(0)
สวยเดิม พระพุทธชินราช หล่อหนา พิมพ์สังฆาฏิสั้น หน้าพระพุทธ มีโค๊ตตอกลึก พร้อมบัตรรับรอง







ชื่อพระเครื่องสวยเดิม พระพุทธชินราช หล่อหนา พิมพ์สังฆาฏิสั้น หน้าพระพุทธ มีโค๊ตตอกลึก พร้อมบัตรรับรอง
รายละเอียดสวยเดิม พระพุทธชินราช หล่อหนา พิมพ์สังฆาฏิสั้น หน้าพระพุทธ มีโค๊ตตอกลึก พร้อมบัตรรับรอง

ที่หายากเพราะจำนวนการสร้างน้อยเนื่อง จากความยุ่งยากในการหล่อ และหล่อออกมาแล้วไม่สวยงาม มีเสียมากจึงทำให้ ตะไบทิ้งและใช้โค๊ตตอกแทน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เนื้องจากจำนวนพระมีจำนวนมากครับ ประวัติการสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีน พบว่าในปัจจุบันนั้นมีการเช่าหา ค่อนข้างจะมาก และราคาค่อนข้างจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัวผมเองก็มีความสนใจเริ่มจากความชื่นชอบจากรูปองค์พระที่สวยงาม และจากนั้นจึงมีความสนใจอยากทราบที่มาการสร้างจึงได้ทำการค้นหาประวัติการสร้าง และคณาจารย์ ที่ร่วมปลุกเสกเมื่อรวบรวมข้อมูลมาได้จึงนำมาเผยแพร่ให้ท่านๆที่ได้รับรู้กัน ครับ
ประวัติมีอยู่ว่า
ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสบปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ชนิดที่ทำการสร้าง พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดหน้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่ง ไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชา ของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป
- พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม
พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราช มีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท ในสมัยนั้น
พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์ ในสมัยนั้น
ผู้ประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร โดยพระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วย พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคนั้น ดังปรากฏพระรายนาม ดังต่อไปนี้
รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก รูปจำลอง พระพุทธชินราช พ.ศ. 2485
สมเด็จพระสังฆราช แพ (ประธาน) , พระศรีสัจจญาณมุนี (แม่งาน) , พระครูใบฎีกา , พระครูอาคมสุนทร , พระครูพิพัฒนบรรณกิจ , พระครูสรกิจพิศาล , พระครูสุนทรศิลาจารย์ ,พระครูพิบูลย์บรรณวัตร , พระครูสมถกิติคุณ , พระธรรมเจดีย์ , พระสุธรรมธีรุคณ , พระวิเชียรโมลี , พระพิมลธรรม , พระครูอรุณธรรมธาดา , พระครูสังฆพินิจ , พระมหาโพธิวงศาจารย์ , พระปลัดเสง , พระสังฆวรา , พระสมุทห์เชื้อ , พระครูถาวรสมณวงศ์ , พระพิษณุบุราจารย์ , พระครูวิสุทธิศีลาจาร , หลวงพ่อหลิม , พระอุบาลีคุณูปรมาจารย์ , พระวิสุทธิ์สมโพธิ์ , พระมงคลทิพมุนี , พระธรรมรังษี , พระญาณปริยัติ , พระสังกิจคุณ , พระปัญญาพิศาลการ , พระปริญัติบัณฑิต , สมเด็จพระมหาศรีวรวงศ์ , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ , พระธรรมดิลก , พระครูวรเทย์มุนี , พระครูศรีพนัศนิคม , พระครูวิบูลย์คณารักษ์ , พนะครูสิทธิสารคุณ , พระครูกรุณาวิหารี , พระครูพัก , พระครูทองศุข , หลวงพ่ออิ่ม ,พระวิสุทธิรังษี , พระครูอดุลย์สมณกิจ , พระครูนิวิธสมาจารย์ , พระครูยติวัตรวิบูลย์ , หลวงพ่อเหมือน , พระครูธรรมสุนทร , พระครูนนทวุฒาจารย์ , พระครูนนทปรีชา , พระครูโศภณศาสนกิจ , หลวงพ่อแฉ่ง , สมเด็จพระวริญาณวงศ์ , พระสุพจน์มุรี , พระครูไพโรจน์มันตาคม , พระครูมหาชัยบริรักษ์ , พระครูสังวรศิลวัตร , พระครูวัตตโกศล , พระครูสุนทรโฆษิต , หลวงพ่อกบึง , หลวงพ่อไวย ,หลวงพ่อแช่ม , หลวงพ่อจง , หลวงพ่ออั้น , หลวงพ่อนอ , หลวงพ่อแจ่ม , หลวงพ่อเล็ก , หลวงพ่ออ่ำ , หลวงพ่อกรอง , หลวงพ่อจันทร์ , พระครูทิวากรรคุณ , พระราชโมลี , หลวงพ่อเกษีวิกรม , หลวงพ่อจันทร์ , พระครูมหาศิลสุนทร , พระครูศิลธรานุรักษ์ , หลวงพ่อพิธ , หลวงพ่ออ่ำ , หลวงพ่อทอง , พระมหาเมธังกร , พระสุเมธีวรคุณ , พระธรรมทานาจารย์สนธิ์
กำหนดวันและสถานที่ทำการหล่อ
จะประกอบพิธีหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485 ซึ่งเป็นวันระหว่างงานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี นายช่างผู้ทำการหล่อ
กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อและออกแบบโดยตลอด
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน17,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ก.ย. 2556 - 09:17:26 น.
วันปิดประมูล - 05 ก.ย. 2556 - 10:51:14 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลMRDAVE (809)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 ก.ย. 2556 - 09:17:59 น.



โค๊ต ลึกมากครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 03 ก.ย. 2556 - 09:18:33 น.



หน้าตาน่ารักครับ เดิมมากๆๆ


 
ราคาปัจจุบัน :     17,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    seaw2009 (639)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1