(0)
พระพุทธปัญจภาคี วโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี 2539 (พระนิรันตราย)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธปัญจภาคี วโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี 2539 (พระนิรันตราย)
รายละเอียดพระพุทธปัญจภาคี วโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี 2539 (พระนิรันตราย)

รายละเอียด: เหรียญรูปใข่พระพุทธปัญจภาคี เนื้อทองแดงขัดเงา จัดสร้างขึ้นโดยกองกษาปณ์ ในวโรกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในปี พ.ศ.2540 ในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวน 54 รูป ทรงเจริญพระพุทธมนต์ และสวดพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก

ใน1 ชุด ประกอบด้วยเหรียญรูปใข่ 5 เหรียญ ด้านหน้าของทุกเหรียญเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนด้านหลังในแต่ละเหรียญเป็นรูปพระพุทธรูปที่สำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งได้แก่

1.พระพุทธชินราช
2.พระพุทธชินสีห์
3.พระพุทธโสธร
4.พระนิรันตราย
5.พระมงคลบพิตร
เหรียญพระพุทธปัญจภาคีได้เข้าพิธีมหาชัยมังคลาภิเษก ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร พระนามและรายนามพระสงฆ์ที่กราบทูลและนิมนต์ มาร่วมอธิษฐานจิตในพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ดังนี้
พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลาประมาณ 15.00 น.
1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม
8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม
9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา
10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา (ชุดที่ 1 เวลาประมาณ 15.00 น.)
1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม
. 2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม
3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.
5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก
8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร
9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง
10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง
11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช
12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่
13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี
14. พระอธิการวิชา วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท
15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร
16. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง
17. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา ชุดที่ 2 เวลาประมาณ 18.00 น.
1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร
5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี
6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม
10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม
11. พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านดาล สกลนคร
12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
13. หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงปู่รินทร์ รักชโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น
18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์
1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม
2. พระปลัดพิทยา ญาณิวโส วัดสุทัศนเทพวราราม
3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
พระสวดพุทธาภิเษก
1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

ประวัติ พระนิรันตราย วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

"วัดบวรนิเวศ" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประมุขสงฆ์สูงสุดของประเทศไทย

ในอดีตวัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่พำนักของพระภิกษุนาคหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายรูป และยังเป็นสถานที่พำนักระหว่างพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงผนวช รวมทั้งเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งทรงผนวชอีกด้วย

"พระนิรันตราย" วัดบวรนิเวศราชวิหาร เป็นพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 18 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสำหรับพระราชทานแด่วัดในสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย จำนวน 18 วัด

ตามพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง 12 เซนติเมตร สูง 20.5 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่บนฐานสูง 24 เซนติเมตร ขุดพบที่ชายป่าที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งมีผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดให้อัญเชิญไว้กับพระกริ่งทองคำองค์เล็กที่หอเสถียรธรรมปริตร

ต่อมามีผู้โจรกรรมเฉพาะพระกริ่ง แต่มิได้เอาพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งที่เป็นทองคำหนักถึง 8 ตำลึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า พระองค์นี้แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง เมื่อแรกที่ขุดพบก็มิได้นำไปทำประ โยชน์ ส่วนครั้งนี้ก็รอดพ้น จึงถวายพระนาม "พระนิรันตราย" แล้วโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสวมไว้ชั้นหนึ่ง จากนั้นทรงออกแบบเอง เป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิเพชร ครองจีวรอย่างธรรมยุติกนิกาย เบื้องหลังทำเรือนแก้ว มีพระมหาโพธิ์ ยอดเรือนเป็นมหามงกุฎหล่อด้วยเงินแท้ไว้คู่กัน

พุทธศักราช 2411 พระราชดำริว่า วัดธรรมยุติฯ เกิดขึ้นหลายแห่ง วัดควรจะมีสิ่งของเป็นที่ระลึก โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยพิมพ์เดียวกับที่หล่อพระเงินและพระทองที่ครอบพระนิรันตรายด้วยทองเหลือง และกะไหล่ทองคำ จำนวน 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่ทรงครองราชย์ และพระราชดำริจะหล่อเพิ่มขึ้นปีละ 1 องค์ ถวายพระนามพระนิรันตรายทุกองค์ ก็สิ้นรัชกาลก่อน

ตราบถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำกะไหล่ทองทั้ง 18 องค์ แล้วพระราชทานแก่วัดธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดบวรนิเวศราชวิหารแต่เดิมเป็นวัดใหม่อยู่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ 3

ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ฟ้ามงกุฎ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุ อยู่วัดสมอรายหรือวัดราชาธิวาส เสด็จมาครองเมื่อ พ.ศ.2375 ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสัง ขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย

พร้อมทั้งได้รับพระราชทานตำหนักจากรัชกาลที่ 3 ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทำให้วัดนี้ได้รับการทำนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ

ในปัจจุบันนี้ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และศึกษาได้เป็นจำนวนไม่น้อย

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นพระอารามสถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง สำหรับคนที่ชื่นชอบการทำบุญไหว้พระ ถือเป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายมาตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยภาพอันสงบและงดงามของชีวิต
ราคาเปิดประมูล270 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ15 บาท
วันเปิดประมูล - 15 เม.ย. 2555 - 08:46:17 น.
วันปิดประมูล - 18 เม.ย. 2555 - 22:11:51 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpunnarai (14.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     15 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    charkauto (474)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM