(0)
พระปรุหนัง หลวงพ่อเนียมวัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ติดรางวัลที่ 1 แชมป์








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระปรุหนัง หลวงพ่อเนียมวัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ติดรางวัลที่ 1 แชมป์
รายละเอียดติดรางวัลที่ 1 งานสนามม้านางเลิ้ง 1 ก.พ. 58 สภาพเก่า เนื้อสวย มีไข เจาะรูห้อยใช้ แท้ดูง่าย
คาถาหลวงปู่เนียม
นะโม 3 จบ
อิ ติ อะระหัง สุคะโต หลวงพ่อเนียมวัดน้อย
นามะเต อาจะ ริโยเม ภันเต อายัสมา
อาจะริโย เม ภันเต โหติ (ว่า 3 จบ)

พุทธังปัจจักขามิ ธัมมังปัจจักขามิ สังฆังปัจจักขามิ นะโมพุทธายะ
หลวงพ่อเนียม วัดน้อยบ้านสามหมื่น อ. บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี เป็นชื่อที่ชาวสุพรรณทั้งที่อยู่ในวงการพระเครื่องและไม่ใช่ ต่างรู้จักท่านดี เป็นที่นับถือโดยทั่วไป ลือกระฉ่อนในด้านปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าสืบต่อกันมาอย่างน่าระทึกใจ

หลวงพ่อเนียมมีอายุยืนยาวถึง ๔ รัชกาล เกิดเมื่อ พ.ศ ๒๓๗๒ ในรัชกาลที่ ๓ ของกรุงรัตนโกสินทร์ บิดาเป็นชาวบ้านซ่อง ต. มดแดง อ. ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มารดาเป็นชาวป่าพฤกษ์ ต. ตะค่า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ธรรมเนียมไทยฝ่ายชาย ที่เข้าสู่งานมงคลสมรสแล้วจะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง ดังนั้นบิดาของหลวงพ่อเนียมจึงมาอยู่กับมารดาของท่านที่บ้านป่าพฤกษ์
ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นชาติภูมิของท่าน หลวงพ่อเนียม มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันหลายคน ตัวท่านเป็นบุตรคนที่สอง ส่วนน้อง ๆ มีอีกกี่คนไม่สามารถสืบทราบได้

การศึกษาสมัยนั้นไม่มีโรงเรียน เหมือนปัจจุบัน หลวงพ่อเนียมจึงมีชีวิตคลุกคลีอยู่กับวัด เรียนอักขระขอมและภาษาบาลีจากวัดข้างเคียงที่ให้กำเนิดท่าน เมื่ออายุครบบวชทำการอุปสมบทในบวร พุทธศาสนา วัดใกล้บ้านท่านนั่นแหละ คาดว่าคงเป็นวัดป่าพฤกษ์ หรือไม่ก็วัดตะค่า เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๒-๒๓๙๓

เมื่ออุปสมบทถือเพศบรรพชิตแล้ว ท่านได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ในจังหวัดพระนครหรือธนบุรี สืบทราบไม่แน่ชัด มีบางท่านว่าอยู่วัดพระพิเรนทร์ บางท่านว่าอยู่วัดโพธิ์, วัดระฆัง,วัดทองธรรมชาติธนบุรี ไม่เป็นที่ยุติ สรุปความว่าท่านไปอยู่วัดในจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งอาจจะอยู่วัดในจังหวัดดังได้กล่าวมาแล้วก็ได้ ขณะที่ท่านศึกษาทางด้านธรรมะอยู่นั้นท่านมีความสนใจในทางวิปัสสนาธุระและทางไสยศาสตร์คาถาอาคมด้วย หากท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆัง ท่านอาจจะเป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีก็ได้ เพราะสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) มีอายุถึง พ.ศ.๒๔๑๕ ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อเนียมอุปสมบทในราว พ.ศ. ๒๓๙๒-๒๓๙๓ ถ้าท่านมาอยู่ วัดระฆังแน่ เหลือเกิน ท่านจะต้องเป็นลูกศิษย์สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) อย่างไม่มีปัญหาซึ่งบางทีหลวงพ่อเนียมอาจจะได้ศึกษา วิชาทางไสยศาสตร์และวิปัสสนา ธุระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ก็อาจจะเป็นได้ล่าขานสืบกันมาอีกว่าตลอดระยะเวลาที่หลวงพ่อเนียมมีชีวิตอยู่นั้น ไม่เคยมีใครถ่ายรูปท่านได้ -ขุนดอน เขียนไว้ว่าเมื่อครั้งพระประมาณฯ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน นำฝรั่งช่างรังวัด๒ คนมารังวัดที่ ในเขตเมืองสุพรรณ เพื่อออกโฉนดให้ราษฎร์ เมื่อรังวัดมาถึงท้องที่วัดน้อย ก็ได้ถือโอกาสเข้าขอถ่ายรูปหลวงพ่อเนียม โดยให้ฝรั่งเอากล้องถ่ายรูปของทางราชการช่วยถ่ายให้ ตัวคุณพระประมาณฯ นั้น เคยรู้กิตติศัพท์มาแล้วว่ามีคนเคยมาขอถ่ายรูปหลวงปู่หลายรายแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จสักราย คราวนี้มีกล้องฝรั่งอย่างดีมาด้วย ก็อยากจะลองพิสูจน์สักหน่อย มันก็น่าจะติด

คุณพระฯ ได้นิมนต์หลวงปู่และพระทั้งวัดมานั่งเรียงลำดับแล้วถ่ายรูปหมู่และถ่ายเดี่ยวด้วย แต่จะเป็นกี่รูปไม่ทราบ ครั้นเมื่อนำฟิล์มไปล้างอัดเป็นรูปออกมา ความอัศจรรย์ก็ปรากฏคือ ในทุกภาพที่อัดออกมาไม่มีรูปของหลวงปู่เนียมติดอยู่ด้วยเลย ที่ถ่ายเดี่ยวข้างโอ่งน้ำมนต์ก็ติดแต่ตัวโอ่ง เล่ากันว่าทั้งตัวคุณพระประมาณฯ และฝรั่งทั้งสองคนต่างก็เลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงปู่ยิ่งนัก และได้ปวารณาตัวฝากตัวขอเป็นศิษย์หลวงปู่

อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าแล้วรูปถ่ายที่ลูกศิษย์ลูกหาเอาใส่กรอบบูชาและที่เอาลงหนังสือกันนั้นมาจากไหน จึงขอเรียนว่า รูปของหลวงปู่ที่ได้มามีเพียงรูปเดียว เป็นรูปที่ถ่ายได้หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว คือท่าที่เขาจัดให้ท่านนอนตะแคงบนตั่งเตียง ส่วนรูปท่านั่งนั้นเล่ากันว่า ช่างได้เอารูปหน้าของท่านไปตัดต่อสวมกับส่วนลำตัวของพระภิกษุรูปอื่น โดยมีการตกแต่งส่วนใบหน้าที่ไม่ชัดขึ้นมาโหม่ ทำให้ดูเป็นหน้าค่อนข้างกลมและศีรษะล้านไปหน่อย

การทำพระเครื่องของหลวงปู่
เป็นเนื้อตะกั่วผสมปรอท มีผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่าเนื้อพระของหลวงพ่อเนียมนั้นมีส่วนผสมของเนื้อชินเก่าที่ได้จากพระกรุวัดพระธาตุนำมาผสมแล้วใช้ปรอทหยอดให้เป็นตัวประสานและรักษาเนื้อพระ ปรอทที่ใช้เป็นปรอทที่ต้องดักจับ ซึ่งถ้าไม่สำเร็จวิชาเรียกธาตุก็ไม่สามารถทำได้ การทำพระของหลวงพ่อเนียมจึงไม่ใช่ของง่าย ส่วนผสมพระของท่านล้วนแล้วแต่เป็นของวิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรอท ซึ่งไม่เหมือนปรอทวิทยาศาตร์แบบปัจจุบัน ปรอทเป็นสิ่งมีชีวิตในทางไสยศาสตร์

การทำปรอทให้แข็งในสมัยโน้นไม่ใช่ของง่ายนัก ก็ต้องใช้คาถาอาคม ต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุกหลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกันเพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด การโขลกจะต้องโขลกและกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงจะเข้ากัน พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสร็จแล้วนำเอาไปกวนต่อจนเข้ากันดี จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วนๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืนจึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง ๗ วัน บางครั้งอุณหภูมิ สูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟเทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการ

การเสกพระในสมัยก่อนก็มิใช่ทำเสร็จเสกเลย จะเทวันไหนเวลาไหน ก็ต้องดูกำลังวัน และต้องทำได้เฉพาะฤกษ์ยามที่แข็งพอสมควร หลวงพ่อเนียมท่านทำพระของท่านด้วยความละเอียดละออพิถีพิถันมาก เห็นได้จากเป็นพระสองหน้าส่วนใหญ่ ต้องใช้แม่พิมพ์ประกบกัน เทครั้งละข้าง ดังนั้นพระที่หลวงพ่อท่านทำออกมาแต่ละครั้งจึงมีจำนวนไม่มาก คาดว่าน่าจะประมาณครั้งละ 10-15 องค์ ไม่มากเลย และด้วยจิตอธิษฐานของพระอรหันต์บวกกับความเชี่ยวชาญทางไสยเวทย์และวิปัสสนากรรมฐาน พระของท่านจึงเป็นของวิเศษที่ใครๆก็ใฝ่หามาบูชา ผมเองมีอะไรก็อธิษฐานถึงท่าน ก็ได้รับความเมตตามาอยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่พระเหนียวอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจ แต่ประสบการณ์ที่เด่นชัดมักจะรับฟังกันเฉพาะเรื่องเหนียวเท่านั้นครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน13,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 24 เม.ย. 2559 - 21:23:43 น.
วันปิดประมูล - 26 เม.ย. 2559 - 16:55:13 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลJuicy (3.4K) 


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     13,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Amuletism (1.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM