(0)
พระกริ่งจุฬาลงกรณ์(จปร.) 100 ปี วัดราชบพิธ ปี2513 เนื้อนวะ พร้อมใบประกาศที่ 1 ครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งจุฬาลงกรณ์(จปร.) 100 ปี วัดราชบพิธ ปี2513 เนื้อนวะ พร้อมใบประกาศที่ 1 ครับ
รายละเอียด“พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” สร้างขึ้นเพื่อถวายพระนามเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ซึ่งเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงมีพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพิฆเนศวร์สุรสังกาศฯ” โดยจำลองมาจาก “พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาศิลปะสมัยคุปตะ” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระพุทธรูปที่มีความงดงามที่สุด” ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ใน มหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอินเดีย และรอดพ้นจากการถูกทำลายของกองทัพอิสลามเช่นกัน
จัดสร้างด้วย เนื้อทองคำ จำนวนเพียง ๑,๐๐๐ องค์ และ นวโลหะ จำนวน ๕,๐๐๐ องค์ เท่านั้นและที่ฐานด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ใต้ฐานมีการ “บรรจุเม็ดกริ่ง” แล้วปิดด้วยแผ่นวงกลมปั๊มตราวัดราชบพิธฯ ที่มีความคมชัดละเอียดงดงามคือ “รูปตราพระเกี้ยว” ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าล้อมด้วยฉัตร ๕ ชั้น ๒ ด้าน ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ

“พระ ชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์” สร้างรูปแบบเดียวกับ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” ทุกประการแต่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่งแต่มีโค้ดรูป “อุณาโลม” ตอกไว้ที่ใต้ฐานมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่งจัดสร้างจำนวน “๕,๐๐๐องค์” ด้วยเนื้อ “นวโลหะ” เพียงอย่างเดียว
“พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น "ปฐมฤกษ์" ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์ และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนคือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี กับ 2 วัน
อนึ่ง นับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514 อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.และวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน”
นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้ว ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก.
พระ กริ่งรุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้ง สิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกปริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีใน เเต่ละวันดังนี้

๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ
๑.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๒.) พระราชธปรมากรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๓.) พระศูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๔.) หลวงพ่อกี วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
๗.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนท บุรี
๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา

เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๙.) หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร)
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน4,700 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 06 ต.ค. 2566 - 19:28:42 น.
วันปิดประมูล - 08 ต.ค. 2566 - 19:21:48 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnongnhun (4.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 06 ต.ค. 2566 - 19:29:11 น.



ก้น


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 06 ต.ค. 2566 - 19:29:39 น.



ใบประกาศ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,700 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    axeramintra (153)

 

Copyright ©G-PRA.COM