(0)
((สวย วิ๊งๆๆ วัดใจ)) พระปิดตาแช่น้ำมนต์ รุ่นแรก หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม...ตะกรุดเงิน พร้อมกล่องเดิมๆๆ ((เคาะเดียว))








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง((สวย วิ๊งๆๆ วัดใจ)) พระปิดตาแช่น้ำมนต์ รุ่นแรก หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม...ตะกรุดเงิน พร้อมกล่องเดิมๆๆ ((เคาะเดียว))
รายละเอียดหลวงตาพวง สุขินทริโย (พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เกจิดังของชาวยโสธรและใกล้เคียง ท่านละสังขารในอายุ ๘๒ ปี (ในปี ๒๕๕๒) เป็นพระปิดตาเนื้อผงพุทธคุณแช่น้ำมนต์..รุ่นแรกสอดตะกรุดเงิน มาพร้อมกล่องเดิมๆ สวยครับ มีคราบน้ำมนต์สีน้ำตาล บางๆๆ ออกปี ๓๘ (ในท้องถิ่นเล่นกันสวยๆๆเดิมๆ ถึงสามพันครับ)

เผื่อมีที่ถุกใจ เชิญที่ฆ้อนเลยครับ

1. ชาติภูมิ หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

หลวงตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้
1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)
2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)
3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)
4) หลวงตาพวง สุขินทริโย
5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร
6) นางจำปา ป้องกัน
ต้นตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน
สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
ครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ 3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยมบิดามารดา
2. ปฐมวัย
บิดามารดาของท่านมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเพลทุกวันมิได้ขาด ในวัยเด็กของหลวงตาพวง สุขินทริโย ติดตามบิดา มารดาเข้าวัดเป็นประจำ ทำบุญตักบาตรทุกเช้า หรือไม่ก็นำอาหารไปถวายพระที่วัดแทนบิดามารดา ชีวิตมีความผูกพันกับวัดมาตั้งแต่เล็ก ๆ ได้เห็นการดำรงสมณเพศของภิกษุสามเณรในวัดที่มีความสงบ สำรวม จริยาวัตรที่งดงาม จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์
เมื่อ ด.ช.พวง ลุล่วง อายุครบเกณฑ์ บิดามารดาก็ส่งเข้าเรียนชั้นปฐมศึกษาภาคบังคับที่โรงเรียนประชาบาลในหมู่บ้านศรีฐานนั่นเอง ช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และช่วยเหลือกิจการงานของครอบครัว ด.ช.พวง มักจะไปเที่ยวเล่นในวัดใกล้ ๆ กับโรงเรียน ผิดวิสัยกับเด็กทั่วไป ช่วยพระเณร ปัดกวาดเช็ดถู กุฏิศาลา หรือช่วยกิจการงานต่าง ๆ เช่น ล้างถ้วย ล้างชาม ในวัดศรีฐานใน เป็นประจำ ด้วยอุปนิสัยใจคอของ ด.ช.พวง ลุล่วง ที่มีนิสัยขยัน ขันแข็ง ไม่เกียจคร้าน ว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาทของบิดามารดา ครูอาจารย์ จึงเป็นที่รักและเอ็นดูของบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และพระเณรในวัดเป็นอย่างมาก
3. พบพระอาจารย์สอ สุมังคโล
ชีวิตของ ด. ช.พวง ลุล่วง ในช่วงวัยเยาว์ ได้แวะเวียนมาช่วยพระเณรในวัดศรีฐานใน เป็นประจำ บางครั้งก็พักค้างคืนที่วัด บิดา มารดาเห็นว่าบุตรชายของตนมีความสนใจในพระพุทธศาสนา ก็ส่งเสริมโดยมิได้ห้ามปรามแต่อย่างใด เด็กชายพวงได้พบกับ
พระอาจารย์สอ สุมังคโล พระลูกวัดในวัดศรีฐานใน มีอายุเพียง 26 ปี แม้จะบวชได้เพียง 6 พรรษา แต่พระอาจารย์สอ สุมังคโล เป็นพระที่เคร่งครัดในพระวินัย มีความรู้แตกฉานทั้งทางด้านปริยัติและมีวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด เคารพครูบาอาจารย์ มีจิตใจแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นและตั้งใจอบรมสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา จนเป็นที่นับถือของคนทั่วไป
พระอาจารย์สอ สุมังคโล ได้เห็นถึงความสนใจในพระพุทธศาสนาของเด็กชายพวง ลุล่วง นอกจากนั้นท่านยังได้เห็นแววของเด็กชายพวง ลุล่วงว่าเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนได้เป็นอย่างดี เห็นทีจะมีวาสนา บารมี สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน จึงเมตตาอบรมสั่งสอนให้รู้หลักในการปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ สอนให้สวดมนต์ นั่งวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งเด็กชายพวง สามารถสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น ได้ตั้งแต่ยังไม่บวชเณรเสียอีก
ในช่วงเวลานั้นเองที่พระอาจารย์สอ กำลังจะไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์องค์สำคัญในสายวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขณะนั้นหลวงปู่เสาร์ จำพรรษาอยู่ที่วัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดบนเกาะกลางลำน้ำมูล ในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์สอต้องการคนติดตามไปอุปัฎฐากในระหว่างการเดินทาง เพราะโดยปกติแล้วพระสายกรรมฐาน ไม่สามารถถือเงินได้ ท่านจึงได้เอ่ยปากขอกับพ่อเนียม บิดาของ ด.ช.พวง เพื่อให้ ด.ช.พวงติดตามไปรับใช้ในช่วงที่จะธุดงค์ ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์
ด.ช.พวง ลุล่วง ในวัย 14 ปี จบชั้นประถมศึกษาภาคบังคับพอดี ยังไม่มีภาระหน้าที่อะไรที่สำคัญนอกจากช่วยงานที่บ้าน พ่อเนียมจึงกลับมาถามว่าอยากไปธุดงค์รับใช้ปรนนิบัติพระอาจารย์สอหรือไม่ ด.ช.พวง ทราบความประสงค์ของพระอาจารย์สอ และด้วยความอยากจะไปดูความเจริญในจังหวัดอุบลราชธานี จึงตัดสินใจติดตามพระอาจารย์สอในการเดินทางไปปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่เสาร์ในทันทีโดยมิได้ลังเล
4. ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ให้ติดตามปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์สอ สุมังคโล แล้ว การออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์สอก็เริ่มต้นขึ้น ด้วยการเดินทางจาก อ.คำเขื่อนแก้ว (ในสมัยนั้น) ไปยัง อ.พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี โดยมีจุดหมายปลายทาง คือการปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
ในสมัยนั้นยังไม่มีรถประจำทางต้องอาศัยรถของกรมทางหลวงไปลงที่อำเภออำนาจเจริญ เพื่อขึ้นรถประจำทางไปยังตัวเมืองอุบลราชธานี แวะพำนักที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลราชธานี หลังจากนั้นก็ลงเรือไฟต่อไปยังอำเภอพิบูลมังสาหาร แวะพักที่วัดภูเขาแก้ว รุ่งเช้าข้ามลำน้ำมูลไปวัดดอนธาตุ ใช้เวลาการเดินทางกว่า 3 วันกว่าจะถึงวัดของหลวงปู่เสาร์ ต้องผ่านเส้นทางที่ทุรกันดารเต็มไปด้วยอุปสรรคและความลำบาก แต่ด้วยจิตใจที่มีความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น ไม่ย่อท้ออุปสรรค และด้วยบุญบารมีที่สะสมมาตั้งแต่อดีตชาติ การออกเดินธุดงค์ในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งในจิตใจให้กับเด็กชายพวง ลุล่วงมากขึ้นไปอีก
เมื่อเดินทางร่วมกับพระอาจารย์สอ สุมังคโล มาถึงวัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ได้สร้างขึ้น และจำพรรษาเป็นวัดสุดท้ายในบั้นปลายชีวิตของท่าน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะอยู่กลางลำน้ำมูลใน อ.พิบูลมังสาหาร ไม่มีสะพาน มีน้ำล้อมรอบทุกทิศทาง การเดินทางจะต้องไปโดยเรือเท่านั้น มีภูมิประเทศที่เป็นสัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์สอ สุมังคโล ก็ได้พาไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ เพื่อเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติในเวลาต่อมา
หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "หลวงปู่เสาร์มีอุปนิสัยไม่ค่อยพูด ชอบสันโดษ ท่านจะเทศน์สั่งสอนเมื่อจำเป็น ในช่วงที่หลวงตาอยู่กับท่านนั้น สุขภาพของท่านไม่ค่อยแข็งแรง การอบรมสั่งสอนญาติโยม ตลอดจนพระเณรต่าง ๆ ท่านได้มอบให้หลวงพ่อดี ฉันโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ให้อบรมสั่งสอนแทน"
หลวงปู่เสาร์เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในการออกธุดงค์ช่วงแรกๆ ของหลวงปู่มั่น ท่านทั้งสองมักจะออกธุดงค์ไปด้วยกัน ตามจังหวัดต่าง ๆแถบภาคอีสาน ท่านชอบไปไหนมาไหนด้วยกันทั้งในและนอกพรรษา พอถึงช่วงกลางอายุของท่าน เวลาจำพรรษามักแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก เพราะต่างฝ่ายต่างมีลูกศิษย์จำนวนมาก จำเป็นต้องแยกกันอยู่เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ได้บันทึกคำบอกเล่าของพระอาจารย์มั่นเกี่ยวกับพระอาจารย์เสาร์ ในหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ไว้น่าสนใจว่า เดิมหลวงปู่เสาร์ ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามาก ๆ ในรู้สึกประหวัด ๆ ถึงความปรารถนาเดิมเพื่อเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัย เสียดาย ไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐาน ของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่าง ๆ อีกต่อไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านบรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ นอกจากนั้นท่านยังไม่ชอบพูด ชอบเทศน์ เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไป ประโยคที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า "ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์" และ "เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ" แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิ ไม่สนใจกับใครอีกต่อไป
ลักษณะท่าทางของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล มีความสง่าผ่าเผยน่าเคารพเลื่อมใสมาก ผู้ที่พบเห็นจะเกิดความรู้สึกสบายใจ เย็นใจ ไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านก็มีลูกศิษย์มากมายเหมือนหลวงปู่มั่น ด.ช.พวง ลุล่วง มีโอกาสเป็นศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ ในช่วงที่ติดตามพระอาจารย์สอ สุมังคโล ในครั้งนี้เช่นกัน
5. หลวงปู่เสาร์พาไปนครจำปาศักดิ์
ระหว่างที่ ด. ช.พวง ลุล่วง ได้พำนักอาศัยอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล นั้น เป็นช่วงที่หลวงปู่เสาร์มีพรรษามาก สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง แต่ด้วยความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของหลวงปู่เสาร์ ท่านตั้งใจจะไปกราบอัฐิและบำเพ็ญกุศลให้กับอุปัชฌาย์ของท่าน
อุปัชฌาย์ของหลวงปู่เสาร์เป็นชาวลาว แต่ได้มาเรียนหนังสือและพำนักอยู่ที่ จ. อุบลราชธานี ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และได้บวชให้หลวงปู่เสาร์ หลังจากนั้นท่านได้กลับไปจำพรรษาบ้านเดิมของท่านที่อำเภอท่าเปลือย แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว และไม่ได้ติดต่อหรือไปมาหาสู่กัน เพราะเป็นช่วงที่สถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้นไม่ปกติ ไม่สามารถข้ามฝั่งไปมาหาสู่กันได้เช่นเดิม จวบจนพระอุปัชฌาย์มรณภาพ หลวงปู่เสาร์ก็ไม่ได้มีโอกาสได้ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับอาจารย์ของท่าน จนกระทั่งสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ประเทศไทยได้แขวงนครจำปาศักดิ์มาเป็นของไทย มีข้าราชการตลอดจนทหารเข้าไปดูแล มีการคมนาคมไปมาหาสู่กันตลอด หลวงปู่เสาร์จึงปรารถนาที่จะไปกราบอัฐิและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อุปัชฌาย์ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที
พระอาจารย์สอ สุมังคโล พร้อมด้วยเด็กชายพวง ลุล่วง จึงขอติดตามคณะหลวงปู่เสาร์ไปนครจำปาศักดิ์ในครั้งนี้ด้วย คณะติดตามประกอบด้วย พระเณรและลูกศิษย์จำนวน 13 คน คือ พระอาจารย์ดี ฉันโน พระอาจารย์กอง พระอาจารย์กงแก้ว ขันติโก(ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองสูง จ. มุกดาหาร) พระอาจารย์สอ สุมังคโล พระอาจารย์บัวพา พระอาจารย์บุญมี พระละมัย สามเณรพรหมา และลูกศิษย์อีก 5 คน ซึ่งรวมทั้ง ด.ช.พวง ลุล่วง ในปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่เพียง 3 ท่าน ได้แก่ หลวงตาพวง หลวงปู่บุญมี ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ และอีกคนหนึ่งเป็นโยม ชื่อบุญมี ขณะนี้อยู่ที่ จ.สงขลา
หลวงปู่เสาร์ได้พาคณะออกเดินทางจากวัดดอนธาตุ ไปทางช่องเม็ก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยรถประจำทาง ถนนหนทางสมัยนั้นยังไม่ดีนัก รถยนต์ต้องวิ่งไต่ตามตลิ่งริมแม่น้ำโขง ส่วนอีกฝั่งจะเป็นภูเขาที่เรียกว่า ภูมะโรง หนทางเต็มไปด้วยความทุรกันดารยากลำบาก
เมื่อถึงนครนครจำปาศักดิ์ คณะได้พักอยู่ที่วัดศิริอำมาตย์ และได้เดินทางต่อโดยเรือไฟล่องลงตามแม่น้ำโขง ไปยังเกาะดอนเจดีย์ที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำโขง โดยใช้เวลาทั้งวัน เกาะดอนเจดีย์เป็นเกาะใหญ่อยู่กลางแม่น้ำโขง มีชาวบ้านอาศัยอยู่ถึง 2 หมู่บ้าน มีวัดที่อุปัชฌาย์ของพระอาจารย์เสาร์จำพรรษาอยู่และมรณภาพที่นั่น
เมื่อเดินทางไปถึงก็พบเจดีย์เล็ก ๆ อันเป็นที่เก็บอัฐิของอุปัชฌาย์ มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร ตั้งอยู่กลางทุ่งนาห่างจากวัดประมาณ 200 เมตร หลวงปู่เสาร์ก็ได้พาญาติโยมแถบนั้นมาร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อุปัชฌาย์ของท่านสมดังเจตนา ท่านและคณะพำนักอยู่ที่เกาะดอนเจดีย์ประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลวงปู่เสาร์ก็ได้พาคณะออกเดินทางต่อโดยนั่งเรือแจวขนาดนั่งได้ 6-7 คน มีฝีพายสองคนอยู่หัวเรือและท้ายเรือ ขนสัมภาระต่างๆลงเรือหลายลำ พาล่องแม่น้ำโขงไปยังแก่งหลี่ผี ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่กลางแม่น้ำโขง มีลักษณะเหมือนภูเขาลูกหนึ่งขวางกั้นแม่น้ำโขง แม่น้ำทั้งสายไหลข้ามภูเขาไปด้านหลังตกลงเป็นน้ำตกขนาดความสูง 30 - 40 เมตร มีเกาะแก่งเป็นร้อย ๆ แห่ง ชาวบ้านเรียกว่าหลี่ผี ซึ่งแปลว่าที่ดักปลาของภูติผี บริเวณดังกล่าวเวลาพูดอะไรจะไม่ได้ยินเพราะเสียงน้ำตกดังมาก ถ้าหากจะพูดกันต้องพูดกันใกล้ๆจึงจะได้ยิน
สมัยที่ฝรั่งเศสปกครองนั้น ยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวกและไม่สามารถเดินทางผ่านประเทศไทยได้ การคมนาคมติดต่อจะต้องขนของหรือสัมภาระโดยเรือใหญ่จากประเทศกัมพูชามาจอดที่ท่าเรือหลี่ผี แล้วจะต้องใช้รถไฟขนถ่ายสัมภาระต่อไปยังแขวงสุวรรณเขตหรือปากเซ มีรถไฟอยู่สองขบวนสำหรับส่งของ ส่วนรถยนต์ไม่ค่อยมี มีแต่สามล้อ สำหรับโดยสาร
ขณะนั้นหลวงปู่เสาร์มีอายุได้ 82 ปี สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เริ่มอาพาธมากขึ้น มีอาการเหนื่อย ฉันอาหารไม่ได้ คณะลูกศิษย์จึงได้พาท่านกลับมายังอำเภอท่าเปลือย ซึ่งมีแพทย์ไทยรวมทั้งอุปกรณ์การแพทย์ที่พร้อมกว่า
เมื่อถึงอำเภอท่าเปลือย หลวงปู่เสาร์ก็ได้มอบหมายให้พระอาจารย์ดี ฉนโน เป็นผู้ไปจัดหาสถานที่ปักกลดบริเวณเชิงเขา เพื่อจะให้คณะได้อาศัย รุกขมูล บำเพ็ญเพียรภาวนาในบริเวณนี้ หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ขณะนั้นฝนตกชุก ที่พักก็ใช้ใบไม้มามุงเป็นปะรำกั้นแดด แต่กั้นฝนไม่ได้ ไปอยู่สองสามวันแรกฝนตก นั่งทั้งคืนไม่ได้นอน แต่หลวงปู่เสาร์ก็พาพักอยู่เกือบหนึ่งเดือน"

ชีวิตในบรรพชิต

พรรษาที่ 1 (พ.ศ. 2491) อุปสมบท ณ โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจาร์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจาร์ฝั้น อาจาโร เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดป่าท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
พรรษาที่ 2 (พ.ศ. 2492) ย้ายไปจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
พรรษาที่ 3 (พ.ศ. 2493) หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพ และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว ไปจำพรรษากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
พรรษาที่ 4-5 (พ.ศ. 2594-2495) จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
พรรษาที่ 6 (พ.ศ. 2496) หลวงปู่ฝั้น อาจาโรเกิดนิมิตระหว่างนั่งสมาธิในกลางพรรษาว่าเห็นถ้ำที่สว่างไสว เหมาะแก่การปฏิบัติ จึงได้ไปค้นหาจนพบถ้ำขาม แล้วได้บุกเบิกจนเป็นวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนครในปัจจุบัน ในพรรษานั้น หลวงตาพวง สุขินทริโยได้ไปบุกเบิกถ้ำขามและจำพรรษาที่นั่น
พรรษาที่ 7-8 (พ.ศ. 2497 - 2498) กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
พรรษาที่ 9 (พ.ศ. 2499) กลับบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะโยมบิดาเสียชีวิต ประกอบกับพระอาจารย์บุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน ที่เคยเป็นพระอาจารย์สมัยบวชเป็นเณร เกิดอาพาธ จึงอยู่ดูแลรับใช้ปรนนิบัติ
พรรษาที่ 10 (พ.ศ. 2500) พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี มรณภาพ ไม่มีพระภิกษุดูแลวัด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน เพื่อดูแลวัด
พรรษาที่ 11 (พ.ศ. 2501) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในในอย่างเป็นทางการ
พรรษาที่ 12-18 (พ.ศ. 2502-2508) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีฐานในจนมีความเจริญรุ่งเรือง
พรรษาที่ 19 (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย)
พรรษาที่ 20 (พ.ศ. 2510) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี
พรรษาที่ 21 (พ.ศ. 2511) เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลาชธานี ไม่มีเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดและชาวบ้านไปนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
พรรษาที่ 22 (พ.ศ. 2512) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง อ.ยโสธร
พรรษาที่ 23 (พ.ศ. 2513) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ราชทินนาม พระครูอมรวิสุทธิ์
พรรษาที่ 24 (พ.ศ. 2514) พัฒนาวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
พรรษาที่ 25 (พ.ศ. 2515) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ยกฐานะเป็นจังหวัด ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยโสธร (โดยไม่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอมาก่อน)
พรรษาที่ 26 (พ.ศ. 2516) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ราชทินนาม พระสุนทรธรรมภาณ และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดยโสธรอย่างเป็นทางการ
พรรษาที่ 27-33 (พ.ศ. 2516-2523) จำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
พรรษาที่ 34 (พ.ศ. 2524) หลังจากบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด กม.3 ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
พรรษาที่ 35-46 (พ.ศ. 2525-2536) กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธรโดยตลอด พัฒนาวัดศรีธรรมาราม จนเจริญก้าวหน้าและได้รับจนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกระดับเป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2532
พรรษาที่ 47 (พ.ศ. 2537) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทินนาม พระราชธรรมและได้รับพระราชทานธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537
พรรษาที่ 51 (พ.ศ. 2541) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
พรรษาที่ 52 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และจำพรรษาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
((ท่านละสังขารแล้ว ใน ปี 2552 สิริอายุ 82 พรรษา))
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน700 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 07 พ.ค. 2557 - 23:00:09 น.
วันปิดประมูล - 09 พ.ค. 2557 - 15:22:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลโสราชา (1.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 07 พ.ค. 2557 - 23:03:03 น.



คราบน้ำมนต์จางๆ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 07 พ.ค. 2557 - 23:03:47 น.



ฝังตะกรุดเงิน


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 07 พ.ค. 2557 - 23:05:17 น.



มาพร้อมกล่อง สภาพนี้หายากครับ
เมื่อก่อน ก่อนปี 42 เคยเช่ากันถึง สามพันครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     700 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Bonsai (213)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1