(0)
รูปหล่อโบราณ บาตรเล็ก หลวงพ่อโบ วัดศิลาชลเขต(วัดหิน) จ.นครศรีธรรมราช 2485 พระบ้านเดิมๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องรูปหล่อโบราณ บาตรเล็ก หลวงพ่อโบ วัดศิลาชลเขต(วัดหิน) จ.นครศรีธรรมราช 2485 พระบ้านเดิมๆ
รายละเอียดวัดนี้ขอนำเสนอ หนึ่ง ใน เบญจภาคีรูปหล่อเมืองคอน...สุดแสนจะหายาก...รูปหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อโบ วัดศิลาชลเขต หรือวัดหิน...พิมพ์นิยม บาตรใหญ่ อุดใหญ่....หายากมากๆ พุทธคุณครอบจักรวาลครับ... หลวงพ่อโบท่านเป็นอิสลามโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลตะหวา รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นรัฐเดียวกับหลวงพ่อครน วัดบางแซะ เจ้าตำรับพระปิดตาบางแซะ อันลือชื่อ ซึ่งสมัยนั้นทั้งหลวงพ่อโบและหลวงพ่อครนต่างก็ถือว่าเป็นคนไทย เพราะว่ารัฐกลันตันยังอยู่ในอาณาจักรสยาม แต่มาเสียให้แก่อังกฤษภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในสมัยเด็ก ๆ บ้านของหลวงพ่อโบอยู่ใกล้กับวัดในพระพุทธศาสนาวัดหนึ่งคือ วัดตะหวา ซึ่งวัดตะหวานี้ก็อยู่ใกล้ ๆ กับสุเหร่าอิสลามเหมือนกัน แต่จากการที่ได้เห็นวัตรปฏิบัติและความประพฤติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเป็นที่น่าศรัทธา หลวงพ่อโบจึงเลื่อมใส ในศาสนาพุทธตั้งแต่ยังเล็ก ๆ พออายุได้ 9 ขวบ ท่านก็ได้ไปอยู่ที่วัดตะหวาเพื่อศึกษาเล่าเรียน โดยเรียนทั้งภาษาไทยและภาษามลายู ภาษาบาลีตลอดทั้งบทสวดมนต์ต่าง ๆ อยู่เป็นเวลานานหลายปี จึงยิ่งทำให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น พออายุ 21 ปี จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดกลาง โดยมีพระอธิการเล็ก วัดกลางเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการพุฒิ วัดตะหวาป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดตะหวาเพื่อเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ได้ 5 พรรษา ย่างเข้าพรรษาที่ 6 หลวงพ่อโบได้นั่งเรือเข้ามาศึกษาพระธรรมต่อที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่พอเรือจอดเทียบท่าที่เมืองสงขลา ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อโบ จึงจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ 6 เดือน พอรับกฐินแล้วจึงนั่งเรือต่อจากสงขลามายังนครศรีธรรมราช เรือได้มาจอดที่อำเภอปากพนัง ท่านจึงไปพำนักที่วัดใหม่ ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปากพนัง ท่านได้อยู่ศึกษาธรรมะและฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่วัดใหม่รวม 6 พรรษา พอย่างเข้าพรรษาที่ 13 นับแต่อุปสมบทมาหลวงพ่อโบก็ออกจาริกธุดงค์จากวัดใหม่ อำเภอปากพนังสู่เมืองนครศรีธรรมราช โดยตั้งใจว่าจะเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ จนถึงกรุงเทพ เมื่อมาถึงบ้านอินทนิล ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา เมืองนครศรีธรรมราช ได้มีมีชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา จึงร่วมกันสร้างวัดให้ท่านอยู่จำพรรษา หลวงพ่อโบจึงจำพรรษาที่นี้สนองศรัทธาชาวบ้านอยู่ 6 ปี ก็ออกเดินธุดงค์ต่อแต่พอมาถึงบ้านปากเจา ตำบลสระแก้ว อำเภอท่านศาลา ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่มาเท่าไร ชาวบ้านก็เลื่อมใสศรัทธาจึงนิมนต์ให้จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นอีก ท่านพำนักอยู่ที่นี้ 2 ปี ได้ช่วยทำนุบำรุงวัดและอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ตลอดได้สอนหนังสือไทยและหนังสือขอม จนกระทั่งชื่อเสียงของท่านเป็นที่เลื่องลือออกไป ทำให้พระอธิการหนู วัดชลสังขรณพิจิตร ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ได้ทราบข่าว จึงให้ผู้ใหญ่บ้านชวนชาวบ้านไปนิมนต์หลวงพ่อโบมาช่วยสอนพระธรรมวินัยและอบรมสั่งสอนชาวบ้านที่วัดชลสังขรณพิจิตร ท่านจึงมาอยู่ที่วัดชลสังขรณพิจิตรช่วยพระอธิการหนูอยู่นาน จนถึงปี พ.