(0)
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ "อ.ว." วัดสุทัศน์ฯ (ลพ.เปิ่น วัดบางพระ ร่วมปลุกเสก) วันเพ็ญเดือน12 ปี 2533 เนื้อนวะโลหะ สวยมาก...กล่องเดิมๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ "อ.ว." วัดสุทัศน์ฯ (ลพ.เปิ่น วัดบางพระ ร่วมปลุกเสก) วันเพ็ญเดือน12 ปี 2533 เนื้อนวะโลหะ สวยมาก...กล่องเดิมๆ
รายละเอียดพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ "อ.ว." วัดสุทัศน์ฯ (ลพ.เปิ่น วัดบางพระ ร่วมปลุกเสก) วันเพ็ญเดือน12 ปี 2533
เนื้อนวะโลหะ สวยมาก...กล่องเดิมๆ
(กริ่งเนื้อนวะ จะตอกโค๊ตด้านหลัง 2 จุด)
รับประกันความแท้และความพอใจ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่น “อ.ว.” มีความพิเศษในการจัดสร้าง ดังนี้

1.เมื่อคราวทำการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ คณะ ๖ ซึ่งเป็นที่ตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) คณะกรรมการได้สำรวจพบชนวนพระกริ่ง ๑ ช่อ ภายในตำหนักซึ่งมีความเก่ามาก ซึ่งได้รับการสันนิษฐานจากอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร หรือ เป็นที่รู้จักของบรรดานักศึกษาสะสมพระเก่าว่า พระครูหนู หรืออาจารย์หนู ท่านให้ความเห็นว่าน่าจะมีอายุการสร้างในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในสมัยดำรงสมณศักดิ์เป็น พระพรหมมุนี ราว ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้นำมาใส่ลงเบ้าหลอมผสมกับเนื้อทองหล่อพระกริ่งรุ่น “อ.ว.”

2. เมื่อเททองเสร็จแล้ว ก่อนทำการบรรจุเม็ดกริ่ง คณะกรรมการจักสร้างมีความเห็นร่วมกันว่า ควรนำเอาเส้นพระเกศา ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) คราวที่พระองค์ปลงพระเกศาทุกเดือน โดยเจ้าคุณพระศรีสัจจญาณเถร (ประหยัด ปญญาธโร) ผู้เป็นสัทธิวิหาริกผู้ใกล้ชิดพระองค์เก็บรักษาไว้ นำมาบรรจุภายในองค์พระกริ่งรุ่นนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ให้บังเกิดมีแก่ผู้นำไปบูชา และยังได้บรรจุผงพุทธคุณ เช่น ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปัถมัง ฯลฯ ของพระเกจิอาจารย์ ซึ่งมีชื่อเสียงในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เจ้าคุณศรีสนธิ์ และเจ้าคุณศรีประหยัด ยังได้รับเพิ่มจากพระคณาจารย์ ๑๑๖ รูป ที่ได้รับอาราธนามานั่งปรกบริกรรม ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพิธีที่จัดใหญ่ที่สุดเท่าที่วัดสุทัศน์ฯ จัดพิธีมา เส้นพระเกศา และผงพุทธคุณทั้งหมดเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีโดยพระครูภัทรวิริยคุณ (ถนอม ธมฺมฐีต)ิ ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดช่วยจัดพิธีพุทธาภิเษก ในสมัยเจ้าคุณศรีประหยัดเป็นเจ้าพิธี และในยุคปัจจุบันนี้ ท่านพระครูภัทรวิริยคุณได้รับมอบหมายดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัด จึงได้นำเอาเส้นพระเกศา และผงพุทธคุณที่เก็บรักษาไว้มาบรรจุภายในองค์พระกริ่งรุ่น “อ.ว.”

3.พระกริ่งรุ่น “อ.ว.” นี้ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกวัดพระแก้ว ร่วมกับพระกริ่งสมเด็จย่า ๙๐ พรรษา โดยได้นำเอาแผ่นยันต์ทั้งที่เป็นทองคำ เงิน นาก ทองแดง และส่วนผสมโลหะทั้ง ๙ เข้าพิธีเป็นปฐมฤกษ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่าย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระกริ่งรุ่นนี้ คาดว่ากว่าผู้รับพระที่จองไว้คงจะเข้าพิธีไม่ต่ำกว่า ๗ ครั้ง พระกริ่งรุ่น “อ.ว.” นี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกริ่งพี่-กริ่งน้อง กับพระกริ่งสมเด็จย่า ๙๐ พรรษา คือช่างผู้เททอง ผู้ออกแบบ เป็นคณะชุดเดียวกัน และที่สำคัญสุดเกิดร่วมแม่เดียวกันคือ ในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ฯ ซึ่งถือกันว่า “เป็นดินแดนกำเนิดพระกริ่ง” การสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ในยุคปัจจุบันนี้ อาจกล่าวว่าไม่มีพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์รุ่นใดที่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านพิธี และแร่ธาตุครบตามกระบวนการสร้าง เท่าพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์รุ่น สมเด็จย่า ๙๐ พรรษา และ รุ่น “อ.ว.” แร่ธาตุทั้ง๙นั้น อันได้แก่ ๑.ชิน ๒.จ้าวน้ำเงิน ๓.เหล็กละลายตัว ๔.ทองแดงบริสุทธิ์ ๕.ปรอท ๖.สังกะสี ๗.ทองแดง๘.เงิน ๙.ทองคำ แร่ธาตุทั้ง ๙ ชนิดนี้ รวมเรียกว่า “นวโลหะ” หมายถึง โลหะ ๙ อย่าง แร่ธาตุทั้งหมดนี้ได้อาศัย พระอาจารย์อรรถพล (อาจารย์แอ๊ด) วัดปริวาศ ติดต่อเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ผู้มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบจัดหาให้ครบทุกอย่างและได้นำมาหลอม ผสมในอัตราส่วนตามตำราสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นแห่งๆ ณ วัดปริวาศ โดยมีพระอาจารย์อรรถพล (แอ๊ด) ศิษย์ของอาจารย์เทพสาริกบุตร ควบคุมดูแลช่าง ได้เกิดนิมิตมากมายหลายอย่างล้วนแต่เป็นมงคลทั้งสิ้น ทั้งนี้ ด้วยอำนาจโลหะวัตถุมงคลที่นำมาผสม หรืออาจจะด้วยพระบารมีของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งทรงมีญาณวิถีทราบถึงพิธีกรรมที่ถูกต้อง ช่วยสานต่อเจตนารมณ์ วิธีการสร้างตามตำราการสร้างพระกริ่งโบราณ อันเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์ และในโอกาสนี้ ทางวัดสุทัศน์ฯ โดยการมอบหมายจากเจ้าอาวาส พระธรรมปิฎก ให้ดำเนินการสร้างพระกริ่งรุ่น “อ.ว.” ขึ้น และได้ทำพิธีเททอง เมื่อวันศุกร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ ตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ อันถือเป็นประเพณีการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ฯ สืบต่อกันมาช้านาน

ความพิเศษทั้ง ๓ ประการที่นำมากล่าวทั้งหมดนี้ เป็นความพิเศษที่หาได้ยากมากในขบวนการสร้างพระกริ่งยุคปัจจุบันนี้ พระคณาจารย์นั่งปรกบริกรรมภาวนา หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร, หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงพ่อขวัญ วัดอรุณราชวราราม, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อประมวล วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงพ่อเปรื่อง วัดหิรัญญาราม, พระอาจาร์โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก, พลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง, หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์ (กบเจา), หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร, หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่ออำนวย วัดสุทัศนเทพวราราม, พระอาจารย์นิล วัดสำนักคร้า, หลวงพ่อเล็ก วัดสันติศีรีศรีบรมธาตุ, หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม, หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง, หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง, หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ, หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา, หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย,พระครูสังฆรักษ์เฉลิม วัดพระญาติการาม, พระครูวินัยธรปิ่น วัดไชยภูมิ, พระอาจารย์สมบูรณ์ วัดโสดาประดิษฐาราม, พระอาจารย์ปราโมทย์ วัดสุทัศนเทพวราราม, พระอาจารย์สมชาย วัดปริวาศ, พระอาจารย์อรรถพล วัดปริวาศ, หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู, หลวงพ่อแคล้ว วัดบางขุนเทียนนอก,พระอาจารย์โทน วัดเขาศีรีวันน้อย, หลวงพ่อสมเกียรติ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น

*******พระคณาจารย์นั่งปรกบริกรรมภาวนา******
หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร,
หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศนเทพวราราม,
หลวงพ่อขวัญ วัดอรุณราชวราราม,
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม,
หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน,
หลวงพ่อประมวล วัดสุทัศนเทพวราราม,
หลวงพ่อเปรื่อง วัดหิรัญญาราม,
พระอาจาร์โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก,
พลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง,
ลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์ (กบเจา),
หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ,
หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ,
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ,
หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร,
หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า,
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ,
หลวงพ่ออำนวย วัดสุทัศนเทพวราราม,
พระอาจารย์นิล วัดสำนักคร้า,
หลวงพ่อเล็ก วัดสันติศีรีศรีบรมธาตุ,
หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม,
หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง,
หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง,
หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ,
หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา,
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย,
พระครูสังฆรักษ์เฉลิม วัดพระญาติการาม,
พระครูวินัยธรปิ่น วัดไชยภูมิ,
พระอาจารย์สมบูรณ์ วัดโสดาประดิษฐาราม,
พระอาจารย์ปราโมทย์ วัดสุทัศนเทพวราราม,
พระอาจารย์สมชาย วัดปริวาศ,
พระอาจารย์อรรถพล วัดปริวาศ,
หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู,
หลวงพ่อแคล้ว วัดบางขุนเทียนนอก,
พระอาจารย์โทน วัดเขาศีรีวันน้อย,
หลวงพ่อสมเกียรติ วัดสุทัศนเทพวรารา
ราคาเปิดประมูล4,160 บาท
ราคาปัจจุบัน4,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 10 มี.ค. 2565 - 20:43:45 น.
วันปิดประมูล - 12 มี.ค. 2565 - 19:47:39 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmanliar (52.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 10 มี.ค. 2565 - 20:44:13 น.



ใต้ฐานพระกริ่ง...


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 10 มี.ค. 2565 - 20:44:27 น.



พระชัยวัฒน์


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 10 มี.ค. 2565 - 20:44:39 น.



พระชัยวัฒน์ ด้านหลัง


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 10 มี.ค. 2565 - 20:44:52 น.



พระชัยวัฒน์ ใต้ฐาน...


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 10 มี.ค. 2565 - 20:45:05 น.



กล่องเดิมๆ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    somsak5777 (882)

 

Copyright ©G-PRA.COM