(0)
รัก-ยม ใช้ดีในทางค้าขาย ซื้อง่ายขายคล่อง เมตตามหาเสน่ห์ ...........หลวงพ่อเอิบ ทายาทพุทธคม หลวงพ่อผินะ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องรัก-ยม ใช้ดีในทางค้าขาย ซื้อง่ายขายคล่อง เมตตามหาเสน่ห์ ...........หลวงพ่อเอิบ ทายาทพุทธคม หลวงพ่อผินะ
รายละเอียดใช้ดีในทางค้าขาย ซื้อง่ายขายคล่อง เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ รัก-ยม สามารถจะเข้าดลใจผู้อื่นให้อ่อนลงได้ง่าย รัก-ยมนี้คล้ายของกายสิทธิ์สุดแต่จะปรารถนาเอาเถิด บางทีชักชวนเขาไปเล่นการพนัน ไปหาลาภ ไปในทางผู้หญิงก็มี การที่เราชักชวนไปไหนก็ตามถ้าสำเร็จตามความประสงค์แล้ว ควรให้รางวัลเขาทุกครั้งไป จะได้สมความประสงค์ขอ


ตำนาน รัก-ยม

กาลครั้งหนึ่งในราวป่าหิมพานต์อันเป็นที่บำเพ็ญพรตของเหล่าพระฤาษีทั้งหลายผู้มีอายุนับด้วยกัปป์
อยู่มาวันหนึ่งพหลปีติฤาษีออกจากอาศรมไปเที่ยวเก็บผลไม้เพื่อขบฉัน ผ่านสระน้ำแห่งหนึ่งอันมีปทุมชาติ
ชูช่ออยู่ดารดาษ พหลปีติฤาษีตั้งใจจะตักน้ำใส่เต้าที่ทำด้วยผลน้ำเต้าแห่งป่าหิมพานต์เอาไปไว้บริโภคที่อาศรม
ก็เหลือบไปเห็นกุมารน้อยคู่หนึ่งอยู่ในรัตตะอุบล (บัวสายมีสีอันแดง) จึงได้เก็บกุมารน้อยนั้นนำมาเลี้ยงไว้
ยังอาศรมของตน

ครั้นกาลต่อมาเมื่อกุมารน้อยนั้นเติบใหญ่พหลปีติฤาษีจึงให้ชื่อกุมารน้อยนั้นว่า รัตตะกุมารคนหนึ่ง
และยมกะกุมารหนึ่ง พร้อมกันนั้น พหลปีติฤาษีก็ได้ถ่ายทอดวิทยาคมทั้งปวงให้แก่กุมารทั้งสองนั้น
เป็นอันดีสมชาติชายชาตรีทุกประการ

สำหรับรัตตะกุมารนั้นกล่าวว่าเป็นมานพน้อยมีรูปโฉมงดงาม ส่วนยมกะกุมารนั้นเล่าแม้จะด้อยในทางรูปสมบัติ
แต่ก็มีความเชี่ยวชาญชำนาญในทางกระบวนยุทธ และเวทย์อาคมทั้งปวง เป็นที่ชดเชยกันกับรูปสมบัติแห่งตนนั้น
ไม่ยิ่งหย่อน

อยู่มาเวลาหนึ่งกุมารทั้งสองซึ่งบัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่ฉกรรจ์เข้าไปบังคับพระพหลปีติฤาษีผู้มีอุปการะดุจบิดาบังเกิดเกล้า
ขอลาเข้าไปยังในบ้านในเมืองเพื่อหาโอกาสทำราชการหาความดีความชอบใส่ตนต่อไป พหลปีติฤาษีมีความอาลัยยิ่งนัก
แต่ด้วยความเป็นผู้นำบำเพ็ญพรตสละโลกียวิสัยจึงตัดความอาลัยรักเสียนั้นได้ แล้วสั่งกำชับแก่กุมารทั้งสอง
ผู้บุตรบุญธรรมนั้นว่ามาตร์แม้นได้เข้ารับราชการงานเมืองเป็นทหารแห่งพระราชา ณ แคว้นใดแล้ว อย่าไปถือว่า
ตนเป็นผู้มีวิชาเก่งกล้าทำลายชีวิตมุนษย์และสัตว์โดยไม่จำเป็นเป็นอันขาด จงตั้งใจอยู่ในความไม่ประมาท
อย่าทำอันตรายแก่ผู้ด้อยกว่าตนรัตตะกุมารและยมกะกุมารนพน้อยก็รับคำพหลปีติฤาษี แล้วออกจากอาศรม
ของพระผู้มีคุณนั้นไปด้วยใจรันทดยิ่งนัก

เมื่อมานพน้อยทั้งสองออกจากพหลปีติฤาษีอาศรมไปไม่นานเท่าใดนัก เขาก็ได้เข้าไปเป็นทหารอาสาอยู่กับพระราชา
ผู้ครองแคว้นแห่งหนึ่ง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตประกอบกับความเป็นผู้มีฝีมือแห่งฤาษีบุตรทั้งสอง รัตตะกุมารได้ตำแหน่ง
ทหารเอกแห่งแคว้น ส่วนยมกะกุมารได้ตำแหน่งที่ปรึกษาราชการงานแผ่นดินแห่งแคว้นในเวลาต่อมา

ด้วยรัตตะกุมารนพเป็นผู้ที่มีรูปโฉมสง่างามสมชายชาตรีดังกล่าวแล้ว จึงเป็นที่เสน่ห์หาและหลงใหลแก่ราชธิดา
ของพระราชาแคว้นนั้นแต่ความรักของรัตตะกุมารมานพและเจ้าหญิงมีอุปสรรคความทราบถึงราชบิดาเข้า
ก็ไม่ทรงพอพระทัย เพราะเจ้าหญิงได้ถูกหมายหมั้นปั้นมือจากกษัตริย์ผู้บิดาว่าจะให้อภิเษกสมรสกับ
เจ้าชายผู้ครองแคว้นอีกแคว้นหนึ่ง ซึ่งเป็นราชตระกูลกษัตริย์เท่าเทียมกันเจ้าหญิงจึงต้องถูกพรากตัวออกไป
จากราชวังที่พระองค์เคยประทับอยู่ด้วยความเกษมสำราญมาแต่ทรงพระเยาว์

รัตตะกุมารทราบเรื่องเข้ามีความแค้นเคืองพระราชาแห่งแคว้นเจ้าเหนือหัวของตนเป็นอย่างมากและวางแผนการณ์
ที่จะฆ่าเสีย ความทราบถึงยมกะกุมารมานพเข้า ผู้ปรึกษาราชการแคว้นจึงยับยั้งแผนการณ์ร้ายนั้นได้แล้วกล่าวเตือน
ให้รัตตะกุมารมานพถึงคำสั่งของพหลปีติฤาษีรัตตะกุมารมานพทหารเอกจึงเดินทางเข้าไปพบพหลปีติฤาษี เล่าเรื่อง
และความตั้งใจของตนที่จะฆ่ากษัตริย์ให้ฤาษีฟัง พหลปีติฤาษีกล่าวห้ามและให้โอวาทว่า การทำลายเบียดเบียน
ชีวิตมุนษย์นั้นเป็นบาปมหันต์เวรจักไม่สิ้นสุด ชาตินี้เราฆ่าเขา ต่อชาติหน้าเวรนั้นจักสนองตอบ เขาต้องฆ่าเรา
เป็นการตอบแทนบ้าง เป็นอย่างนั้นไม่มีที่สิ้นสุดแต่ความรักทำให้รัตตะกุมารตามืดตามัวเสียแล้ว ด้วยความคั้งแค้น
และพิษแห่งความคั่งแค้นและพิษแห่งความเสน่หา รัตตะกุมารผู้มีฝีมือลืมถ้อยคำของพหลปีติฤาษีเสียสิ้น
เขาเดินทางกลับเข้านคร ลอบเข้าไปในที่บรรทมของกษัตริย์ ใช้ดาบคู่มือทำร้ายพระราชาถึงสิ้นพระชนม์
เมื่อล้างแค้นแก่ผู้ที่พรากดวงใจเขาให้หลุดลอยไป

แล้วรัตตะกุมารมานพก็กลับไปรับสารภาพผิดกับพหลปีติฤาษี พหลฤาษีเสียใจเป็นอย่างมากที่ศิษย์ของตนละเมิด
โอวาทคำสั่งสอน รัตตะกุมารมานพผู้โสภาจึงสละเพศฆารวาสวิสัย ขอบวชประพฤตพรหมจรรย์บำเพ็ญพรตอยู่จนกว่า
จะสิ้นชีวิตของตน รัตตะฤาษีเป็นผู้บำเพ็ญพรตมีศีลวัตรอันเคร่ง ครั้นเมื่อกาลจะสิ้นอายุขัย พหลปีติฤาษีเห็นใจได้ถามว่า
รัตตะฤาษีปรารถนาพรอันใด ท่านทหารเอกแห่งแคว้นผู้พราดรักจึงตอบไปว่า แม้นไปเกิดในชาติปางใดก็ดี ขอให้มีเสน่ห์
เป็นที่รักของคนทั้งปวง ขออย่าให้มีศัตรูด้วยประการใดๆ เลย พหลปีติฤาษีว่าท่านเป็นผู้ฆ่าผู้เบียดเบียนอยู่จักยัง
ไม่ไปเกิดในมุนษย์โลกได้ทันทีหรอก แต่ด้วยบารมีที่สร้างไว้แต่ปัจจุบันชาติในมัชฌิมวัยคือขณะนี้มีอยู่บ้าง
กรรมจะมีปัจจัยให้เป็นวัตถุสิ่งหนึ่งที่มีชีวิตแต่หามีจิตใจไม่ วัตถุสิ่งนั้นจะมีคุณดั่งคำขอนั้นเถิด กล่าวพรจบ
รัตตะฤาษีก็ถึงกาลกริยาและ ณ ที่ตรงอศุภแห่งรัตตะฤาษีนั้นต่อมาก็ได้บังเกิดพืชชนิดหนึ่งขึ้น มีดอกอันซ้อน
มีสรรพคุณเป็นที่รักที่ชอบแก่คนทั้งปวงดั่งพรแห่งพหลปีติฤาษี คนทั้งหลายเรียกพืชนั้นว่า ต้นรักซ้อน

ส่วนยมกะกุมารมานพ ครั้นภายหลังเมื่อย่างเข้าสู่วัยชราก็สละเพศฆราวาสวิสัย ออกบวชและจำศีลภาวนาอยู่
ณ ตรงอาศรมแห่งรัตตะกุมารผู้สหายกำเนิดนั้น จวบจนสิ้นอายุขัย ณ ตรงที่ยมกะกุมารฤาษีอดีตแห่งที่ปรึกษา
ของพระราชากระทำกาลกิริยาดับขั้นธ์ลงไปก็บังเกิดเป็นพันธุ์แห่งผลไม่ชนิดหนึ่งชูช่อส่งผลอยู่เคียงคู่ต้นรักซ้อนนั้น
คนทั้งลายเรียกกันว่าต้นยมกะ แล้วเพี้ยนกันมาจนเป็นมะยมในทุกวันนี้

ด้วยเรื่องราวแห่งความเป็นมาของรักซ้อนและมะยมมีมาด้วยมุขปาฐกดังกล่าวนี้ พระเกจิอาจารย์เจ้าท่าน
จึงนำส่วนแห่งต้นไม้ทั้งสองมาแกะเป็นรูปกุมาร หมายเอาถือรัตตะกุมารและยมกะกุมารผู้กำเนิดแต่รัตตะอุบล
เมื่อใช้ศิลปะการแกเป็นภาพกุมารทั้งสองนั้นแล้ว ก็ให้นามสั้นๆ ว่า "รักยม" อันคุณภาพของรักยมนั้น ท่านว่า
อยู่กับผู้ใดเมื่อบำรุงเลี้ยงเขาทั้งสองจนดีแล้ว กุมารนั้นก็จะให้คุณเป็นการตอบแทนแก่เจ้าของอย่างสมใจ
หรือตามแต่ท่านจะปรารถนาเป็นเอนกประการ ความเป็นมาแห่งเจ้ารักยมก็สิ้นประวัติแต่เพียงเท่านี้
ราคาเปิดประมูล189 บาท
ราคาปัจจุบัน199 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ธ.ค. 2556 - 23:06:39 น.
วันปิดประมูล - 25 ธ.ค. 2556 - 23:19:08 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลboss15 (699)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 ธ.ค. 2556 - 23:07:01 น.



เจ้ารัก-ยมเอ๋ย จงไปอยู่กับพ่อ จงช่วยพ่อให้สำเร็จสมปรารถนาเถิด

"นะมะพะทะอาคัจฉายะ อาคัจฉามิ มานี่มะมามา"


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 16 ธ.ค. 2556 - 23:07:22 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     199 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    narak191 (19)

 

Copyright ©G-PRA.COM