(0)
ท้าวเวสสุวรรณ ไม้แกะ เก่า ไม่ทราบที่








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องท้าวเวสสุวรรณ ไม้แกะ เก่า ไม่ทราบที่
รายละเอียดสูงประมาณ 7 เซนติเมตรครับ สวัสดีปีใหม่ครับ
รับประกันตามกฎเวปทุกประการ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ม.ค. 2564 - 18:12:13 น.
วันปิดประมูล - 03 ม.ค. 2564 - 20:02:14 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลTawat_boonyarat (1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 02 ม.ค. 2564 - 19:36:14 น.

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า "ท้าวกุเวร" ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก "ท้าวไพสพ" เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย โดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวาร

ว่ากันว่าอาณาเขตที่ ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองนั้นใหญ่มหาศาลมาก และ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อันประกอบไปด้วย "พระอินทร์" (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก , "พระยม" (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้ และ "พระวรุณ" (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก

และ เพราะ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งอสูร คนโบราณจึงมักทำรูป ท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพราะเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้มารบกวนเด็กเล็กได้ และนิยมทำผ้ายันต์รูป ท้าวเวสสุวรรณ รวมทั้งจำหลักรูป ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ที่มีดหมอของสัปเหร่อ เพื่อกำราบวิญญาณ และยังมีผู้พกพารูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือทำเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณอีกด้วย

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วเรามักเห็นภาพ ท้าวเวสสุวรรณ ในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาว หรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขา เหมือนมีขาสามขา เนื่องจากท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการ จึงเป็นเหตุให้พระพรหมตั้งชื่อให้ว่า "ท้าวกุเวร" แต่ในวรรณคดีหลายฉบับ

รวมทั้งตำราโบราณ ได้กล่าวตรงกันว่า อันที่จริงแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ เป็นยักษ์ที่มีผิวกายและพัสตราภรณ์สีเหลืองทอง จิตใจดีงาม และอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น หากใครที่เดินทางไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก ก็อาจจะได้พบรูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช ทำเป็นรูป ท้าวเวสสุวรรณ เพื่อปกปักคุ้มครองพระพุทธศาสนา ไม่ให้หมู่มารมารังควาน รวมทั้งปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน

ดังนั้น เราอาจจะเคยเห็นว่า วัดวาอารามต่าง ๆ หรือด้านหน้าถ้ำ จะมีรูปปั้้นยักษ์ 1 หรือ 2 ตน ยืนถือกระบองค้ำพื้นเฝ้าหน้าประตูโบสถ์ หรือวิหารที่เก็บของมีค่า โบราณวัตถุของทางวัดอยู่ ซึ่งหากยักษ์ที่ยืนปกปักรักษาอยู่มีตนเดียว นั่นก็คือ ท้าวเวสสุวรรณ นั่นเอง แต่ถ้าหากมี 2 ตน ก็คือบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณ ที่จะมาคอยปกปักรักษาบริเวณวัด

และนอกจาก ท้าวเวสสุวรรณ จะมีหน้าที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ ยังมีหน้าที่จดความดีของคนทางทิศเหนือไปจารึก และประกาศให้เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้รับรู้อีกด้วย


ตำนานความเชื่อของ ท้าวเวสสุวรรณ

ตามตำนานทางพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า ในอดีตชาติ ท้าวเวสสุวรรณ เคยเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย ด้วยความใจบุญจึงได้นำเงินทองไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ และด้วยกุศลผลบุญที่ ท้าวเวสสุวรรณ บำเพ็ญมานับหลายพันปี พระพรหม และ พระอิศวร จึงให้พรแก่ ท้าวเวสสุวรรณ ให้เป็นอมตะ และเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั่วปฐพี เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ดังนั้นผู้คนจึงนิยมจำหลักรูป ท้าวเวสสุวรรณ ไว้เคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกหนึ่งประการ ตรงตามความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวรรณ" คือ คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า จึงหมายถึงพ่อค้าอันมีทรัพย์ ได้แก่ ทองคำ

นอกจากนี้อีกหนึ่งตำนานในพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า ในชาติหนึ่ง ท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งเดิมชื่อ กุเวรพราหมณ์ ได้ทำบุญกุศลมาก จนชาติต่อมา ได้เป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์ พระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร และทรงเป็นพระสหายกับเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนบรรลุเป็นโสดาบัน และได้ถวายพระเวฬุวันมหาวิหาร ให้พระพุทธเจ้าได้เข้าประทับ จึงเป็นอานิสงส์ให้ได้วิมานอันสวยงาม และการที่พระเจ้าพิมพิสารถวายทานบ่อย ๆ จึงเป็นปัจจัยให้มีทิพยสมบัติมากมาย เมื่อได้เป็นเทวดาก็ทรงมีอำนาจมาก

ขณะที่ตามตำนานของพรามหณ์ เชื่อกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร หรือ กุเปรัน เป็นพี่ชายต่างมารดาของทศกัณฐ์ แต่ไปนับถือท้าวมหาพรหมผู้เป็นเทวดา เพราะปรารถนาจะบำเพ็ญบารมี ทำให้ผิดใจกับพ่อซึ่งอยู่ในตระกูลยักษ์ โดยท้าวมหาพรหมทรงโปรดปรานท้าวกุเวร จึงประทานบุษบกให้ เพื่อให้ล่องลอยไปไหนมาได้ตามใจปรารถนา ก่อนที่ทศกัณฐ์จะไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรที่พระมหาพรหมประทานให้ไป และยึดกรุงลงกาที่ท้าวกุเวรปกครองอยู่มาได้สำเร็จ ท้าวมหาพรหมจึงสร้างนคร "อลกา" ให้ท้าวกุเวรใหม่



คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

ใน คัมภีร์โบราณ กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร ตามคาถาบูชาต่อไปนี้



คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร (บูชาประจำวัน)



ตั้ง นะโม 3 จบ

อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ

มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต

เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ


 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Golfman (143)

 

Copyright ©G-PRA.COM