มัยหกะ
รับประกันพระแท้ตามมาตรฐานสากลตลอดชีพ
โทรศัพท์ : 081- 147 9438 อีเมล : ananus2010@hotmail.com
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : ananus

  พระกริ่งปวเรศต้นแบบ (ยุคแรก)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   พระกริ่ง
พระชัยวัฒน์
ชื่อพระ   พระกริ่งปวเรศต้นแบบ (ยุคแรก)
ราคาโชว์พระ บาท.
สถานะ  
ชมรม   มัยหกะ
วันที่แก้ไข   21 ส.ค. 2558 09:27:01
รายละเอียด
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์กริ่งใหญ่ พ.ศ.2411 เป็นพระกริ่งปวเรศยุคแรก หรือพระกริ่งต้นแบบ สร้างพิมพ์พระกริ่งใหญ่โดยช่างหลวง หรือช่างสิบหมู่เพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติของพระองค์ท่านขณะทรงพระเยาว์ ปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรํสี) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ที่วัดพระแก้ว พ.ศ.2411 องค์นี้ใต้ฐานตอกหมายเลข "๙๔๕" โค๊ดจํานวนการสร้าง เป็นเลขจํานวนการสร้างไว้ ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งจีนใหญ่ มีความสวยงามมาก เจาะก้นเพื่อใส่เม็ดกริ่ง แล้วอุดด้วยหมุดสีเดียวกันกับพระกริ่ง พบทั้งที่มีบัวคู่ด้านหลังและที่ไม่มีบัวคู่ด้านหลัง ลักษณะอื่นๆเหมือนกันทุกอย่างและขนาดที่วัดได้เท่ากัน พระกริ่งองค์นี้มีความสูงขององค์พระจากฐานล่างใต้กลีบบัวควํ่าถึงปลายพระเกศ 4.3 ซม. วัดจากกลีบบัวด้านซ้ายถึงกลีบบัวด้านขวา 2.4 ซม. วัดจากพระเพลาด้านซ้ายถึงพระเพลาด้านขวา 1.9 ซม. เนื้อออกสีเหลืองแก่ทอง ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก วัดบวรนิเวศวิหาร เริ่มสร้างครั้งแรก พ.ศ.2404 ในสมัยร.4 แห่งราชวงศ์จักรี สร้างครั้งที่ 1 พ.ศ.2404 สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯสร้างทดแทนพระกริ่งปวเรศทองคําที่หายไป... สร้าง 3 องค์ สร้างครั้งที่ 2 พ.ศ.2409 สร้างถวายร.4 เมื่อครั้งร.5ทรงผนวชเป็นสามเณร เป็นที่ระลึกถวายรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 สร้าง 9 องค์(ตํานานวัดบวรนิเวศฯหน้า 147) สร้างครั้งที่ 3 พ.ศ.2411 เพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายร.5 พระชนมายุ15พระชันษาในพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ(ครั้งแรก)โดยมีผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) กริ่งรุ่นนี้ไม่มีเส้นพระศก และไม่มีส่วนผสมของเนื้อพระพุทธชินสีห์แบบครั้งที่ 1 และ 2 เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ มี 3 ชนิด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีแดง แก่ อ่อน,เนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ ออกสีขาวหรือขาวจัด,เนื้อสัมฤทธิ์โชค ออกสีเหลือง(พระราชนิพนธ์พงศาวดาร ร.5 หน้า 30-34,หน้า 47,และพระราชพิธีโสกันต์ หน้า 54-55) จํานวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ สร้างครั้งที่ 4 ปีพ.ศ.2416 ร.5 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่2 กริ่งรุ่นนี้ไม่มีการบรรจุกริ่งไว้ สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯทรงออกแบบเป็น 2 แบบ หล่อในคราวเดียวกัน เพื่อถวายในพิธีทรงผนวชและบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ สันนิษฐานว่าเป็นกริ่งในเก๋งจีนอยู่ที่วัดบวรฯ(จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในร.5 พ.ศ.2411-2416 คณะกรรมการเผยแพร่เอกสารประวัติศาสตร์ สํานักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2416 หน้า 121-129) จํานวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ สร้างครั้งที่ 5 ปีพ.ศ.2426 เรียกกริ่งปราบฮ่อ กรมพระยาปวเรศฯไม่ได้ออกแบบ ช่างสิบหมู่และโหรหลวงออกแบบ จํานวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ สร้างครั้งที่ 6 ปีพ.ศ.2434 (บรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ มหามกุฏราชวิทยาลัย หน้า 5 วรรค 2) สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯไม่ได้ออกแบบ ออกแบบโดยช่างสิบหมู่ บรมวงศานุวงศ์ และไวยาวัชกรวัดบวรฯ จึงมีหลายแบบพิมพ์ทรง บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งที่อยู่ในขันนํามนต์และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน (กริ่งรุ่นนี้วัดสุทัศน์ได้สร้างในปี พ.ศ.2443 เรียก"พระกริ่งคู่แฝด" จะต่างกันตรงอุดกริ่ง) จํานวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้...หมายเหตุ! พระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหารนั้น ที่สร้างในยุคสมัยของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ตามประวัติมีการจัดสร้าง 6 ครั้ง ซึ่งเป็นพระกริ่งอีกสายหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคเดียวกันกับยุคพระปิ่นเกล้าฯ โดยสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ สร้างถวาย ร.4, ร.5 คนในยุคนั้นเรียกว่า"พระกริ่งบวรรังสี" ระบุจํานวนการสร้างให้ทราบเพียง 2 ครั้ง รวมแล้วได้ 12 องค์ แต่ก็สร้างเพื่อพิธีสําคัญของพระมหากษัตริย์เท่านั้น มีเพียงครั้งที่ 6 เท่านั้น ที่สร้างฉลองสมณศักดิ์สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ที่อาจสร้างแจกเป็นที่ระลึกให้ข้าราชบริพาร พสกนิกรในสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้ระบุจํานวนการสร้าง และก็มีหลายแบบพิมพ์ทรง ที่สืบกันได้แน่นอน พระกริ่งที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯได้สร้างในยุคแรกๆ ไม่ว่าในปีพ.ศ.2404 หรือพ.ศ.2409 ท่านไม่ได้เรียกว่า"พระกริ่งปวเรศ" แต่คนยุคนั้นนิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า"พระกริ่งบวรรังสี" ตรงนี้เป็นอันยุติ ส่วนพระกริ่งที่สร้างในยุคพระปิ่นเกล้าฯ(ตําแหน่งวังหน้าในยุค ร.4) จวบจนถึงพ.ศ.2415 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ(ตําแหน่งวังหน้าองค์สุดท้ายในสมัย ร.5) จัดเป็นพิมพ์ช่างหลวง ท่านก็เรียกว่า"พระกริ่งปวเรศ" ซึ่งบางองค์สร้างและจารึกคําว่า"ปวเรศ" นั้นก็หมายถึง"เจ้าสายวังหน้า"ทั้งสิ้น ไม่ใช่สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯเป็นผู้สร้าง หลังจากช่วงพ.ศ.2367-2375 ตําแหน่งวังหน้าได้ว่างถึง 18 ปี จนมาถึงช่วงร.4 ตําแหน่งวังหน้าคือพระปิ่นเกล้าฯ (พ.ศ.2394-2408 ตําแหน่งวังหน้าว่าง)...พ.ศ.2411-2415 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตําแหน่งวังหน้าองค์สุดท้ายสมัยร.5 ข้อมูลที่มาคัดมาจากหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจ ชื่อเรื่อง วัยวัฒน์ ของคุณ วัยวัฒน์ เวชชาชีวะ- หนา 192 หน้า พิมพ์ 500 เล่มแจกในงานฯ
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก


 


Copyright ©G-PRA.COM