวิหาร เป็นพระอุโบสถ มีพระประธานปางมารวิชัย มีพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสรรคบุรี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทางวัดได้จัดทำ “ พิพิธภัณฑสถานพระบรมธาตุ“ ขึ้นตรงหน้าพระอุโบสถ เพื่อเป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ขุดได้ และที่ญาติโยมนำมาถวาย และทางกรมศิลปากรยังได้สร้างพิพิธภัณฑสถานชัยนาทมุนี ตั้งอยู่ภายในวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ซึ่งโบราณวัตถุเหล่านี้ “ พระชัยนาทมุนี ( นวม ) “ ได้มอบให้ ปูมหลังของพระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ ( ช้าง อินฺทสโร ) จากแถลงการณ์คณะสงฆ์ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2465 ระบุว่า “ พระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ ( ช้าง อินฺทสโร ) มรณภาพอายุ 81 ปี พรรษาที่ 60“ จากตรงนี้พอสันนิฐานปี พ.ศ. ที่พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) เกิดนั้นคือ ปี พ.ศ.2384 แต่จากอัตประวัติของท่านที่มีการเขียนถึง กล่าวว่า ท่านเกิดเมื่อปีกุน เดือน 8 วันอาทิตย์ ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ.2382 เกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท บิดาชื่อโชติ มารดาชื่อบัว ท่านเป็นบุตรคนโต มีร่างกายใหญ่โตแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์ บิดาจึงตั้งชื่อว่าช้าง ซึ่งเป็นคนที่มีอัธยาศัยมีเมตตากรุณามาตั้งแต่เป็นเด็ก การศึกษาเมื่ออายุได้ 9 ขวบครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง บิดาได้พาไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอักขระขอมกับพระสมุห์เปรม และพระครูเมธังกร ( จู ) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุฯ

ตามคำบอกเล่า ระหว่าง "พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) แห่งวัดพระบรมธาตุฯ และพระครูวิมลคุณากร ( ศุข เกสโร ) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท" ท่านชอบพอกันมาตั้งแต่เด็ก มีวิชาดีด้วยกันทั่งคู่ เคยทดสอบวิชากันเช่น พระครูวิมลคุณากร ( ศุข เกสโร ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า สร้างเสือสมิง พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) วัดพระบรมธาตุฯ สร้างควายธนู ต่างก็ทำอะไรกันไม่ได้เพราะต่างมีวิชาพอกัน กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่เป็นพระเครื่องของพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) นั้น มีด้วยกัน 2 แบบ ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน คือ เหรียญปั๊มรูปเหมือน และเหรียญปั๊มพระบรมธาตุ หากแต่ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนของท่าน เป็นเหรียญรูปหยดน้ำขยักมุมบนและล่าง ปั๊มแบบมีหูในตัว ด้านหน้า แกะขอบเป็นเส้นลวดนูนขนานกัน เส้นนอกหนา เส้นในบาง ตรงกลางเป็นรูปเหมือน พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) นั่งเต็มองค์ ห่มจีวรเฉียง พาดผ้าสังฆาฏิ อยู่ในท่านั่งเอามือจับเข่าทั้งสองข้าง เรียกกันว่า “ ท่าแสดงชราธรรม “ เบื้องล่างเป็นลายโบว์ ปลายโบว์ทำเป็นเส้นหางนกแซงแซว ภายในโบว์จารึกอักขระขอมไว้ อ่านได้ว่า “ อินฺทสโร “ ด้านหลัง พื้นเรียบปรากฏอักษรไทย 4 บรรทัด และเลขไทย 1 บรรทัด ว่า “ พระ อินทรโมลี ศรีบรมธาตุบริหาร สุวิจารณสังฆปาโมกข์ ๒๔ ๖๕ เหรียญนี้มีปรากฏ 2 เนื้อด้วยกัน คือ เงิน และทองแดง พบเหรียญพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) ในกำปั่นพระครูสถิตสมณวัตร ( หลวงพ่ออ่ำ ) วัดอินทาราม ( ตลุก ) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 5 – 6 เหรียญ จึงเชื่อได้ว่าพระครูวิมลคุณากร ( หลวงปู่ศุข เกสโร ) และพระครูสถิตสมณวัตร ( หลวงพ่ออ่ำ ) ร่วมปลุกเศก หากเมื่อกล่าวถึงพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) แล้วนั้น

