(0)
****ทุกวันอาทิตย์ ตั้งปิดที่หนึ่งร้อย**** เหรียญพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่รอด) วัดนางนอง ปี๒๕๑๕ ทองแดงผิวไฟ สวยมาก....






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง****ทุกวันอาทิตย์ ตั้งปิดที่หนึ่งร้อย**** เหรียญพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่รอด) วัดนางนอง ปี๒๕๑๕ ทองแดงผิวไฟ สวยมาก....
รายละเอียดทุกๆวันอาทิตย์เพื่อนๆสมาชิกloginน้อย ค่อนข้างเงียบเหงา ผมเลยจัดพระแท้ๆดูง่ายๆมาให้ร่วมประมูลคลายความเหงากัน โดยตั้งปิดไว้ที่ราคา 100 บาท (รวมค่าจัดส่งแบบลงทะเบียนแล้ว) ทุกๆรายการ หวังว่าคงถูกใจนะครับ...

กระทู้นี้เสนอ....

เหรียญพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่รอด) วัดนางนอง ปี๒๕๑๕
เนื้อทองแดงผิวไฟ สภาพสวยมาก....
รับประกันความแท้และความพอใจ



• อัตโนประวัติ
อัตโนประวัติของ “หลวงปู่รอด” ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าท่านเป็นบุตรของใคร เนื่องจากท่านเป็นพระเถราจารย์ยุคเก่า แต่เท่าที่ปรากฏหลักฐานท่านมีพื้นเพและภูมิลำเนาเดิมอยู่คลองขวาง ต.คุ้งเผาถ่าน อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (ในสมัยนั้น) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น “พระครูธรรมถิดาญาณ” หลวงปู่รอดท่านเป็นฐานานุกรมของ พระนิโรธรังสี พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดหนัง ราชวรวิหาร ในยุคของการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระที่สำคัญรูปหนึ่ง ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นพระผู้เรืองในพุทธาคม สรรพวิทยาคมต่างๆ เมื่ออยู่วัดหนัง ราชวรวิหาร อยู่หมู่กุฏิสงฆ์คณะสระ ครั้นเมื่อ พระนิโรธรังสี ถึงแก่มรณภาพแล้ว ท่านได้รักษาการเจ้าอาวาสอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เจ้าอาวาสวัดนางนอง วรวิหาร และพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในพระราชทินนามที่ “พระภาวนาโกศล”

เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางนอง วรวิหาร ท่านได้เอาใจใส่ดูแลพัฒนาพระอารามแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ โดยมี พระภาวนาโกศล (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร) เป็นกำลังอันสำคัญคอยดูแลเอาใจใส่ในทุกด้าน หลวงปู่เอี่ยมจึงเป็นที่ไว้วางใจและได้รับการถ่ายทอดพุทธาคม สรรพวิทยาคมต่างๆ จากหลวงปู่รอดจนหมดสิ้น ในระหว่างพำนักจำพรรษา ณ วัดนางนอง วรวิหาร แห่งนี้ หลวงปู่เอี่ยมได้รับแต่งตั้งเป็น พระใบฎีกา และ พระปลัด ตามลำดับ ในฐานานุกรมของพระภาวนาโกศล (หลวงปู่รอด) จนกระทั่งมีเหตุต้องย้ายไปอยู่ วัดโคนอน


• ถูกราชภัย ถูกถอดสมณศักดิ์

สำหรับมูลเหตุแห่งการย้ายไปอยู่วัดโคนอนนั้น ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดนางนอง วรวิหาร เล่ากันว่า หลวงปู่รอดไม่ยอมถวายอดิเรก นับเป็นความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงถวายผ้าไตรเสร็จสิ้นแล้ว พระสงฆ์ต้องถวายอดิเรกตามธรรมเนียมพระราชประเพณี แม้หลวงปู่เอี่ยมซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระปลัด ได้เตือนให้ถวายอดิเรกแล้ว แต่ท่านก็ยังนิ่งเฉยเสีย เป็นที่โจษจันกันมากว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วมาก เสด็จออกมานอกพระอุโบสถทันที แล้วทรงตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า “เขาถอดยศเราๆ”

ต่อมาอีกไม่นาน ก็ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ถอดพระภาวนาโกศล (หลวงปู่รอด) ออกจากสมณศักดิ์ ในฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกพัดยศคืน หลวงปู่รอดท่านจึงได้ย้ายกลับไปอยู่วัดบ้านเกิดที่ห่างไกลจากความเจริญ คือ วัดโคนอน ซึ่งอยู่ในคลองขวางฝั่งตะวันตก ภาษีเจริญ และได้มรณภาพที่วัดแห่งนี้

ผู้คนพากันโจษขานว่า เหตุที่หลวงปู่รอดท่านไม่ยอมถวายอดิเรกในคราวนั้น เป็นการเอาอย่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือท่านขรัวโต ที่กล้าเตือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไม่หวั่นเกรงภัยใดๆ และท้ายที่สุดพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ไม่ทรงกริ้ว ทั้งยังทรงตรัสว่า “ยอมให้ท่านขรัวโตผู้เดียว”

แต่เมื่อมีเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ไปสอบถามท่าน ณ วัดโคนอน หลวงปู่รอดท่านตอบว่า สาเหตุที่ท่านไม่ยอมถวายอดิเรกนั้น เป็นเพราะท่านไม่พอใจในการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แบ่งแยกพระสงฆ์ของไทยออกเป็น ๒ นิกาย คือ มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย อันเป็นสาเหตุให้คณะสงฆ์แตกแยกกัน

เมื่อความทราบถึงพระเนตร พระกรรณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า หลวงปู่รอดผู้นี้ยอมสละสมณศักดิ์เพื่อบูชาพระวินัย ท่านเป็นผู้ไม่เห็นแก่ลาภยศทั้งปวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สัตบุรุษ คือ ท่านเจ้ากรมสังฆการี นำพัดยศและสมณศักดิ์มาถวายคืนให้กับหลวงปู่รอด เพื่อให้ดำรงสมณศักดิ์ดังเดิม แต่หลวงปู่รอดท่านไม่ยอมรับ และได้พูดกับสังฆการีว่า

“ใครเป็นผู้ถวายแก่อาตมา แล้วใครเล่าที่ขอคืนไป บุรุษท่านจงเอากลับคืนไปเถิด”

ในขณะนั้นหลวงปู่เอี่ยมท่านบวชได้ ๑๖ พรรษา ในฐานะศิษย์ผู้ใกล้ชิด จึงได้ย้ายจากวัดนางนอง วรวิหาร ติดตามไปคอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ของท่าน ณ วัดโคนอน สำนักใหม่ อย่างไม่ลดละ แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณ และน้ำใจอันประเสริฐต่อผู้เป็นพระอาจารย์ แม้ในยามถูกราชภัย ถูกถอดสมณศักดิ์ลงเป็นขรัวตาธรรมดา ต้องตกทุกข์ได้ยาก อับวาสนา ก็ไม่ยอมตีตัวออกห่าง ยังติดตามไปคอยปรนนิบัติรับใช้อย่างใกล้ชิด นับว่าเป็นคุณธรรมที่ปรากฏเล่าขานสรรเสริญกันมาจนทุกวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลวงปู่รอดจะประสิทธิ์ประสาทสรรพวิทยาการนานาประการให้กับหลวงปู่เอี่ยมจนสิ้นภูมิความรู้ที่มี อย่างไรก็ตาม หลวงปู่เอี่ยมมักจะพูดถึงและย้ำอยู่เสมอว่า “ท่านเก่งสู้อาจารย์ไม่ได้ มีวิชาอีกหลายอย่างที่ท่านศึกษาไม่ถึง” ต่อมาหลวงปู่รอดท่านได้สร้าง วัดอ่างแก้ว ภาษีเจริญ ขึ้นมา ครั้นเมื่อหลวงปู่รอดได้ถึงแก่มรณภาพลง หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ครองวัดเป็นเจ้าอาวาสวัดโคนอนสืบแทนต่อมาในระยะหนึ่ง


พระภาวนาโกศล (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร) วัดหนัง


• พระอาจารย์ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

ปรากฏตามหลักฐานชัดเจนว่า หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร แห่งวัดหนัง ราชวรวิหาร ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ และพุทธาคม สรรพวิทยาคมต่างๆ กับ หลวงปู่รอด ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ในคราวอุปสมบทของท่านเอง หลวงปู่รอดท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้าในด้านพุทธาคม สรรพวิทยาคมต่างๆ มีตบะเดชะที่กล้าแข็ง และสำเร็จวิชชา ๘ ประการ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ล่วงรู้วาระจิต รู้อดีต รู้อนาคต แสดงฤทธิ์ได้ ฯลฯ และจากการศึกษาชีวประวัติของหลวงปู่เอี่ยม จะเห็นได้ว่าท่านเจริญรอยตามพระอาจารย์รูปนี้มาโดยตลอด ท่านถอดแบบอย่างมาจากหลวงปู่รอดแทบจะเป็นพิมพ์เดียวกัน หลวงปู่รอดเก่งอย่างไร หลวงปู่อี่ยมก็เก่งอย่างนั้น เช่นเดียวกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจริญรอยตาม สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) ผู้สร้างพระสมเด็จ “อรหัง” และพระสมเด็จฯ วัดพลับ เช่น ในการที่หลวงปู่เอี่ยมท่านได้สร้างพระปิดตาและพระปิดทวาร ฯลฯ ขึ้น ก็ถอดลักษณะมาจากพระเครื่องทั้ง ๒ ชนิดของหลวงปู่รอด
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน170 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 03 พ.ย. 2556 - 11:01:10 น.
วันปิดประมูล - 04 พ.ย. 2556 - 12:34:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmanliar (52.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     170 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    kingfiter (835)

 

Copyright ©G-PRA.COM