(0)
# หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง หนาๆ + บัตรรับรอง GPRA







ชื่อพระเครื่อง# หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง หนาๆ + บัตรรับรอง GPRA
รายละเอียดหนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง สั่งทำหนาๆ 4.5กรัม องค์นี้ถ้าฟอรม์เต็มกว่านี้ต้องมีหลักแสนครับ พร้อมบัตรรับรอง GPRA เก็บบูชาสบายใจไม่ต้องลุ้น

ประวัติพระมเหศวร

ในการแตกกรุครั้งใหญ่ของพระเครื่อง กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปีพ.ศ.2456 นั้นได้พบพระเครื่องมากมายหลายชนิด หลายพิมพ์ทรง ซึ่งต่างก็ได้รับความนิยมสูงทั้งสิ้น และที่นักสะสมรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ “พระผงสุพรรณ” อันเป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคีที่มีชื่อเสียงลือลั่น
นอกจากพระผงสุพรรณอันเลื่องชื่อของวงการแล้ว ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ยังมีพระอยู่ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพุทธศิลป์แปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ กล่าวคือ เป็นพระพิมพ์ 2 หน้า โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน สมัยก่อนจึงเรียกว่า “พระสวน” ตามลักษณะเด่นของพิมพ์พระ ต่อมาจึงเรียกขานกันว่า “พระมเหศวร”

พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์แคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน‘พระยอดขุนพล’ และหนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน ของเมืองไทย ซึ่งมีการค้นพบเฉพาะ‘กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ’เท่านั้น
จุดเด่นประการแรกของพระมเหศวรอยู่ที่ “พิมพ์ทรง” ที่ออกจะแปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับในภูมิปัญญาไทยสมัยก่อนที่สามารถรังสรรค์ชิ้นงานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยปัญหาข้อหนึ่งของพระเนื้อชิน คือส่วนพระศอขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้โดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางคือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิงจุดเด่นประการที่สอง คือเรื่อง “ความเข้มขลังด้านพุทธคุณ” เป็นที่เลื่องลือ โดยมีตำนานกล่าวขานกันสืบต่อมาว่า
“ ... หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแถบภาคกลางของไทย เช่น ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ได้เกิดชุมโจรออกปล้นสะดมชาวบ้านอย่างชุกชุม จนเป็นที่หวาดผวาแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วไป ตกเพลาค่ำคืนต้องคอยระมัดระวังอยู่ยามตามไฟอย่างเข้มงวด ยิ่งตามรอยต่อของทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว จะมีชุมโจรที่น่าเกรงขาม อาทิ เสือฝ้าย และเสือมเหศวร เป็นต้น โดยเฉพาะ "เสือมเหศวร" มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ยิงฟันไม่เข้า เล่ากันว่าเพราะเสือมเหศวรมีพระเครื่องชั้นดีอยู่องค์หนึ่งที่อาราธนาอยู่บนคอตลอดเวลา เป็นพระเนื้อชิน ประทับนั่งปางมารวิชัย สองหน้า นั่งเอาพระเศียรสวนทางกัน สมัยนั้นเรียกกันว่า "พระสวน" ... สืบต่อมาจึงเอาชื่อของเสือมเหศวรมาเรียกเป็นชื่อพระพิมพ์ว่า "พระมเหศวร"
พระมเหศวรเป็นพระพิมพ์ประเภทเนื้อชินเงินหรือเนื้อชินแข็ง หรือที่เรียกว่า “เนื้อชินกรอบ” มวลสารจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง เมื่อผ่านกาลเวลา จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเกิดสนิม ซึ่งจะกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง อย่างเช่น ความชื้น ฯลฯ เราเรียกว่า ‘สนิมขุม’นอกจากนี้จะเกิด‘รอยระเบิดแตกปริ’ตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ใช้เป็นหลักการพิจารณาสำคัญประการหนึ่ง...
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน27,150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 20 ส.ค. 2563 - 22:22:44 น.
วันปิดประมูล - 21 ส.ค. 2563 - 22:35:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเบสท์เมืองพิจิตร (617)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 ส.ค. 2563 - 22:23:12 น.



พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์แคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี


ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระมเหศวร เป็นพระพิมพ์ที่แปลกกว่าพระพิมพ์ใดๆ ที่ปรากฏมา จุดเด่นคือ เป็นพระพิมพ์ 2 หน้า มีพระสององค์อยู่ด้านหน้า และด้านหลัง โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในสมัยก่อนว่า “พระสวน” แต่ชื่อนี้จะเรียกกันมานานแค่ไหน และเปลี่ยนมาเรียกชื่อ “พระมเหศวร” เมื่อใดก็ไม่ทราบชัด สาเหตุที่ชื่อ “พระสวน” กลายมาเป็น “พระมเหศวร” นั้นอาจเป็นไปได้ว่าชื่อ มเหศวร หมายถึง พระอิศวร ซึ่งเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่มีฤทธิ์อำนาจกว่าใครทั้งปวงจึงเป็นชื่อที่มีมงคลยิ่งต่อการนำมาเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ เพราะเป็นพระที่ยิ่งใหญ่ในพลังอิทธิปาฏิหาริย์เหมือนดังอำนาจของพระอิศวรนั่นเอง
พุทธลักษณะ พระมเหศวร

พระมเหศวร มีลักษณะพิมพ์ทรงเป็นเหมือนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เว้าตรงกลางทั้งสองด้าน มีองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยอยู่ทั้งสองด้าน แต่ประทับนั่งหันพระเศียรสวนกลับทางกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระเครื่องได้ระบุไว้ว่า พระมเหศวร เป็นพระในศิลปะอู่ทองตอนปลาย กล่าวคือ พระเกศยาวเป็นเปลว มีไรพระศก ชายจีวร หรือเส้นสังฆาฏิยาว ปลายตัดเป็นเส้นตรง ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ฐานหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน พระพักตร์เคร่งขรึมแสดงออกถึงตบะอันแก่กล้าน่าเกรงขาม พระเนตรโปนออกมาทั้งสองข้างกลมมน ด้านซ้ายลาดต่ำกว่าด้านขวา พระหัตถ์ซ้ายค่อนข้างใหญ่ สัณฐานคล้ายกล้ามปู ปรากฏเส้นพระอังสา และสังฆาฏิเป็นเส้นกลมแข็งทื่อชัดเจน

บริเวณสองข้างพระเศียรมีลักษณะเป็นปีกยื่นออกมา ปรากฏเส้นขีดนูนสั้นๆ ด้านข้างองค์พระใกล้กับพระเศียร ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเป็นเส้นอะไร มีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น ด้านซ้ายมี 2 ขีด ด้านขวามี 3 ขีดก็มี ด้านละ 2-3 ขีดก็มี ข้างละเท่าๆ กันก็มี ขีดดังกล่าวเข้าใจว่าเกิดจากลักษณะแม่พิมพ์ หรืออาจเกิดจากการใช้เทคนิคอะไรบางอย่างก็ได้

นอกจากพิมพ์ทรงของพระมเหศวรจะโดดเด่นกว่าใครแล้ว ลักษณะดังกล่าวยังถือเป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ซึ่งมีผลในแง่ของความแข็งแรงในองค์พระ เพราะปกติแล้วพระเครื่องทั่วไปมักมีส่วนที่บอบบางที่สุดคือ ส่วนพระศอ ซึ่งหากถูกกดทับแรงๆ พระศอมักแตกหัก แต่พระมเหศวรกลับไม่มีปัญหาดังกล่าว เพราะส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่ง เมื่อนั่งสวนทางกันจึงไปอยู่ในตำแหน่งที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง ทำให้ลบล้างส่วนที่เปราะบางออกไปอย่างสิ้นเชิง

การที่ทำเป็นองค์พระทั้งสองด้าน สันนิษฐานว่าแม่พิมพ์ของพระมเหศวร จะมีลักษณะแบบเบ้าประกบ มีเดือยอยู่กลางองค์ระหว่างองค์พระ เพราะในพระบางองค์ยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่


เนื้อพระมเหศวร

เป็นพระประเภทเนื้อชิน มีทั้งชินเงิน และชินตะกั่ว ถ้าเป็นเนื้อชินเงินซึ่งแก่ดีบุก และปรอท เนื้อจะแข็ง และออกเป็นสีเงินยวง ในองค์ที่สมบูรณ์ผิวพระจะมีคราบปรอท และคราบไขสีน้ำตาลแทรกแซมกันอยู่ ทำให้ดูเหมือนผิวปรอทสีทองงามจับตายิ่งนัก แต่ถ้าผ่านการใช้สัมผัสก็จะเกิดสนิมสีดำ บางองค์เกิดสนิมขุม และรอยปริแตก ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่ผ่านกาลเวลามานาน


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 ส.ค. 2563 - 22:23:32 น.



หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง สั่งทำหนาๆ 4.5กรัม
ทองแพงขึ้นทุกวัน เลี่ยมทองพร้อมบัตรรับรอง เลี่ยมทองแต่งตัวเรียบร้อยพร้อมใช้อาราธนาติดตัวเอาไว้พึ่งพาพุทธคุณสุดยอดครับ เลี่ยมทองสวยๆแบบนี้หายาก ราคานี้บอกได้คำเดียวว่าสุดคุ้ม... แขวนเดี่ยวไม่ต้องอายใคร ครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 20 ส.ค. 2563 - 22:23:52 น.



เบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง สั่งทำหนาๆ 4.5กรัม องค์นี้แก่เนื้อชินเงิน เปลือกผิวส่วนอีกด้านข้างหลังชำรุดเปลือกผิวอุดเอาไว้นิดนึง พระไม่มีหักเดิมหนาๆ ตามรูป ถ้าฟอรม์เต็มกว่านี้ต้องมีหลักแสนครับ ปิดไม่แพงพิจารณาให้ชอบเชิญครับจะได้ไม่เสียเวลาทั้ง 2ฝ่าย พร้อมบัตรรับรอง GPRA เก็บบูชาสบายใจไม่ต้องลุ้น

...เลี่ยมทองหนาๆสวยๆแต่งตัวเรียบร้อยพร้อมใช้อาราธนาติดตัวเอาไว้พึ่งพาพุทธคุณสุดยอดครับ ราคานี้บอกได้คำเดียวว่าสุดคุ้ม... แขวนเดี่ยวไม่ต้องอายใคร ครับ..


 
ราคาปัจจุบัน :     27,150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Spacebar (111)

 

Copyright ©G-PRA.COM