พบว่าทั่วทั้งชัยนาท,สิงห์บุรี,อ่างทอง,อุทัยธานี,นครสวรรค์,สุพรรณบุรี,ลพบุรี ล้วนต่างทราบถึงกิตติศัพท์ในชื่อเสียงเป็นอย่างดี เป็นพระภิกษุที่เป็นที่เคารพยิ่งของชาวบ้าน ด้วยวัตรปฏิบัตินั้นงดงามยิ่ง ถือสมถะไม่สะสมทรัพย์สมบัติใดๆ และไม่เคยขัดในกิจนิมนต์แม้ไกลเพียงใด เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นตามลำน้ำเจ้าพระยา และได้เสด็จถึงเมืองชัยนาท ทางจังหวัดได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สวดมนต์ถวายพระพรซึ่งพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) เมื่อครั้งยังเป็นที่พระครูอินทโมลี ได้รับนิมนต์ไปด้วย ซึ้งเป็นที่ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรัสชมท่านว่า สวดมนต์ได้ดี เสียงดังฟังชัดถูกต้องอักขรวิธี และสังโยคแม่นยำมากจึงโปรดเกล้าพระราชทานผ้ากราบ พัดรอง ย่าม แก่พระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) ในคราวนั้นด้วย และเมื่อกล่าวถึงวัตถุมงคลของพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) แล้วนั้น ล้วนต่างนึกถึงเหียญรูปเหมือนของท่าน และอีกเหรียญหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับเหรียญปั๊มรูปเหมือน คือ เหรียญปั๊มรูปพระบรมธาตุ เป็นเหรียญปั๊มรูปหยดน้ำขยักมุม บนและล่าง ปั๊มแบบมีหูในตัว ด้านหน้า ยกขอบเส้นนูนหนา ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระบรมธาตุ แกะเป็นรูปนูนต่ำสวยงาม ด้านข้างทั้ง 3 มุมเป็น อักษรไทยระบุว่า “ พระบรมธาตุ” ด้านหลัง ยกขอบเป็นเส้นนูนหนาแบบด้านหน้า ตรงกลางเป็นยันต์ 5 หรือยันต์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ภายในขมวดยันต์บรรจุอักขระขอมว่า “ นะ โม พุท ธา ยะ “ ตรงกลางยันต์เป็นอักขระขอมว่า “ อัง “ ล่างสุดเป็นอักษรไทยว่า ชัยนาท เหรียญนี้มีปรากฏ 2 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อทองแดง และทองแดงกะไหล่ทอง กล่าวสำหรับพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระบรมราชา ธิบายไว้เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ว่า “พระบรมธาตุรูปแปลกแต่เล็ก มีศิลาจารึกอยู่ที่ฐานโพธิ์ แต่เป็นจารึกใหม่ๆ เป็นอักษรขอมเขียนภาษาไทยว่าด้วยการเรี่ยไรปฏิสังขรณ์พระธาตุบอกเรือนเงิน 2 สลึง 3 สลึง แต่มีที่ควรสังเกตอยู่ 2 แห่ง คือ แพรกศรีราชา กลับกล่าวว่ามีสมเด็จพระรูปเสด็จขึ้นไปในการฉลอง คำนวณดูตกในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สมเด็จพระรูปนั้นคงจะเป็น กรมพระเทพามาตย์ พระอรรคมเหสีกลางแผ่นดินพระเพทราชา ซึ่งทรงผนวชเป็นรูปชีอยู่วัดดุสิต นี่เห็นจะเป็นตัวอย่างให้เกิดสมเด็จพระรูปศิริโสภามหานารีขึ้นที่กรุงเทพฯ มีระฆังใบหนึ่งหล่อเมื่อพระพุทธศักราช 2270 เสียงไม่เพราะพระครูอินทโมลีอยู่ ข้างจะแข็งแรงในการปฏิสังขรณ์แลจัดการเล่าเรียน กลับขึ้นเรือไฟแล้วไปเดินเล่น ร้อนจัดจนเวลาค่ำฝนตกแต่ไม่สู้มาก “ นอกจากนั้นในพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัตติวงค์ เรื่อง

“ จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก “ ทรงกล่าวถึงพระบรมธาตูว่า “ วัดนี้เป็นวัดเก่า มีพระธาตุเล็กประมาณ 4 วา รูปเป็นหน้าบรรพ์ชั้นสิงห์อย่างปรางค์ ฐานสองชั้นเป็นฐานบังลังก์ องค์เป็นต่อมน้ำ ยอดมีบัวกลุ่มดอก 1 แล้วมีปลีพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นรุ่มร่ามไม่เข้าแบบ แปลว่าเป็นของใหม่ หลังพระธาตุมีแผ่นศิลาจารึกหนังสือขอมแปลมีใจความว่า มหาพัทธะในเมืองชัยนาทมาไหว้พระธาตุได้คิดอ่านจะปฏิสังขรณ์ จึงไปเรียนแก่เจ้าทิพมนฯ และทำการปฏิสังขรณ์เสร็จถึงกำหนดปิดทอง จึงไปบอกเจ้าทิพมนฯ จึงขึ้นมาปิดทองพระบรมธาตุ ณ วันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา นพศกพระพุทธศักราช 2260 พระวษา มีระฆังใบหนึ่งจารึกไว้ที่ปากเป็นอักษรไทยอย่างวัดป่าโมกข์ว่า ศุภมัสดุ พุทธศักราช 2270 กับ 2 เดือน กับ 28 วัน ในวันอังคาร แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ( 2 หน ) นักสัตว์สำฤทธิ์ศก “ และยังมีคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าวันดีคืนดีพระบรมสารีริกธาตุจะแผ่รังสีฉายรัศมีพวยพุ่งออกจากซุ้มพระนาคปรกทั้ง 4 ทิศ สว่าง ไสวทั้งองค์พระบรมสารีริกธาตุ ปัจจุบันรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของพระอินทโมลีฯ ( ช้าง อินฺทสโร ) อยู่ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน6,020 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ธ.ค. 2561 - 07:29:33 น.
วันปิดประมูล - 04 ธ.ค. 2561 - 07:33:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลอาชาเหล็ก (6.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 ธ.ค. 2561 - 07:31:05 น.



*** ห่วงเชื่อมเดิมๆยังอยู่ สภาพสมบูรณ์ครับ ***


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 03 ธ.ค. 2561 - 07:31:20 น.



*** เหรียญพระบรมธาตุ จ.ชัยนาท พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ปี 2465 หลวงปู่ศุข ร่วมปลุกเสก ***


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 03 ธ.ค. 2561 - 07:31:35 น.



*** เหรียญพระบรมธาตุ จ.ชัยนาท พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ปี 2465 หลวงปู่ศุข ร่วมปลุกเสก ***


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 03 ธ.ค. 2561 - 07:32:26 น.



*** มาพร้อมบัตรรับรอง สบายใจได้ครับ ***


 
ราคาปัจจุบัน :     6,020 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    darkwalf (581)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1