ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ฝากรูปครับ



(D)


หนังสือเล็ก (ธรรมดา)

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [อ. 16 ธ.ค. 2551 - 16:55 น.]



โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [จ. 22 ธ.ค. 2551 - 16:58 น.] #460762 (1/10)


(D)


ว.

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [พฤ. 25 ธ.ค. 2551 - 19:13 น.] #464472 (2/10)


(D)


9.9

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [พฤ. 25 ธ.ค. 2551 - 19:14 น.] #464474 (3/10)


(D)


9.9

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [ศ. 26 ธ.ค. 2551 - 14:27 น.] #465092 (4/10)


(D)


9

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [อ. 30 ธ.ค. 2551 - 05:57 น.] #469314 (5/10)
**** กริ่งวชิรมงกุฏ
ในพระราชพิธี “ทรงพระผนวช” เมื่อ ปี พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช เสด็จออกทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตตมหาเถร-นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหารเป็น “สมเด็จพระบรมราชอุปัธยาจารย์” และ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยารามเป็น “สมเด็จพระบรมราชกรรมวาจาจารย์” พร้อม สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตรเป็น “สมเด็จ พระบรมราชอนุศาสนาจารย์”

ต่อมาในภายหลัง สมเด็จพระวชิรญาณ วงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น สุจิตตมหาเถร- นภวงศ์) ได้รับพระราชทานสถาปนาพระสมณศักดิ์และพระฐานันดรศักดิ์เป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์” และ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตติโสภณมหาเถร) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สม เด็จพระสังฆ ราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ส่วน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายีมหา เถร) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”

ที่นำเรื่องราวนี้มาย้อนเสนออีกครั้งก็เพื่อต้องการชี้ให้ “ท่านผู้อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” ได้เห็นว่า พระราชาคณะสำคัญที่ร่วมกันประกอบพระราชพิธีทรงพระผนวชล้วนแต่เป็น “สมเด็จพระสังฆราชฯ” ด้วยกันทั้งสิ้นและต่อมาในปี พ.ศ. 2511 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชาโดยมีเหตุผลในการจัดสร้างดังนี้ “พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ผู้ทรงสถาปนา วัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงมีพระปรมาภิไธยเดิมเมื่อ ครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ” และพระนามฉายาทางพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช (ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์) ว่า “พระวชิรญาโณภิกขุ” อีกทั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชปนัดดาก็มีคำต้นพระนามว่า “วชิรญาณ” อีกด้วยดังนั้นจึงเห็นควรถวายพระนาม “พระพุทธรูป” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ว่า “พระวชิรมงกุฏ” หรือ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” ส่วน “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ถวายพระนามว่า “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” เพื่อเป็นการถวายความเคารพเป็นอนุสรณ์สืบไป

ส่วนโลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้นั้นคณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็น พระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง 100 ปีแล้วประกอบกับ “สมเด็จพระสังฆราช (จวน)” เจ้าอาวาสในขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยารามยังมิเคยจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอารามหรือส่วนพระองค์เลยดังนั้นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้จึงนับเป็นการสร้าง “ครั้งหนึ่งครั้งเดียว” จึงควรแสวงหา “โลหะวัตถุที่ดี ที่สุด” ในขณะนั้นมาเป็นเนื้อหาการจัดสร้างและ โดยที่ทรงเป็น “สกลมหาสังฆปริณายก” พระราชา คณะหรือเจ้าคณะและเจ้าอาวาสรวมทั้งพระคณา จารย์ทั่วราช อาณาจักรกว่า 500 รูป ก็ยินดีถวายโลหะวัตถุที่ได้ปลุกเสกไว้แล้วรวมทั้งถวายแผ่นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ

ซึ่งหลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อนจากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ “พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ฯลฯ” เป็นต้น

โดยพิธีการจัดสร้างเป็นปฐมฤกษ์นั้นจะ มีเพียง “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง” ทางด้าน “พระชัยวัฒน์” เป็นพิธีกรรมการจัดสร้างที่เรียกว่า “พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สอง” โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นองค์ประธานในการเททองหล่อด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นการหล่อสืบเนื่องจากที่เสด็จพระราชดำเนินหล่อ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” โดย “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ที่หล่อเสร็จแล้วล่วงหน้าทางคณะกรรมการได้นำมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สองนี้ อีกด้วย.
ในพิธีเททองครั้งที่ 2 นี้ ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึง 3 วัน 3 คืนคือระหว่าง วันอังคารที่ 9 ถึงวันพฤหัส บดีที่ 11 มกราคม 2511 โดย สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา 15.21 น. ในวันที่ 9 มกราคม 2511 แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา 15.29 น. และมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญ พุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่นาควัดระฆังฯ กท., หลวง พ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท., หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอยสุพรรณบุรี, พระอาจารย์ฟั่นอาจาโรวัดป่าอุดมสมพร, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูมชลบุรี, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่, หลวงพ่อพุธฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา, หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาดอุดรธานี, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ชลบุรี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร, หลวงปู่เทียม วัดกษัตราพระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนวัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้ประกอบด้วย 1. “พระพุทธรูปพระพุทธวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะไทยประยุกต์ผสมผสานกับศิลปะอินเดียมี 2 ขนาดคือ (1.1) ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระศกขมวดประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวหงาย มีชายผ้าทิพย์และฉัตร 3 ชั้นอยู่ด้าน หน้ามีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (ในบันทึกการจัดสร้างมิได้ระบุจำนวนสร้างจึงไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด) (1.2) ขนาดหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว พระศกเป็นมวยมุ่นประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ มีชายผ้าทิพย์และมงกุฎมีพานรองรับฉัตร 7 ชั้นมีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (มิได้ระบุจำนวนสร้างเช่นกัน)

