(0)
พ่อทวดนวล วัดตุยง ปัตตานี ปี 2507 เนื้อว่าน






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพ่อทวดนวล วัดตุยง ปัตตานี ปี 2507 เนื้อว่าน
รายละเอียดพ่อทวดนวล วัดตุยง ปัตตานี ปี 2507 เนื้อว่าน
ประวัติ หลวงปู่ทวดนวล วัดตุยง ปี 2507เป็นพระเครื่องที่ได้รับการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆที่ได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสก หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ตั้งแต่รุ่นแรก ปี 2497 หลวงพ่อดำวัดตุยงหลวงปู่แดงวัดศรีมหาโพธิ์ พระอาจารย์ทิมวัดช้างให้ เป็นต้นเป็นพระเนื้อว่านเช่นเดียวกันของทางวัดช้างให้พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกันกับพระหลวงปู่ทวดราคาแพงๆ เน้นแคล้วคลาดและเมตตาเป็นหลักประวัติวัดมุจลินทวาปีวิหาร ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี วัดมุจลินทวาปีวิหารหรือ วัดตุยง เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี สร้างขึ้นโดยพระยาวิเชียรภักดี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๘เพื่อเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเดิมชื่อว่า “วัดตุยง”ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองหนองจิกมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า“วัดมุจลินทวาปีวิหาร” ปัจจุบัน “วัดมุจลินทวาปีวิหาร”เป็นอารามหลวงและมีการบูรณะพระอุโบสถให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงและสวยงามและได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและค้นหาความรู้ หลวงพ่อทวดนวล เทวธมฺโมอดีตเจ้าอาวาส วัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หลวงพ่อทวดนวลท่านเป็นภิกษุที่จำพรรษาอยู่แถบจังหวัดปัตตานี เป็นสหธรรมิกร่วมสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อทวดหมาน วัดทรายขาว จ.ปัตตานี ผู้เรืองวิชาอาคมมีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่าหลวงพ่อทวดหมาน สมัยนั้นท่านดำรงตำแหน่งพระครูธรรมประดิษฐ์ เจ้าคณะอำเภอมะกรูด ( อ.โคกโพธิ์ )ท่านใช้มือตบต้นมะพร้าวเบาๆ ลูกมะพร้าวก็หล่นลงมา เป็นอัศจรรย์ และท่านมักเย้าแหย่หลวงพ่อทวดนวล เวลามาวัดตุยง ด้วยการเขย่าเสากุฏิของหลวงพ่อทวดนวลด้านทิศตะวันตก จนกุฏิสั่นสะเทือน เป็นประจำ หลวงพ่อทวดนวล ท่านสั่งสอนธรรมะสืบทอดพระศาสนา ณ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดมุจลินทวาปีวิหาร หรือวัดตุยงตามปรากฏในประวัติศาสตร์ การประพาสหัวเมืองทางใต้หลวงพ่อทวดนวลท่านเป็นเสาหลักของกองทัพธรรมในจังหวัดปัตตานี ในสมัยนั้นทำให้พระพุทธศาสนาเฟื่องฟูและดำรงอยู่ได้ ท่ามกลาง ชาวมุสลิมและคติความเชื่อของศาสนาอิสลาม หลวงพ่อทวดนวล ท่านเป็นที่พึ่งพาของพุทธศาสนิกชนในละแวกแถบนั้นไม่ว่าใครจะ เจ็บไข้ได้ป่วย เกิดโรคระบาด โดนคุณถูกกระทำ ผีเข้า ลมเพลมพัด ฯลฯต่างต้องมาพึ่งบารมีของหลวงพ่อทวดนวลให้ช่วยรักษา ถอดถอนของนั้นๆ ด้วยยาสมุนไพรและอาคม เสมอๆ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในแถบนั้นอย่างมากแต่ถึงกระนั้นวัดตุยงก็ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เท่ากับยุคของพระราชพุทธิรังษี หรือ หลวงพ่อดำท่านได้ตั้งวัดตุยงเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรและเป็นสถานที่สอบนักธรรมของจังหวัดปัตตานี ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2480รัชกาลปัจจุบัน ในสมัยของหลวงพ่อดำนี้ หลวงพ่อทวดนวลท่านก็ยังลงมาประทับทรงพระเณรในวัดตุยงเพื่อโปรดชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนที่มีเรื่องทุกข์ร้อน ครั้งหนึ่งพระมหาสุขกำลังเดินทางมาจากกรุงเทพ ด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศ เพื่อย้ายมาจำพรรษา ณวัดตุยง แต่เครื่องยนต์เกิดดับขณะบินอยู่บนท้องฟ้า พระมหาสุข จึงอธิฐานจิตถึงหลวงพ่อทวดนวล ว่าหากตนยังมีคุณค่ากับพระศาสนา ขอให้ปลอดภัยเถิดเป็นอัศจรรย์ที่แม้เครื่องยนต์จะดับ แต่เครื่องบินยังคงทรงตัวต่อไปในอากาศและลงจอดได้อย่างปลอดภัย เช้าวันนั้นหลวงพ่อทวดนวล ท่านลงทรง มาพบปะชาวบ้านท่านเปรยว่า “ วันนี้เราไปแบกแมลงภู่เหล็ก ช่วยลูกท่านดำมา” สร้างความงุนงงแก่ชาวบ้าน จนช่วงเย็นพระมหาสุขเดินทางมาถึงวัดตุยง จึงคลายสงสัย ว่าแมลงภู่เหล็ก นั้นคือ เครื่องบิน และ ลูกหลวงพ่อดำ ก็คือ พระมหาสุข นั่นเองพระมหาสุข รูปนี้ต่อมาท่านเป็นศิษย์รูปสำคัญของหลวงพ่อดำและเป็นเจ้าอาวาส ครองวัดตุยงเป็นเนื้อนาบุญอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมีให้แก่พุทธศาสนิกชนต่อจากองค์หลวงพ่อดำได้รับสมณศักดิ์ที่ พระสิทธิญานมุนีท่านสุขได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่พระศาสนาอย่างมากมาย จวบจนท่านมรณะภาพท่านสุขเป็นที่รักและเคารพของชาวปัตตานี จนมาถึงปัจจุบัน
ราคาเปิดประมูล290 บาท
ราคาปัจจุบัน330 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 21 มี.ค. 2566 - 18:07:07 น.
วันปิดประมูล - 22 มี.ค. 2566 - 19:57:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเอ็มราชบุรี (55)(4)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     330 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Korn_vs (462)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1