(0)
พระสมเด็จนางพญาจิตรลดา สก.5 รอบ พระราชินี ปี 2535 พิมพ์ใหญ่ เนื้อโลหะผสม พร้อมกล่อง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จนางพญาจิตรลดา สก.5 รอบ พระราชินี ปี 2535 พิมพ์ใหญ่ เนื้อโลหะผสม พร้อมกล่อง
รายละเอียดประวัติการ จัดสร้าง :สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดสร้างขึ้น เนื่องในมหามงคลวโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535

จัดสร้างตามแบบพิธีโบราณ ประกอบด้วย 3 พิธี ดังนี้...
1.พิธีลงทอง จารแผ่นยันต์และพุทธาภิเษกแผ่นยันต์เมื่อ พุธที่ 8 ม.ค.2535 ณ อุโบสถวัดนางพญา พิษณุโลก พระคณาจารย์ร่วมแผ่เมตตาจิตนั่งปรกบริกรรมรวม 97 รูป โดยมี สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นประธานจุดเทียนชัย
2.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯทรงเททอง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2535 เวลาฤกษ์ 14.59น.ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองคำและเงิน อย่างละ 6 แผ่น ร่วมในการสร้างพระครั้งนี้ด้วย...
3.กำหนดเป็นพิธีที่สาม เมื่อจัดสร้างพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเดือน สิงหาคม 2535 ซึ่งจะได้นำขึ้นกราบบังคมทูลเชิญเสด็จต่อไป

สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้าง ในครั้งนี้นั้น นอกจากการลงแผ่นพระยันต์ ทอง นาก เงิน ทองแดง อย่างละ 108 แผ่น รวมทั้ง นะปถะมังอีกอย่างละ 14 แผ่นแล้ว ได้ลงดวงประสูติและดวงตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น โดย พระอาจารย์อรรถพล กิตติโก วัดปริวาศ นอกจากนั้น คณะกรรมการฯ ยังได้นำแผ่นทองแดงถวายแก่พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณทั้วประเทศ รวม 73 จังหวัดๆละ 9 วัดๆละ 9 แผ่น เป็นจำนวน 5,913 แผ่น จารแผ่นพระยันต์ อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้นำโลหะชนวนทองคำและชนวนนวโลหะของโครงการสร้างพระสมเด็จย่า90 พรรษา เมื่อปี 2533 มาร่วมในการสร้างครั้งนี้ด้วย อนึ่ง หลังจากพิธีพุทธาภิเษกแล้วคณะกรรมการได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมและทรงอธิษฐานจิตแล้ว จะนำไปหล่อหลอมจัดสร้างเป็นองค์พระต่อไป

พระสมเด็จนางพญาจิตรลดา จัดสร้างเป็นพระเครื่องเนื้อทองคำและเนื้อโลหะผสม ลักษณะพระสมเด็จนางพญาจิตรลดานี้ จะมีลักษณะทรวดทรงคล้ายพระนางพญาพิษณุโลก เน้นความงดงามของพระวรกาย และเส้นลวดลายในองค์พระ
การจัดสร้างมีเนื้อทองคำหนักหนึ่งบาท หนักสองสลึงและหนักหนึ่งสลึง อย่างละ 6,999 องค์ เนื้อโลหะผสมขนาดใหญ่และเล็ก อย่างละ 200,000 องค์
ราคาเปิดประมูล200 บาท
ราคาปัจจุบัน250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ส.ค. 2566 - 21:30:40 น.
วันปิดประมูล - 17 ส.ค. 2566 - 13:18:20 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสวัสดีพระเครื่อง999 (146)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 15 ส.ค. 2566 - 21:30:54 น.



+


 
ราคาปัจจุบัน :     250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Anun22 (138)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM