(0)
พระกริ่งมหาราช ปี 2512 เนื้อนวะโลหะ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ (ลพ.แดง ลพ.คล้าย ลป.ฝั้น ลพ.มุ่ย ลพ.เงิน ลพ.มุม ลพ.เต๋ ลพ.ทิม ลพ.พรหม ปลุกเสก)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งมหาราช ปี 2512 เนื้อนวะโลหะ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ (ลพ.แดง ลพ.คล้าย ลป.ฝั้น ลพ.มุ่ย ลพ.เงิน ลพ.มุม ลพ.เต๋ ลพ.ทิม ลพ.พรหม ปลุกเสก)
รายละเอียดจำนวนจัดสร้างน้อย เพียง 2,512 องค์ (เท่าจำนวนปี พ.ศ. ที่สร้าง) (เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ..ที่พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส)

*** พระกริ่งดี...พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่..เจตนาสุดยอดมหามงคล..***
"พระกริ่งมหาราช" เป็นพระกริ่งที่ทางวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในมหามงคลวโรกาสที่ทรงได้รับการเทิดทูนอย่างสูงสุดจากปวงชนชาวไทย ที่ได้ถวาย พระราชสมัญญานามต่อท้ายพระปรมาภิไธยว่า "มหาราช" พระพิธีใหญ่มาก ชื่อเป็นมงคลนาม "มหาราช" เพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ ๙ มหาราช

"พระกริ่งมหาราช" สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) สร้างขึ้นเมื่อปี 2512 สมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต พุทธศิลป์เป็นพระกริ่งขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ถอดแบบมาจากพระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีพระเกจิอาจารย์สมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากถึง 108 คณาจารย์

นายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นนายช่างผู้แกะพิมพ์ ซึ่งท่านฝากผลงานในรูปแบบพระเครื่อง “ขนาดเล็ก” เช่น “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ไว้มากมายโดยในรอบระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2510-2535 และที่รู้จักกันดีก็คือ “พระกริ่งอาจารย์ไสว” รุ่นต่าง ๆ และรุ่นที่พระอาจารย์ไสวเป็นเจ้าพิธีทำการผสมเนื้อโลหะและเททองเองเช่น “พระกริ่งจอมสุรินทร์ปี 2513, พระกริ่งมหาราชวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ปี 2512, พระกริ่งนเรศวรเมืองงายปี พ.ศ. 2512, พระกริ่งศรีนคร, พระกริ่ง จปร.วัดราชบพิธปี 2513, พระกริ่งอวโลกิเตศวร หลวงพ่อเกษม เขมโกปี 2518, พระกริ่งนางพญา, พระกริ่งธรรมราชา, พระกริ่งตากสิน, พระกริ่งลพบุรี, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, พระกริ่งเอกาทศรถ ฯลฯ” ก็ได้อาศัยฝีมือนายช่างเกษมมาทำการ “ออกแบบและแกะแม่พิมพ์” พร้อมควบคุมการผลิต ซึ่งพระแต่ละรุ่นที่ผ่านมือช่างเกษม ล้วนแต่งดงามและสุดยอดทั้งสิ้น

"พระกริ่งมหาราช" นี้ ผู้ที่ผสมเนื้อโลหะและเป็นเจ้าพิธีในการสร้าง คือ พระอาจารย์ไสว สุมโน

"พระกริ่งมหาราช" ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระวันรัต" ทรงจุดเทียนชัยและประทับนั่งปรกเป็นประธานในพิธี ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ 107 รูป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสุดยอดเกจิอาจารย์แห่งยุค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ที่รับนิมนต์มาปลุกเสก ทว่าท่านทราบล่วงหน้าว่าจะละสังขารจึงได้มอบแผ่นจารอักขระไว้ เพื่อหลอมเป็นชนวนโลหะในการสร้างพระกริ่งมหาราชนี้ด้วย

รายนามเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่มีชื่อโด่งดังในยุคนั้นอาทิเช่น
1.พระครูพิศิษฐอรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
2.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม
3.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
4.พระญาณวิลาส (แดง) วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
5.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง
6.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
7.หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
8.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
9.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
10.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
11.พระเทพสาครบุรี (แก้ว) วัดช่องลม สมุทรสาคร
12พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ (สาย) วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร
13.พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
14.พระครูภาวนานุโยค (หอม) วัดชานหมาก ระยอง
15.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
16.พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
17.พระอาจารย์เทียม วัดหนองจิก พระนครศรีอยุธยา
18.พระครูปลัดพรหม (พรหม) วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
19.พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์ ศรีสะเกษ
20.พระครูปัญญาโชติวัฒน์ (เจริญ) วัดทองนพคุณ เพชรบุรี และอีกมากมาย ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ก.ค. 2566 - 14:05:47 น.
วันปิดประมูล - 06 ก.ค. 2566 - 20:38:34 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลjuicy (3.4K) 


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 ก.ค. 2566 - 14:06:07 น.



สวยๆ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 03 ก.ค. 2566 - 14:06:25 น.



สวยๆ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Caltex (702)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM