(0)
ส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
รายละเอียด***ประวัติพระกรุพระบรมธาตุนาดูน (นครจัมปาศรี)อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม***
พื้นแผ่นดินอีสานมีลักษณะสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของภาค มีแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศตะวันตกและมีเทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรักอยู่ทางทิศใต้ของภาค จึงเป็นเหตุให้พื้นที่ของภาคอีสานจึงค่อยๆลาดลงสู่ตอนกลางของภาค ซึ่งจะสังเกตการณ์ไหลลงของแม่น้ำต่างๆ จะไหลลงไปทางทิศตะวันออกเพื่อลงสู่แม่น้ำโขง
วัฒนธรรม “ทวารวดี” มีรากฐานทางพุทธศาสนามาจากประเทศอินเดีย ได้ส่งอิทธิพลเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ราวพุทธศตวรรษที่ 12 จากนั้นจึงแพร่ขยายเข้ามาสู่ดินแดนภาคอีสาน โดยผ่านเข้ามาทางลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 15
จังหวัดมหาสารคาม ได้พบร่องรอยหลักฐานของวัฒนธรรมทวารวดีสมัยประวัติศาสตร์ระยะเริ่มแรกกระจายอยู่ตามบริเวณชุมชนสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมหลายแห่งด้วยกัน เช่น อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอนาดูน
อำเภอนาดูน หรือ นครจัมปาศรีในอดีต อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 64 กิโลเมตร ไปทางทิศใต้ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 600 เมตร มีเชิงเทินดินสูงประมาณ 6 เมตร และมีคูอยู่กลางกว้างประมาณ 20 เมตร เพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ในการบริโภค และเพื่อเป็นแนวป้องกันข้าศึกศัตรู ภายในตัวเมืองนครจัมปาศรี ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2522 ที่สำคัญคือการค้นพบสถูปสำริด 3 ชั้น ซึ่งมีความสูงรวมจากฐานถึงยอด 24.4 เซนติเมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สถูปชั้นนอกทำด้วยทองสำริด ชั้นกลางทำด้วยเงิน และชั้นในทำด้วยทองคำ ภายในมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น ขนาดเท่าปลายเม็ดข้าวสารหัก หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์ เมื่อเปิดออกจะได้กลิ่นหอมอบอวลซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก และต่อมาในปี พ.ศ. 2525-2529 จึงได้มีการสร้างพระสถูปเจดีย์จำลอง ซึ่งมีลักษณะแบบทวารวดี ดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากร สูง 50.50 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 35.70 เมตร เพื่อเป็นปูชนียสถานและความเป็นสิริมงคลแก่ภูมิภาค ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอีสาน หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีว่านี่คือ พุทธมณฑลอีสาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของภาคอีสาน
นอกจากการค้นพบสถูปสำริดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังได้มีการค้นพบ พระพิมพ์ดินเผาศิลปะทวารวดี อีกเป็นจำนวนมาก พระพิมพ์ดังกล่าวสามารถแบ่งแยกออกได้กว่า 40 พิมพ์ มีทั้งขนาดใหญ่สำหรับตั้งเป็นพระพุทธรูปบูชา และขนาดเล็กห้อยคอบูชาได้ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทุกพิมพ์
พระพิมพ์ปางปฐมเทศนา นับเป็นพระพิมพ์ขนาดบูชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดพิมพ์หนึ่ง โดยเฉพาะนักปกครองทั้งหลายจะพยายามหามาไว้บูชา เนื่องจากคติรูปลักษณ์คล้ายกับการนั่งบัลลังก์ หรือที่หลายคนนิยมเรียกพระพิมพ์นี้ว่า “พิมพ์นั่งเมือง” โดยพุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา(ตัก) และพระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วเป็นวงกลมหมายถึงการแสดงธรรม อันสืบคติการสร้างพระพิมพ์เป็นพุทธบูชา โดยแฝงเรื่องราวของพุทธประวัติว่า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือวันเพ็ญอาสาฬหปุณณมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ เพื่อให้งดทางสองสายคือ กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การประกอบตนหมกมุ่นในกามารมณ์ และ อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การถือครองตนด้วยความลำบาก ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์8 อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และ อริยสัจ4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความจริงอันประเสริฐ อันเป็นสัจจธรรมที่น้อมนำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากทุกข์
ด้านเนื้อหาของพระพิมพ์กรุพระบรมธาตุนาดูน เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา ฉะนั้นจึงมีสีสันวรรณะที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากความร้อนในการเผาไหม้ที่ไม่สม่ำเสมอ จึงเกิดสีของดินในพระพิมพ์ที่แตกต่างกัน คือ สีเขียว สีน้ำตาล สีแดง สีขาวอมเหลือง และสีดำ
***ข้อมูลอ้างอิงจาก: นิตยสารมรดกพระเครื่อง ฉบับที่63 ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2551 คอลัมน์: เนื่องมาจากปก เรื่อง: พระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุพระบรมธาตุนาดูน (นครจัมปาศรี) อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

*****อ่านก่อนสักนิด เพื่อความเข้าใจตรงกันครับ*****
พระเครื่ององค์นี้ เป็นพระพิมพ์ดินเผา ปางนั่งเมือง ซึ่งแตกหักเดิมจากกรุ เหลือเพียงส่วนบนของพิมพ์ติดเศียรพระประธานมาด้วย องค์นี้ขึ้นกรุเมื่อปี 2555 จึงเรียกว่า “กรุใหม่” ศิลปะทวารวดี อายุ1,300ปี พระเนื้อดี แกร่ง เส้นสายรายละเอียดของพระยังคมชัดแม้ผ่านกาลเวลามานานนัก พระองค์นี้ได้ผ่านการตรวจสอบและได้บัตรรับรองพระแท้จากสถาบันสยามอมูเล็ท (***หมายเหตุ: พระองค์นี้ได้ผ่านการส่งตรวจสอบเพื่อออกบัตรรับรองจากสถาบันการันตีพระแล้ว= ไม่ออกผล***) แท้สากล และพระพิมพ์นี้จัดเป็นพระพิมพ์หลักของพระกรุนาดูน มีในรายการประกวดพระเครื่อง โต๊ะพระกรุภาคอีสาน ยอดนิยม สามารถตรวจสอบในรายการประกวดได้ เช่น ในรายการที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ คือ นิทรรศการประกวดการอนุรักษ์พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญคณาจารย์ วันที่ 5-6 กันยายน 2563 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ วันนี้ขอมาในราคาแบ่งปันจับต้องได้ หาไม่ง่ายแล้วครับสำหรับพระกรุนาดูนที่จะคมชัดขนาดนี้ ถ้ามีเต็มองค์และคมชัดแบบนี้ ราคาสูงมากๆครับ พระเลือกท่านแล้ว รับประกันตามกฎครับ
ราคาเปิดประมูล4,400 บาท
ราคาปัจจุบัน4,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ก.ย. 2563 - 15:34:11 น.
วันปิดประมูล - 12 ก.ย. 2563 - 16:48:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลampdaycare (427)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 ก.ย. 2563 - 15:34:55 น.



ส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 11 ก.ย. 2563 - 15:35:17 น.



ส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 11 ก.ย. 2563 - 15:35:43 น.



ส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 11 ก.ย. 2563 - 15:36:00 น.



ส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 11 ก.ย. 2563 - 15:36:41 น.



ส่วนบนของพระพิมพ์ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) กรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีลงหนังสืออ้างอิงครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Sakorn_rak (566)

 

Copyright ©G-PRA.COM