ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ขออนุญาตสอบพี่ๆถามครับ



(N)


เนื่องจากผ้ายันต์หัวเสาผืนนี้มีสมาชิก1ท่านโหวตพระไม่แท้โดยให้เหตุผลดังนี้ ลายเส้นใหญ่เกินไป เพราะนำไปถ่ายทำบล็อคใหม่
จึงอยากถามพี่ๆว่าผืนนี้เก๊แท้อย่างใรถ้ามีรูปลงให้ดูยิ่งดีครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ พุทธาธรรม (835)  [ส. 27 ส.ค. 2559 - 18:28 น.]



โดยคุณ (ZEN) (3K)  [ส. 23 ก.พ. 2562 - 19:52 น.] #3900916 (1/4)
ในการเล่นหาสะสมพระเครื่อง สิ่งแรกที่ต้องศึกษา คือมาตรฐานการเล่นหา ของพระสายนั้นๆ ว่า ผู้นิยมพระเครื่องในสายนั้น เค้าเล่นกันยังไง ดูตรงไหน ถึงเป็นจุดที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานกลาง ในเบื้องต้นว่าแบบไหนถึง โอเค ถ้าไม่เริ่มศึกษามาตรฐานการเล่นหาของพระสายนั้นๆก่อน ก็จะหาจุดที่ลงตัวไม่ได้ คนนั้นว่าแบบนั้น คนนั้นว่าแบบนี้ แล้วเราๆท่านๆที่เป็นคนซื้อจะว่ายังไง หาข้อสรุปไม่ได้ จะเชื่อใครดี ...นี่คือประเด็นที่ผมกำลังจะหยิบยก มาบอกเล่ากันครับ เพราะเข้าใจว่าหัวอก คนซื้อเป็นเช่นไร นึกถึงสมัยผมหัดเล่นพระแรกๆเช่าพระมา 100 บาท แล้วมีคนบอกดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ไม่ผ่านบ้าง ไปไกลๆบ้าง มันเลยแน่น อก เหมือนตอนฟังเพลงอกหัก สมัยวัยรุ่น .....มาตรฐานสากล คำๆนี้ มีกลไกกรรมวิธีที่พิสูจน์ได้ มีข้อชี้วัดกันได้ ว่าเล่นยังไง แท้ยังไง และไม่แท้ยังไง และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันในกลุ่มสายผู้ที่เล่นหาบูชาพระสายนั้นๆครับ .......ไม่ใช่เล่นเพราะความเชื่อว่า ใครพูดแบบไหน เราก้เชื่อ ๆๆหรือไม่เชื่อ เซียนใหญ่พูดแบบนั้น เซียนเล็กพูดแบบนี้ .......แล้วเราจะเชื่อใครดี .....ผมจึงหยิบยก เรื่อง ความเชื่อในการเล่นหาสะสมวัตถุมงคล...VS กับมาตรฐานสากลนิยมที่ยอมรับเล่นหากัน เอามาเป้นประเด็นให้ผู้เริ่มศึกษา ได้วิเคราะห์เป็นแนวทางว่า เราควรจะ ศึกษาเล่นหาไปทางใดถึงจะถูกทางครับ... ในการดูพระแต่ละองค์นั้น ไม่มีใครผิดและไม่มีใครถูกครับ เพราะจะดูพระยังไงก้ตามแต่วิสัยทัศของแต่ละคนดูกันตามที่ตนเองถนัดและข้อมูลที่ตนเองศึกษามา ............แต่สิ่งที่ผมจะหยิบยกมาอ้างอิงตรงนี้คือ คำว่า ...........*****มาตรฐานสากล*** ....... ในการดูพระนั้น ถ้าว่าตามมาตรฐาน จะมี 3 อย่าง คือ...ดูเนื้อ...ดูพิมพ์ทรง..........และดูธรรมชาติ...............และในกรณีของผ้ายันต์ปี 30 ของหลักเมืองนั้น ...............มาตรฐานที่ผู้เริ่มศึกษาเล่นหาเช่าบูชาต้องศึกษาคือ.....จะใช้อะไรในการดูและชี้วัด เพื่อให้เป้น มาตรฐานที่เป้นสากลยอมรับกัน...................บางท่านอาจใช้พิมพ์จุดตำหนิในการดู.............บางท่านอาจใช้เนื้อหาในการดู........... บางท่านอาจใช้ธรรมชาติประกอบการตัดสินใจ.......อันที่จริงใช้มาประกอยการดูและตัดสินชี้วัดได้บ้างทั้งสามหลักการ .........แต่หลักการในการเล่นผ้ายันต์หัวเสาปี 30 ที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุดคือต้องศึกษาธรรมชาติเอามาประกอบการดูผ้ายันต์ครับ.... ....จุดแรกที่จะอ้างอิงคือธรรมชาติของผ้าที่ผ่านกาลเวลามา 30 กว่าปี + กับการทอของโรงผ้าในยุคนั้นใช้วัสดุอะไรในการนำผ้ามาทำผ้ายันต์ และ เมื่อ30ปีก่อน เทคโนโยยีและฝีมือของช่างที่สกรีนผ้ามีความสามารถแค่ไหนในการผลิต.........นี่คือบางประเด็นที่อยากจะหยิบยก มาบอกเล่าให้เห็นภาพ...ยุคนั้น เมืองนครเป็นเมืองที่ความเจริญยังเข้าถึงไม่มาก ไฟฟ้าก็ยังมีใช้ไม่ทั่วถึง ใช้ขี้ไต้จุดไฟ ใครมีอันจะกินหน่อยก้ ใช้ตะเกียงเจ้าพายุ ผ้าดีๆที่นำมาใช้ทำผ้ายันต์เช่นผ้าแพร ผ้าใหม เลยไม่ต้องพูดถึง ผ้าที่นำมาใช้เลยมีคุณภาพกลางๆ เป็นผ้าที่อยู่ในเกรดเดียวกับผ้ามุ้งครับ ...*******เมื่อเรารู้ต้นตอแล้วว่าผ้าที่นำมาทำเป้นผ้าเกรดคล้ายๆผ้ามุ้ง........ที่เหลือก็ลองพิจจารณาดูเอาตามถนัดครับว่า..ผ้ามุ้งถ้าเอามาใช้ 30ปีผ่านไป จะมีลักษณะเช่นไร.ใช้มาก ใช้น้อย ต้องศึกษาธรรมชาติตรงนี้ประกอบอีกส่วนครับ ..หรือถ้าบางคนมีผ้ามุ้งที่นำมาทำผ้ายันต์แต่ไม่ได้ใช้ เก็บลืมไว้30ปีผ่านไป จะอยู่ในสภาพไหน.............ส่วนต่อมาคือ การสกรีน ประเด้นที่พูดถึงกันครับ........เส้นเล็ก...VS............เส้นใหญ่ ..ในการผลิตของช่างยุคเก่านั้น การสกรีนผ้ายันต์ต้องปาดสีในพิมพ์ ...ก่อนปาดสีก็ต้องผสมสีก่อน......สียุคนั้น อยู่ได้นานมั้ย สีผสมแบบไหนถึงปาดง่าย แบบไหนปาดยาก ผสมแล้วนานแค่ไหนสีจะแข็งตัว หลากหลายขั้นตอน.
............................เส้นเล็กเกิดจากการปาดสีแรกๆ น้ำสีวิ่งดี พล้อคแม่พิมพ์สะอาด สีเดินง่าย ........................ ส่วนเส้นใหญ่ เกิดจาก เมื่อผสมสีนานเข้าเริ่มแข็งตัว ปาดสีมากๆ บล้อคแม่พิมพืเริ่มสกปรก อุดตัน เส้นสายลายสีเลยแตกใหญ่ขึ้นเพราะต้องปาดแรงขึ้น

((อย่าว่าแต่ปาดสีสกรีนแบบเก่าเลยครับ แม้แต่ใช้เครื่องปรินเตอร์ในยุค5G ปัจจุบัน กระดาษบางแผ่นสีตัวหนังสือหรือรูปยังออกมาเพี้ยนได้ถ้าสีอุดตัน))

