(0)
แดง280*** พระนิรันตรายสองกษัตริย์ มหาพุทธานุภาพแห่งแผ่นดิน เนื้อนวะ เลของค์2105 ราคาแดงแค่กล่องยังคุ้มเปิดต่ำกว่าจอง พระไม่เคยแกะออกจากพลาสติกใสด้านใน กล่องเดิม กล่องนอกพร้อม พระสวยเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องแดง280*** พระนิรันตรายสองกษัตริย์ มหาพุทธานุภาพแห่งแผ่นดิน เนื้อนวะ เลของค์2105 ราคาแดงแค่กล่องยังคุ้มเปิดต่ำกว่าจอง พระไม่เคยแกะออกจากพลาสติกใสด้านใน กล่องเดิม กล่องนอกพร้อม พระสวยเดิม
รายละเอียดแดง280*** พระนิรันตรายสองกษัตริย์ มหาพุทธานุภาพแห่งแผ่นดิน เนื้อนวะ เลของค์2105 ราคาแดงแค่กล่องยังคุ้มเปิดต่ำกว่าจอง พระไม่เคยแกะออกจากพลาสติกใสด้านใน กล่องเดิม กล่องนอกพร้อม พระสวยเดิม จบเท่าไรรับพระเลย



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง

พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ เชิญอักษรพระปรมาภิไธย จปร และอักษรพระปรมาภิไธย วปร

สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงานในพิธีมหาพุทธาภิเษก พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ ในวันศุกร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.

ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง


วัตถุประสงค์การจัดสร้างอาคาร ๑๐๐ ปี พระปิยมหาราช

ด้วย การจัดสร้างพระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์นั้น คือการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ ทั้ง ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบเนื่องด้วยอาคารที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ยในพระบรมราชูปถัมภ์ในปัจจุบันซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นับอายุการใช้งานร่วม ๔๐ ปี ได้ทรุดโทรมตามกาลเวลา อีกทั้งโครงสร้างและพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรร มสร้างสรรค์ต่างๆ ของสมาคมฯ ที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน ทางสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงเ ห็นชอบที่จะจัดสร้างอาคาร ๑๐๐ ปี พระปิยมหาราช ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของสมาชิก สมาคมฯ ทั่วประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และเพื่อรองรับกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ และสร้างสรรค์สังคมของสมาคมฯ ต่อไปในอนาคต

ประวัติพระนิรันตราย

พระ นิรันตราย อันมีความหมายว่า “ปราศจากอันตรายนิรันดร์” พระบูชารัชกาลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพุทธลักษณะอันงดงามของศิลปะสองยุค ด้วยองค์ใน (องค์ดั้งเดิม) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ส่วนองค์นอกที่สร้างครอบนั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร งดงามด้วยการครองผ้าแบบธรรมยุติ อันเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง เหตุแห่งพระนามพระนิรันตรายนั้น ด้วยเกิดเหตุอัศจรรย์หลายครั้งครา ตามบันทึกกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๓๙๙) กำนันอิน ชาวเมืองปราจีนบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยังเดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณช ายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ ๓ เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง ๘ ตำลึง คล้ายดังที่ฝันไว้ เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตรคู่กับพระกริ่งทองคำน้อย ครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐาน อยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดใหญ่กว่ามาก
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้นเป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์เป็นยิ่งนักที่แคล้วคลาดถึง ๒ ครั้ง พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า “พระนิรันตราย” จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้เ จ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้วครึ่ง เพื่อครอบพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน ต่อมาทรงพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุตินิกาย ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นแพร่หลาย จนมีผู้ศรัทธาสร้างวัดถวายในนิกายนี้มากขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๑๑ จึงโปรดฯ ให้ช่างหล่อ ๑๘ องค์เท่าจำนวนปีที่เสวยราชย์ เพื่อถวายเป็นที่ระลึกแก่วัดในนิกายนั้น แต่สวรรคตเสียก่อน จึงมาถวายในรัชกาลที่ ๕ และต่อมาในรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่าเสวยราชย์มาเท่ากับรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปนั่งสมาธิกาไหล่ทองรวม ๑๖ องค์ ขนานนามว่า “ พระนิโรคันตราย ” มีรูปนาคแปลงเป็นมนุษย์ เชิญฉัตรกั้นพระรูปหนึ่ง เชิญพัดโบกรูปหนึ่งอยู่สองข้างๆ ละรูป ถวายวัดพระมหานิกาย ๑๕ องค์ เก็บไว้กับพระนิรันตรายในพระบรมมหาราชวังองค์หนึ่ง และประดิษฐาน ณ หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวังจนบัดนี้

วัตถุประสงค์การจัดสร้าง พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์

รายได้ส่วนหนึ่งจากการร่วมบริจาค จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ร่วมสมทบทุนสร้างอาคาร ๑๐๐ ปี พระปิยมหาราช พร้อมกันนี้เพื่อเป็นสิริมงคลยิ่งและเป็นการตอบแทนแก่ผู้มีจิตศ รัทธา

ลักษณะการจัดสร้างในครั้งนี้ ประกอบด้วย

พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว

องค์ครอบเป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะบรอนซ์ปิดทองคำเปลว ปางสมาธิเพชร แบบอย่างพุทธลักษณะ และครองผ้าอย่างธรรมยุติ งดงามตามแบบพระพุทธรูปที่จัดสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเก ล้าเจ้าอยู่หัว ณ รอบฐานประดิษฐานองค์พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ จารึกข้อความ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9 ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดสร้าง และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จพ ระราชดำเนินมาทรงเปิดงานในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว ) ในวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

องค์ ในพระนิรันตรายสองกษัตริย์ อันเป็นองค์ดั้งเดิม ขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร พุทธศิลป์แบบทวารวดีที่งดงามอันเป็นแบบองค์ดั้งเดิมที่ขุดพบใต้ ต้นศรีมหาโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2399 ซึ่งในครั้งนี้ หล่อด้วยเนื้อโลหะบรอนซ์ ปิดทองคำเปลวแท้ และเนื้อทองคำแท้ เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้เลือกบูชา
ราคาเปิดประมูล260 บาท
ราคาปัจจุบัน1,060 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ก.ค. 2565 - 16:53:25 น.
วันปิดประมูล - 28 ก.ค. 2565 - 17:25:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสำรวมใจ (1.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 ก.ค. 2565 - 16:54:10 น.



ไม่เคยแกะออก ไม่ผ่านมือ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 27 ก.ค. 2565 - 16:54:37 น.



กล่องใหม่กริ๊บ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 27 ก.ค. 2565 - 16:55:07 น.



กล่องขาวนอกยังมีอุปกรณ์ครบจริงๆ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,060 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    yaibua11 (293)

 

Copyright ©G-PRA.COM