(0)
พระขุนแผนดินหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ปี พ.ศ.2470 สวยเดิมๆครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระขุนแผนดินหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ปี พ.ศ.2470 สวยเดิมๆครับ
รายละเอียดพระขุนแผนดินหน้าตะโพนหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ในบรรดาวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มก็มี "พระขุนแผนดินหน้าตะโพน" อีกอย่างหนึ่งที่เป็นของดีน่าใช้ และราคาก็ไม่แพงมากด้วย แต่เมื่อดูถึงขั้นตอนของวิธีการสร้างแล้วพระขุนแผนดินหน้าตะโพนของหลวงพ่อแช่มเป็นของดีที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลยเหตุที่เรียกพระเครื่องพิมพ์นำหน้าว่า "พระขุนแผน" นั้นก็เนื่องมาจากหลวงพ่อแช่มท่านสร้างพิมพ์โดยเลียนแบบมาจาก "พระขุนแผนพิมพ์พลายเดี่ยวกรุวัดบ้านกร่าง จ. สุพรรณบุรี" แต่มีขนาดเล็กกว่ามากส่วนด้านหลังเป็นยันต์คล้ายตัว "อุณาโลม" กดเป็นร่องลึก ส่วนที่เรียก "ดินหน้าตะโพน" ตามหลังก็เนื่องมาจากว่าหลวงพ่อแช่มท่านนำเอาดินที่ปิดหน้ากลองตะโพนมาสร้าง "ตะโพน" เป็นกลองชนิดหนึ่งมีลักษณะหัวสอบ ท้ายสอบ ขึงด้วยหนังทั้งสองข้าง มีขารอง ใช้ตีด้วยฝ่ามือ ที่หนังกลองทั้งสองข้างนิยมเอาดินละเอียดกับข้าวสุกมาคลุกให้เข้าด้วยกันแล้วปิดเอาไว้ซึ่งจะทำให้เมื่อตีแล้วมีเสียงทุ้มไพเราะน่าฟังในการละเล่นสมัยก่อนจะมีกลองตะโพนเป็นเครื่องดนตรีประกอบเอาไว้ด้วยเสมอๆ สมัยก่อนดินที่นำมาผสมกับข้าวสุกเพื่อปิดหนังหน้ากลองตะโพนนั้นนิยมเอาไปให้อาจารย์ที่มีความรู้ทางวิชาอาคม ผสมของดีทางเมตตามหานิยมและปลุกเสกให้โดยเชื่อกันว่าเมื่อเอาดินผสมข้าวสุกและของดีและปลุกเสกแล้วมาปิดที่หนังหน้ากลองตะโพนเวลาตีจะทำให้มีเสียงไพเราะทำให้คนได้ยินได้ฟังเกิดความหลงใหลและอยากจะดูการละเล่นนั้นๆ เล่ากันว่าสมัยก่อนเมื่อมีการละเล่นจะต้องมีการบรรเลงเครื่องดนตรีเป็นการโหมโรงก่อนเสียงจากการโหมโรงซึ่งมีเสียงกลองตะโพนประกอบอยู่ด้วยนั้นเมื่อใครได้ยินแล้วจะร้อนรุ่มอยู่บ้านไม่ได้ต้องมาดูการละเล่นนั้นๆ หลวงพ่อแช่มท่านก็มีคนมาขอให้ท่านปลุกเสกดินที่จะนำไปติดที่หน้ากลองตะโพนอยู่เสมอๆแม้แต่กลองตะโพนใบใหญ่ของวัดตาก้องหลวงพ่อแช่มท่านก็เอาดินชนิดนี้ไปปิดที่หน้ากลองด้วยซึ่งกลองใบนี้ทางวัดจะใช้ตีเวลาทางวัดมีงานหรือตรงกับวันพระ พอตีแล้วเสียงกลองนี้จะได้ยินไปไกลชาวบ้านพอได้ยินเสียงกลองก็จะพากันมาทำบุญที่วัดกันหลายๆ คนแต่ดินที่ใช้ปิดหน้ากลองตะโพนนี้ เมื่อผ่านไปหลายๆวันก็จะแห้งและแตกหลุดออกมาจะต้องทำใหม่ปิดอยู่เรื่อยๆซึ่งหลวงพ่อแช่มท่านก็รู้ถึงเคล็ดลับทางเมตตามหานิยมของดินหน้าตะโพนชนิดนี้ดีครั้นเมื่อดินหน้าตะโพนแห้งต้องทำใหม่ ท่านก็จะเก็บของเก่าสะสมเอาไว้เรื่อยๆจนมีจำนวนมากเพียงพอแล้ว จึงนำเอาดินหน้าตะโพนนั้นมาสร้างเป็นพระเครื่องพิมพ์ขุนแผนโดยหวังอานิสงส์ทางเมตตามหานิยมเป็นหลักเมื่อได้ดินหน้าตะโพนมาจำนวนมากเพียงพอต่อการสร้างพระเครื่องแล้วหลวงพ่อแช่มท่านยังได้นำเอามวลสารอีกหายอย่างผสมเข้าไปด้วย ซึ่งก็มี ผงวิเศษ ว่านดินอุดรูปู ดินตีนท่า ดินโป่ง ฯลฯ เมื่อคลุกเคล้าเนื้อหามวลสารจนเข้ากันดีแล้วจึงกดพิมพ์เป็นพระเครื่องโดยมีลูกศิษย์หลายคนช่วยกันกด ระหว่างนั้นก็ตกอยู่ในราว ปีพ.ศ. 2470 กว่า ๆ ว่าไปแล้วพระขุนแผนดินหน้าตะโพนของหลวงพ่อแช่มมีการสร้างก่อนเหรียญรูปเหมือนท่านตั้งหลายปีพระเครื่องชุดนี้เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้วก็ได้จำนวนพระเครื่องหลายองค์ คิดว่าเป็นหมื่นๆ องค์ เสร็จแล้วหลวงพ่อแช่มก็ปลุกเสกเดี่ยวก่อนนำแจกเนื่องจากจำนวนของพระเครื่องมีมาก จึงทำให้มีของเหลืออยู่ที่วัดอีกหลายปีเมื่อท่านมรณภาพไปแล้วของก็ยังเหลืออยู่ที่วัด แต่ปัจจุบันของได้กระจัดกระจายไปทั่วหมดจากวัดนานแล้ว ลักษณะของพระขุนแผนดินหน้าตะโพนของหลวงพ่อแช่มนั้นจะทำพอเป็นรูปร่าง รายละเอียดไม่ค่อยลึก และคมชัดนัก หย่อนความสวยงามไปบ้างสีสันวรรณะออกไปทางสีเทาเข้ม ส่วนของปลอมเท่าที่เห็นจะมีขนาดเล็กกว่าของแท้และรายละเอียดก็จะยิ่งตื้นเบลอกว่าของแท้เสียอีก สีก็ค่อนข้างจางถ้าได้เห็นของแท้บ่อยๆ ก็สามารถแยกความแตกต่างได้ไม่ยากพูดถึงประสบการณ์ของพระขุนแผนดินหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องเท่าที่ได้รับฟังมาคือ ดีทางเมตตามหานิยม และมหาเสน่ห์ เป็นหลักและตามมาด้วยแคล้วคลาดกับคงกระพัน (ขอขอบพระคุณบทความจากหนังสือเซียนพระ ฉบับที่ 310 หน้า 24-25มา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 18 มี.ค. 2565 - 23:39:24 น.
วันปิดประมูล - 20 มี.ค. 2565 - 01:47:06 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpantakrit (243)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    countryblue60 (13)

 

Copyright ©G-PRA.COM