...ดังนั้น เมื่อเราวิเคราะห็ถึงหลัการสกรีนงานในแบบยุคเก่าของช่างในสมัยนั้นแล้ว.......จะเห็นได้ว่า .เส้นเล็กหรือเส้นใหญ่ เกิดขึ้นได้ครับ ..........เส้นใหญ่ไม่ผิด ..และเส้นเล็กก้ไม่ผิด.......แต่............ในการเล่นหา........สะสมของผู้นิยมพระเครื่องสายนี้.................จะเน้น....เล่นหาพระในแบบที่.....................เล่นง่าย.....................ดูง่าย................เป้นหลัก .............ดังนั้น...........เส้นเล็ก ..จึงมักเป้นที่นิยมมากกว่าเพราะเล่นง่ายดูง่าย..............ซื้อง่ายขายคล่องครับ..............ส่วนเส้นใหญ่ผิดมั้ย...ก้ไม่ผิดครับ แต่จะเป็นพระที่...เล่นยาก ดุยาก..ขายยาก...ไม่นิยมซะมากกว่า....................ผมพูดมาทั้งหมดคือในมุมของคำว่า พระองค์นั้นๆเป้นพระแท้นะครับ..................เพราะในปัจจุบันที่มีผู้นิยมเล่นหาสายนี้กันเยอะขึ้น....ของปลอมเยอะตาม............ดังนั้นถ้าเส้นเล็กแต่..เก๊ก้มีครับ.........เส้นใหญ่เกีเข้าไปใหญ่ก็มี...........ผมเลยต้องหยิบยกเรื่อง..................มาตรฐานสากลนิยมของพระสายนี้ มาพูดว่าต้องเล่นหาสะสมกันอย่างไร...............................หากเราเข้าใจ..................ธรรมชาติของเนื้อผ้า........และ เข้าใจกรรมวิธีการสกรีน .......ก็จะมองออกอย่างถ่องแท้ครับว่า ธรรมชาติของพระสายนี้ ควรจะดูอย่างไร............เพราะธรรมชาติ ของเค้า.......จะผสมไปด้วยเนื้อหา +...กาลเวลา +...และพิมพ์ทรง ให้ศึกษากันแบบครบถ้วนทุกมิติครับ((ส่วนผ้ายันต์ในรูปผมไม่มีความเห็นครับต้องลองถามท่านอื่นที่เป็นสายตรงดูนะครับจะได้ช่วยดูกันหลายๆตาครับ))

โดยคุณ (ZEN) (3K)  [ส. 23 ก.พ. 2562 - 20:02 น.] #3900917 (2/4)


(N)
ผ้ายันปี 28 ยุคแรก ดูที่เนื้อผ้าครับ จะเห้นเป้นลายมุ้งเอามาเป้นครูได้ครับ

โดยคุณ (ZEN) (3K)  [ส. 23 ก.พ. 2562 - 20:08 น.] #3900918 (3/4)


(N)


อีกมุมมองนึงครับ ผ้ายันปี 28..................เทียบกันสองรูป รูปแรก เส้นใหญ่และแท้...กับผ้ายันเส้นเล็กและแท้.เช่นกัน............. .....ผ้ายันชุดนี้ มาตรฐานจะไม่ใช้พิมพ์ หรือแบ่งเส้น ใหญ่เล็ก เป็นตัวชีวัด มาตรฐานสากลจะใช้ธรรมชาติการดูเนื้อผ้าเป้นหลักครับ............. เลยเอามาเทียบให้เห้นข้อแตกต่างที่ไม่แตกแยกเทียบให้เห็นกันครับ ว่า........ปัญหาในการดุไม่ใช่ว่าเล็กหรือใหญ่ แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้ที่เล่นหาเข้าใจมาตรฐานของธรรมชาติของผ้ายันต์สายนี้แค่ไหนครับ

โดยคุณ (ZEN) (3K)  [ส. 23 ก.พ. 2562 - 20:12 น.] #3900919 (4/4)


(N)


รูปผ้ายันตฺหัวเสาเส้นเล็ก ครับ ผืนสีดำจะเป็นผืนที่ดูยากสุด เพราะต้องดุลายน้ำทอง ว่าแห้งเก่าตามแก่เวลามั้ย น้ำทองแท้มั้ย เนื้อผ้าได้ตามมาตรฐานมั้ย ค่อยๆวิเคราะห์ดุกันไปครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM