(0)
สุดยอดแห่งความขลัง เชือกคาดเอวตะขาบไฟ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม.








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสุดยอดแห่งความขลัง เชือกคาดเอวตะขาบไฟ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม.
รายละเอียดสุดยอดแห่งความขลัง เชือกคาดเอวตะขาบไฟ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. ยาว 33 นิ้ว
“เชือกคาดเสกขลังดีมีเพียงน้อย คงไม่คล้อยแคล้วคลาดตามวาสนา
ผูกมนต์เงื่อนพิรอดสานตะกร้อร้อยมนตรา มหาบุญญาสยบนาคาสมญา..,ตะขาบไฟ”
เครื่องรางของขลังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคล ที่ยอดพระเกจิอาจารย์นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน นิยมสร้างขึ้นเพื่อให้ลูกศิษย์ และผู้เคารพนับถือมีไว้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ แต่ละอาจารย์ มีการสร้างที่มีรูปแบบและวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น เสือ สิงห์ ตะกรุด ผ้ายันต์ ลูกสะกด ลูกอม เบี้ยแก้ ปลัดขิก ฯลฯ ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่ในอดีตค่อนข้างจะหายาก และในปัจจุบันหายากยิ่งกว่าเพราะใครมีก็หวงแหน เก็บไว้ไม่ยอมให้ใคร และถือว่าเป็นสุดยอดเครื่องรางชนิดหนึ่งที่สร้างให้สำเร็จได้โดยยาก และในยุคปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว ก็คือ เชือกคาดเอว
'เชือกคาด'สุดยอดเครื่องรางของขลัง อีกหนึ่งภูมิปัญญาของเกจิอาจารย์ไทย “เชือกคาด” เป็น "เครื่องรางของขลัง" ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาของเกจิอาจารย์ไทยมาแต่โบราณกาลอย่างแท้จริง
ในอดีตกาล บรมครูมวยไทยของเราคนหนึ่งชื่อ นายขนมต้ม เคยถล่มนักมวยพม่าถึง ๑๐ คนผลัดมาแล้ว ก็ด้วยคาดเชือกนี่แหละ แต่เชือกคาดนั้น คือ เชือกเส้นใหญ่ที่ใช้คาดเอว เพื่อให้เป็นคงกระพันชาตรี จัดอยู่ในชุดเครื่องคาดของไทยชนิดหนึ่ง การแต่งกายให้สุภาพก็ต้องมีเข็มขัด ซึ่งพัฒนามาจากเชือกคาดเอวในสมัยโบราณ ส่วนรัดประคดของพระสงฆ์ก็จัดอยู่ในสายคาดเอวเหมือนกัน เชือกคาดจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ พระเกจิอาจารย์ต่างๆ จึงนิยมสร้างเชือกคาดขึ้นมาเป็นเครื่องรางไว้ป้องกันภัยให้กับลูกศิษย์...สืบทอดวิชามาจนถึงทุกวันนี้
เชือกคาดเอว ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีหลายสำนัก เป็นการสืบทอดวิชามาจากโบราณคณาจารย์ยุคเก่าอย่างไม่ขาดสาย อาทิ เชือกคาดไส้หนุมาน หวายคาดเอว หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว , หวายคาดเอว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว , เชือกคาดเอว หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ , เชือกคาดเอว หลวงพ่อโชติ วัดตะโน , เชือกคาดเอว หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (ลูกศิษย์หลวงปู่ยิ้ม) , เชือกคาดเอว หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง (ลูกศิษย์หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ) , เชือกคาดเอว พ่อท่านเขียว วัดหรงบน, เชือกขมวดหนุมาน หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, เชือก ๗ ขอดไปได้กลับได้ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม , เชือกคาดเอว หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้, เชือกขอด หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, เชือกคาดตะกรุด ภุชงค์เบญจฤทธิ์ หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง, เชือกคาดเอว หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ฯลฯ
หลวงพ่อโชติ รุฬหผโล แห่งวัดตะโน ตำบลบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ตามประวัติ...ท่านเป็นเสือเก่า มีวิชาดีตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ภายหลังจึงอุปสมบทที่วัดกระทุ่ม ปี ๒๔๕๑ เครื่องรางของท่านที่มีประสบการณ์มากที่สุด ก็คือ เชือกคาดเอวนี่แหละครับ ท่านโด่งดังมากองค์หนึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เชือกคาดเอวที่ท่านสร้าง ตั้งใจแจกให้ชาวบ้าน ผู้เคารพนับถือ และทหารที่โดยเฉพาะต้องไปราชการสงคราม เมื่อนำติดตัวไปใช้ปรากฏให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ในด้านคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุด ป้องกันเขี้ยวงาได้ เป็นที่ร่ำลือกันมาก อีกทั้งยังสามารถใช้ปราบภูตผีได้ และสมัยก่อนละแวก วัดตะโน จะเป็นสวน ชาวบ้านส่วนมากก็จะทำอาชีพเกี่ยวกับสวนกันครับ เข้าสวนแต่ละที ต้องคาดเชือกท่านเข้า
ด้วย เพราะสมัยก่อน งูเยอะครับ
วัสดุที่ใช้สร้างเป็นผ้าบังสุกุลคลุมโลงศพ ของคนที่ตายโหงและเกิดในวันแข็ง เช่น วันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ มีทั้งผ้าขาว และผ้าจีวรจะหายาก ต้องนำไปซักด้วยน้ำค้างกลางหาวก่อน แล้วจึงนำผ้ามาควั่นเป็นเส้นๆตามแนวยาว ลงอักขระ แล้วจึงกลึงม้วนให้แน่นเป็นเส้นกลมๆ แล้วจึงถักเป็นเงื่อนพิรอดลายเปียตะขาบไฟ ว่ากันว่าท่านปลุกเสกจนเชือกคาด เลื้อยใด้เหมือนงู เมื่อสำเร็จแล้วหัวตะกร้อจะลอดเข้าบ่วงได้เองดุจมีชีวิต ซึ่งพลังจิตแบบนี้มีพระเกจิอาจารย์น้อยรูปที่สามารถทำได้ มีผู้ลองเอาเชือกคาดของท่านไฟเผาปรากฏว่าต้านไฟ ไม่ไหมมีเพียงคราบเขม่าควันไฟเท่านั้น
ลวดลายการถักของเชือกคาดของท่าน จะสวยงามเป็นระเบียบแน่นหนาไม่หลวม ปลายข้างหนึ่งถักเป็นห่วง และอีกข้างหนึ่งถักสานเป็นลูกตะกร้อ ลายขัดตะกร้อเท่าทีพบ มีตั้งแต่ขัดสาน 2-5 เส้น (ส่วนมากจะพบลายขัดสานสอง และขัดสามเป็นส่วนมาก และแบ่งเป็นตะกร้อหัวเดียว กับตะกร้อสองหัว แบบพิเศษหายาก) เวลาใช้ก็เอาลูกตะกร้อ ใส่ห่วงอีกข้างหนึ่ง คาดเอวแทนเข็มขัด โดยทั่วไปจะมีขนาดความกว้างระหว่าง 1.5 ซ.ม. จนถึง 3 นิ้ว (ในกรณีเดินสามเส้น มีสองเส้นเชื่อมต่อ) ทุกเส้นความยาวไม่แน่นอนแล้วแต่ขนาดของคนที่ท่านจะมอบให้ บางคนที่ได้ไปก็จะเอาไปชุบยางไม้เพื่อให้มีความคงทนในการใช้งาน การถักมีลวดลายรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่จดจำได้ง่าย (สังเกตได้จากรูป)
เชือกคาดหลวงพ่อโชติ วัดตะโน นับเป็นเชือกคาดที่มีเอกลักษณ์ เป็นมาตราฐานครับ หัวตะกร้อ หมายถึง =>> แข็งและทน ก็คงกระพันนั่นเองครับ =>> ภายในบรรจุผงพุทธคุณที่ท่านใช้สร้างสมเด็จครับ ปัจจุบันเชือกคาดเอวที่มีสภาพสมบูรณ์ ๆ หายากมากครับ ใครที่อยากได้จะหาผ้าขาวดังกล่าวไปถวายให้ท่านทำให้ก็ได้ พร้อมกับค่ายกครู 1 สลึง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ขนมต้มแดงต้มขาว (อย่างอื่นจะมีหรือไม่ก็ได้ เป็นองค์บริวารประกอบแล้วแต่ฐานะ) ตามประวัติช่วงปลายอายุของท่านตาบอด ก็เนื่องมาจากทำให้ฟรี ไม่เรียกค่ายกครู เท่านั้นแหละ ครูของท่านมาบอกว่า เอ็งจะต้องตาบอดแน่ๆ และท่านก็ตาบอดจริงๆ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ มาถึง พ.ศ.๒๕๐๐ สิบปีเต็มๆ ที่หลวงพ่อต้องให้ศิษย์ถักเชือกแล้วเอามาให้ท่านปลุกเสกอีกทีหนึ่ง ...
เชือกคาดเอวของท่านเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน และป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอเด่นเป็นพิเศษ งูไม่อาจอ้าปากขบกัดได้เลย และถ้าวางพาดลงไปบนตัวงูจะไปไหนไม่ได้ เมื่อสมัยเด็กๆ ที่บ้านมีแขวนไว้กับเสาเรือนเส้นหนึ่ง ผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้เอาเชือกคาดของท่านไปฟาดเล่นกัน เพราะอาจทำให้เสียสติและเป็นง่อยได้ บางท่านนิยมแขวนไว้ที่พวงมาลัยรถยนต์ให้แคล้วคลาดปลอดภัยซึ่งผู้เขียนก็กระทำเช่นนั้น ขนาดประสบการณ์ของเชือกคาดเอวของลูกศิษย์ท่าน คือ หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม ที่ฟังมาจากลูกศิษย์ใกล้ชิด ก็มีทั้งแคล้วคลาด โชคลาภ ค้าขายดี ลูกศิษย์ชาวสิงคโปร์เอาเชือกคาดเอวของท่านไปแขวนหน้าร้านบอกว่าแขวนแล้วเฮง ทำมาค้าขึ้น มีเท่าไรพวกนี้มาเหมาไปหมดครับ นี่ขนาดของลูกศิษย์ยังขลังเพียงนี้ ของอาจารย์จะขลังเพียงใดทุกท่านลองไตร่ตรองดูเถิดครับ
การอาราธนาเชือกคาด ใช้พระคาถาดังนี้...ตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วสวดบูชาระลึกถึงพระศรีรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และท่านผู้เป็นเจ้าของเชือกคาด เป็นที่สุดแล้วว่า “อุทธัง อัทโธ นะโมพุทธายะ โธอุท ธังอัท ผุดผัดผิด ปิดด้วยนะโมพุทธายะ มะอะอุ อุอะมะ นะปิดนะหยุดนะ อัตถะอะยาวะ”
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน9,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ส.ค. 2558 - 14:28:48 น.
วันปิดประมูล - 02 ก.ย. 2558 - 19:52:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลRambo_Thai (716)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     9,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Lippakorn (6)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1