2. “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดีย แต่พระศกจะสลวยแบบศิลปะคันธาระของอินเดียมีทั้ง “ปางมารวิชัย” (คว่ำพระหัตถ์) และ “ปางประธานพร” (หงายพระหัตถ์) มี 3 ขนาดดังนี้ (2.1) “พระกริ่งพิมพ์ใหญ่” ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ ด้านหลังมีตรามงกุฎและฉัตร 5 ชั้น ใต้ฐานมีแผ่นทองปิดปั๊มอักษรว่า “มกุฏฺขตฺติยารามสฺส วสฺสสต” หมายความว่า “ครบ 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม” และมีอักษรขอมอยู่ใต้ฉัตร 3 ชั้น (ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) และมีเลขลำดับประจำองค์พระตอกอยู่ด้านล่าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองวัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี (2.2) “กริ่งพิมพ์เล็ก” มีขนาดหน้าตัก 1.8 เซนติเมตรเป็น ปางประทานพร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เหมือนกับพระกริ่งใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ครบ 70 พรรษา (2.3) “พระกริ่งพิมพ์พิเศษ” ขนาดหน้าตัก 1.4 เซนติเมตร ปางประทานพร รายละเอียดก็เฉกเช่นกันกับพระกริ่งพิมพ์ใหญ่แต่ไม่มีหมายเลขประจำองค์พระสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณเป็นพิเศษ โดยพระกริ่งทั้ง 3 ขนาดนี้มี “พิมพ์ใหญ่” เท่านั้นที่สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” เพียงเนื้อเดียวส่วน “พิมพ์เล็ก” และ “พิมพ์พิเศษ” สร้างไว้ 2 เนื้อคือ “ทองคำ” และ “นวโลหะ” จำนวนเท่าใดมิได้ระบุเช่นกัน

3. “พระชัยวัฒน์” พระชัยวัฒน์มีขนาดหน้าตักกว้าง 1 เซน ติเมตร สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “ทองคำ” เป็นปางประทานพรที่ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นปฐมฤกษ์ในพิธี พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ดังกล่าวมาแล้ว 4. “เหรียญที่ระลึก” จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในพิธีฉลอง วัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี และ พระชนมายุ 70 พรรษา สมเด็จพระสังฆราช (จวน) มีรายละเอียดดังนี้ (4.1) “เหรียญกลม” ด้านหน้าเป็น พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีตรามงกุฎแวดล้อมด้วยฉัตร 5 ชั้นทั้งสองด้านและมีอักษรว่า “สมโภช 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม 2511” และ (4.2) “เหรียญมน” ด้านหน้าเป็น พระรูป สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีฉัตร 3 ชั้นเหนือลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” และ “ฉลองพระชนมายุ 70 พรรษา 2411”

สรุปแล้ววัตถุมงคลชุดฉลอง “100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม” และฉลอง “พระชนมายุครบ 70 พรรษา สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ดังที่กล่าวมาเป็นวัตถุมงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นปฐมฤกษ์เฉกเช่นเดียวกันกับพระกริ่งทั้งหลายของ “วัดบวรนิเวศฯ” ที่ได้รับความนิยมเช่น “พระกริ่ง 7 รอบ” และ “พระกริ่งปวเรศปี 2530” และในฐานะที่ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็น “สมเด็จพระบรมราชกรรมวาจาจารย์” ในพระราชพิธี “ทรงพระผนวช” ในปี พ.ศ. 2499 ดังปรากฏในสร้อยพระนามของ สมเด็จพระสังฆราชที่เฉลิมพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏในพระราชพิธีสถาปนา “สมเด็จพระสังฆราช ลำดับที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ที่ว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฏกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ อุฏฐายีภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตมสาสนโสภณ วิมลศิลขันธสมาจารวัฒน์ พุทธศาสนิกบริษัทคารว สถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุนทร บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราชเสด็จสถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยามรามวรวิหาร พระอารามหลวง จงทรงพระเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ” ซึ่งสร้อยพระนามที่เฉลิมฯ ที่ว่า “ภูมิพลมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์” มีความหมายว่า “สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชกรรมวาจาจารย์ ผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์อันยิ่งใหญ่แด่ สมเด็จพระภูมิพลมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ ในพระราชพิธี “ทรงพระผนวช”

ส่วน “พระชัยวัฒน์” นั้น สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงประกอบพิธีเททองด้วยพระองค์เองดังได้พรรณนามาแล้ว.

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [พ. 14 ม.ค. 2552 - 11:34 น.] #484206 (6/10)
พระกริ่ง เกษม ญสส. (สมเด็จพระสังฆราชฯ และหลวงพ่อเกษม อธิษฐานจิต) ของ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เป็นพระกริ่งเนื้อทองแดง ปางมารวิชัย(ปางชนะมาร) พระหัตถ์ซ้ายทรงน้ำเต้า(บาตรน้ำมนต์) ประทับนั่งบนฐานบัว ฐานมีข้อความ "เกษม เขมโก" ฐานอุดกริ่ง ฝากริ่งเนื้อทองแดงมีพระนามย่อของพระพุทธเจ้า "พุทโธ" ฐานด้านหลังมีพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก "ญสส" สมเด็จพระสังฆราช(องค์ปัจจุบัน) และหลวงพ่อเกษมร่วมอธิษฐานจิต ๒๘ พ.ย. ๒๕๓๓ รุ่นนี้สร้างน้อย และไม่ค่อยพบ ผมมีองค์เดียว ให้บูชาสภาพสวย กล่องเดิมๆ ครับ

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [พ. 14 ม.ค. 2552 - 17:19 น.] #484509 (7/10)
เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ จัดสร้างโดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธสิหิงค์จำลอง 9 เมษายน 2515 พระเครื่องพิมพ์ต่างๆที่สร้างและปลุกเสกในพิธีเดียวกัน นอกจากพระพิมพ์พระร่วงรางปืนแล้ว ยังมีพระกริ่งเชียงแสน ,เหรียญพระพุทธสิหิงค์,เหรียญพระเจ้าเสตังคมณี วัดเชียงมั่น,เหรียญหลวงพ่อทันใจ,เหรียญครูบาศรีวิชัย ,เหรียญเจ้าคุณพระราชสิทธาจารย์,เหรียญเจ้าคุณพระอภัยสารทะ วัดทุงยู

มหาพุทธาภิเศกใหญ่โดยยอดพระคณาจารย์ 108 รูป ดังมีรายชื่อดังต่อไปนี้
-หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
-หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
-อาจารย์นำ แก้วจันทร์
-หลวงพ่อเกษม เขมโก
....ฯลฯ

พระเครื่องและวัตถุมงคลชุดนี้ นับเป็นพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ เหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่นนี้ถือเป็นยอดวัตถุมงคลที่ผู้มีจิตเคารพศรัทธาในครูบาศรีวิชัยควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่โดยยอดคณาจารย์ในสมัยนั้นแล้ว ยังสร้างโดยวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยท่านได้สร้างและยังเป็นศูนย์รวมใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของประชาชนชาวล้านนาอีกด้วย

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [ศ. 16 ม.ค. 2552 - 15:14 น.] #486656 (8/10)
รายละเอียด: พระพุทธชินราช กะไหล่ทอง หน้าตัก 9 นิ้ว
พระพุทธชินราช ตราภปร. ปี 43 กองทัพภาคที่ 3 สร้าง
สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเป็นองค์ประทานประกอบพิธีเททอง เมื่อวันอังคาร ที่ 28 พ.ย. 2543
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจารอักขระลงบนแผ่นทอง นาก เงิน ที่ใช้ในพิธีเททอง หล่อพระพุทธชินราช
และอีก 69 พระคณาจารย์ลงอักขระแผ่นทอง อันมี หลวงพ่อพูล นครปฐม ,หลวงพ่อเอียด อยุธยา ,หลวงพ่อขาว ฉะเชิงเทรา,หลวงพ่อจรัญ สมุทรปราการ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
1.ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา
2. เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
3. สมทบทุนก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ชัยชนะศึก และพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.แม่สาย จ,เชียงราย
4. สมทบทุนสร้างวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จ.พิษณุโลก
5. สมทบทุนสร้างอาคาร พุทธนเรศร์ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จ.พิษณุโลก
6. สมทบทุนก่อสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(พระยาลิไท) จ.

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [ศ. 15 มี.ค. 2556 - 16:54 น.] #2737548 (9/10)


(N)
1

โดยคุณ เบเร่ต์แดง (1.1K)  [ศ. 15 มี.ค. 2556 - 16:54 น.] #2737549 (10/10)


(N)
2

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM