(0)
((( 250.-)))...พระผงไตรมาส ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง(วัดป่ายาง) ลำพูน ปี 2525 ***มีเกศา+จีวรครูบาผสมด้วย** หายากมากๆครับ (องค์นี้จีวร..เกศาชัดเจน)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง((( 250.-)))...พระผงไตรมาส ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง(วัดป่ายาง) ลำพูน ปี 2525 ***มีเกศา+จีวรครูบาผสมด้วย** หายากมากๆครับ (องค์นี้จีวร..เกศาชัดเจน)
รายละเอียดพระรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อผงน้ำมันผสมจีวรและเกศาของครูบาขันแก้ว น่าใช้น่าบูชามากๆครับ....พระส่วนใหญ่ตกอยู่แก่ลูกศิษย์สายรัศมีพรหมธิโกทั้งนั้นครับ นานๆถึงจะหลุดมาสักองค์

หลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุตตโม หรือ “ท่านพระครูอุดมขันติธรรม” “อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)” ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุล ณ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
หลวงปู่มีชื่อเดิมว่า “ขันแก้ว” นามสกุล “อิกำเหนิด” โยมบิดาชื่อ “นายอินตา อิกำเหนิด” โยมมารดาชื่อ “นางสม อิกำเหนิด” หลวงปู่มีรูปร่างสันทัด ผิวสีเนื้อดำแดง เป็นบุตรชายคนโตของน้องสาว ๓ คนและน้องชาย ๑ คน..

โยมปู่ของหลวงปู่ชื่อว่า “ปินตา อิกำเหนิด” โยมย่าชื่อ “ปรก” ได้อพยพครอบครัวมาจากตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินคือทำนาที่ตำบลห้วยไซ แล้วจึงได้ย้ายลงมาอยู่ที่ตำบลห้วยยาบ

ในครั้งนั้นโยมปู่ของท่านได้อพยพมาพร้อมกับพี่น้องรวม ๖ ครอบครัวและได้มาตั้งรกรากใกล้กับ “วัดสันพระเจ้าแดง” ซึ่งเป็นวัดร้างโดยโยมปู่ของท่านได้เป็นหัวหน้าบูรณะซ่อมแซมก่อสร้างจนกลายเป็นวัดขึ้นมา
วัดป่ายาง หรือ วัดสันพระเจ้าแดง ตั้งชื่อตามพระพุทธรูป สมัยเชียงแสนสิงห์ ๓ ซึ่งขุดพบบริเวณวัดแห่งนี้ ว่ากันว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านห้วยยาบและตำบลใกล้เคียง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เล่าสืบทอดกันมาพอจับใจความได้ว่า...

เดิมทีพระพุทธรูปองค์นี้ฝังจมอยู่ในดิน ได้เกิดมีไฟป่าไหม้ตำบลห้วยยาบอยู่บ่อยๆ จนเป็นที่น่าแปลกประหลาดว่า ทำไมไฟป่าถึงได้ไหม้เฉพาะบริเวณตำบลห้วยยาบแห่งนี้เสมอ

จนวันหนึ่งผู้เฒ่าในหมู่บ้านได้ฝันว่า มีพระพุทธรูปถูกฝังจมพื้นปฐพีอยู่ในตำบลนี้ แต่ไม่มีใครรู้เรื่องจึงทำให้มีการเดินเหยียบย่ำไปมาตลอด บริเวณที่พระพุทธรูปถูกฝังอยู่เป็นที่ดอน ให้ไปทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาเสีย ไฟก็จะไม่ไหม้อีกต่อไป และเมื่อชาวบ้านตำบลห้วยยาบไปทำพิธีบวงสรวงเจ้าที่เจ้าทางและขุดลงตรงตำแหน่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ฝันไว้ก็ได้พบพระพุทธรูปจริงๆ มีขี้ดินพอกเต็มไปทั้งองค์

เมื่อได้ทำการล้างขี้ดินออกจนหมดแล้ว ก็ได้เห็นสีสันขององค์พระซึ่งเป็นสีแดงทั้งองค์ จึงได้ถวายพระนามว่า “พระเจ้าแดง” จากนั้นชาวบ้านได้อัญเชิญพระพุทธรูปพระเจ้าแดงมายังวัดป่ายาง ก็เลยเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดสันพระเจ้าแดง
พระเจ้าแดง เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๓ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒ ศอก มีพุทธลักษณะสวยงามมาก สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยของ “พระเจ้าติโลกราชมหาราช” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

หลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ พันธสีมา “วัดต้นปืน” อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยมี “พระอธิการแก้ว (หลวงปู่ครูบาอินทจักโก)” วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระบุญเป็ง ปัญญาวโร” วัดบ้านธิหลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระพุฒ ปันทวงศ์” วัดห้วยไซ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่ได้รับฉายาว่า “อุตตโม” ครับ
เล่ากันว่าหลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยไม่ชอบอยู่นิ่งเฉย ถ้าท่านทำงานหนักไม่ได้ ท่านก็จะทำงานเบาๆ เช่นเขียนยันต์ ทำตะกรุด แม้แต่งานกวาดลานวัดท่านก็จะทำเองในทุกเวลาเช้า

หลวงปู่มักจะสั่งสอนอบรมศีลธรรมให้กับชาวบ้านและผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ประพฤติแต่ความดี ละเว้นความชั่ว

โดยเฉพาะเรื่องของการรักษาศีล ๕ จะต้องรักษาให้มั่นคงและให้มีความจงรักภักดีในชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ โดยหลวงปู่จะสั่งสอนให้ทุกคนเป็นพลเมืองดีของชาติด้วยหลัก ๓ ประการ คือ

๑.การไม่ทำชั่วโดยประการทั้งปวง

๒.การสร้างความดี

๓.การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว

ส่วนในการประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงปู่ท่านจะขึ้นกรรมฐานให้กับผู้ที่มีอุปนิสัยในการบำเพ็ญธรรมตามวาสนาบารมีของแต่ละคน

แต่สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจหลักในการปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้ว เมื่อได้นำความรู้คือปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติไปถามท่านว่า

“เขาได้ดำเนินทางมาถูกต้องหรือไม่”

ถ้าถูกต้องหลวงปู่ก็จะตอบว่า “แม่น” หมายถึงถูกต้องแล้ว

แต่ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้อง หลวงปู่ก็จะชี้แนะแนวให้นำไปปฏิบัติพิจารณาใหม่...
“ในระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก โดยการนำของ ‘คุณพ่อหมอสมสุข คงอุไร’ ได้เดินทางขึ้นไปเยี่ยมอาการอาพาธของ ‘หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก’ วัดวังมุย จังหวัดลำพูน ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาชุ่ม พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสวนดอกนครเชียงใหม่

ในวันนั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งครองจีวรสีกลัก เดินทางเข้ามาเยี่ยมและตรงเข้าไปกอดเอวและพูดคุยด้วยภาษาคำเมืองกับครูบาชุ่มอย่างสนิทสนม

ขณะที่คุณพ่อหมอสมสุข ท่านได้นึกตำหนิพระรูปนั้นอยู่ในใจ หากแต่การตำหนินั้นไม่สามารถปกปิด อภิญญาจิต เจโตปริยญาณ ของหลวงปู่ครูบาชุ่มได้

หลวงปู่ครูบาชุ่ม ได้เรียกคุณพ่อหมอสมสุขให้เข้าไปหาและแนะนำว่าพระภิกษุที่ครองจีวรสีกลักนั้นชื่อว่า ‘ครูบาขันแก้ว’ เป็นเพื่อนรักร่วมรุ่นเดียวกับท่าน...”
สมัยนั้น “หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก” เจ้าอาวาสวัดวังมุย เป็นพระที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของแผ่นดินล้านนา ความเชี่ยวชาญในเชิงเวทย์และคุณธรรมของท่านเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไป

ในช่วงเวลาที่ครูบาศรีวิชัย ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ครูบาชุ่มคือหนึ่งในผู้ร่วมสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ท่านได้รับความเมตตาจากครูบาศรีวิชัยเป็นอันมาก โดยครูบาศรีวิชัยได้มอบ “พัดหางนกยูงพร้อมกับไม้เท้า” ให้กับท่าน พร้อมกับสั่งว่า “เอาไว้เดินทาง เทศนาเผยแพร่ธรรมแทนท่านด้วย...”

ภายหลังเมื่อหลวงปู่ครูบาชุ่มได้มรณภาพลง คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้ดำเนินการสร้างรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของท่าน คณะกรรมการวัดวังมุยได้นิมนต์พระอาจารย์ต่างๆมาจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน แต่ในจำนวนรายชื่อทั้งหมดกลับไม่มีชื่อของหลวงปู่ครูบาขันแก้ว โดยคณะกรรมการวัดวังมุยให้เหตุผลว่า

“ไม่เคยทราบหรือเคยเห็น หลวงปู่ครูบาขันแก้วเคยได้ร่วมในพิธีปลุกเสกพระในที่ใดมาก่อน อีกทั้งยังไม่เคยได้ข่าวว่าท่านเคยสร้างวัตถุมงคลอะไรเลย”

เรื่องราวที่เริ่มจะบานปลายเนื่องจากคุณหมอสมสุข ท่านไม่ยอมเพราะเห็นว่าหลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านเป็นเพื่อนรักกับหลวงปู่ครูบาชุ่ม อีกทั้งในระหว่างการจัดงานศพ หลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านก็ได้มาช่วยงานทุกคืน ในที่สุดคณะกรรมการวัดวังมุยจึงต้องไปนิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาร่วมในงานปลุกเสกและเบิกเนตรรูปหล่อของหลวงปู่ครูบาชุ่มในครั้งนี้ด้วย
เล่ากันว่าในขณะที่เริ่มประกอบพิธีปลุกเสก พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มา ๓ รูปได้นั่งหลับตาและแผ่อำนาจจิตปลุกเสกแต่หลวงปู่ครูบาขันแก้วกลับนั่งลืมตาและเคี้ยวเมี่ยง

เล่นเอาชาวบ้านแถววัดวังมุยเริ่มจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กันว่าใครหนอไปนิมนต์พระที่ปลุกเสกไม่เป็น “บ่อมิไก๊” มาร่วมในงานพิธีปลุกเสกครั้งนี้และเมื่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์เริ่มดังขึ้น

ท่านพระครูนวลที่มาเป็นพระควบคุมพิธีในครั้งนี้ได้เข้ามาบอกกับคุณหมอสมสุขว่า

“โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา ดูสินั่งลืมตา ยันเมี่ยงอยู่จับๆ ไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย...”

คุณหมอสมสุข จึงตอบไปว่าท่านเป็นคนที่นิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาเอง แต่ขอให้ดูกันต่อไปอีกสักพัก....จากเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้ทุกวันนี้เราได้รู้จักพระที่ทรงกิตติคุณเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งองค์ครับ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกบันทึกไว้ดังนี้ครับ....

“หลวงปู่ครูบาขันแก้วเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ เอาผ้าห่มขนหนูคลุมที่ไหล่ทั้งสองข้าง(ต่อมาภายหลังทราบว่าท่านกำลังป่วยเป็นไข้) หลังจากพิธีผ่านไปแล้วประมาณ ๑๐-๑๕ นาที หลวงปู่ครูบาขันแก้วได้นั่งห้อยเท้าลงมา

ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้าแรงขึ้น ขณะนั้นช่างภาพประจำคณะของเราได้เข้าไปใกล้ที่ท่านนั่งปรกอยู่ แล้วก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น....
ทันทีที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้าขึ้นเป็นประกาย นัยน์ตาของหลวงปู่ครูบาขันแก้วก็มิได้กระพริบเลย...

ช่างภาพอีกคนก็เข้าไปถ่ายบ้าง แสงไฟแฟลชสว่างจ้าขึ้นอีกครั้ง แต่นัยน์ตาของหลวงปู่ก็ลืมอยู่อย่างปกติ

‘ลืมตาอยู่อย่างไร ก็ลืมตาเปิดตากว้างอยู่อย่างนั้น..’

คุณพ่อและพวกเราที่นั่งดูอยู่อย่างใกล้ ทุกคนจ้องดูอย่างตั้งใจก็เห็นกันทุกคนว่า

‘นัยน์ตาของหลวงปู่ไม่กระพริบเลย’

คราวนี้ก็ให้ช่างภาพทั้ง ๒ คนของพวกเราเข้าไปขนาบทั้งซ้ายและขวา ก่อนจะยิงแฟลชถ่ายรูป ให้อธิษฐานในใจขอขมาก่อน พวกเราก็นั่งคอยดูกันจนแสงไฟแฟลชได้สว่างขึ้นทั้งซ้ายและขวาพร้อมกัน แต่นัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบอีกตามเคย

ช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ๒ ฉบับซึ่งได้ไปทำข่าวก็เข้าไปถ่ายอีก คราวนี้แฟล็ชแรงกว่าของพวกเรา เพราะเมื่อเห็นว่าพวกเราถ่ายรูปหลวงปู่องค์นี้มากก็เข้าไปถ่ายบ้าง ผลปรากฏออกมา .....‘ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กะพริบเลย เป็นเวลานานหลายๆนาที’ คนธรรมดาสามัญย่อมทำไม่ได้อย่างแน่นอน...”
ราคาเปิดประมูล240 บาท
ราคาปัจจุบัน250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 20 พ.ค. 2558 - 14:37:12 น.
วันปิดประมูล - 21 พ.ค. 2558 - 16:52:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลchaiwat99 (4.4K)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    DoubleD (6)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1