(0)
+++วัดใจแหวนพิรอดหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี+บัตรรับรอง+++







ชื่อพระเครื่อง+++วัดใจแหวนพิรอดหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี+บัตรรับรอง+++
รายละเอียด+++วัดใจแหวนพิรอดหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี+บัตรรับรอง+++

-แหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง ท่านทำตามตำราโบราณ โดยใช้ผ้าขาวห่อศพตัดเป็นริ้วลงอักขระกำกับ นำมาถักอย่างประณีตให้เป็นแหวนพิรอดแล้วจึงชุบรัก ใครอยากจะได้ไปขอให้ท่านเมตตาทำให้ ท่านก็จะพิจารณาทำให้เป็นรายบุคคลไป เมื่อท่านทำเสร็จแล้ว ท่านก็จะทดสอบความขลังโดยการโยนแหวนพิรอดวงนั้นเข้ากองไฟ วงใดที่ไหม้ไฟถือว่ายังไม่ใช้ได้ ถ้าวงใดไม่ไหม้ไฟก็ถือเป็นอันใช้ได้ ท่านก็จะมอบให้แก่ผู้ที่มาขอไป ซึ่งบางคนกว่าจะได้ต้องรอนานหลายเดือน จนกว่าท่านจะมีเวลาทำให้ คนที่ได้เมื่อนำไปใช้ก็มีประสบการณ์มากมาย ทั้งคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดปลอดภัย
คาถาบูชาการสวมใส่และนำพาแหวนพิรอดมีกำกับไว้ดังนี้
โอมพระพิรอด ขอดพระพินัย เป็นหัวใจพระคาถาเมื่อสวมใส่แหวนหรือพกพา และ โอมพระพินัย คลายพระพิรอด เป็นหัวใจพระคาถาเมื่อถอดแหวนออกหรือเก็บแหวน
-ท่านพระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน อ.บ้านทวน(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อ.พนมทวน) จ.กาญจนบุรี ชาตะเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๖๖ ณ บ้าน ต.บ้านทวน จ.กาญจนบุรี โยมบิดาชื่อมั่น โยมมารดาชื่อใย สมัยนั้นไม่มีนามสกุล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน พออายุได้ ๑๑ ขวบ ซึ่งเป็นวัยควรแก่การเรียน บิดามารดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการศรี วัดบ้านทวนซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอมอย่างโบราณ สมัยนั้นต้องไปเรียนที่วัด กุลบุตรที่ไปเรียนต้องปรนนิบัติอุปฐากอาจารย์ คือเป็นศิษย์พระ รับใช้ท่าน กินนอนที่วัดเสร็จ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใดเลย การเรียนมิใช่จะเรียนแต่หนังสือแต่อย่างเดียว ยังได้ฝึกวิชาการต่างๆ เช่น การช่างและวิทยาการอื่นๆ ซึ่งนิยมกันในครั้งนั้นเนื่องจากวัดเป็นแหล่งกำเนิดศิลปะวิทยาการทั้งปวง
-ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้สมควรแก่ความนิยมในสมัยนั้นแล้ว ก็ได้ลาอาจารย์ออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ได้เป็นกำลังของครอบครัว ด้วยนิสัยท่านว่านอนสอนง่าย ขยันขันแข็ง ทั้งยังเป็นคนมีร่างกายแข็งแรงใจคอกว้างขวาง กล้าหาญ มีสติปัญญา จะเล่าเรียนวิชาแขนงใด ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุนี้พอรุ่นหนุ่มก็มีสมัครพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก มีลักษณะเป็นหัวหน้าคน พูดจริงทำจริง เด็ดขาด แต่ใจบุญ เพราะไปอยู่วัดหลายปี
-เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านทวน โดยมี พระอธิการศรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ช้าง วัดบ้านทวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์ยังหาหลักฐานอยู่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใคร เพราะเป็นเรื่องเก่าแก่หาคนรู้จริงยากมาก เพียงแต่คนนี้เล่า คนโน้นเล่า ฟังแล้วยังสับสนอยู่ พอจะเชื่อได้ว่าท่านเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสมุทรสงคราม มีวิชาทำแหวนพิรอดอันลือชื่อ ถักลวดลายได้งดงาม มีทั้งแหวนพิรอดใส่นิ้วและสวมแขน ดังจะได้กล่าวต่อไป
-ท่านม่วง ได้ฉายาว่า จันทสโร บวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบ่นสวดมนต์ได้แม่นยำจนจบพระปาฏิโมกข์ เป็นที่น่าสังเกตว่า พระภิกษุในชนบทสวดมนต์เก่ง จะเอาบทไหนได้ทั้งนั้น ไม่เคยสวดแล้วล้ม เสียงดังฟังชัด การทำนอง สังโยค ลีลาไพเราะน่าฟัง จะเอาเร็วก็เพราะ ช้าก็เพราะ สมัยนั้นนอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังชอบเรียนธรรมกรรมฐาน สมถะ วิปัสสนาธุระ และไปฝึกพลังจิต คือการเดินรุกขมูลธุดงค์ในป่าลึกเข้าผจญต่อความทุกข์ทรมานและเสี่ยงกับสัตว์ ร้าย เรียกว่าใครดีใครอยู่ ถ้าพลาดก็ไม่ได้กลับวัด เอาชีวิตไปทิ้งเสียกลางป่าก็มาก ด้วยโรคภัยไข้เจ็บมันรุนแรง สมัยก่อนมันทุรกันดารจริงๆไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ อาณาเขตเมืองกาญจน์ติดต่อกับประเทศพม่า การเดินธุดงค์ก็นิยมไปนมัสการ เจดีย์ชเวดากองเมืองร่างกุ้ง พระมุเตาเมืองหงสาวดี และพระภิกษุม่วงองค์นี้ก็ธุดงค์ไปถึงพม่าดังกล่าว นับว่าท่านมีความอดทนต่อความยากลำบากด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง
-ท่านเป็นผู้ที่ขยันและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ไม่เคยขาดทำวัตรสวดมนต์ สนใจในการศึกษาเล่าเรียน พอบวชได้ ๘ พรรษา ก็ได้เป็นคู่สวดประจำวัดบ้านทวน พอพรรษา๑๒ เจ้าอาวาสวัดบ้านทวนว่างลง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบล เรียกว่าเจ้าอธิการม่วง ท่านมีความสามารถทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ จึงมีคนเลื่อมใสเคารพนับถือเป็นอันมาก พรรษา๒๑ ได้เป็นพระอุปัชฌายะ อุปสมบทกุลบุตรปีหนึ่งๆมากมาย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวน ต่อมาสมัย ร.๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี เสด็จเมืองกาญจนบุรี ทรงเห็นความเป็นไปของคณะสงฆ์ในจังหวัดกาญจนบุรีเรียบร้อย ก็โปรดและทรงยกย่องเจ้าวัดเจ้าคณะนั้นๆ นับแต่พระครูวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) เจ้าคณะเมือง ตลอดมาถึงเจ้าคณะ แขวงอำเภอและพระคณาธิการ
-อนึ่งในการนี้ เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน อายุเวลานั้นชราถึง ๘๑ ปีแล้ว ได้เดินทางไปรับเสด็จถึงเมืองกาญจนบุรี และทูลการงานได้คล่องแคล่ว ทรงโปรดว่า ไม่วางตนว่าเป็นผู้ชราและอยู่เฉยเสีย ยังมีน้ำใจอยากรู้อยากเห็นหาความรู้ สมกับคำของพระพุทธเจ้าที่ว่า เด็กที่เล่าเรียนมีความรู้ สติปัญญาย่อมดีกว่าคนแก่ที่ไม่ได้เล่าเรียนไม่มีความรู้ ดีแต่มีอายุแก่แต่อย่างเดียว จะเห็นได้ว่า เจ้าอธิการม่วงท่านไม่ถือความมีอายุของท่าน ท่านสนใจเรื่องวิชาความรู้เป็นสำคัญ ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงเสด็จตอบถึงวัดบ้านทวน เป็นการแสดงน้ำพระทัยและรับสงเคราะห์ในเรื่องตำรับตำราที่จะเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแต่งไว้ เช่นนวโกวาท วินัยมุข บุพสิกขาวรรณา ฯลฯ นับว่าเจ้าอธิการม่วงได้เห็นการณ์ไกล ทำให้วัดบ้านทวนเจริญด้วยการศึกษาเป็นอันมาก ด้วยคุณงามความดีของเจ้าอธิการม่วง
-ครั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จกลับ พ.ศ.๒๔๘๘ ได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรให้เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน เจ้าคณะแขวงฯ เป็นที่พระครูสิงคิคุณาธาดา อันชื่อนี้เดิมชื่อ สิงคีบุรคณาจารย์ เป็นรองเจ้าคณะเมือง อยู่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เมื่อพระครูสิงคีบุรคณาจารย์(สุด) มรณภาพ พ.ศ.๒๔๕๔ ในการตั้งใหม่ครั้งนี้ได้ทรงแก้เป็นพระครูสิงคิคุณธาดา ให้ได้ลำดับสัมผัสกัน ในยุคนั้นตั้งแต่เจ้าคณะจังหวัดลงมา ดังนี้
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน6,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 08 ก.ย. 2566 - 14:46:55 น.
วันปิดประมูล - 09 ก.ย. 2566 - 15:12:14 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลoudoud (321)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 08 ก.ย. 2566 - 14:49:53 น.



บัตรรับรองพระเครื่อง


 
ราคาปัจจุบัน :     6,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    aruntat (667)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM