(0)
กำแพงเม็ดขนุนกรุลานดอกไม้ หายากสุดของกรุนี้ครับ สวยแท้ ดูง่าย เคาะเดียว






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องกำแพงเม็ดขนุนกรุลานดอกไม้ หายากสุดของกรุนี้ครับ สวยแท้ ดูง่าย เคาะเดียว
รายละเอียดพระกรุลานดอกไม้ จ.สุโขทัยเป็นพระเครื่องที่แตกกรุออกมา เมื่อประมาณปี 2520 เนื่องจากทำการปรับพื้นที่เพื่อสร้างลานอุทยานเผาเทียนเล่นไฟในปัจจุบันว่า กันว่ามีการพบพระขึ้นมาเป็นจำนวนมากประมาณ 2 คันรถกระบะ มีมากกว่า 3-40 พิมพ์ที่แตกต่างกัน แต่พิมพ์แปลกๆ คนมักเล่นเป็นที่อื่นเสีย เพื่อค่านิยมเลยกลายเป็นว่ากำลังจะสูญหายไปหมดแล้ว(โดนย้ายบ้าน)
ลักษณะเนื้อพระเป็นพระกรุเนื้อดินที่มีเนื้อหาเนียน ละเอียดผ่านการกรองอย่างดีไม่มีกรวดทรายเลยสักเม็ด ผิวมีตั้งแต่แบบแห้งแกร่งจนถึงละเอียดนุ่มแบบกำแพง มีความมันจัด
วิธีพิจารณาเนื้อหาพระกรุลานดอกไม้ ก็เหมือนกับการดูพระกรุทั่วไปคือแม้ว่าเนื้อจะแห้งหรือจะมัน ก็จะต้องมีความแห้งผาก หมดยางอยู่ในทีเป็นการสัมผัสโดยสายตา ถ้าไม่ชำนาญพระที่ผิวมัน ก็ลองมองหารอยถลอกหรือจุดที่เสียผิวไปก็ได้
สีของพระจะมีทั้งเหลืองพิกุล น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม สีส้มหรือแดงหม้อใหม่ แดงเข้ม เขียวไปจนถึงดำ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เผา เหมือนกับพระเนื้อดินเผาปกติทั่วไป
คราบไคล และสิ่งที่อยู่บนผิวบนผิวหน้าของพระหลายๆองค์จะ มีรอยว่านหลุด ซึ่งเป็นปกติของพระเก่าที่มวลสารส่วนประกอบภายในที่เป็นอินทรีย์สารเช่นว่าน ต่างๆจะยุบตัวหายไป(บางทีก็เกิดจากการเผา) ทำให้เกิดโพรงในองค์พระ นานเข้าโพรงนั้นจะยุบตัวทำให้เป็นร่องบนผิวพระ
พระสภาพเดิมๆจะมีคราบน้ำว่านติดอยู่ตามซอกหรือลายนิ้วมือด้านหลังสีน้ำตาล เข้มอมเขียวหรือสีแดงเข้มมีเหมือนกันที่ลงรัก แต่พบน้อยมากองค์ไหนที่แห้งๆไม่ผ่านการจับต้อง ส่องแล้วจะเห็นคราบมุกระยิบระยับนั่นก็คือแคลเซี่ยมในอากาศภายในกรุนั่นเอง
ดินกรุที่อยู่มาคู่กับพระที่บรรจุกรุอยู่เป็นเวลานาน สีมักจะออกเขียวขี้ม้าน่าจะเกิดจากตะไคร่ที่จับตัวอยู่กับเจดีย์หรือเกิด ขึ้นเพราะความชื้นภายในกรุ ต่อมาทับถมกันเข้าเป็นเวลานานกลายเป็นดินสีเขียวๆจับองค์พระ
องค์ที่เนื้อละเอียดและมีความจัดนุ่มๆ ถ้าแบบพิมพ์คล้ายของเมืองกำแพงฯ ก็จะถูกผู้ขายบางท่านย้ายกรุให้โดยอัตโนมัติครับ

พิมพ์ของพระมีมากมายหลายแบบด้วยกัน ซึ่งทุกพิมพ์ล้วนเป็นศิลป์สุโขทัยทั้งสิ้นมีทั้งแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัว เองและที่ล้อหรือมีความใกล้เคียงกันกับพระกรุกำแพงเพชร
ลักษณะของพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนูนต่ำ มีเส้นสายรายละเอียดที่เล็กมากยากที่จะทำตามอย่างได้ และแม้ว่าพระจะมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกันแต่ๆละพิมพ์อย่างเช่นพิมพ์นั่ง หรือพิมพ์นางที่พบมากก็ยังมีแม่แบบแม่บล็อคอยู่อีกหลายตัว อย่างน้อยๆก็ 4-5 บล็อคที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถสร้างพระจำนวนมากได้ในเวลาที่ไม่นานนักและ ยังแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่อลังการของพิธีสร้างว่าไม่ใช่คนธรรมดาตาสีตา สาสร้างแน่นอนต้องเป็นพิธีใหญ่ใช้ทุนทรัพย์มากทีเดียวจึงจะสร้างพระได้มาก พิมพ์ขนาดที่ว่านี้
จุดน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือพระกรุนี้ไม่มี่การตัดปีกด้วยของมีคมแต่ใช้มือ คลึงๆเอาตอนกดพิมพ์จากด้านหลัง ปีกพระจึงมีกว้างบ้าง แคบบ้างตรงบ้าง เบี้ยวบ้าง ไม่แน่นอนแล้วแต่ผู้สร้างจึงไม่มีขนาดมาตรฐานที่แน่นอนบางองค์เป็นพิมพ์ เดียวกันมีความเล็กใหญ่ต่างกันมากๆด้านหลังมีลายมือผู้กดพิมพ์ทุกองค์
จะขอตัวอย่างพิมพ์ของพระที่เคยพบมา
- พิมพ์สุโขทัยนั่ง (มารวิชัย) ศิลป์สุโขทัย สวยดูดีมากๆครับ ขนาดสูงประมาณ 2 X 1.4 ซ.ม. (ใหญ่กว่า-เล็กกว่าก็มี) มีสัณฐานเป็นรูปทรงกลีบบัวพิมพ์นี้เป็นพิมพ์พื้นฐานของกรุนี้ มีมากในตลาด และมีด้วยกันหลายบล็อคหลายหน้า แบบข้างเม็ดก็มี แบบพิเศษที่พระทรงจีวรเหมือนของจีนก็มีแต่หายากมาก
- พิมพ์ลีลาแบบตื้น ซึ่งแม้จะตื้น แต่ศิลป์ก็อ่อนช้อยน่ารักมาก เป็นพิมพ์ลีลาที่มีขนาดเล็กที่สุด ขนาดสูงประมาณ 2.7 X 1.3 ซ.ม. พบมาก
- พิมพ์ลีลา แบบลึก พบได้ทั่วไปในตลาด และเม็ดพระศกติดชัด ขนาดสูง 3 X 1.2 ซ.ม. พิมพ์นี้จะลึกและมีรายละเอียดมากที่สุด ศิลป์สวยงามมากๆ(เคยขายกันถึงพันกว่าบาท) ปัจจุบันมีของเก๊แล้ว พบได้ทั่วไปเหมือนกัน
- พิมพ์ลีลา-ซุ้มเหลือบ ด้านข้างมีซุ้มเส้นคู่พระพิมพ์นี้จะลึกกดติดได้ชัดเจนมาก ปรากฎรายละเอียด ตา จมูก ปาก เนื้อจัด หลังอูมนูนหนาขนาดสูงประมาณ 3.2 X 1.5 ซ.ม. เมื่อก่อนพบบ่อย เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้ว
- พิมพ์ลีลาข้างขีด ขนาดใหญ่สูง 3.8 X 1.4 ซ.ม. หาค่อนข้างยาก นานแล้วที่ไม่เจออีก
- พิมพ์สังกัจจายน์จิ๋ว ประมาณเม็ดกวยจี้ หรือใกล้เคียงแล้วแต่ตัดปีกกว้างหรือตัดชิด ขนาดสูงตั้งแต่ 1.4 X 1 จนถึง 1.6 X 1.2 ซ.ม.ขนาดเล็กๆน่ารัก พระมีรายละเอียดศิลป์ดีมาก มีหลายบล็อค หลายขนาด
- พิมพ์เปิดโลก ยืนตอ ส่วนมากจะเจอยัดกรุให้เป็นของกำแพงเพชร จัดเป็นพิมพ์หายากของกรุนี้ ขนาดสูงโดยประมาณ 2.8 X 1.2 ซ.ม.
- พิมพ์นางกำแพงกลีบบัวเศียรโต ขนาดสูง 2.6 X 2 ซ.ม. หายากมาก และเล่นเป็นของกำแพงไปหมดแล้ว
- พิมพ์ซุ้มกอของกรุนี้ หาชมยากมากๆ ขนาดสูงประมาณ 2.3 X 1.4 ซ.ม.มีปีกกว้างและแคบ เคยเจอองค์หนึ่งที่เนื้อละเอียดและจัดผู้ขายบอกเป็นพระซุ้มกอของกำแพงฯหน้า ตาเฉย พระพิมพ์นี้ปีหนึ่งจะเจอสักองค์
พระพิมพ์อื่นๆของกรุลานดอกไม้ สุโขทัยที่นอกเหนือไปจากที่นำเสนอนี้ ยังมีอยู่มากครับอาศัยการดูเนื้อและรูปแบบของการแกะพิมพ์เป็นหลักแต่ก็ยัง ไม่มีผู้รวบรวมพิมพ์ไว้ได้ทั้งหมดเท่าที่เคยเห็นหรือผ่านมือก็มีประมาณตาม รูปประกอบบทความที่ลงไว้นี้ครับ
ส่วนตัวแล้วผมว่าน่าเก็บสะสมมากทีเดียว เพราะชอบทั้งเนื้อหาและศิลป์ แถมยังขึ้นมามีจำนวนมาก ถ้าเจอพิมพ์สวยๆแปลกๆ ผมเก็บหมดครับ

ค่านิยมสมัยแตกกรุใหม่ๆ พระยังไม่มีราคา เพราะเป็นการแตกกรุโดยบังเอิญไม่ใช่จงใจเปิดกรุด้วยเซียน ไม่เช่นนั้นพระคงจะมีราคาแพงเกินเอื้อมแน่นอน
ว่ากันว่าที่สุโขทัยตวงขายกันเป็นกระป๋องๆบางคนมีเป็นปี๊บๆเนื่องจากพระมี จำนวนมาก(ไม่เคยเห็นสักที ถ้ามีบอกผมนะ)ในตลาดส่วนกลางเช่นในกทม ก็มีให้ซื้อได้ไม่หมด เก็บเท่าไหร่ก็ไม่ชนะ (เมื่อ3-4 ปีก่อน มีคนรุ้จักที่เขาตามเก็บตุนพระกรุนี้เป็นร้อยองค์แต่เก็บเท่าไรก็ไม่หมดจึง ต้องเลิกเก็บไป) ทุกวันนี้ราคายังอยู่หลักร้อยต้นๆถ้าไม่เน้นสภาพที่จะหาสวยๆเนี๊ยบๆไม่ค่อย มีแล้ว ไปเจอเดี่ยวๆบางแผงเปิดราคาบอกผ่านแพงๆก็มี
เนื่องจากเนื้อหาของดิน มีความละเอียดเนียนสวย ไปใกล้เคียงกับพระเมืองกำแพงเพชรในหลายๆพิมพ์ที่เข้าได้กับของกำแพงเพชร มักโดนยักย้ายถ่ายกรุจะถูกขายไปเป็นพระของกรุกำแพงเพชรด้วยสนนราคาที่สูง
ส่วนพิมพ์ทั่วๆไปที่พบกันมาก ตอนนี้ราคายังถูกอยู่ค่านิยมทั่วไป พิมพ์ยืนหรือพิมพ์ลักษณะพิเศษ จะมีราคาค่านิยมกว่าพิมพ์นั่ง
เชื่อว่าด้วยเนื้อหา-อายุและศิลป์แล้ว อีกหน่อยอนาคตไกลแน่นอน
ขออนุญาติยืมความรู้มาแบ่งปันกันนะครับ ขอบคุณครับ
รับประกันความแท้ตามกฏกติกาทุกกรณีครับ
ราคาเปิดประมูล540 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ม.ค. 2556 - 13:23:55 น.
วันปิดประมูล - 17 ม.ค. 2556 - 23:54:05 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลฅนฅอน (2.2K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 ม.ค. 2556 - 13:24:11 น.



+


 
ราคาปัจจุบัน :     550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Pratin (264)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1