(0)
HOT โ ค-ต-ร หายาก ตัวจริง เฉพาะ พิมพ์นี้ขึ้นกรุไม่เกิน 100 องค์ เท่านั้น และ นี่คือ 1 ในนั้น !!!! พระยอดขุนพล(ดำ) กรุพระธาตุเวียงลอ ที่สุดแห่งความหายาก ที่สุดแห่งพุทธศิลป์ อันล้ำค่า ของ จ.พะเยา !!!!








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องHOT โ ค-ต-ร หายาก ตัวจริง เฉพาะ พิมพ์นี้ขึ้นกรุไม่เกิน 100 องค์ เท่านั้น และ นี่คือ 1 ในนั้น !!!! พระยอดขุนพล(ดำ) กรุพระธาตุเวียงลอ ที่สุดแห่งความหายาก ที่สุดแห่งพุทธศิลป์ อันล้ำค่า ของ จ.พะเยา !!!!
รายละเอียดประวัติครับ... สถานที่ตั้งของ โบราณสถาน เวียงลอ โบราณสถานเวียงลอ... ห่างจากตัวอำเภอจุนไปตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านห้วยงิ้วประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีก 12 กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีก 12 กิโลเมตร ปรากฎซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้างอยู่มากมาย พระธาตุ และ วัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง...เมืองลอ หรือเวียงลอ มีคูเมืองและกำแพงคันดิน 1-2 ชั้น ล้อมรอบ ตั้งอยู่ที่ราบระหว่างเชิงดอยจิกจ้องและแม่น้ำอิง ประวัติและผังเมืองของ โบราณสถาน เวียงลอ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 500 เมตร มีแม่น้ำอิงไหลผ่านแนวกำแพงด้านทิศใต้ และ แม่น้ำอิงที่เปลี่ยนทางเดินไหลผ่าน กลางเมืองจากทิศใต้ไปยังมุมเมือง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือแนวกำแพงเมืองเป็นคันดินไม่สูงนัก บางส่วนมีร่องรอยการก่ออิฐเสริมด้วย คูเมืองส่วนใหญ่ตื้นเขิน ภายในตัวเมืองมีบ่อน้ำกรุอิฐจำนวนมากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ทำไร่ข้าวโพด และเป็นที่รกร้างว่างเปล่า แต่เดิมภายในเมืองลอ มีวัดร้างกว่า 50 วัด ตามวัดร้างจะพบ พระพุทธรูปหินทรายและพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์จำนวนมาก แต่ถูกทำลายลงไปเกือบหมดแล้ว ที่สำคัญคือ วัดพระธาตุหนองห้าเป็นศาสนสถานที่ตั้งอยู่บนลาดชายเนินเขา
ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงคล้ายพระธาตุเจดีย์ที่วัดลีเมืองพะเยา ซึ่งสัณนิษฐานว่าสร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 900 ปี ตามหลักฐาน ที่ปรากฎในศิลาจารึก พบที่วัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดร้างในเวียงลอ วามในจารึกกล่าวถึงเจ้าหมื่นล่อเทพศรีจุฬาสร้างวัดใหม่เมื่อ จ.ศ.859 (พ.ศ.2040) ถวายเป็นพระราชกุศลแก่มหาเทวีเจ้าและพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และกล่าวถึงอาณาเขตวัดนี้ให้อยู่ในพื้นที่ตะวันออกจรดฝั่งแม่น้ำด้านใต้จรดคูเมืองชั้นนอก(คือเวียง)
ด้านตะวันตกออกห่างไปร้อยวา ด้านเหนือจรดคูเมือง และด้านท้ายของจารึกยังบอกว่า ผู้ใดมาครองเมืองลอต่อไปขอให้บำรุงพระพุทธศาสนา และวัดใหม่นี้สืบไปอย่าได้ทำลาย ความในศิลาจารึกกล่าวชี้ให้เห็นว่า เวียงลอ หรือเมืองล่อ เป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบอย่างน้อย สองชั้นและชื่อเมืองลอ (เมืองล่อ)ก็เป็นชื่อเรียกกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 และ เมืองลอสร้างก่อนปีที่สร้างวัดป่าใหม่นี้หรือก่อน พ.ศ.2040ในสมัยล้านนา "เวียงลอ" เป็นเมืองสำคัญอยู่ระหว่างเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างเมืองเชียงแสน เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองพะเยา และเมืองน่าน ล้านช้าง ดังปรากฎในตำนานพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เมืองน่านว่า ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช พ.ศ.1993 คราวที่เสด็จไปตีเมืองน่าน ยกทัพผ่านเมืองลอและตั้งขุนนางครองเมืองลอด้วยเวียงลอ ยีงมีความสำคัญและมีผู้คนอยู่อาศัยมาตลอดสมัยล้านนา และแม้ว่าล้านนาจะตกอยู่ในอำนาจพม่า แต่พม่ายังให้ความสำคัญ โดยเจ้าเมืองลอ
มีฐานะเท่าเจ้าเมืองสาดและให้เมืองลอขึ้นกับเมืองพะเยาในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ.2322 พระยากาวิละได้กระทำการไถ่โทษ โดยการตีเอาเมืองลอและเมืองเทิงกวาดต้อนผู้คนมาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งความในตำนานกล่าวชี้ให้เห็นว่า เมืองลอยังเป็นเมืองสำคัญและมีผู้คนอยู่อาศัยมาโดยตลอด จนถึงสมัยกรุงธนบุรี สันนิษฐานว่าเมือง ละจะร้างผู้คนและหมดความสำคัญลงในคราวที่พระยากาวิละยกทัพไปตีและกวาดต้อนผู้คนลงไปทั้งหมดนั่นเองสมัยพระเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าปกครองนครน่านได้ให้ขุนหลวงไชยสถานนำไพร่พลออกมาตั้งบ้านเรือนใหม่เรียกว่า "เมืองจุน" หลังจากที่เมืองลอเสื่อมลง ขุนหลวงไชยสถานก็ได้รวมเอาเมืองลอ
ไว้ด้วยกัน ในปี พ.ศ.2443 เมืองลอ เมืองจุน เมืองเทิง นครน่าน เชียงของ รวมกันเป็นเขตการปกครอง "นครน่านเหนือ" ในปี พ.ศ.2459 ได้เลิกการปกครองบริเวณ นครน่านเหนือ รวมเมืองพาน แม่สรวย เวียงป่าเป้า เชียงราย เชียงแสน แม่จัน ยุบเมืองลอ เมืองจุน เป็นตำบลขึ้นอยู่ในเขตการปกครอง เป็นมณฑลพายัพเหนือวันที่ 24 สิงหาคม 2506 กระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นตำบลลอ ตำบลจุนเป็นกิ่งอำเภอ ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2508 ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็น "อำเภอจุน" จังหวัดเชียงราย จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2520 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดใหม่ คือ จังหวัดพะเยา ให้อำเภอจุนอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพะเยา นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พระยอดขุนพลพะเยา นับเป็นพระที่งดงามมาก ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นพระเจ้าตนหลวงองค์จำลอง เฉกเช่นพระเนื้อชิน พระเนื้อดินพิมพ์พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระพุทธชินราช หรือที่ชาวบ้านชาวเมืองนิยมเรียกว่า วัดใหญ่ ตลอดจนกรุอื่นๆ ที่ฝากกรุ ที่จำลองมาจากองค์พระพุทธชินราชเช่นกัน สืบเนื่องจากน้ำท่วมองค์พระเจ้าตนหลวง เมื่อ ปี พ.ศ.2516 ทำให้องค์พระเจ้าตนหลวงได้รับความเสียหายอย่างมาก องค์พระเจ้าตนหลวงเอียง ฐาน และ สะโพกด้านขวาองค์พระแตกร้าว แล้วในครั้งที่ทำการบูรณะ ใน ปี พ.ศ.2519 ชาวบ้าน เณร ได้ขนก้อนปูนองค์พระเจ้าตนหลวงที่แตกร้าวไปกองไว้ที่ด้านหลัง จึงได้พบพระยอดขุนพลไปประมาณ 20องค์ จวบจนถึงปี พ.ศ.2535 ก็ได้มีการพบอีกครั้งหนึ่งโดยทหารและชาวบ้านที่ไปช่วยขนก้อนเศษปูนองค์พระที่ชำรุดไปไว้ที่ข้างกำแพงวัด ได้พระยอดขุนพลอีก 20 องค์ ทั้งสภาพที่สมบูรณ์และชำรุดเสียหายอีกบ้างจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันนี้กองเศษปูนนี้ถูกทุบหาจนละเอียดหมดแล้ว จากการที่พบพระยอดขุนพลพะเยานั้น ได้พบหลายพิมพ์ และแต่ละพิมพ์ก็จะพบในกรุต่างๆ ทั่วพะเยาเช่นกัน แต่ครั้นเมื่อมีการนำพระพิมพ์เดียวกัน แต่ต่างกันที่กรุมาพิจารณาเทียบเคียงดูจะสังเกตเห็นความแตกต่างจากสภาพดินกรุ เนื้อพระ ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีมากมายได้พิจารณาวิเคราะห์ จนได้ข้อสันนิษฐานไว้ให้พิจารณากันว่าในการที่สร้างองค์พระเจ้าตนหลวงนั้นน่าจะมีการชักชวนชาวบ้านชาวเมือง เจ้าสังเถรทั้งหลาย อุบาสก อุบาสิกาของวัดในเมืองพะเยาและเมืองบริวาร ให้นำดินของวัดตนมาช่วยสร้างองค์พระเจ้าตนหลวง โดยนำดินมาปั้นอิฐ และนำดินมากดพิมพ์พระยอดขุนพล หากเมื่อมาพิจารณากันแล้วในการสร้างองค์พระที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ก็น่าที่จะมีการคัดองค์พระยอดขุนพลที่สวยงาม ทั้งแบบพิมพ์และเนื้อดิน วิธีการนวดดิน ตลอดจนวิธีการเผา จะต้องเป็นช่างที่ชำนาญที่สุดในยุคสมัย ส่วนที่เหลือคงจัด มอบให้นำกลับไปที่ถิ่นฐานวัดของตัวเองหรือใส่พระเจดีย์พระธาตุต่อไป แม่พิมพ์ที่ใช้กดพระยอดขุนพล มีการสร้างหลายแม่พิมพ์ ซึ่งมีลวดลายแตกต่างกัน เพื่อความรวดเร็วในการสร้างพระยอดขุนพลเพื่อนำไปใส่ในองค์พระเจ้าตนหลวงและฐานพระ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหมื่นๆ องค์ ซึ่งในหนังสือขอมลาวได้มีบันทึกไว้ ซึ่งนัยว่าน่าจะเกี่ยวข้องกันกับพระเจ้าตนหลวง คือมีชื่อว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งมีความหมายในตัวชื่อได้สองอย่าง พระพุทธพิมพ์ที่ยิ่งใหญ่ หรือ พระที่มีพระพิมพ์มากมาย...
อาจจะยาวสักนิด แต่อยากให้ทราบประวัติ และ รายละเอียด ในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าตนหลวง พระคู่บ้านคู่เมืองของคนพะเยา ถิ่นที่มีแต่ความงดงามทั้งงานศิลป์ และ วัฒนธรรม ครับ องค์นี้งดงามจริงๆ ขอเรียกว่า " ยอดขุนพลดำ แห่งพะเยา " ครับ เชิญครับ
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน15,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 16 พ.ย. 2554 - 14:31:12 น.
วันปิดประมูล - 22 พ.ย. 2554 - 20:47:02 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpeerapath (2.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 พ.ย. 2554 - 14:44:37 น.



พระเจ้าตนหลวง ตนแบบของพระพิมพ์ชุดนี้ครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 16 พ.ย. 2554 - 14:46:00 น.



อีกรูปครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 16 พ.ย. 2554 - 14:46:36 น.



อีกรูปครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 16 พ.ย. 2554 - 14:48:18 น.



รับรองว่าสวย สมบูรณ์ มากถึงมากที่สุด และ เป็นเนื้อที่หายากสุดครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 17 พ.ย. 2554 - 07:32:16 น.

ไม่มีซ่อมครับ แต่แปลกใจว่าทำไมไม่เมลล์มาถามน่าจะดีกว่าครับ เพราะ ลงในหน้ากระทู้แบบนี้ อาจทำให้เพื่อนสมาชิกเข้าใจผิดได้นะครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     15,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    nithatmaemoh (190)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM