(0)
(( วัดใจ ผู้ที่ต้องการ พระสมเด็จพุฒาจารย์โต เชิงอนุรักษ์ มาพร้อมใบพระแท้ )พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้ม พิมพ์สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง(( วัดใจ ผู้ที่ต้องการ พระสมเด็จพุฒาจารย์โต เชิงอนุรักษ์ มาพร้อมใบพระแท้ )พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้ม พิมพ์สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5
รายละเอียด((ขอทำความเข้าใจ พระสมเด็จ องค์นี้ ไม่เหมือน สมเด็จยุคต้น นะครับ ไปขายที่พันธิ์ทิพย์ไม่ได้นะครับ แตเอาไว้ใช้ได้ครับ วัดใจ ผู้ที่ต้องการ พระสมเด็จพุฒาจารย์โต เชิงอนุรักษ์ครับ )พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้ม พิมพ์สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5
สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย พ.ศ.2414-2415
((ชมรมศึกษาวิจัย พระเครื่องไทย ))
ราคาเปิดประมูล99 บาท
ราคาปัจจุบัน2,899 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 12 ก.พ. 2558 - 21:22:56 น.
วันปิดประมูล - 13 ก.พ. 2558 - 21:26:05 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลต้อมเทิดไท (629)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 12 ก.พ. 2558 - 21:24:07 น.



พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม ยุคปลาย แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย พ.ศ.2414-2415


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 13 ก.พ. 2558 - 07:45:10 น.



จ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร)
แต่ "ช่าง" ย่อมเป็นสถาบันที่มีความสำคัญแก่ราชการของพระเจ้าแผ่นดิน การพระศาสนาและบ้านเมืองใน สมัยกรุงธนบุรีจึงน่าจะมีการเสาะหาเก็บเอาตัวผู้ที่เป็นช่างต่างๆ ซึ่งหลงเหลือหลบพ้นข้าศึกกวาดต้อนพาไปมารวม กันจัดตั้งเป็น "กรมช่าง" ขึ้นสำหรับทำงานช่างตามความต้องการในราชการอย่างเมือ "ครั้งบ้านเมืองดี" ดังนี้ "กรมช่างสิบหมู่" ก็คงได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น ด้วยความประสงค์ของราชการ ดังมีหลักฐานเนื่องด้วยงานช่าง ที่จัดเป็นงานของช่างสิบหมู่ปรากฏขึ้นเอกสารเมื่อรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นั้นบาง ฉบับ เป็นต้น ในหมายรับสั่งเรื่อง ก่อพระทราย ความตอนหนึ่ง ดังนี้
"แลทุกวันนี้ เสด็จลงมาสร้างพระนครอยู่เมืองธนบุรีแล้ว ครั้นถึงกำหนดสงกรานต์เมื่อใดก็ดีให้...บอกแก่เจ้า พนักงานให้ก่อพระทรายหน้าพระวิหารใหญ่พระแก้วมรกต แลพระทรายเตียงยก ตามอย่างในพระบรมโกศแต่ก่อน"
"ทรงก่อแล้ว เจ้าพนักงานยกพระทรายออกมาให้ช่างเขียนแลตัดเครื่องประดับพระทรายนั้น ให้เจ้าพนักงาน เบิกทองอังกฤษประดับแลเครื่องเขียนทำประดับประดาพระทราย"
อนึ่ง ยังมีความที่อ้างถึงช่างสิบหมู่ในสมัยกรุงธนบุรี ได้อ้างขึ้นไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีว่าด้วย ช่างหล่อแต่สมัยนั้นดังนี้
"พระราชาคณะถวายพระพรว่า พระบาลีพระพุทธลักษณะนั้นว่า สมเด็จพระสัพพัญญูมีพระกายเป็นปริมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทรมิได้สูงต่ำยาวสั้น และพระกายซึ่งสูงนั้นวัดเท่ากับวาของพระองค์อนึ่งมีมังสะที่หนานั้นเจ็ด แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ซ้ายขวา หลังพระบาทซ้ายขวา พระอังสาทั้งสองซ้ายขวากับลำพระสอเป็นเจ็ดแห่งด้วยกัน จึงทรงพระกรุณาสั่งให้ช่างหล่อ หล่อพระพุทธลักษณะจงพร้อมบริบูรณ์ทุกประการ ให้สมเด็จพระสังฆราชเอาพระ บาลีพระพุทธลักษณะออกบรรยายให้ช่างทำ...
แล้วทรงพระกรุณาให้หลวงวิจิตรนฤมล ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องด้วยพุทธลักษณะ พระสมาธิองค์หนึ่ง ยืนองค์หนึ่ง เป็นสองพระองค์ จะให้ช่างหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์"
ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อแรกสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีใหม่แห่งสยามประเทศนั้น การสร้างพระนครอันประกอบด้วยกำแพงล้อมพระนคร ป้อม ประตูเมืองก็ดี การสร้างพระราชวังเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาปราสาท พระที่นั่ง พระราชมณเฑียรสถาน พระตำหนัก ห้องคลังและบริวารสถานก็ดี การสถาปนาและ ปฏิสังขรณ์พระอารามใหม่เก่าสำหรับพระนครก็ดี ล้วนต้องอาศัยและต้องการช่างต่างๆ จำนวนมากทำการทั้งปวง ตามกล่าวให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ฉะนั้นในรัชกาลนี้จึงได้ริเริ่มทำนุบำรุงการช่างต่างๆ เป็นการใหญ่ โดยเสาะหาและ รวมรวมบรรดาผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีฝีมือเป็นช่างประเภทต่างๆ ที่หลีกลี้หนีภัยสงครามเมื่อคราวเสียกรุงเก่าไป หลบซ่อนอยู่ในที่อื่นๆ ให้กลับเข้ามารับราชการด้านการช่างให้เป็นกิจลักษณะ แล้วจัดตั้งเป็น "กรมช่างสิบหมู่" ขึ้นใหม่ เป็นการฟื้นฟูวิชาช่างไทย ให้การอุปถัมภ์บรรดาผู้เป็นช่างต่างๆ ให้ทำงานช่างตามความสามารถ และเป็น การธำรงแบบอย่างศิลปกรรมแบบไทยประเพณีให้คืนดีขึ้นดังเมื่อ "ครั้นบ้านเมืองดี"
กรมช่างสิบหมู่ ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อรัชกาลสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงเทพมหานครนี้ได้อาศัยแบบฉบับในการลำดับหน้าที่ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม และศักดินาสำหรับข้าราชการช่างในกรมช่างสิบหมู่ ที่ตั้งใหม่ตามแบบฉบับของกรมช่างสิบหมู่สมัยกรุงเก่าเป็นแบบ อย่างต่อมา
กรมช่างสิบหมู่ ที่เป็นส่วนราชการในฝ่ายพระบรมมหาราชวัง เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ควรกล่าวได้ว่าเป็น สถาบันทางศิลปกรรมไทยประเพณีที่สำคัญ ด้วยว่าเป็นแหล่งผดุงรักษาและสร้างสรรค์งานช่างไทยให้กลับฟื้นตั้งขึ้น ใหม่ กับทำให้แพร่กระจายเป็นวงกว้างออกไปสู่สังคมภายนอกเป็นลำดับพระมหากษัตริยา ธิราชทรงเอาพระราช หฤทัยใส่และทรงรับพระราชภาระอุปถัมภ์ช่างและการสร้างงานช่างต่างๆ อย่างใกล้ชิด การบังคับบัญชาราชการ กรมช่างสิบหมู่ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชการผู้ใหญ่ที่ทรงไว้พระราชหฤทัย มีความรู้และสามารถทางการช่างรับตำแหน่งอธิบดีว่าราชการกรมช่างสิบหมู่มาโดย ลำดับ
กรมช่างสิบหมู่ เมื่อแรกตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๑ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ กรมช่างสิบหมู่อยู่ในการบังคับบัญชางานของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุณรอด) เสนาบดี กรมวัง ครั้นมาถึงกลาง รัชกาลเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์เป็นแม่ทัพไปรบพม่า ณ เมืองราชบุรี มีความผิดต้องโทษให้ถอดลงจากตำแหน่ง กรมช่างสิบหมู่ตกมาอยู่ในการบังคับบัญชาของ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร จนสิ้นรัชกาลที่ ๑
มาถึงรัชกาบที่ ๒ กรมช่างสิบหมู่จัดว่าเป็นกรมช่างที่มีความเฟื่องฟูมากสมัยหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องแต่พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นช่างวิจิตรศิลป ทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเอกทั้งในด้านการช่างเขียน ช่างสลัก และช่างปั้น งานช่างที่ได้ทรงทำไว้ก็มีอยู่ให้ผู้คนทั้งหลายได้ประจักษ์เห็น เป็นต้นว่า บานประตูประจำพระ วิหารพระศรีสากยมุนี ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงแกะสลักไม้ทำเป็นลวดลายประกอบรูปภาพต่างๆ ซ้อนทับกันถึง ๔ ชั้นในไม้แผ่นเดียว ซึ่งกระทำด้วยฝีพระหัตถ์อันชำนะชำนาญยิ่งยากที่จะหาช่างในชั้นหลังทำเทียบ ให้เสมอได้
การที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถเป็นช่างวิจิตรศิลปดังกล่าว ย่อมจะทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทำนุบำรุง การช่างเป็นพิเศษ กรมช่างสิบหมู่เป็นส่วนราชการรับภาระในด้านการช่างโดยตรงอยู่แล้ว น่าที่จะได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนให้เฟื่องฟูมากในรัชกาลนี้
กรมช่างสิบหมู่ในรัชกาลที่ ๒ อยู่บังคับบัญชาของ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ กรมหมื่นจิตรภักดี
http://www.solo.co.th/images/products/tn_451-6.jpg
กรมช่างสิบหมู่ เป็นกรมช่างหลวงกรมใหญ่กรมหนึ่งมาแต่สมัยโบราณ ลักษณะและความสำคัญของช่าง สิบหมู่และกรมช่างสิบหมู่นี้พึงทราบได้จากพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลง พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๐ ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง “กรมช่างสิบหมู่” ขึ้นไว้ให้ทราบดังนี้
“ส่วน ซึ่งแบ่งปันฝ่ายทหารแต่ทำการฝ่ายพลเรือนนั้น คือ กรมช่างสิบหมู่ ซึ่งแบ่งไว้ในฝ่ายทหารนั้น ก็คงจะ เป็นด้วยช่างเกิดขึ้นในหมู่ทหารเหมือนทหารอินเยอเนีย แต่ภายหลังมาเมื่อทำการต่างมากขึ้นจนถึงเป็นการละเอียด เช่น เขียน ปั้น แกะสลัก ก็เลยติดอยู่ในฝ่ายทหารแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดในราชการทหาร ไม่ได้ขึ้นกรมพระกลาโหม มีแต่กองต่างหาก แม่กองนั้นมักจะเป็นเจ้านายโดยมาก เมื่อเกิดช่างอื่นๆ ขึ้นอีกก็คงอยู่ในกรมเดิม ฝ่ายพลเรือนบ้าง ทหารบ้าง ไม่เฉพาะว่ากรมช่างจะต้องเป็นทหาร”
อนึ่ง การช่างต่างๆ ในกรมช่างสิบหมู่นี้มีช่างทำการร่วมอยู่ด้วยกันหลายประเภทนับเป็นกรมช่าง ใหญ่ และเป็นส่วนราชการแต่โบราณที่ได้จัดการรวบรวมคนที่เป็นช่างประเภทต่างๆ มาประจำทำราชการทางการช่าง สนองราชกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นช่างที่ชำนาญการเฉพาะประเภทมีอยู่จำนวนมากกว่าในกรมอื่นๆ
“ช่างหลวง” คือผู้ที่มีฝีมือและความสามารถทำการช่างต่างเป็นราชการของในหลวงแต่สมัย โบราณ ยังมีอยู่ อีกหลายหมู่ หลายพวกซึ่งจะได้นำมาอธิบายเป็นพวกๆ ต่อไปนี้
เมื่อ สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีแห่งสยามราชอาณาจักรนั้น มีรายการแสดง “ช่างหลวง” ประเภทต่างๆ ปรากฏอยู่ในทำเนียบตำแหน่งนาพลเรือนแต่สมัยนั้น โดยสรุปคือ
กองช่างเลื่อย เป็นช่างทำการเลื่อยไม้ต่างๆ ทำเสา ทำกระดาน เป็นต้น
กองช่างก่อ เป็นช่างทำการก่ออิฐ ก่อศิลาแลง ถือปูนหรือฉาบปูน ก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ
กรมช่างดอกไม้เพลิง เป็นช่างทำดอกไม้เพลิงต่างๆ สำหรับใช้ในราชการของหลวง
กรมช่างเงิน เป็นช่างทำเงินตรา คือเงินที่รัฐกำหนดขึ้นไว้เป็นวัตถุที่มีตราของทางราชการใช้ชำระหนี้ได้ ตามกฎหมายหรือใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
กรมช่างปืน เป็นช่างทำอาวุธสำหรับราชการในกองทัพ
กรมช่างสนะ คำว่า “สนะ” แปลว่า “เย็บ ปัก หรือ ชุน” ช่างสนะเป็นช่างตัดเสื้อผ้า หรือช่างตัดเย็บฉลอง พระองค์สำหรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“ช่างเชลย” เป็นคนเชลยที่ทางราชการกวาดต้อนมาได้จากการทำสงครามชนะ เชลยคนใดที่มีฝีมือ และ ความสามารถเป็นช่างอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้รับการคัดเลือกแยกออกมาจากหมู่เชลย นำมาเข้าประจำทำราชการ ทางการช่างตามความรู้ความสามารถและฝีมือที่คนผู้นั้นถนัด ช่างเชลยนี้ ทางราชการมักจัดให้อยู่เป็นหมู่เป็นพวก ตามย่านที่กำหนดให้อยู่อาศัย ไม่ควบคุมเข้มงวดดังเชลยทั่วไป เหตุด้วยมีคุณสมบัติเป็นช่าง ซึ่งทางราชการต้องการ ใช้งาน ช่างเชลยต้องทำงานให้แก่หลวง แต่ทางราชการก็ให้โอกาสประกอบอาชีพด้วยการรับจ้างทำการช่างเลี้ยง ตัวได้ด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกและไม่เป็นที่ผู้คนจะ อาศัยอยู่เป็นปกติได้ ภายหลัง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงลงมา สถาปนาเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี สร้างพระราชวังขึ้นเป็นที่ประทับบริหารราชการปกครองบ้านเมืองสืบมาสมัย หนึ่งนานเกิน ๑๐ ปี ในช่วงเวลานี้ ทางราชการจัดให้มีกรมช่างต่างๆ ตามขนบนิยม กล่าวเฉพาะช่างหลวงที่นอกไป จากกรมช่างต่างๆ เช่น กรมช่างมหาดเล็ก กรมช่างทหารใน และกรมช่างสิบหมู่ แล้วยังมีช่างอื่นๆ ที่ควรอ้างขึ้นไว้ให้ทราบในที่นี้ ดังนี้
ช่างดอกไม้เพลิง ช่างจำพวกนี้ปรากฏเป็นเนื้อความอยู่ในหมายรับสั่งเรื่อง พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระ บรมศพสมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์ พระราชชนนี ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๘ ความว่า
“แล ดอกไม้เพลิง ระทาใหญ่ ๑๖ ระทา นอกระทา ๕ สิ่งนั้น ดินมาศ ของหลวง ช่างทำดอกไม้ทำดอกไม้น้อย คิดเอาเงินของหลวง ช่างไทย ๖ ชั่ง ช่างจีน ๒ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท รวม ๘ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท”
อนึ่ง ช่างดอกไม้เพลิงนี้ ยังมีความในหมายรับสั่งเรื่องงานพระศพกรมขุนอนิทรพิทักษ์ ระบุให้ทราบเรื่องช่าง จำพวกนี้เพิ่มเติมขึ้นอีกพอสมควร ดังความต่อไปนี้
“เครื่องเล่น ๗ วัน ๗ คืนเป็นเงิน กลางวัน ๙ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท กลางคืน ๒ ชั่ง ๒ ตำลึง รวม ๑๑ ชั่ง ๔ ตำลึง ๒ บาท
ให้ ช่างดอกไม้เพลิง นาย ๔ คน คนละ ๓ ตำลึง เงิน ๑๒ บาท ช่างดี ๑๓ คน คนละ ๑ ตำลึง เงิน ๑๓ ตำลึง ช่างกลาง ๑๑ คน คนละ ๓ บาท เงิน ๘ ตำลึง ๑ บาท ช่างเลว ๒๗ คน คนละ ๒ บาท เงิน ๑๓ ตำลึง ๒ บาท ๕๕ คน เงิน ๓ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท”
ช่างทองพระคลังมหาสมบัติ ช่างจำพวกนี้คือช่างทองรูปพรรณ ได้ทำการประเภทเครื่องราชูปโภค ราชภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งของมีค่าทางวัตถุและคุณค่าทางรูปแบบซึ่งประกอบขึ้นด้วยฝีมืออัน วิจิตร ประณีต
ช่างกลึง เป็นช่างอีกจำพวกหนึ่ง จัดเป็นช่างรวมอยู่ในกรมช่างสิบหมู่
ช่างสลักกระดาษ ช่างจำพวกนี้จัดเป็นช่างประเภทหนึ่งในกรมช่างสิบหมู่ ทำการช่างด้านสลัก ปรุกระดาษ ชนิดต่างๆ ทำเป็นลวดลายหรือรูปภาพสำหรับประดับ ปิด บุ เพื่อการตกแต่งสิ่งต่างๆ
ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์บ้านเมือง เป็นปึกแผ่นแน่นหนา ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับมาจนกระทั่งถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “ช่างหลวง” เกิดมีเพิ่มขึ้นตามความต้องการของทางราชการ บรรดา ช่างหลวงซึ่งทางราชการระบุขึ้นไว้ในพระราชบัญญัติเรื่องการไถ่ตัวไพร่หลวง เป็นทาส เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งให้ ทราบว่า ช่างหลวง เมื่อรัชกาลที่ ๔ นั้น มีช่างต่างๆ ลำดับดังต่อไปนี้
“หมู่ไพร่หลวงซึ่งเป็นช่างคฤหัส ช่างทหารใน ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างรัก ช่างปูน ช่างแกะ ช่างกลึง ช่างหุ่น ช่างหุงกระจก ช่างบุ ช่างหล่อ ช่างแผ่ดีบุก ช่างเหล็ก ช่างเรือ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างสลักหนัง ช่างชาดสีสุก ช่างฉลองพระบาท ช่างเลื่อยงา ช่างฟอก ช่างทำยอนพระกรรณ์ ช่างบาตร ช่างประดับกระจก ช่างปิดกระจก ช่างดัดต้นไม้ ช่างเหลารางปืน ช่างเงิน ช่างทอง ช่างมุก ช่างย้อมผ้าสีขี้ผึ้ง ช่งต่อฝาบาตร ช่างเขียนน้ำกาว ช่างสาน ช่างคร่ำ ช่างทอสายคัมภีร์ ช่างทำฝักพระแสง ช่างสานพระมาลา ช่างทำกรรไกร ช่างชำระพระแสง ช่างฟันช่อฟ้าหางหงส์”
ช่างหลวง หลายหมู่หลายพวก เป็นข้าราชการประจำอยู่ตามหมู่กองต่างๆ สำหรับการช่างสนองความต้องการ ที่เป็นราชกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ ในราชการของหลวง ที่เป็นมาโดยลำดับแต่โบราณโดยระเบียบอันเป็น โบราณประเพณีของราชสำนัก มาจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขการปก ครองแผ่นดินใหม่ ครั้งนั้นโปรดให้จัดระเบียบ “ช่างหลวง” ที่แยกกันอยู่คนละหมวดละกอง หรือต่างกรมกันเป็นต้นว่า “ช่างประดับกระจกขึ้นกรมวัง” หรือ “ช่างสนะขึ้นกับกรมภูษามาลา” มาแต่โบราณนั้นเสียใหม่ ให้เป็นไปตามพระ ราชดำริ ที่ทรงพระราชดำรัสแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินในสมัยนั้นให้ ทราบดังนี้
“อนึ่ง กรมต่างๆ แยกกันอยู่ไม่มีใครบังคับบัญชาใครเป็นลำดับ แลไม่มีการสโมสรพร้อมเพียงกัน เมื่อมีราชการอันใดขึ้นก็ซัดทอดกันโยเยไป กว่าจะเดินได้ตลอดทุกกรม บรรดาที่เกี่ยวข้องเป็นการเนิ่นนานช้าเสีย เวลา เมื่อจะพรรณนาถึงโทษที่เป็นอยู่เช่นนี้ก็ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ จึงต้องขอรวมความลงว่าในการซึ่งจะให้ราชการทั้ง ปวงเรียบร้อยเป็นแบบอย่างคล่อง สะดวกได้ตามสมควรที่จะปกครองบ้านเมืองในเวลานี้ จำจะต้องแบ่งราชการให้มี ผู้เป็นหน้าที่รับผิดชอบเป็นส่วนไปพอแก่กำลังที่จะรักษาการได้นั้นอย่าง หนึ่งจะต้องเลิกการที่กรมทั้งปวงแสวงหาผล ประโยชน์ได้โดยลำพังตัว ไปมีกำหนดเงินกำหนดการให้ กลับเป็นเงินจ่ายให้ตามสมควรแก่การที่ได้ทำนั้นอย่าง หนึ่ง การจึงจะเป็นไปสะดวกได้ตลอด”
ภายหลังการแก้ไขการปกครองแผ่นดินใหม่นี้แล้ว บรรดาช่างหลวงนานาประเภทได้ถูกจัดเข้าสังกัดและขึ้น กับ “กรมวัง” เป็นต้นมา

ช่างหลวง..

บทความ
.." การ สร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า..."

บทความ
..."สมเด็จวังหลัง กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะ พิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทา...รงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามา บดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิด...พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น..."
....วัน ที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายบรรพชิต มีกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ (กรมพระปวเรศน์วริยาลงกรณ์ในกาลต่อมา) ฝ่ายฆราวาสมีกรมพระเทเวศร์วัชรินทร์เป็นประธน และขุนนางระดับสูงมีเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ เป็นประธาน ได้จัดประชุมกันในพระราชวังสวนดุสิต ในพระบรมมหาราชวัง ได้ตกลงยกเจ้าฟ้าจุลาลงกรณ์ กรมขุนพิชิตประชานารถ ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ถวายพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”และจะจัดพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวัน ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ โดยยกเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการไปจนกว่าพระมหากษัตริย์จะ มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา
ขณะเดียวกันก็เลือกผู้ที่จะเป็นเจ้ากรมวัง หน้า ที่ประชุมตกลงยกพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๔) ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ตั้งแต่วันนั้น
..... ใน งานนี้ เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี เจ้ากรมท่า ว่าที่การคลังกับการต่างประเทศ ซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ได้ขอพระบรมราชานุญาติสร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ โดยใช้พิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นแม่แบบ เพื่อเป็นศิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติ รัชกาลที่ ๕ เพื่อแจกจ่ายแก่เจ้านายและประชาชน ที่เหลือจะได้บรรจุลงกรุในพระเจดีย์วัดพระแก้วมรกต
การ สร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า
http://www.solo.co.th/images/products/tn_451-6.jpg
สมเด็จวังหลัง กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะ พิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทารงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามา บดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิดพิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น
จึงช่วยกันทำแม่พิมพ์พระขึ้นมากมาย ซึ่งผู้เขียนยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีกี่พิมพ์ เพราะหาได้ไม่ครบ พิมพ์พระเหล่านี้ส่วนมากคล้ายพิมพ์ทรงนิยมของวัดระฆัง เช่นพิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกร่องหูยาน พิมพ์โบราณเช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ เป็นต้น
(pd410) 2009418_40276.jpg
การสร้างพระสมเด็จ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 มีงานออกแบบพิมพ์ ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่มาช่วยอยู่ 2 งานใหญ่ๆ เป็นงานที่ หลวงปู่โต สร้างพระสมเด็จ ที่วัดระฆังฯ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 หรือ ส่วนหนึ่งเป็นพระสมเด็จที่พิมพ์ไว้แล้ว และได้นำออกมาแจกงานศพของท่านเจ้าประคุณฯ ในปี พ.ศ. 2415 และ อีกงานหนึ่ง สมเด็จกรุวังหน้า ก็เป็นงานที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย กับ หลวงสิทธิประสงค์ ผู้ควบคุมช่างสิบหมู่ (ช่างหลวง) ประดิษฐ์แม่พิมพ์เพื่อสร้างพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นชุดหนึ่ง
การสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า จึงช่วยกันทำแม่พิมพ์พระขึ้นมากมาย ซึ่งผู้เขียนยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีกี่พิมพ์ เพราะหาได้ไม่ครบ พิมพ์พระเหล่านี้ส่วนมากคล้ายพิมพ์ทรงนิยมของวัดระฆัง เช่นพิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกร่องหูยาน พิมพ์โบราณเช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ เป็นต้น
พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และคณะ (พิธีหลวง) สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรีร่วมกับ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) หรือเจ้าคุณกรมท่า เนื่องในวรโรกาสเฉลิมครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ปี พ.ศ. 2411
หลวง วิจารณ์เจียรนัย (เฮง)ได้เข้ามาช่วยสมเด็จท่านแกะพิมพ์พระตั้งแต่ปลายยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 และแกะแม่พิมพ์พระถวายต่อมาถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นเวลานานพอสมควร
(115) 2010424_77123.jpg (115) 2010424_77137.jpg (115) 2010424_77250.jpg (115) 2010424_77266.jpg
(115) 2010424_77281.jpg (115) 2010424_77296.jpg (115) 2010429_25762.jpg (115) 2010429_25776.jpg
(pd5) 200948_26916.jpg (pd5) 200948_27053.jpg (pd7) 200949_76628.jpg (pd7) 200949_76742.jpg
(20m) 201026_34931.jpg (pd11) 2009414_39946.jpg (20m) 201026_34904.jpg (20m) 201026_36332.jpg
ในการแกะพิมพ์ในตอนแรกคือปลายสมัยยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยความใหม่ต่อการทำแม่พิมพ์งานที่ออกมาจึงดูไม่เรียบร้อย พิมพ์พระจะไม่มีรอยกรอบแม่พิมพ์ เวลาถอดพระออกจากแม่พิมพ์เอามาตัดแต่งจะใช้ตอกตัด(ตอกคือไม้รวก - ไม้ไผ่เหลาให้บางเป็นคมมีด) คนตัดแต่งที่เผลอไม่ระวังหรือตัดไม่ชำนาญจะตัดแฉลบเข้าหาซุ้มพระทำให้แหว่ง ดูไม่สวยและเสียหายมาก และพุทธศิลป์ขององค์พระยังไม่งามนัก บางพิมพ์เอวลอย เอวขาด เอวหนา ดูอ้วนไปบ้าง แขนหรือพระหัตถ์ไม่เท่ากันไม่สมดุลย์โย้เอียงไป ซอกรักแร้สองข้างไม่สมดุลย์ข้างซ้ายลึกกว่าข้างขวา หัวไหล่ไม่เสมอข้างขวามนข้างซ้ายตัดเอียงลงดูไม่สวย หูหรือพระกรรณ์ในแม่พิมพ์มี แต่พอพิมพ์ออกมาแค่ติดรางๆ ฐานสิงห์ชั้นกลาง ฐานไม่คมขาฐานจะติดชัดข้างติดไม่ชัดข้างดูไม่สวยงาม ซึ่งเป็นยุคกลางของคุณหลวงที่แกะพิมพ์พระ
[scraper.jpg]
การ แกะพิมพ์พระชุดใหม่ของท่าน จะเพิ่มการตัดขอบพระโดยเพิ่มเส้นกรอบให้รู้ตำแหน่งการตัด เพราะพระพิมพ์ใหญ่ของท่านซุ้มครอบแก้วด้านบนจะเล็กกว่าด้านล่างจึงต้องทำ เส้นกรอบด้านซ้ายให้ลงมาตรงขอบซุ้มตรงบริเวณแนวกลางแขนซ้ายพระ ส่วนขอบพระด้านขวาเส้นกรอบจะลงมาชนเส้นซุ้มแถวฐานชั้นล่าง กรอบบนจะทำเส้นกรอบให้ชัดขึ้นมองเห็นเป็นเส้นชัดเจนให้ตัดได้ พิมพ์ที่แก้ไขแล้ว มีเวลาช่างตัดขอบพระมักจะตัดออกมา เป็นแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างซ้ายพระจะตัดตรงลงมานอกกรอบ เลยกลายเป็นเส้นกรอบสองเส้นไป ด้านขวาพระก็เช่นกันจะมีเส้นกรอบสองเส้นในบางองค์ บางองค์ก็ตัดตามเส้นกรอบก็จะมีเส้นเดียว พระที่แก้แม่พิมพ์แล้วจึงมีเส้นกรอบทางด้านซ้ายติดอยู่ นักสะสมพระในปัจจุบันนับถือเป็นตำหนิพิมพ์ที่สำคัญ ถ้าพระองค์ไหนมีเส้นกรอบชัดเจนจะถือว่าถูกพิมพ์มีราคา เลยเรียกเส้นกรอบนี้ว่า เส้นวาสนาหรือเส้นเงินเส้นทอง พระองค์ไหนไม่มีหรือตัดไม่ชัดจะกลายเป็นพระผิดพิมพ์ไป ซื้อขายเป็นพุทธพานิชไม่ได้ ร้ายไปกว่านั้นเซียนบางคนตีเก๊ไปเลยก็มี เออ ! อนิจจา เซียนดูพระตาเปล่า
ในยุคท้ายๆของสมเด็จโตทางวัดจะทำบุญฉลองอายุท่านที่ย่างเข้าปีที่ 85 (พ.ศ.2415) พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นสุดท้ายมี การสร้างพระขึ้นมาใหม่ โดยทางหลวงวิจารย์เจียรนัยอาสาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เป็นพระพิมพ์ใหญ่หลายแม่พิมพ์ ท่านได้แก้ไขข้อบกพร่องหลายๆอย่างทำเป็นแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาโดย อาศัยพุทธศิลป์พระบูชา สมัยเชียงแสน,สุโขทัย เป็นแม่แบบ
(cofee6) 200976_84478.jpg (cofee6) 200976_84580.jpg (cofee4) 2009620_30647.jpg (cofee4) 2009620_30721.jpg พิมพใหญ่ พิมพ์เจดีย์
(cofee4) 2009620_30780.jpg (cofee4) 2009620_30842.jpg (cofee6) 200977_27358.jpg (cofee6) 200977_27440.jpg
พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานแซม
จุดเด่นของแม่พิมพ์ชุดนี้มีดังนี้
1. ไม่มีเส้นตัดกรอบเหมือนแต่ก่อน แต่จะเป็นบล็อคแม่พิมพ์สำเร็จรูปถอดออกมาได้เลย ด้านซ้าย - และขวาขององค์พระจะสมดุลย์เท่ากัน
2. องค์พระจะสง่างามผึ่งผาย อกผายไหล่ผึ่ง แขนทั้งสองข้างทิ้งดิ่งตรงมาหักศอกตรงเข่าเหมือนกันสองข้าง บางพิมพ์จะเอวหนาผายหน่อย ตามศิลปะพระบูชาเชียงแสน,สุโขทัย ผสมผสานกันได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว
3. เส้นซุ้มครอบแก้วจะหนาใหญ่ ทรงระฆังคว่ำ ซ้ายขวาจะสมดุลย์กัน ไม่เหมือนพิมพ์ที่มีเส้นขอบ
4. ฐานสิงห์จะมีฐานคมชัดทั้งสองข้าง
5. เนื้อพระจะแข็งแกร่งหนึก มากกว่าพระรุ่นก่อน พื้นผิวจะมีตังอิ๊วมากวรรณะจึงออกนำตาล
6. ด้านหลังพระจะเรียบหรือย่นๆเหมือนผิวคอนกรีตที่ไม่ขัดมัน
[scraper.jpg]

พระ ในชุดนี้ทำจำนวนจำกัดแค่ 85 องค์ เพื่อฉลองอายุ 85 ปีของท่าน มีบางคนวิจารณ์การทำพระฉลองอายุที่นิยมทำให้เกินอายุเข้าไว้ แต่นี่ท่านอายุครบ 85 ปี ทำไว้ 85 องค์เหมือนทำให้ท่านมรรณภาพตอนอายุ 85 ปี มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเองให้กรรมการทำเพียง 85 องค์เพราะท่านอายุแค่ 85 เท่านั้นเลยต้องทำตามท่านว่า หลังจากท่านมรณธภาพแล้วเณรรูปหนึ่งไปเก็บทำความสะอาดสถานที่ที่ท่านนั่ง ประจำ เณรไปเปิดผ้าออกเห็นเป็นลายมือท่านเขียนวันเวลาที่จะมรณะภาพไว้ที่กระดาน หลังที่ท่านนั่ง เมื่อมาตรวจสอบวันเวลาดูจะตรงกับที่ท่านมรณะภาพจริงๆ นี่ก็เพราะท่านเป็นอริยะสงฆ์สำเร็จอภิญญา 6 ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ระลึกชาติได้
ใน ลำดับต่อไปนี้ จะเป็นตำราเพื่อเป็นจุดสังเกตุ เพื่อดูลักษณะเด่นของพระพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งท่านได้เข้ามาแกะพิมพ์พระสมเด็จในยุคหลัง (รุ่นสุดท้าย)

1. เนื้อพระ จะเป็นหินเปลือกหอยดิบ หรือที่เรียกว่าปูนเปลือกหอยดิบเนื้อพระจะแน่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไม่มีรอยแตกให้เห็น ผิวเนื้อพระจะมีสีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน มีคราบตังอิ๊วเป็นสีน้ำตาลติดอยู่ตามผิวพระ หรือตามรอยแยกหดตัวของพระจะมีตังอิ๊วอุดอยู่ที่เราเรียกว่ารอยหนอนด้นบางคน เรียกว่ารอยปูไต่ ด้านข้างองค์ที่มีมวลสารมากๆจะหดตัวมองเป็นร่องช่องโหว่เข้าไป เนื้อพระจะมีทั้งเนื้อแน่นละเอียด และแบบหลวมหยาบเพราะมีมวลสารมาก

2. พื้นผิวพระ สีจะออกขาวอมเหลืองหรืออมน้ำตาล ผิวจะย่นด้านหน้า เพราะเนื้อจะยุบหดตัวตรงที่มีมวลสารพระหัก มีเศษพระหัก มีพระธาตุ มีอัญมณี จะเป็นรอยยุบโบ๋ลงไปมองเห็นก้อนมวลสารนั้นได้ ถ้ามวลสารนั้นเป็นอินทรีย์สารพวกว่านไม้มงคลที่ผุพังได้ ก็จะเห็นรอยเป็นหลุมไม่มีมวลสารที่เรียกว่าหลุมโลกพระจันทร์รอยรูเข็ม ผิวพระองค์ที่สมบูรณ์จะมีรอยคราบสีขาวฝังอยู่ตามผิวพระที่เรียกว่า คราบแป้งรองพิมพ์ติดฝังอยู่ในพื้นผิวจะไม่หลุดถ้าไม่ไปขัดล้างพื้นผิวจะเป็น 3 มิติลดหลั่นกันจากนอกซุ้ม ในซุ้ม ซอกแขนและรักแร้จะเป็นสามมิติ

ด้านหลังพระพื้นผิวจะเรียบก็มี เป็นรอยขรุขระก็มี เป็นรอยเส้นนูนก็มี หรือที่เรียกว่ารอยกาบหมากหรือรอยกระดาน รอยกาบหมาก หรือรอยกระดานจะมีเพียงบางองค์เท่านั้น คือเกิดจากตอนที่อัดเนื้อพระลงแม่พิมพ์ เขาใช้กาบหมากหรือแผ่นกระดานปิดทับ หลังพระบนแม่พิมพ์แล้วเอาค้อนยางตอก ถ้าองค์ไหนตอกเสมอพอดีก็จะมีรอยเส้นกาบหมากเส้นเสี้ยนไม้กระดานติดอยู่ ถ้าองค์ไหนตัดไม่ลงเนื้อเกินก็จะปาดออก จะมีรอยปาดเป็นเส้นเป็นขยักที่เรียกว่ารอยขั้นบันได ด้านหลังริมขอบพระจะมีรอยแยกปริมีตังอิ๊วมาอุดอยู่ที่เรียกว่ารอยหนอนด้น บางคนเรียกรอยปูไต่ ความจริงแล้วรอยปูไต่จะเป็นหลุมเล็กๆ เป็นแนวเส้นโค้งตามด้านหลังพระ เกิดจากการปาดหลังพระก่อนถอดพิมพ์ เหมือนรอยตีนปูเวลามันเดิน รอยตีนจะเรียงเป็นเส้นโค้ง บางองค์จะมีรอยพรุนเท่ารูเข็มเรียกว่ารอยตีนปูอยู่ถ้าพระองค์นั้นใส่ อินทรีย์สารไปด้วย

ขอบข้างพระ องค์ที่เนื้อแน่นจะมีรอยร่องยุบตัวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้ ส่วนองค์เนื้อหยาบมีมวลสารด้านข้างจะมีรอยยุบตัวเป็นร่อง เป็นหลุมลึก เห็นเม็ดมวลสารชัดเจน บางองค์ที่ลงลักปิดทองหรือลงเทือกชาด พอรักร่อนจะเห็นลักอุดอยู่ในร่องที่แยกออกลักษณะเหมือนหนอนด้น พระสมัยหลวงวิจารณ์ที่ลงลักไว้ผิวจะไม่แตกลายงา ลายสังคโลก

3. ซุ้มและองค์พระ เส้นซุ้มจะหนาใหญ่ส่วนบนแคบกว่าส่วนล่าง เป็นรูประฆังคว่ำ ขอบเส้นซุ้มด้านนอกจะเอียงลาด ด้านในจะตั้งมากกว่า องค์พระพิมพ์ใหญ่จะเหมือนพระสมัยสุโขทัย พิมพ์เจดีย์จะเหมือนพระแก้วมรกต พิมพ์ฐานแซมจะเหมือนพระอู่ทองอกร่องผอมบาง พิมพ์เกศบัวตูมจะเหมือนพระเชียงแสน

4. ตำหนิที่ซ่อนเร้น

พิมพ์ใหญ่ มี เส้นผ้าทิพย์บางๆ ซ่อนอยู่ใต้เข่า มีหูพระลางๆ มีขอบสังฆาฏิรักแร้ขวาบางๆ หัวไหล่ขวามน หัวไหล่ซ้ายตัดเอียง ช่องรักแร้ซ้ายสูงกว่าช่องรักแร้ขวา ใต้รักแร้ขวามีรอยเข็มขีด ฐานชั้นกลางบางคนมีฐานสิงห์ชัดข้างไม่ชัดข้าง ฐานล่างหนา ตรงกลางยุบลงมองดูเป็นขอบฐาน ขอบจะชี้เข้ามุมเส้นซุ้ม

พิมพ์เจดีย์ มี ขอบสังฆาฏิขวาลากลงมาถึงท้องพระ มีหูลางๆ เกศขยักเป็นตุ่ม ขาซ้อนขัดสมาธิเพชรเห็นหัวแม่เท้า แขนท่อนบนใหญ่กว่าท่อนล่างมาก ฐานชั้นที่ 1 หัวแหลมทางด้านขวา มุมฐานล่างด้านขวาจะมีเส้นเล็กๆชี้ไปเข้ามุมซุ้ม ฐานชั้นแรกจะมีฐานแหลมข้างขวา

พิมพ์ฐานแซม นั่งขัดสมาธิเพชร มีรอยสังฆาฏิจากองค์พระถึงเอว หูยานเกือบถึงบ่า มีเส้นแซมฐาน 1 - 2ชั้น มีทั้งอกนูนและอกร่องขอบสังฆาฏิ

พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์แรกเส้นแซมบนมีรอยขาด เป็น 2 ท่อน และไม่มีรอยขาดเรียก "แซมขาด และแซมเต็ม" ....พิมพ์ที่สองมีเนื้อเกินใต้แขนขวา
จากการบันทึก ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์ ) เกี่ยวกับเรื่องมวลสารในการสร้างพระสมเด็จ ดังนี้
“อนุมาน ดูราวๆ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ ปี ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทำด้วยผงบ้าง ลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าวเขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง ชันบ้าง ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง เมื่อเข้าไปมองดูคนตำ คนโขลก มีจาม มีไอขึ้นมา ท่านก็ บอกว่าเอาใส่เข้าลงด้วย เอาใส่เข้าลงด้วย แล้วว่าดีนักจ้ะ ดีนักจ้ะ เสร็จแล้วตำผสมปูนเพ็ชร กลางคืนก็นั่งภาวนาไปกดพิมพ์ไป ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกระวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว ยังอีก ๘ หมื่น ๔ พัน ที่สาม กับที่สี่”
วิเคราะห์ได้ว่า หลวงวิจารณ์เจียรนัย เข้ามาช่วยแนะนำการใช้น้ำมันตั้งอิ้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 โดยประมาณ
(pd9) 2009517_86246.jpg (pd9) 2009517_86309.jpg (pd2) 200945_4958.jpg (pd19) 200951_7139.jpg
(pd2) 200945_5205.jpg (pd2) 200945_5335.jpg (pd12) 2009414_55363.jpg (pd12) 2009414_55448.jpg
(pd12) 2009414_55155.jpg (pd12) 2009414_55282.jpg (pd91) 2009518_7288.jpg (pd91) 2009518_7343.jpg
จากบทบันทึกที่ว่า “ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกระวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว” หลวงปู่โต ได้เลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็น พระเทพกระวี ใน ปี พ.ศ.2397 และ ดำรงตำแหน่ง ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปี พ.ศ. 2407 แต่เหตุการณ์ที่บันทึกข้างต้น เป็นเหตุการณ์ใน ปี พ.ศ. 2410 ซึ่งมีการทำพระพิมพ์สามชั้น จำนวน 84000 องค์ โดยมีการบันทึกได้กล่าวถึงมวลสาร ที่ใช้น้ำมันตั้งอิ้วที่กล่าวว่า “ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทำด้วยผงบ้าง ลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าวเขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง” และ ท่านน่า จะช่วยออกแบบพิมพ์พระสมเด็จในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ประมาณ ปี พ.ศ. 2406 และในช่วงนั้น มีเหตุการณ์ การสร้างพระนั่งโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ในช่วง ปี พ.ศ. 2406-2407 และ สร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. 2410 ใช้เวลาในการสร้างถึง 3 ปี
(watkat) 2009713_32717.jpg (watkat) 2009713_32827.jpg (watkat) 200979_30596.jpg (watkat) 200979_30670.jpg
พิมพ์ 7 ชั้น อกร่อง พิมพ์ 7 ชั้นอกตัน
(watkat) 200979_29807.jpg (watkat) 200979_30020.jpg (watkat) 200979_31796.jpg (watkat) 200979_31887.jpg
7 ชั้น นิยม 6 ชั้นอกตัน
(watkat) 200979_31991.jpg (watkat) 200979_32099.jpg (watkat) 200979_75510.jpg (watkat) 200979_75599.jpg
6 ชั้นอกตลอด 5 ชั้นอกตลอด
(watkat) 2009713_32950.jpg (watkat) 2009713_33176.jpg (watkat) 2009713_33063.jpg (watkat) 2009713_33294.jpg 7 ชั้นนิยมลงรัก ทอง ชาด พิมพ์วัดระฆัง ลงรัก ทอง ชาด
(110m) 2010318_30702.jpg (110m) 2010318_30724.jpg (110m) 2010318_30626.jpg (110m) 2010318_30647.jpg
7 ชั้นนิยม พิมพ์วัดระฆัง
งานชิ้นแรก น่าจะเป็น กรุวัดเกศไชโย และ วัดระฆังฯ นอกจากนี้ได้แจกจ่ายให้แก่ผู้ศรัทธา ในช่วงบิณฑบาต
การสร้างพระสมเด็จ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 มีงานออกแบบพิมพ์ ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่มาช่วยอยู่ 2 งานใหญ่ๆ
งานหนึ่ง.. เป็นงานที่ หลวงปู่โต สร้างพระสมเด็จ ที่วัดระฆังฯ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 หรือ ส่วนหนึ่งเป็นพระสมเด็จที่พิมพ์ไว้แล้ว และได้นำออกมาแจกงานศพของท่านเจ้าประคุณฯ ในปี พ.ศ. 2415
และ อีกงานหนึ่ง... สมเด็จกรุวังหน้า ก็เป็นงานที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย กับ หลวงสิทธิประสงค์ ผู้ควบคุมช่างสิบหมู่ (ช่างหลวง) ประดิษฐ์แม่พิมพ์เพื่อสร้างพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นชุดหนึ่ง
การ สร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า จึงช่วยกันทำแม่พิมพ์พระขึ้นมากมาย ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีกี่พิมพ์ เพราะหาได้ไม่ครบ พิมพ์พระเหล่านี้ส่วนมากคล้ายพิมพ์ทรงนิยมของวัดระฆัง เช่นพิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกร่องหูยาน พิมพ์โบราณเช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ เป็นต้น
พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และคณะ (พิธีหลวง) สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรีร่วมกับ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) หรือเจ้าคุณกรมท่า เนื่องในวรโรกาสเฉลิมครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ปี พ.ศ. 2411
ส่วน การสร้างพระสมเด็จ บางขุนพรหม ที่เสมียนตราด้วง ได้มีการขอแม่พิมพ์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในปี พ.ศ. 2413 ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ออกแบบโดย หลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งถือว่าเป็นงานยุคปลายของหลวงวิจารณ์ เจียรนัย และ มีการออกแบบให้เพิ่มเติมอีกด้วย
จากตามบันทึก ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์ ) ดังนี้
“และพระพิมพ์ที่วัดบางขุนพรหมในนั้น เสมียนตราด้วง ขอเอาพิมพ์ของท่านไปพิมพ์ปูนแลผงของเสมียนตราด้วง ทำตามวุฒิของเสมียนตราด้วงเอง ชาวบ้านบางขุนพรหมปฏิบัติอุปฐาก บางทีขึ้นพระบาท หายเข้าไปในเมืองลับแลไม่กลับ คนลือว่าสมเด็จถึงมรณภาพแล้วก็มี ทางราชการเอาโกศขึ้นไป ท่านก็ออกมาจากเมืองลับแล พนักงานคุมโกศต้องเอาโกศเปล่ากลับมาหลายคราว”
http://www.solo.co.th/images/products/tn_451-6.jpg
สรุป....
ช่างที่ทำให้ปรากฎ...แบบพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง..ที่ปรากฎ..

1.สมเด็จพิมพ์ชาวบ้าน หมาย ถึงพระสมเด็จที่ชาวบ้านที่เป็นช่าง แกะแม่พิมพ์พระถวายให้ท่าน ที่รู้จักกันทั่วไปเช่น นายเทด แห่งบ้านช่างหล่อซึ่งเป็นหลานชายของสมเด็จโตเอง นายจอน นายเจิม นายเจียน บ้านช่างหล่อ ช่างจีนมี เจ็กตง เจ็กไต๋ เจ็กกง ท่านเหล่านี้ได้แกะพิมพ์ไว้ให้ท่านหลายแบบ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางพญา พระรอด พระผงสุพรรณ พระขุนแผน พระเม็ดขนุน พระกลีบบัว พระหลวงพ่อโต พระข้างเม็ด พระพิมพ์เล็บมือ พิมพ์ขอบกระด้ง หน้าโหนกอกครุฑไกเซอร์ กลักไม้ขีด ว่าวจุฬา(คล้ายพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร) นักเลงโต เศียรโล้น ซุ้มระฆัง ปิดตา หูไห และพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักอีกหลายพิมพ์ ซึ่งเป็นฝีมือแกะของช่างชาวบ้านทั้งสิ้น บางพิมพ์ดูตลกเลยเรียกว่าพิมพ์ตลกไปเลยก็มี พิมพ์ไม่สวยไม่ได้สัดส่วนไม่ปราณีตงดงาม ส่วนผสมไม่ค่อยดีจึงร้าวง่าย แตกหักเปราะง่าย จึงไม่นิยมกันจะมีเหลืออยู่บ้างก็น้อยมาก
2.สมเด็จวังหน้า กรม พระราชวังบวรวิชัยชาญทรงให้เจ้าฟ้าอิศราพงศ์และช่างของพระองค์แกะพิมพ์ถวาย สมเด็จโตทำแจกพระประยูรญาติและเจ้านายผู้ใหญ่ ข้าราชบริภารในวังหน้า สมเด็จวังหน้ามีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์เช่น พิมพ์เทวดาทรงเครื่อง พิมพ์ซุ้มระฆัง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์เศียรโล้น พิมพ์อุ้มบาตร พิมพ์ปิดตา พิมพ์ข้างเม็ด พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต บางพิมพ์ฝังอัญมณี มีจารึกไว้ข้างหลังและพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก พิมพ์นี้ค่อนข้างมาก มีการลงลักปิดทอง ปัจจุบันลักทองล่อนออกแล้ว พระพิมพ์ชุดนี้เป็นยุคกลางสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าฯพิมพ์จะสวยกว่าพิมพ์ชาวบ้าน ทำที่วังหน้าโดยเอาผงวิเศษมาทำแล้วให้ท่านปลุกเศกอีกครั้งก่อนแจก
3.สมเด็จวังหลัง กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะพิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทารงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามาบดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิดพิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น
4.สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 มีเรื่องเล่าว่าแต่ก่อนภรรยาของหลวงวิจารณ์เป็นคนที่เคารพนับถือสมเด็จโตมาก จะทำสำรับกับข้าวคาวหวานไปถวายสมเด็จเป็นประจำ บางครั้งดูว่าหลวงวิจารณ์จะมองว่าภรรยางมงายกับสมเด็จโตมากไป มีการพูดกระแนะกระแหนอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาหลวงวิจารณ์ได้เบิกทองท้องพระคลังมาเพื่อจะทำเครื่องทรงประดับถวาย รัชกาลที่ 4 จู่ๆทองที่เบิกมาหายไปจากลิ้นชักที่เก็บ หลวงวิจารณ์ตกใจได้ไต่ถามคนในบ้านก็ไม่มีใครรู้เห็น จึงเป็นทุกข์กังวลกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ภรรยาจึงแนะนำให้ท่านไปหาสมเด็จโต เพื่อจับยามสามตาดู หลวงวิจารณ์ไม่มีทางใดที่ดีกว่านี้จึงให้ภรรยาทำกับข้าวคาวหวานไปถวาย สมเด็จ ก่อนที่จะพูดเรื่องของตน สมเด็จท่านรู้ด้วยญาณว่าหลวงวิจารณ์มาหาท่านด้วยเรื่องอะไร ท่านเลยแซวหลวงวิจรณ์ว่าเดือดร้อนแล้วซิถึงได้มาหา หลวงวิจารณ์ได้บอกท่านเรื่องทองคำท้องพระคลังที่เบิกมาหายไปอย่างไร้ร่อง รอย สมเด็จท่านตอบว่า คนใจไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้ตามืดมัวสมองสับสนหลงๆลืมๆ ไปตั้งสติและทำใจให้ดีก็จะพบทองเอง ทองไม่ได้ไปไหน แต่ความเขลาทำให้มองไม่เห็น หลวงวิจารณ์กลับไปบ้านไปสวดมนต์นั่งสมาธิ แล้วมาค้นหาทองก็พบทองอยู่ในที่เดิม เรื่องแบบนี้โบราณเรียกว่าผีลักซ่อน หลวงวิจารณ์จึงเลื่อมใสศรัทธาสมเด็จโตมาก ไปมาหาสู่เอาอาหารคาวหวานไปถวายท่านพร้อมภรรยาอยู่เป็นนิจ ครั้นท่านได้ไปวัดได้ไปเห็นการทำพระสมเด็จแต่ดูพิมพ์ทรงไม่สวยไม่ถูกตามพุทธ ลักษณะ ด้วยหลวงวิจารณ์เป็นนักสะสมพระบูชาจึงรู้พุทธลักษณะที่งดงามของพระเชียงแสน สุโขทัย ลังกา อู่ทอง ลพบุรี จึงเอาแบบพุทธศิลป์ พุทธลักษณะที่งดงามของพระบูชาดังกล่าวมาแกะเป็นแม่พิมพ์พระสมเด็จถวายแด่ สมเด็จโต จนกลายเป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมมาถึงปัจจุบัน และยังมีน้ำมันตังอิ๊วจากจีนมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระสมเด็จทำให้พระสมเด็จ เนือ้หนึก นุ่ม แกร่ง ไม่ร้าวไม่แปราะไม่แตกหักอีกต่อไป
5. สมเด็จสองคลอง คือ พระสมเด็จวัดระฆังที่สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี นำไปผสมกับพระสมเด็จวัดใหม่อมตะรสบางขุนพรหม เพื่อให้ครบจำนวน 84000 องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ตามหลักนิยมในการพระบรรจุกรุ
6. สมเด็จตกเบ็ด คือพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม ที่ถูกขโมยออกจากกรุก่อนเปิดกรุ เป็นพระที่อยู่ในช่วงบนหรือรอบนอกของกองพระในกรุและอยู่ในกรุได้ไม่นาน จึงมีคราบกรุน้อยและบาง การขโมยพระสมเด็จบางขุนพรหมโดยการตกเบ็ด ขโมยจะใช้ของเหนียวๆ เช่นดินเหนียว ยางไม้ กาวจิ้งจก ผูกเชือกแล้วนำไปผูกกับปลายไม้ หย่อนตกลงไปตามช่องที่เจาะ พระติดของเหนียวที่ติดขึ้นมาเรียกว่าสมเด็จตกเบ็ด
7. สมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า คือสมเด็จบางขุนพรหมกรุวัดใหม่อมตะรสที่มีคนลักลอบตกเบ็ดขโมยขุด ออกมาจากเจดีย์ที่บรรจุกรุพระไว้ก่อนที่จะมีการเปิดกรุเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2500 นั่นคือพระกรุบางขุนพรหมถ้าออกมาก่อนเปิดกรุจริงเรียกว่าพระกรุเก่าทั้ง สิ้น ลักษณะของพระกรุเก่าจะมีคราบกรุน้อย บางองค์แทบจะไม่มีเลย
8. สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ คือพระสมเด็จบางขุนพรหมที่เปิดจากกรุบางขุนพรหม เมื่อพ.ศ. 2500 เรียกกันเป็นบางขุนพรหมกรุใหม่ จะมีคราบกรุมากและหนากว่าพระกรุเก่า สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่และกรุเก่าก็คือสมเด็จบางขุนพรหมจากกรุเดียวกันนั่น เอง
9. สมเด็จสัตตศิริ คือพระสมเด็จที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศิริมงคล โดยสร้างพระให้มีสีตามวันทั้ง เจ็ดวัน คือวันอาทิตย์สีแดง วันจันทร์สีเหือง วันอังคารสีชมพู วันพุธสีเขียว วันพฤหัสสีส้ม วันศุกร์สีฟ้า วันเสาร์สีม่วง เป็นลักษณะพระสีประจำวัน แต่บางองค์จะทำองค์เดียวเจ็ดสีเลยก็มี สมเด็จสัตตศิริสร้างที่วัดพระแก้ว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเจ้าฟ้าอิศราพงศ์แกะพิมพ์ และเอาผงสมเด็จจากวัดระฆังมาผสมในเนื้อสัตตศิริ สร้างแจกพระประยูรญาติ และเจ้านายผู้ใหญ่ คนในวังหน้า ส่วนที่เหลือได้นำไปบรรจุกรุเจดีย์ไว้ที่วัดพระแก้ว มีหลายพิมพ์ทรงตามพระวังหน้า พิมพ์ที่นิยมคือพิมพ์พระแก้วมรกต และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม
10. สมเด็จนางใน เรื่องสมเด็จนางในนี้ทราบว่า เมื่อครั้งสมเด็จโตได้เข้าไปเทศนาในวังสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านได้แจกพระสมเด็จแก่คนในวังเป็นสมเด็จชิ้นฟักขนาดใหญ่ สนมนางในวังได้บอกท่านว่า ท่านทำแต่พระองค์ใหญ่ๆ เหมาะสำหรับผู้ชาย อยากให้ท่านทำพระองค์เล็กๆ ที่เหมาะแก่ผู้หญิงที่จะเอามาห้อยคอบ้าง ท่านจึงไปทำสมเด็จขนาดเล็กที่เหมาะแก่เด็กและผู้หญิง ดังเช่นพิมพ์สมเด็จแหวกม่านชั้นเดียวดูสวยงามมาก และแจกให้แก่สนมนางในไว้ใช้บูชา จึงเรียกพระสมเด็จพิมพ์นี้ว่าสมเด็จนางในนี่เอง คงจะไม่มีมากนักเพราะทำแจกแต่เพาะสนมนางในเท่านั้น
11. สมเด็จยายจันทร์ ยายจันทร์เป็นแม่ค้าขายของอยู่แถวใกล้ๆวัดระฆัง มีฐานะยากจนแต่ใจบุญสุนทาน เอาสำรับกับข้าวมาถวายสมเด็จบ่อยๆ วันหนึ่งสมเด็จท่านถามยายจันทร์ว่าหมู่นี้ค้าขายเป็นอย่างไร ยายจันทร์ตอบว่า แย่มีแต่พอทุนและขาดทุนขายไม่ค่อยดี จึงต้องมาหาท่านบ่อยๆเผื่อจะขายของได้ดีบ้าง สมเด็จโตจึงให้พระพิมพ์ นางพญาเนื้อสมเด็จ แก่ยายจันทร์ไป แล้วบอกมาว่าต่อไปนี้คงขายของได้ดีมีกำไร รำรวยจะได้ไม่ต้องมาหาบ่อยๆ ตั้งแต่ยายจันทร์ได้ของไปก็ค้าขายร่ำรวยจริงๆ พระสมเด็จนางพญาพิมพ์นี้จึงเรียกขนานนามกันต่อมาว่า สมเด็จยายจันทร์ตั้งแต่นั้นมา


 
ราคาปัจจุบัน :     2,899 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    paitoonw (291)

 

Copyright ©G-PRA.COM