ศ. 2450 ชาวบ้านซึ่งอยู่ฝั่งคลองตะวันออก ซึ่งติดกับตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา เมืองนครศรีธรรมราช ได้ทราบกิตติศัพท์ของหลวงพ่อโบ จึงชวนกันนิมนต์ท่านไปช่วย พัฒนาวัดหินออก ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แต่ครั้งสมัยศรีวิชัยแต่ร้างมานาน หลวงพ่อโบจึงมาพัฒนาวัดหินออกมีความเจริญขึ้นตามลำดับแต่เนื่องจากบริเวณวัดหินออกมีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่เพียง 5 หลังเท่านั้น เพราะว่าวัดได้ร้างมานานคนจึงอพยพไปอยู่อื่นเสียหมด เมื่อหลวงพ่อโบมาอยู่และได้พัฒนาวัดขึ้นและมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาแล้ว แต่เวลาบิณฑบาตรพระสงฆ์ต้องข้ามคลองไปบิณฑบาตรทางฝั่งตะวันออก ซึ่งสมัยนั้นมีบ้านเรือนชาวบ้านอาศัยอยู่หนาแน่นกว่า ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ทางฝั่งตะวันตก และมีชื่อต่อมาว่า วัดศิลาชลเขต แล้วนิมนต์หลวงพ่อโบมาจำพรรษาที่วัดสร้างขึ้นใหม่นั้น จนถึงปี พ.ศ. 2458 หลวงพ่อโบคิดถึงญาติโยมที่อยู่เมืองกลันตัน ท่านจึงได้นั่งเรือจากท่าวัดศิลาชลเขตออกสู่ทะเลมุ่งไปเมืองกลันตัน ไปถึงแล้วก็ได้พำนักอยู่ที่วัดตะหวา พำนักที่บ้านเกิดและเยี่ยมญาติโยมพอสมควรแล้ว ท่านก็ลงเรือออกเดินทางกลับวัดศิลาชลเขตเพื่อให้ทันเข้าพรรษา พอมาถึงปากน้ำบางนราหลวงพ่อโบให้เรือแวะจอดรับหลานชายอีกคนหนึ่ง แต่พอเรือจอดทอดสมอเรียบร้อยแล้ว ได้เกิดมีลมพายุพัดขึ้นมาอย่างแรงจนพัดเอาเรือที่หลวงพ่อโบโดยสารมาร่วมกับลูกศิษย์อีก 9 คน สายสมอขาดเรือลอยออกไปในมหาสมุทรเรือต้องเคว้งคว้างอยู่กลางทะเลนานหลายวัน ระหว่างนั้นหลวงพ่อโบและลูกศิษย์ต้องผจญภัยกลางทะเลและต้องพลัดพรากจากกันกับบางคน จนต้องปล่อยให้เรือลอยไปตามยถากรรม กระทั่งลอยมาถึงแผ่นดินญวนทางใต้ ชาวบ้านที่นั่นจึงนิมนต์ท่านไปพำนักที่วัดสวาย หลวงพ่อโบพำนักอยู่ที่วัดสวายเป็นเวลานาน ต่อมาท่านก็เดินทางกลับเมืองไทยทางเรือโดยมาขึ้นฝั่งที่เมืองตราด ได้พำนักที่วัดพงษ์ล้อม จังหวัดตราดอยู่ราว 1 เดือน จากนั้นก็นั่งเรือกลไฟมากรุงเทพ ได้พำนักอยู่ทีวัดทองธรรมชาติ คลองสาน ฝั่งธนบุรีก่อนแล้วก็ลงเรือกลับไปนครศรีธรรมราช มาขึ้นบกที่ปากพนังและได้เดิตทางต่อจนถึงวัดศิลาชลเขต พอชาวบ้านได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อโบกลับมาถึงวัดแล้วก็พากันมาเยี่ยม และจัดงานฉลองสมโภชน์กันถึง3 วัน 3 คืน ปี พ.ศ. 2459 พระรัตนธัชมุนี วัดท่าโพธิ์ เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อโบเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาหลวงพ่อโบก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรม เจ้าคณะอำเภอสิชล ระหว่างนี้หลวงพ่อโบได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและพัฒนาวัดศิลาชลเขตมาโดยตลอด จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบเมื่อ พ.ศ. 2477 รวมอายุได้ 70 ปี 49 พรรษา หลวงพ่อโบเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติมีความประพฤติเรียบร้อย จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นโดยทั่วไป สังเกตได้จากตอนที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ เมื่อชาวบ้านพบเห็นก็จะเลื่อมใสและนิมนต์ให้พำนักที่วัดในสถานที่แห่งนั้นอยู่เสมอ และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำ ท่านกระทำมาโดยตลอดตั้งแต่อุปสมบทจนมรณภาพ ขนาดที่ว่าเมื่อครั้งนั่งเรือโดนพายุต้องพลัดหลงไปพำนักถึงต่างแดน ท่านก็ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ไม่ได้ขาด นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางคาถาอาคมและอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ ด้วย ท่านทำตะกรุดแจกลูกศิษย์และชาวบ้านอยู่เสมอ ตอนที่ท่านไปพำนักที่วัดสวายดินแดนทางตอนใต้ของญวน หรือที่วัดพงศ์ล้อม จังหวัดตราด หลวงพ่อโบได้สร้างตะกรุดแจกชาวบ้านจนมีประสปการณ์เป็นที่เลื่องลือมาแล้ว แต่ท่านไม่เคยสร้างพระเครื่องแม่แต่รุ่นเดียว เมื่อ พ.ศ. 2501 เจ้าอาวาสวัดศิลาชลเขตในสมัยนั้น ได้ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปเหมือนหลวงพ่อโบขนาดเท่าองค์จริง และรูปเหมือนหลวงพ่อโบขนาดเล็กขึ้น โดยทำพิธีเททองหล่อกันที่วัดสุทัศน์เสร็จแล้วก็นำกลับไปทำพิธีปลุกเสกที่วัดศิลาชลเขต จำนวนการสร้างประมาณ 1,000 องค์ โดยมีพระอาจารย์นำ วัดดอนศาลาซึ่งขณะนั้นยังเป็นฆราวาสอยู่เป็นเจ้าพิธี ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกก็มีพระครูกาแก้ว วัดใหญ่ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี เป็นต้น
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 12 ต.ค. 2565 - 16:02:12 น.
วันปิดประมูล - 14 ต.ค. 2565 - 21:37:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเต้เมืองพาน (956)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    jatukam9wachira (638)

 

Copyright ©G-PRA.COM