(0)
เหรียญจตุคาม รามเทพ รุ่นกิมเอ็ง ผิวแดงๆ เดิมๆ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญจตุคาม รามเทพ รุ่นกิมเอ็ง ผิวแดงๆ เดิมๆ
รายละเอียดคำอธิบายเพิ่มเติม :
ประวัติการสร้าง
1.)เป็นเหรียญกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 ซม. ซึ่งหากนำตัวเลขมารวมกันก้จะได้ 8 คือเลขราหู สอดคล้องกับปัจจุบันคือการเข้าสู่ยุคที่ 8 ตามหลักฮวงจุ้ย ด้านหน้าของเหรียญยกขอบเป็นรูปก้นหอยคล้ายซุ้มของพระพุทธสิหิงค์ ปี 2530 ซึ่งมีอยู่จำนวน 60 วง หมายถึงใน ปี 2549 นี้ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ส่วนรูปองค์พ่อออกแบบจากรูปบานประตูไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นศิลปะสมัยปาละที่อยู่ในวิหารทรงม้าภายในวัดพระบรมธาตุฯ เป็นต้นเค้าเดิมโดยได้อนุรักษ์รูปแบบให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด และเปลี่ยนอริยาบถนั่งชันเข่าข้างหนึ่งคล้ายปางมหาราชลีลา ซึ่งหากมองแล้วมีลักษณะเหมือนรูปองค์พ่อที่อยู่ในพระผงสุริยันจันทราน้ำตาลแว่น และมียันต์อุณาโลมแบบเหรียญแสตมป์ยันต์ข้างที่จัดสร้างในวาระเดียวกัน เปรียบเหมือนนำเหรียญแสตมป์ในรูปแบบกลม และมีรูปองค์พ่อแบบน้ำตาลแว่นนั่งอยู่ตรงกลาง นับตั้งแต่สร้างเมื่อปี 2530 ก็ยังไม่มีใครจัดสร้างในรูปแบบบานประตูไม้อีกเลย หากจะมีก็แต่”เศียรองค์พ่อ”เท่านั้น
2.)ส่วนด้านหลังของเหรียญคล้ายๆกับด้านหลังเหรียญปิดตาพังพระกาฬปี 2532 คือ เป็นรูปพระราหู 8 ตน รายล้อมรอบวัฏจักรนักษัตร 12 ราศี และมีเม็ดประคำจำนวน 32 เม็ด หมายความถึงอาการวัตรทั้ง32ประการ ตรงกลางเป็นยันต์อักขระโบราณ คือหัวใจกรณี หัวใจมนุษย์ ซึ่งถือเป็นยันต์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งตามคติธรรมของชาวศรีวิชัย แต่ครั้งโบราณ และสถิตย์อยู่ด้านหลังของพระผงสุริยันจันทรา รวมถึงพระพุทธสิหิงค์ที่สร้างในปี 2530 นับเป็นการรวมเอาด้านหลังของเหรียญปิดตาพังพระกาฬ และยันต์ด้านหลังของพระผงสุริยันจันทราเข้ารวมกัน

สรุปแล้วเหรียญที่จัดสร้างในครั้งนี้ได้รวมเอาลักษณะและคติธรรมความหมายที่สำคัญของพระสายจตุคามรามเทพที่จัดสร้างในช่วงปี 2530 – 2532 ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของการสร้างศาลหลักเมือง คือ - พระผงสุริยันจันทราน้ำตาลแว่นปี 2530 - พระพุทธสิหิงค์ ปี2530 - เหรียญแสตมป์ยันต์ข้าง ปี 2530 - เหรียญปิดตาพังพระกาฬปี 2532 ซึ่งพระทั้งสี่แบบนี้ถือเป็นพระหลักของสายนี้ที่มากด้วยประสบการณ์ และเป็นปฐมบทแห่งการจัดสร้างอันเป็นต้นกำเนิดแห่งพระสายจตุคามรามเทพที่ยืนยงมาเป็นพระหลักของสายใต้ในปัจจุบัน ผ้ายันต์ที่สร้างขึ้น 2 แบบในรุ่นนี้

เหรียญองค์จตุคามรามเทพที่จัดสร้างในครั้งนี้ ได้รวบรวมเอาชนวนที่สำคัญๆ ในสายจตุคามรามเทพ และจากที่สำคัญอีกหลายแห่งดังนี้
1.) ชนวนรูปหล่อองค์จตุคามรามเทพองค์ใหญ่ของวัดพุทไธสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่หล่อขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 ได้รับจากโยมอุปัฏฐากหลวงปู่หวล ภูริภัทโท (พระอุปัชฌาย์ของพระอาจารย์อติโชติ)
2.) ชนวนองค์จตุคามรามเทพรุ่นเจ้าสัว จากพระใบฎีกาปราณพวัดคอหงส์ จ.สงขลา และชนวนเบ้าเอกรูปหล่อองค์จตุคามรามเทพองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ของวัดนางพระยา ที่หล่อเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548 จากคุณหมออุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์
3.) ชนวนรูปหล่อปรก 3 เศียร รุ่นเกาะทะลุปี 2547 ได้รับจากคุณสุรศักดิ์ อัศวขจรกุล ซึ่งหลอมขึ้นโดยมีเหรียญแสตมป์ร้อยกว่าเหรียญ และเหรียญปิดตาพังพระกาฬกว่าสิบเหรียญ นอกจากนี้ยังมีชนวนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายจตุคามรามเทพอีกหลายอย่าง
4.) ชนวนพระคณาจารย์จากทั่วประเทศรวบรวมโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี สาธารณสุข จ.สมุทรสงคราม
5.) ชนวนหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเงินของกองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท จากคุณธนสาร เซ้งรักษา
6.) ชนวนหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางเปิดจักรวาล ของอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ (ลูกศิษย์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)
7.) ชนวนหล่อแหวนพระพุทธพรหมปัญโญเนื้อเงิน เป็นชนวนของหลวงปู่ดู่ ได้รับจากอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์
8.) ชนวนหล่อหลวงปู๋ทวด ของวัดเขาแร่ จ.สุโขทัย ได้รับจากคุณวิทยา ปทุมมัง (กองทุนคุณพระ)
9.) ชนวนอื่นๆอีกหลายรายการอาทิชนวนคณาจารย์ท่านอื่นๆ ,ชนวนจากคุณแม่น้อยสมพร โศภนมาศ เป็นต้น ชนวนต่างๆ ดังกล่าวนั้นก่อนที่จะนำมาผสมในเหรียญครั้งนี้ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษก และเทวาภิเษกอีกหลายครั้งหลายหน
ดังนี้
1.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่นมรดกพ่อ วัดพุทไธสวรรค์ วันที่ 21 ธันวาคม 2547
2.) พิธีมหาจักรพรรดิ์พุทธาภิเษก พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคล วัดชะเมา จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 21 มกราคม 2548
3.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่น พระเทวราชโพธิสัตว์เมตตามหาบารมี ที่วัดพระบรมธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 22 มกราคม 2548
4.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่นเจ้าสัว วัดคอหงส์ วันที่ 21 – 23 มีนาคม 2548
5.) พิธีบวงสรวงครบรอบ 1 ปี ปรก 5เศียร เกาะทะลุ ที่บ้านคุณสุรศักดิ์ อัศวขจรกุล วันที่ 27 เมษายน 2548
6.) พิธีพุทธาภิเษก อยุธยามหามงคล วัดกษัตราธิราช วันที่ 9 กรกฎาคม 2548
7.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่น จตุคามสะท้านฟ้า วัดพุทไธสวรรค์ วันที่ 15 กรกฎาคม 2548
8.) พิธีศาลหลักเมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันที่13 – 14 สิงหาคม 2548 โดยพลตำรวจโท สรรเพ็ชญ์ ธรรมาธิกุล
9.) พิธีพุทธาภิเษกเหรียญมหาจักรจตุคามรามเทพรุ่นกฐินรวมใจ สามัคคี สันติสุข ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2548

เมื่อสำเร็จเป็นเหรียญเรียบร้อยแล้วนำเข้าพิธีมหาจักรพรรดิเทวาภิเษกในวันที่ 1-4 ธันวาคม 2548 ที่วัดนางพระยา จ.นครศรีธรรมราช และพิธีเททองหล่อรุ่น มหาราชมหาบารมี วัดใหญ่ชัยมงคล จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2548 และที่ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นที่สุดท้าย นอกจากนี้ยังนำไปเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก วัดอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม ในวันที่ 10 ธันวาคม 2548 ซึ่งมีเกจิอาจารย์นั่งปรก อาทิ หลวงพ่อเพิ่มวัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา หลวงพ่อพูนวัดบ้านแพน จ.อยุธยา หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม จ.อยุธยา หลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร จ.นครปฐม หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง หลวงพ่อผล วัดนางหนู จ.ลพบุรี หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม หลวงพ่อธีร์ วัดจันทราวาส จ.บุรีรัมย์ ครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา จ.เชียงราย ฯลฯ

โดยให้ชื่อรุ่นว่า”เทวราชโพธิสัตว์ มหาปาฏิหาริย์” หมายความว่า”พระเทวราชาผู้เป็นโพธิสัตว์ที่พึ่งของสัตว์โลก ผู้ทรงบริบูรณ์แล้วซึ่งปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เหนือฟ้าเหนือดิน” เหรียญที่จัดสร้างครั้งนี้โดย ผู้บริหาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดสร้างแจกจำนวนทั้งสิ้น 4,000 เหรียญ มีเหรียญทองคำ 3 เหรียญ และนอกนั้นทั้งหมดเป็นเหรียญทองแดงผสมชนวนจำนวน 3,997 เหรียญอย่างเดียวไม่มีเนื้ออื่นๆ ประสบการณ์ด้านโชคลาภสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องหุ้นเยี่ยมยอดมากๆ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 12 มิ.ย. 2564 - 22:34:52 น.
วันปิดประมูล - 13 มิ.ย. 2564 - 23:20:12 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtdiamond (439)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Kimber (207)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM