เจริญสุข
พระทุกองค์รับประกันความแท้ตามหลักมาตรฐานสากล peaklg93@hotmail.com
โทรศัพท์ : 083-3463031 โทรสาร : 086-6490420 อีเมล : peaklg93@hotmail.com
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : มหาเวส

  พระร่วงนั่ง กรุโนนสูง สมาธิเล็ก


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   พระกรุเนื้อชิน
ชื่อพระ   พระร่วงนั่ง กรุโนนสูง สมาธิเล็ก
ราคาพร้อมเช บาท.
สถานะ  
ชมรม   เจริญสุข
วันที่แก้ไข   28 ต.ค. 2562 20:50:48
รายละเอียด
พระร่วงนั่ง กรุโนนสูง พิมพ์สมาธิเล็ก ( มีซ่อมแขน ) เนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.นครราชสีมา สภาพสวย เป็นพระกรุที่ดังที่สุดในโคราช พร้อมบัตรรับรองg-pra...จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเจริญรุ่งเรืองครั้งสมัยขอมเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ ภายในจังหวัดนครราชสีมา มีอนุสรณ์ปูชนียสถานโบราณวัตถุที่สำคัญๆ หลายแห่ง หลายอำเภอ เช่น เมืองเก่าโบราณ เมืองโคราช หรือ เมืองโคราฆะปุระ กับ เมืองเสมา ใน อ.สูงเนิน ปราสาทหินพนมวัน อ.เมือง และ ปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย ซึ่งล้วนแต่น่าศึกษาค้นคว้าความเป็นมาเป็นอย่างยิ่ง จังหวัดนครราชสีมา มีเมืองโบราณอยู่ 2 เมืองคือ "เมืองโคราช" หรือ "โคราฆะปุระ" กับ "เมืองเสมา" ทั้ง 2เมืองนี้ไม่ปรากฏในหลักฐานอันแน่ชัดว่า ชนชาติพื้นเมือง ดั้งเดิมชาติใดเป็นผู้สร้าง เมืองโคราช และ เมืองเสมา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง นครราชสีม าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทาง 31 กิโลเมตร โดยมีประวัติว่า... เมืองโคราฆะปุระ เป็นชื่อเมืองที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย และได้มีการนำชื่อเมืองนี้มาตั้งชื่อ เมืองโคราฆะปุระ ซึ่งอยู่ในท้องที่ของ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดยเฉพาะคำเรียกชื่อ "เมืองโคราช" คงจะเพี้ยนเสียงเรียกมาจากชื่อ "เมืองโคราฆะปุระ" ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ได้สร้างขึ้นก่อนเมืองโคราช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเสมา และอยู่ทางทิศเหนือของฝั่งลำตะคอง ซึ่งเป็นที่ดอน ในเมืองนี้มี ปราสาทหินเมืองแขก ทำนองเป็นเทวสถาน เพื่อสำหรับเป็นที่ประกอบพิธีกรรม มีอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง การก่อสร้างตลอดจนศิลปะลวดลายต่างๆ ที่ประดับตกแต่ง เป็นสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แบบอินเดีย ส่วน เมืองเสมา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองโคราช ระยะทาง 1 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของฝั่งลำตะคอง เป็นที่ลาดต่ำ เมืองเสมา คงจะสร้างขึ้นทีหลังเมืองโคราช ซึ่งก็ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานว่าผู้ใดเป็นคนสร้าง และสร้างขึ้นในสมัยใด เช่นกัน ทุกวันนี้ยังปรากฏ เป็นซากเมืองเก่า กำแพงเมืองเก่า ซึ่งสร้างด้วยศิลาแลง เมืองเสมา มีคูเมืองโบราณล้อมรอบตัวเมืองอยู่ และที่คูเมืองโบราณแห่งนี้ มีผู้ขุด เสมาธรรมจักรศิลา ได้ กับทั้งยังขุด ศิลารูปพรรณต่างๆ ได้อีกมากมาย เมืองโคราฆะปุระ กับ เมืองเสมา ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น คงจะเจริญรุ่งเรืองมาก และกาลเวลาของยุคสมัยได้เปลี่ยนไป นับเป็นเวลาช้านาน สังคมเมืองโคราช หรือ เมืองโคราฆะปุระ และ เมืองเสมา ที่ได้เจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น ต่อมาก็ได้เสื่อมลงๆ จนกลายเป็นเมืองร้าง ดังปรากฏตัวเมืองโบราณเก่าเป็นอนุสรณ์สถานอยู่ในทุกวันนี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แห่งรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2199-2231 ได้ทรงโปรดฯให้เจ้าเมืองใหญ่ๆ ที่สำคัญๆทางฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายเหนือ ฝ่ายตะวันออก ฝ่ายตะวันตก และฝ่ายใต้ สร้างตัวเมืองขึ้น เช่น กำแพงเมือง ป้อมปราการ ค่ายคูประตูหอรบ ตลอดจนได้สร้างอาวุธใหญ่น้อยทั้งหลาย เพื่อเป็นกำลังที่มั่นคงแข็งแรง ยกให้เป็นเมืองสำคัญด่านนอก ป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นก็มีเมืองสำคัญๆ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา เมืองเพชรบูรณ์ เมืองพิษณุโลก เมืองตะนาวศรี และ เมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างตัวเมืองกันขึ้นอย่างแข็งแรง ณ เมืองนครราชสีมา นี้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดฯให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ ก็คือที่ตั้งตัวเมือง นครราชสีมา ในปัจจุบันนี้ โดยก่อสร้างกำแพงเมือง มีป้อมประจำกำแพงและตามมุมกำแพงรวม 15 ป้อม ประตูเมือง 4 ประตู พร้อมกับได้ขุดคูล้อมรอบตัวเมืองไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง เมื่อได้สร้างเสร็จแล้ว ก็ให้เอานามเมืองดั้งเดิมทั้ง 2 เมือง คือ "เมืองโคราช" กับ "เมืองเสมา" มารวมกันเป็นนามเมืองใหม่เรียกว่า "เมืองนครราชสีมา" แต่คนทั่วๆ ไปก็ยังพากันเรียกเมืองนี้ว่า "เมืองโคราช" กันอย่างแพร่หลาย จนติดปากถึงทุกวันนี้ ครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดฯให้ เมืองนครราชสีมา มีฐานะเป็น เมืองพระยามหานคร เทียบเท่ากับ เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งถือว่าเป็นเมืองเอกของทางภาคใต้ อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นิพนธ์เรื่อง "ตำนานเมืองนครราชสีมา" ในหนังสือเรื่อง "เที่ยวตามทางรถไฟ" ไว้ว่า "เมืองนครราชสีมา เมืองขึ้นในทำเนียบครั้ง แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ 5 เมือง คือ เมืองนครจันทึก เมืองไชยภูมิ เมืองพิมาย เมืองบุรีรัมย์ เมืองนางรองต่อมา ได้ตั้งเมืองขึ้น เพิ่มเติมอีก 9 เมืองคือ เมืองบำเหน็จณรงค์ เมืองจตุรัส เมืองกระเษตรสมบูรณ์ เมืองภูเขียว เมืองชนบท เมืองพุไทยสง เมืองประโคนไชย เมืองรัตนบุรี เมืองปักธงไชย เมืองนครราชสีมา จึงมีเมืองขึ้นรวม 14 เมือง ด้วยกัน" เมืองนครราชสีมา ที่ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะ กำแพงเมือง ก่ออิฐ ล้อมรอบตัวเมืองทั้ง 4 ด้าน ขุดล้อมรอบตัวเมือง บนกำแพงเมืองมีใบเสมา มีป้อมตั้งเรียงรายรอบกำแพง มี ประตูเมืองสำคัญ 4 ประตู คือ ประตูพลแสน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ประตูไชยณรงค์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ประตูพลล้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และ ประตูชุมพล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ประตูเมืองนครราชสีมา ทั้ง 4 แห่งนี้ เบื้องบนของประตูจะสร้างเป็นหอยามรักษาการณ์ ลักษณะเป็นรูปแบบ ทรงไทยโบราณ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกา เหมือนกันหมดทุกแห่ง สิ่งก่อสร้างบางอย่างได้ถูกทำลายลงคราวที่ได้เกิดศึกกับ เจ้าอนุวงศ์ แห่งกรุงเวียงจันทน์ ที่ได้เข้ามายึด เมืองนครราชสีมา และส่วนหนึ่งได้ถูกภัยธรรมชาติทำลายเสียหายไปบ้าง เช่น ถูกแดด ลม และ ฝน จึงเหลือแต่เพียง ประตูเดียวก็คือ ประตูชุมพล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก และที่บริเวณหน้าประตูนี้ ต่อมาทาง ราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แล้วนำมาประดิษฐานบนแท่นสูง ตรงหน้าประตูชุมพล เมื่อปีพ.ศ. 2477 กาลต่อมาหอยามรักษาการณ์ ประตูเมือง กำแพงเมืองเกิดชำรุดทรุดโทรมพังลงไปมาก ดังนั้นทางราชการจึงได้ซ่อมแซมสิ่งที่ผุพังขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม แล้วได้มีการสร้างจำลองแบบเพื่อเป็นการ อนุรักษ์ของเก่าเดิมไว้ทั้งหมดคือ "ประตูชุมพล" หอยามรักษาการณ์ทรงไทย กำแพงเมืองโบราณมาสร้างขึ้นใหม่ พร้อมกับได้อัญเชิญ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม) ทั้งหมดมาสร้างและตั้งขึ้น ณ บริเวณที่ปัจจุบัน ตราบเท่าทุกวันนี้ อนึ่ง ประตูชุมพล หอยามรักษาการณ์ กำแพงเมืองโบราณ นครราชสีมาทางราชการกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ.2480 ด้านศิลปะวัตถุของเมืองนครราชสีมา เท่าที่ได้มีการค้นพบส่วนมากจะปรากฏเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี และเทวรูปศิลปะขอม หรือ เขมร พบได้หลายยุค แต่ที่เด่นชัดที่สุดคือ สมัยบายน อันแสดงได้ถึงความรุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในระหว่างปีพุทธศักราช 1724-1761 อันมีหัวเมืองครอบคลุมไปถึง ลพบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี และเมืองสิงห์ (กาญจนบุรี) ส่วนด้านพระเครื่องที่เป็นพระกรุนั้น มีการค้นพบได้น้อยครั้ง และในจำนวนนี้ก็มี พระร่วงนั่ง กรุโนนสูง รวมอยู่ด้วย พระร่วงนั่ง กรุโนนสูง ได้มีการค้นพบกันเมื่อปี พ.ศ.2521 ปีที่ผ่านมา เดิมเรียกกันว่า "พระร่วงนั่ง กรุฟ้าผ่า" เพราะวันที่ค้นพบ ฟ้าได้ผ่าลงมาใกล้ๆ กับบริเวณกรุพระ ในเวลากลางวันขณะแสงแดดแรงกล้า ไม่มีเค้าของฝนตกเลย ซึ่งก็ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาก็ได้มีการค้นพบกันอีกครั้ง แต่พระเครื่องส่วนมาก จะมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เนื่องจากผู้ที่ขุดค้นพบ ขาดประสบการณ์ในการรักษาสภาพพระ ได้นำพระพิมพ์ ที่พบไปล้างน้ำ ก่อนที่พระพิมพ์จะแข็งตัว เมื่อสัมผัสกับอากาศ ขณะนำออกจากภาชนะที่บรรจุมาใหม่ๆ จึงทำให้สภาพผิวขององค์พระขาดความงดงาม ตามธรรมชาติ ของพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงไป และเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2545 ก็ได้มีการค้นพบ พระร่วงนั่ง กรุโนนสูง ขึ้นอีก โดยชาวบ้านปรับพื้นที่ทำไร่ แล้วพบไหบรรจุพระพิมพ์ ในท้องที่อำเภอโนนสูง ซึ่งทั่วบริเวณ เขตอำเภอเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ของเทวสถานสมัยขอมเรืองอำนาจ ซึ่งเดิมคือ นครโคราฆะปุระ อันรุ่งเรืองในอดีตนั่นเอง โดยพระเครื่อง ที่พบได้ถูกบรรจุ อยู่ในไหดินเผาสมัยขอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว สูงประมาณ 10 นิ้ว บรรจุพระเครื่องไว้จำนวน 88 องค์ แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ 1. พิมพ์สมาธิ 44 องค์ 2. พิมพ์ต้อ 17 องค์ (คล้ายพิมพ์พระสังกัจจายน์) และ พิมพ์มารวิชัย 7 องค์ พระเครื่องทั้งหมดเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง ศิลปะขอมยุคบายน สนิมแห้ง และแดงแซมด้วยไขขาว แลดูสวยงามมาก องค์พระมีขนาดเล็กพอที่จะจัดเข้าพระชุดเล็กได้อย่างสวยงาม คือมีขนาดกว้างประมาณ 1.3 ซ.ม. สูงประมาณ 2.0 ซ.ม. เรียกว่าทั้งศิลปะ และวรรณะ คล้ายคลึงกับ "พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย" มากที่สุด เพียงแต่มีขนาดที่เล็กกว่า ประมาณ 3 เท่าตัวเท่านั้น (ข้อมูลจาก นสพ. คมชัดลึก)
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก


 


Copyright ©G-PRA.COM