(0)
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เนื้อชินเขียว เลี่ยมโบราณ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เนื้อชินเขียว เลี่ยมโบราณ
รายละเอียดพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เนื้อชินเขียว

***โปรดกรุณาพิจารณาก่อนเคาะนะครับ เพราะเท่าที่ทราบทางเวปจียังไม่ออกบัตรรับรองชินเขียวครับ***

รับประกันตามกฎครับผม

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมราชฑัณฑ์กระทรวงนครบาล ได้ลงโทษประหารชีวิตนายบุญเพ็ง (บุญเพ็ง หีบเหล็ก) ด้วยวิธีการกุดหัว (ตัดศรีษะ) เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๒ สถานที่ประหารชีวิตนายบุญเพ็ง คือลานวัดภาษี เขตวัฒนา กรุงเทพฯ (นายบุญเพ็งเป็นนักโทษคนสุดท้ายในสยาม ที่ถูกประหารชีวิตด้วยวิธีการกุดหัว)...ข้อมูลประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการลงถูกบันทึกไว้เพียงเท่านี้ เชื่อว่าหลายท่านคงพอจะทราบกันมาบ้างแล้ว แต่ประวัติศาสตร์หน้านี้ยังไม่สมบูรณ์ เพราะขาดรายละเอียดสำคัญในส่วนของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงเวลาขณะที่เพชรฆาตได้ลงดาบประหารนายบุญเพ็ง...เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ชาวบ้านรุ่นคุณทวดที่ได้เข้าชมการประหารชีวิตนายบุญเพ็ง ต่างรู้เห็นกันทุกคน (เพราะสมัยนั้นทางการอนุญาตให้ประชาชนเข้าชมการประหารชีวิตได้) แล้วจึงมาเล่าให้ลูกหลานฟังต่อๆกันมาว่า เพชรฆาตได้ลงดาบฟันคอนายบุญเพ็งอย่างแรง แต่ดาบนั้นฟันไม่เข้า เนื่องจากนายบุญเพ็งเป็นคนที่มีอาคมขลังหนังเหนียว เพชรฆาตจึงบอกกับนายบุณเพ็งว่า มีของดีอะไรให้เอาออกมามิเช่นนั้นจะเอาไม้รวกสวนทวาร(ก้น) แล้วจะเจ็บปวดทรมานจนตาย...(วิธีการสวนทวารนี้ เป็นวิธีที่ครูเพชรฆาต สมัยโบราณสอนต่อๆกันมา จะใช้กับนักโทษประหารที่มีอาคมขลังหนังเหนียวเท่านั้น) นายบุญเพ็งจึงยอมคาย "พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเขียว" ซึ่งได้อมไว้ออกมาจากปาก จากนั้นเพชรฆาตจึงกุดหัวนายบุญเพ็งได้สำเร็จ...ข้อมูลส่วนนี้คือประวัติศาสตร์สำคัญหน้าที่ขาดหายไป แม้จะไม่ได้รับการจดบันทึกไว้อย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถูกเล่าขานเป็นตำนานในกลุ่มของผู้ที่นิยมสะสมพระกรุอย่างไม่มีวันจบสิ้น

จากเรื่องที่นายบุญเพ็งหนังเหนียวฟันไม่เข้า เพราะอมพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเขียวไว้ในปาก กลายเป็นที่โจษขานกันอย่างมากในวงการนักสะสมพระเครื่องยุคปี พ.ศ.๒๔๖๒ ทั้งเซียนพระและชาวบ้าน(ที่รู้เห็นเหตุการณ์)ต่างพากันแสวงหาพระเครื่องชนิดนี้กันถ้วนหน้า ทำให้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเขียวได้รับความนิยมขึ้นมาทันที ประกอบกับในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้มีกลุ่มคนร้ายเที่ยวลักลอบขโมยขุดพระเจดีย์ร้างตามจังหวัดต่างๆ เพื่อค้นหาสมบัติเพชรพลอยทองคำในพระเจดีย์กันมากขึ้น จึงทำให้พระเนื้อชินเขียวแตกกรุออกมาเรื่อยๆเป็นจำนวนมากมายมหาศาลตามไปด้วย ซึ่งพระกรุเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะถูกลำเลียงเข้าสู่สนามพระเครื่องในตัวจังหวัดนั้นๆ จากนั้นก็จะถูกลำเลียงเข้าสู่สนามพระที่กรุงเทพอีกต่อหนึ่ง (สนามพระที่กรุงเทพในยุคนั้น อยู่ที่วัดราชนัดดา , วัดโพธิ์ , สนามหลวง ฯลฯ) ไม่ว่าจะเป็นพระร่วงพิมพ์ต่างๆเนื้อชินเขียว , พระอัฏฐารสเนื้อชินเขียว , พระสี่สวนเนื้อชินเขียว , พระมเหศวรเนื้อชินเขียว , พระหูยานเนื้อชินเขียว , พระกำแพงหย่อง-พระปางลีลาพิมพ์ต่างๆเนื้อชินเขียว , พระขุนแผนเนื้อชินเขียว , พระนาคปรก-พระรอด พะเยาเนื้อชินเขียว , พระพิจิตรหัวดงพระพิจิตรพิมพ์ต่างๆเนื้อชินเขียว เป็นต้น จากประสบการณ์ที่สัมผัสมา พระกรุเนื้อชินเขียวน่าจะมีแบบพิมพ์พระเครื่องรวมกันทั้งหมดไม่น่าจะต่ำกว่า ๕๐ พิมพ์ และที่เป็นพระขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก(คล้องคอช้าง-ม้า)อีกไม่น้อยกว่า ๑๐ พิมพ์
ส่วนในด้านประสบการณ์เชิงอิทธิปาฏิหารย์ของพระกรุเนื้อชินเขียว นอกจากเรื่องของนายบุญเพ็งแล้ว ยังมีอยู่อีกมากมายหลายเรื่องซึ่งคนเก่าแก่ในยุคนั้นทราบกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขุนโจร(เสือคุ้มต่างๆ)ที่แขวนพระแล้วออกปล้น แต่กลับคงกะพันหนังเหนียว หรือเรื่องของนักเลงหัวไม้ ที่แขวนพระเครื่องแล้วฟันแทงกันตามงานวัดแต่ไม่เป็นอะไร เป็นต้น...จากเท่าที่ได้ประมวลเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของคนในยุคนั้น เกี่ยวกับเรื่องของการแขวนพระเครื่องแล้วทำให้ผู้ที่แขวน กลายเป็นคนคงกะพันหนังเหนียวพบว่า พระที่แขวนคอกันส่วนใหญ่มักจะหนีไม่พ้นพระกรุเนื้อชินเขียวนั่นเอง ในส่วนนี้จึงเป็นดัชนีชี้วัดได้อย่างดีว่า คนในยุคนั้นให้ความนิยมกับพระกรุเนื้อชินเขียวกันขนาดไหนและเหตุผลคืออะไร

พระเนื้อชินเขียว หมายถึง พระเนื้อชินที่มีส่วนผสมระหว่างแร่ตะกั่วกับแร่สังกะสี ผิวพรรณองค์พระออกไปทางสีเขียวปนดำหรือปนสีเทา คนรุ่นก่อนเรียกว่า "ชินฆวานร" เพราะเคยมีผู้พบตะปูชินฆวานรบรรจุอยู่ในกรุพระเครื่อง ถ้าเป็นของเก่าโบราณมีอายุมากแล้ว เนื้อพระจะดูแห้ง ผิวพระจะเป็นสีดำปนเทาเหนือผิวพระขึ้นมาเป็นสนิมไขสีขาวขุ่นส่วนบนใส ฝังตัวจับกันแน่นหนาซับซ้อนทับถมกันขึ้นมาในลักษณะธรรมชาติ คล้ายๆกับการงอกของเนื้อจากภายในออกมาภายนอก นอกจากนี้ถ้าเป็นพระลงกรุจะมีคราบขี้กรุด้วย พระบางองค์มีฝ้าขาวและคราบสีเหลือง ปรากฎตามซอกส่วนที่ตื้น พระเนื้อชินเขียวของเก่าจะต้องมีสนิมที่เรียกว่า "สนิมไข่แมงดา หรือ สนิมไขวัว" และพื้นผิวองค์พระเป็นตะปุ่มตะป่ำ

ปัจจุบันความนิยมในพระชินเขียวไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากคราบไขของพระเมื่อได้อายุก็จะมีความคล้ายกันแยกแยะได้ยาก ตัวอย่างเช่น พระปิดตาทุ่งผักกรูดเนื้อชินเขียวไขมันกว่าพระกรุเสียอีก และพระเก๊ฝีมือดีๆ ทำได้พัฒนาอกกมาได้เกือบเหมือน บางครั้งพระแท้ไปเหมือนพระเก๊เข้าไปอีก ทำให้นักสะสมสายเนื้อชิน มุ่งไปในสนิมแดง และชินเงิน แทนครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน900 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ส.ค. 2566 - 20:26:28 น.
วันปิดประมูล - 27 ส.ค. 2566 - 09:36:08 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลPeterwong2436 (714)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    copter4869 (37)

 

Copyright ©G-PRA.COM